KM (๓) : พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากวัยทำงาน กลุ่มบัตรทอง (๑๒ อำเภอทั่วประเทศ)


ต่อจาก  บันทึก ๑  และ  บันทึก ๒  ของการประชุมเดียวกันเมื่อ ๑๑ - ๑๓ กันยายน ๒๕๖๐  ที่โรงแรมนารายณ์  กทม. นะคะ

^_,^

เย็นย่ำออกจากห้องอาหารเวียดนามเรียบร้อย  อาหารเพื่อสุขภาพก็จริง  แต่ถ้ากินเยอะเกินแคลอรี่เกินได้  ต้องใช้เวลาและท่าทางวิธีการสลายอย่างเหมาะสม  

พี่ต่วงมั่นใจ  กินได้ตามต้องการ อิ อิ

enjoy eating, enjoy exercising, enjoy working, enjoy life  สุดยอดค่ะ

กลับเข้าห้องประชุม  ทีมกลางให้โจทย์คุย  แยกกลุ่มสุมหัวไม่ให้เสียงรบกวนกัน  มีทีมกลาง ๒ คน  ช่วยเป็นผู้เหนี่ยวนำการสนทนาแต่ละกลุ่ม  

กลุ่มที่ 1  

สมาชิกกลุ่ม  (ใครมีภาพประชุมกลุ่มช่วยส่งมาให้ที  ขอบคุณค่ะ)

1. รพ.ละงู จ.สตูล

2. รพ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี

3. รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

4. รพ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี

ประเด็นการนำเสนอ

1. สรุปกลไกหรือ model ที่จะนำไปสู่ self-care และ/หรือ access to care ภายในระยะที่เหลืออยู่ (จากงานที่ผ่านมา)

กิจกรรม self care (coaching & hands on)

อำเภอละงู

แกนนำชุมชน

อสม. 39 คน หาลูกข่าย  (อสม. 1 คนต่อลูกข่าย 5 ครัวเรือน)

                    เป้าหมาย 195 ครัวเรือน = 975 คน (ทุกกลุ่มวัย)

                    ผู้ปกครอง 20 คน หาลูกข่าย  (ผู้ปกครอง 1 คนต่อลูกข่าย 3 ครัวเรือน)

                    เป้าหมาย 60 ครัวเรือน = 180 คน (ทุกกลุ่มวัย)

ผู้มารับบริการในโรงพยาบาล/รพ.สต.

ผู้มารับบริการที่ รพ/รพ.สต. = 250 คน

 

อำเภอยะหริ่ง

ผู้มารับบริการในโรงพยาบาล/รพ.สต.

  • เพิ่มกระบวนการทำความสะอาดช่องปากก่อนได้รับบริการในทุกรพ.สต. พร้อมมีระบบนัด และติดตาม

 

อำเภอศรีประจันต์

ผู้มารับบริการในโรงพยาบาล/รพ.สต.

  • เพิ่มกระบวนการทำความสะอาดช่องปากก่อนได้รับบริการในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานทุกรพ.สต.ที่มีทันตาภิบาล พร้อมมีระบบนัด และการติดตาม กำหนดเป้าหมายรพ.สต.ละ 5 คน และมีการขยายผลไปสู่คนในครอบครัว ครอบครัวละอย่างน้อย 1 คน

 

โรงพยาบาลลำลูกกา

ผู้มารับบริการในโรงพยาบาล

  • ทันตแพทย์แต่ละคน coaching ผู้ป่วยเดือนละ 1 ราย ภายในระยะเวลา 6 เดือน

 

2.  นโยบายที่จะทำต่อเนื่องในระดับองค์กร

  • นำสู่สมัชชาสุขภาพระดับจังหวัด ให้เรื่องการแปรงฟันเป็นเรื่องปกติ
  • ผู้มารับบริการต้องมี self care ก่อนทำรับบริการทางทันตกรรม

 

3. นโยบายที่จะเสนอระดับสูงต่อไป

  • สนับสนุนทันตบุคลากร
  • สนับสนุนหลักสูตร coaching แก่ทันตบุคลากร
  • สนับสนุนงบประมาณ
  • สร้างกระแสรณรงค์ระดับประเทศ
  • คู่มือดูแลทันตสุขภาพสำหรับทุกกลุ่มวัย
  • มาตรฐานการทำงานสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน

 

ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม

  • จากข้อจำกัดที่ผ่านมา ทันตแพทย์ไม่มีเวลา เพราะการสอน Hands on ต้องใช้เวลา แต่เมื่อเริ่มปฏิบัติจริงพบว่าไม่ได้ยุ่งยากมาก จึงพยายามปิดข้อจำกัดต่างๆ เช่น สอนที่ยูนิต ก่อนเริ่มทำฟัน การแนะนำให้นำแปรงสีฟันยาสีฟันมาด้วยเมื่อมารับบริการ หรือมีแปรงยาจำหน่ายสำหรับผู้ที่ไม่ได้เอามา ตอนนี้จึงมีความพร้อมที่จะเริ่มต้นทำ

-          การ Coaching มีผลทำให้กลุ่มเป้าหมายดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้เหมือนกับการ Hands on สำคัญอยู่ที่ตัวคนทำงาน ทันตาภิบาลถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมป้องกันด้านทันตสุขภาพ แต่ปัจจุบัน ทันตาภิบาลไปเน้นทำงาน treatment มากกว่า ส่วนหนึ่งทันตแพทย์มีส่วนช่วยได้ คือ ทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง

-          การ Coaching ควรเป็น competency ของทพ. แต่ใครจะทำได้มากน้อยแค่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถบังคับได้ แต่ควรเสนอให้มีในหลักสูตรการเรียนการสอนของทันตแพทย์ อาจจะเป็นในกลุ่ม post grad น่าจะง่ายกว่า ในส่วนของ training program

-          คู่มือดูแลทันตสุขภาพสำหรับทุกกลุ่มวัย (คู่มือของอสม.) สำนักทันตสาธารณสุขได้ทำไว้แล้ว สำนักจะเผยแพร่ในเวบไซต์ต่อไป

-          การสอน hands on ในวัยทำงาน (การฝึกปฏิบัติจริง) มีพื้นที่ที่สามารถทำได้ (รพ.น้ำพอง) สามารถไปเรียนรู้จากกพื้นที่นี้ได้

-          สนับสนุนให้เกิดมาตรฐานการทำงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ทั้งในชุมชน และในสถานบริการ

  • สำหรับการสอน hands on ในวัยทำงาน (การฝึกปฏิบัติจริง) ควรมีสถานที่ชัดเจนที่บ่งบอกเอาไว้ในตัวแปลนโครงสร้างอาคาร จะเป็นเหมือนสถานที่ที่ชัดเจนในการทำงานนี้ และควรมีข้อกำหนดไว้ใน HA ซึ่งตอนนี้ในแปลนที่ออกแบบไว้ เป็นชื่อ “ห้องส่งเสริมทันตสุขภาพ” ไม่ได้ระบุชัดว่าเป็นห้องสอนแปรงฟัน

^_,^

กลุ่มเราเกือบได้เสนอลำดับสอง  แต่ข้ออ่อนทางเทคโนโลยี  ไปเสนอท้ายสุดแล้วกันนะคะ

นำเสนอลำดับสอง  

สมาชิกกลุ่ม

1. รพ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด

2. รพ.ลอง จ.แพร่

3. รพ.เถิน จ.ลำปาง

4. รพ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

มีคุณหมอกล้วยพ่อเลี้ยงหนุ่มและคุณหมออบพี่เลี้ยงสาวสวย Fa ประจำกลุ่มนะคะ

ประเด็นการนำเสนอ

เสนอ ข้อเสนอมาตรฐานบริการสำหรับวัยทำงาน

เน้นการทำงานที่กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานวัยทำงาน ใน setting โรงพยาบาลและรพ.สต. ร่วมคัดกรองไปกับทีม NCDs โดยแต่ละพื้นที่สามารถบริหารจัดการตามบริบทของตนเอง มีเป้าหมายที่ควรจะบรรลุ คือ

1. ร้อยละ 20 ของประชาชนวัยทำงานที่เป็นโรคเบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงสุขภาพช่องปากและได้รับการฝึกแปรงฟัน

2. ร้อยละ 20 ของประชาชนวัยทำงานที่เป็นโรคเบาหวานและมีเหงือกอักเสบได้รับการขูดหินปูน

 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม

  • ให้ระบุว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใคร และมีมาตรฐานบริการสำหรับวัยทำงานอย่างไรบ้าง
  • งานที่ไม่ได้เป็นนโยบายมักไม่ได้ทำ ด้วยระบบงบประมาณของพื้นที่ มักต้องเลือกทำงานที่เป็นตามกระแสมากกว่า ง่ายต่อการของบมากกว่า 

-          ในการนำเสนอครั้งหน้า ควรมีสรุปว่าต้องทำอย่างไรถึงจะบรรลุตามเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น มาตรฐานในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่ ANC ที่ต้องมาพบทันตแพทย์ด้วย

-          การทำงานในกลุ่มเบาหวาน ต้องคำนึงถึงการจัดการปัจจัยเสี่ยงร่วม เช่น อาหาร การสูบบุหรี่ เพราะการทำงานในกลุ่มเบาหวานมักทำงานเป็นสหวิชาชีพ

-          ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน การบริการขูดหินปูนยังไม่เพียงพอ แต่ถ้าทางกลุ่มต้องการนำเสนอให้เห็นว่า การขูดหินปูนมี impact ต่อการทำให้ผู้ป่วยควบคุมโรคเบาหวานได้ดียิ่งขึ้น เราคงต้องลงทุนลงแรงทำงานอีกหลายอย่าง เช่น การควบคุมปัจจัยเสี่ยงด้านอื่นๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เห็นเป็นรูปธรรมได้

-          ในสิทธิประโยชน์ของสิทธิ์ประกันสังคม  oral cancer screening ถูกตัดออกไป สำนักทันตสาธารณสุขจะเดินเรื่องนำเข้าใหม่ในปี 61-62 การตรวจสุขภาพช่องปากเกือบถูกถอดจากชุดสิทธิประโยชน์ สำนักทันตสาธารณสุขกำลังเดินเรื่องเพื่อแก้ไขต่อไป สิ่งที่สำคัญคือต้องทำข้อมูลให้เห็นชัดเจนว่าการตรวจฟันมีผลต่อสุขภาพช่องปากอย่างไร สิ่งที่เสนอมาเพื่อให้เห็นว่า มาตรฐานการบริการทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ถ้าไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน มีหลักฐานเชิงประจักษ์ หรือไม่เห็นประโยชน์ที่ชัดเจน มีความเป็นไปได้ยากว่าจะถูกกำหนดในชุดสิทธิประโยชน์

^_,^

กลุ่มสุดท้ายนี้พี่นิตถ่ายภาพให้ก่อนสมาชิกจะมาครบนะคะ

พี่มาลี  ลำลูกกา  และคุณหมอฝน  นาบอน  เป็น Fa 2 คนประจำกลุ่ม

สมาชิกกลุ่ม   7  คน

1. รพ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น  คุณหมอโอ  น้องเบส (ทันตาภิบาล รพ.สต.วังชัย)

2. รพ.สระใคร จ.หนองคาย  หมออ้อ  พี่นิต (พยาบาล NCDs manager คปสอ.)

3. รพ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก  คุณหมอเหน่ง

4. รพ.อ่าวลึก จ.กระบี่  คุณหมอบุศย์  น้องมีน (นักวิชาการสาธารณสุข  จบหลักสูตร 4 ปี  แต่ยังไม่มีตำแหน่งนักวิชาทันตสาธารณสุข)

Fa ตั้งต้นให้ดีค่ะ  มีสองแนวคิดหลักก่อน Community-based  เชื่อมกับ service-based  

ที่เราฟังมาสองวันเต็ม  สกัดกันสนุกสนาน  จัดกลุ่มข้อความที่อยู่ในประเด็นย่อยก่อน  แล้วค่อยมาเชื่อมโยงประเด็นย่อยหากัน

ไม่ได้เอาแค่ข้อมูลจาก 4 อำเภอนี้นะคะ  เช่น ผู้นำศาสนา (อำเภอที่ทำ คือ ยะหริ่ง) แต่เห็นว่าดีขยายต่อได้ในพื้นที่ที่ปัจจัย  เงื่อนไขเหมือนยะหริ่ง)

เห็นฝีมือการวางระบบ service  เชื่อมโยงกับทีมสหวิชาชีพ อำเภอพรหมพิราม  และ อ่าวลึก  ผู้เขียนประทับใจที่ทั้งสองโรงพยาบาลเขียนสรุปขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ  แสดงเป็น working flow  ที่ช่วยให้เราผู้รับสารเข้าใจง่ายขึ้น

แต่เหตุที่น้องมีนอายุน้อยสุด  รับการบ้านไปก็แล้วกันนะคะ  นั่งอยู่ร่วมเป็น "คนใน" กลุ่มอยู่แล้ว  (emic view)  เชื่อว่าศักยภาพสูงทำข้อความเชื่อมโยงกันให้ออกมาเป็น model แผนภาพ  ที่จะช่วยคนฟังในห้องใหญ่ทั้งหมดที่เป็นผู้รับสารพรุ่งนี้ ... เข้าใจง่ายขึ้น

ตื่นมา  ตื่นตาตื่นใจ  เกินความคาดหวัง  สรุปครบถ้วน  เป็น file model เรียบร้อย  สวยงาม  ... ลืมถามน้องมีนนอนดึกไหมคะ?

ขออนุญาตกลุ่มและที่ประชุม  เติมบางหัวข้อในแผนภาพที่น้องมีนทำมา  

เป็น model ที่กำลังพัฒนา  กว่าจะสรุปปิดโครงการใหญ่ปีหน้า  คงมีปัจจัย  เงื่อนไขเพิ่มเติม  หรือรู้ว่ารุงรังเกิน  อาจจะลดทอนทำแต่สิ่งจำเป็นที่เป็นไปได้ก่อน  ตามลำดับ  ตามบริบท  แผนกลยุทธ์  จุดเน้น  

พวกเรา  ทุกพื้นที่ร่วมพัฒนาซึ่งกันและกัน  ทั้งเนื้องานและ model สื่อสารออกมานะคะ

ค่อย ๆ ขยายเรื่องหรือประเด็นย่อยไปเรื่อย ๆ จน longlife อายุราชการ  อิ อิ

ฝันใหญ่เข้าไว้  แต่เริ่มจากจุดเล็กที่เราถนัด (competency)

ปรับสิ่งที่เพื่อนทำสำเร็จดีให้เข้ากับสิ่งที่เรามี  (หรือหาเพิ่มตามเพื่อน  จึงจะสำเร็จแบบเพื่อน)  พื้นที่เรา  คนเรา  ทีมเราอย่างเป็นสุข  เน้น ๆ ค่ะ ... ความสุขในชีวิต

กลุ่มเราทำงานเป็นทีม  นำเสนอเป็นทีม  โจทย์  3  ข้อ  ผู้เขียนรับภาพกว้างข้อ 1  

คุณหมอบุศย์  ต่อด้วยตัวอย่าง model เพิ่ม self care ด้วยเครือข่าย อสม.  เพิ่มการเข้าถึงบริการด้วยหน่วยเคลื่อนที่ที่ รพ.สต.  และพัฒนา premium clinic ใน รพช.

คุณหมอโอนักสร้างสรรค์นวัตกรรมกระบวนการทำงานในชุมชน  ต่อด้วยข้อ 2  และ  3

สรุปจบปิดท้ายด้วยนักวางและเชื่อมระบบ  ผู้บริหารที่นำใจ  นำความคิดทีมอย่างมีความสุข ... คุณหมอเหน่ง

ลงวันที่ร่วมคิดไว้ก่อนนะคะ  พุธที่ 13 กันยายน 2560  ห้องลักษมี  โรงแรมนารายณ์  สีลม  กทม.

1.  กลไกหรือรูปแบบที่จะนำไปสู่ self care และ access to care ของประชาชนวัยทำงาน  กลุ่มนอกสถานประกอบการหรือถือบัตรทอง

  (click ที่ภาพ  จะชัดเจนขึ้นนะคะ)


กลไกหรือรูปแบบเพิ่มการเข้าถึงบริการ (access to care)

Access to care

จุดเชื่อมเข้าระบบบริการทันตกรรมปกติ  (Situation analysis, กลยุทธ์/แผน, ออกแบบระบบบริการทันตกรรม) เช่น

- ประชาชนทั่วไป  อ่าวลึกโมเดล  (ต่อที่ Slide model)

- ผู้ป่วยเบาหวาน  พรหมพิรามโมเดล  (ตา ไต เท้า ฟัน สัญจร, คัดกรอง  เขียว เหลือง ส้ม แดง, PCC)

- มาตรฐานการคัดกรอง  เชื่อมวิธี self care ตาม oral status  อย่างไร  โดยใคร คิดต่อกันได้อีกนะคะ  เช่น

  1. ตัวบุคคลเจ้าของสุขภาพ
  2. ระบบเฝ้าระวังของชุมชน
  3. หมอครอบครัวประจำหมู่บ้าน  ทีมหมอครอบครัว PCC
  4. ทันตบุคลากร

2. Policy : District

- การบริหารค่าตอบแทน อสม. ทำงานด้านสุขภาพ (ช่องปาก)  ผ่าน อปท. ทำแผนสุขภาพ (ช่องปาก) : สนับสนุนผู้ช่วยทันตแพทย์

- แผนงานเพิ่ม self care ด้านช่องปากประชากรวัยทำงาน : ได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้ self care  ร้อยละ...

- แผนงานเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากวัยทำงาน : การเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก ร้อยละ...

3. Policy : National

3.1 MOU กับมหาดไทย  จัดสรรงบประมาณให้คัดกรองสุขภาพช่องปากเกษตรกรวัยทำงาน

  • DHB  แผนพัฒนาสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน 

3.2 พัฒนากำลังคน  ทันตแพทย์  นักวิชาการทันตสาธารณสุข  ทันตาภิบาล  ผู้ช่วยทันตแพทย์ [People excellence]

  • การคงอยู่ในระบบอย่างมีความสุข
  • สมรรถนะ 
    • self care
      • Facilitator เพื่อ empowerment ชุมชน, coaching, การกระตุ้นติดตาม
      • การพัฒนาองค์กรชุมชนเข้มแข็ง
    • รองรับบริการรักษาทันตกรรมวัยทำงาน
  • Career path
  • เปิดกรอบตำแหน่ง / บรรจุข้าราชการ  นักวิชาการทันตสาธารณสุข  ทันตาภิบาล

3.3  ระบบสารสนเทศ

  • คน  ทำหน้าที่จัดการข้อมูล

3.4  นวัตกรรม (ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์  อุตสาหกรรม) [Governance excellence : Innovation]

        3.4.1  หุนยนต์สอนแปรงฟัน

        3.4.2  Application ใน Smartphone  สำหรับประชาชน

                  3.4.2.1  self-screening ช่องปาก  ต่อถึง treatment plan  link เข้าระบบ District data center

                  3.4.2.2  อาหารที่กินประจำวัน  เพื่อการตัดสินใจเลือกอาหาร

^_,^

ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม

  • ทพ.สุธา จะนำไอเดียหุ่นยนต์สอนแปรงฟันไปเสนอให้อาจารย์ภาควิศวกรรมของมหาวิทยาลัยมหิดลช่วยพัฒนา
  • ทพญ.ปิยะดา เสนอว่า Application ทำไม่ยาก แต่เราต้องมี  content ให้ชัด และมีมาตรฐาน และมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนา ถ้าทีมงานอยากทำ ให้ตกลงกันให้ได้ว่าเราต้องการ Application อะไร 

^_,^

ใช้เวลาร่วมกันคุ้มค่า  3  วัน  ได้ไอเดียมาตกผลึกต่อ  จะปรับเพิ่มลดกิจกรรมปีหน้าอย่างไร

ได้ข้อคิดใช้ชีวิตอย่างสมดุลเป็นสุข  พอดี  พอประมาณ  มีภูมิคุ้มกัน  ทั้งการงานและส่วนตัว

ขอขอบคุณทุกคน  ทุกพื้นที่ที่มาเสนอวิถีผู้คนในอำเภอ  พี่น้องทีมกลางที่เป็น Resource person ให้ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่เย็นเป็นสุขระหว่างรับราชการ  และจนถึงหลังเกษียณสุขใจนะคะ

คงได้เจอกันอีก  

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่าน  สวัสดีนะคะ

^_,^

หมายเลขบันทึก: 636989เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2017 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2018 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นภาพทีมงานแล้วมีความสุข

มาชื่นชมทีมงานครับ

เย้ๆๆ

ขอบคุณมากคร้า  กำลังใจสม่ำเสมอ  เสียดายแม่หมอเกษียณแล้ว  ไม่งั้นคงยิ้มแช่งลูกชายมาเชียร์ทีมทันตฯ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท