KM (๒) : พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากวัยทำงาน กลุ่มบัตรทอง (๑๒ อำเภอทั่วประเทศ)



ต่อจาก บันทึกนี้  นะคะ

ก่อนจะเขียนบันทึกที่สามเชิงสังเคราะห์  จากแต่กลุ่มละอำเภอที่ทำงานใกล้เคียงกัน  ในแง่กลุ่มเป้าหมาย  วิธีดำเนินงาน  ความซับซ้อนหลากหลายของแนวคิดที่ใช้ออกแบบระบบงาน เป็นต้น

จำเป็นต้องเสนอรายละเอียดแต่ละอำเภอให้เห็นเนื้องาน  ที่ได้ตื่นตาเพิ่มมา คือ เคยบอกแล้วโครงการนี้ลำเอียงตั้งแต่คัดคนร่วมโครงการแล้ว

ผลงานแต่ละอำเภอจึงไม่ธรรมดา  ตัดเสื้อสวมชุดพอดีงามเหมาะในแต่ละบริบทและประวัติศาสตร์ของตัวเอง 

ติดตามกันนะคะ

^_,^

7.  อำเภอเถิน  ลำปาง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานวัยทำงาน และมีสิทธิบัตรทอง  

วัตถุประสงค์

หารูปแบบการทำงาน  ใน  2 บริบทที่แตกต่างกัน คือ ในโรงพยาบาล และในรพ.สต.

รูปแบบการดำเนินงาน/ข้อเสนอเชิงนโยบาย

ใน setting โรงพยาบาล

ตรวจฟัน+ย้อมสีฟัน DM ยใหม่ (วัยทำงาน) ทุกวันจันทร์ + นัดมาRecheck อีกครั้งเมื่อรับยา

- ตรวจฟัน DM รายเก่า  ทุกวันพุธแนะนำรายบุคคล

- จัดช่องทางพิเศษให้กับ DM ที่ต้องการรับบริการ

ใน setting รพ.สต.

- ให้ทันตสุขศึกษารายกลุ่มกับ DM ที่รอรับยา - ตรวจฟัน + ย้อมสี DM + นัดมา Recheck อีกครั้งเมื่อรับยา

ตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ ใน setting โรงพยาบาล

1. ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยวัยทำงานที่เป็นเบาหวานเข้าถึงบริการทันตกรรม ผลงานที่ได้ ร้อยละ 17.26

2. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยวัยทำงานที่เป็นเบาหวานกลับมาตามนัดครั้งที่ 2 ผลงานที่ได้ ร้อยละ 12.26

3. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยวัยทำงานที่เป็นเบาหวานที่ได้รับการสอนแปรงฟัน มี Plaque Index ครั้งที่ 2 ลดลงเมื่อเทียบกับ Plaque Index ครั้งที่ 1

 ตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการใน setting รพ.สต.

1. ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยเบาหวาน ได้รับการนัดตรวจช่องปาก ผลงานที่ได้ ร้อยละ 39.40

2. ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ได้รับใบนัด มารับการตรวจช่องปากและบริการทันตกรรมที่เหมาะสม ผลงานที่ได้ ร้อยละ 100

3. ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยเบาหวาน (รับยาที่ รพ.สต.กุ่มเนิ้ง) ได้รับการสอนแปรงฟัน มี Plaque Index ครั้งที่ 2 ลดลงเมื่อเทียบกับ Plaque Index ครั้งที่ 1

ปัญหาอุปสรรค

1. ผู้ป่วยที่มาตามนัดครั้งแรก ส่วนใหญ่ผิดนัดครั้งที่ 2

2. ผู้ป่วยบางรายมาในวันอังคาร ซึ่งไม่มีเจ้าหน้าที่กระตุ้นเตือนนัด

ข้อสังเกต

1. การติดตามที่ รพ.สต.  ได้ผลดีกว่า  อาจเพราะ จำนวนคนไข้น้อย

2. ใน รพ.  ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานรายใหม่   มีผลการติดตามต่อเนื่องได้มากกว่า และมาตรวจสุขภาพช่องปากตามระบบมากกว่า ผู้ป่วยเบาหวานรายเก่า

3. ผู้ป่วย DM วัยทำงาน   อยู่ในช่วงวัยทำงานปลาย ๆ  (ก่อนสูงอายุ)

ข้อเสนอแนะจากพื้นที่

1. การเพิ่ม Access to care ไม่ใช่สิ่งที่กลุ่มเป้าหมายนี้อยากได้  กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานวัยทำงานบัตรทองไม่ได้อยากได้  accessibility เพราะได้รับบริการฟรีทุกอย่างอยู่แล้ว

2. กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานวัยทำงานส่วนใหญ่เป็นวัยก่อนสูงอายุ

3. กลุ่มเป้าหมายที่ทำ (กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานวัยทำงาน) ตรงตามโครงการใหญ่ตอนตั้งต้นหรือไม่

4. ควรหาEntry point สำหรับวัยทำงาน.ตอนต้น/ตอนปลาย 

5.ควรกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มวัยทำงานนอกสถานประกอบการ

ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม :

สำหรับการดำเนินงานใน setting โรงพยาบาล เสนอให้มีห้องฟันสำหรับทำงาน prevention โดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มการทำงาน Self Care

^_,^

8. อำเภอพรหมพิราม  พิษณุโลก

นำเสนอโดย  ทพ.ฉัตรชัย  มาแก้ว

วิเคราะห์สถานการณ์

ในปี 2560 ผู้ป่วยเบาหวานที่อยู่ในกลุ่มวัยทำงานของอำเภอพรหมพิราม มีจำนวน 2,189 คน คิดเป็นร้อยละ 43.34 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด (5,050 คน)

และพบข้อมูลการได้รับบริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงาน ยังมีน้อย คิดเป็นร้อยละ 14.23 (5,676 คน) ของประชากรกลุ่มวัยทำงานทั้งหมด (39,895 คน)

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มวัยทำงาน

วัตถุประสงค์

1. เพิ่มการถึงการบริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงานในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานในอำเภอพรหมพิราม </p>

2. ผู้ป่วยเบาหวานวัยทำงานได้รับการตรวจสุขภพาช่องปากและทราบผลการตรวจสุขภาพช่องปากรายบุคคล 

 3. ผู้ป่วยเบาหวานวัยทำงานที่มีความจำเป็นต้องได้รับบริการทันตกรรม ได้รับบริการทันตกรรมทั้งในด้านการรักษาและการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก

รูปแบบการดำเนินงาน/ข้อเสนอเชิงนโยบาย
แนวคิดการพัฒนาระบบ  เพื่อให้ผู้ป่วยในกลุ่มนี้เข้าถึงบริการทันตกรรม

1. ดำเนินการในลักษณะสหสาขาวิชาชีพและบูรณาการไปกับการดำเนินงานออกหน่วยเคลื่อนที่ ตา ไต เท้า ฟัน สัญจรประจำปี  ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน

ในทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล อำเภอพรหมพิราม

- Boundary Partner : แพทย์ พยาบาล นวก. และ อสม. แต่ละ รพ.สต.

2. ใช้เครื่องมือ “ สี บอกสุขภาพช่องปาก ”

เขียว  - ปกติ สุขภาพช่องปากดี ไม่มีฟันผุ

เหลือง มีฟันผุเป็นรอยสีดำไม่ลึก คอฟันสึก

ส้ม – ฟันผุเป็นโพรงขนาดใหญ่ มีอาการเสียวฟัน

แดง – ฟันผุเป็นโพรงขนาดใหญ่ หลายซี่ มีรอยโรคในช่องปาก

รวมถึง ให้ทันตสุขศึกษารายบุคคลด้วย เช่น ปรับวิธีการแปรงฟัน ปรับตำแหน่งการแปรง คนไข้มาขูดหินปูน มารับบริการอื่นๆ ก็สอนทันตสุขศึกษาให้ด้วย

ผลลัพธ์

การเข้าถึงบริการ ( Access to care )

1. ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มวัยทำงานได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก (ร้อยละ 50)

* ผลการดำเนินโครงการ ร้อยละ 62.40 ( 1,366 / 2,189 )

    2. ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มวัยทำงานที่ถูกจัดในกลุ่ม สีเหลือง สีส้ม สีแดง และ ยินยอมรับการรักษา ได้รับการรักษาทางทันตกรรม ( ร้อยละ 50 )

* ผลการดำเนินโครงการ ร้อยละ 64.65 ( 289 / 447 )

 การสร้างเสริมทันตสุขภาพสู่การดูแลตนเอง ( Self care )

      ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มวัยทำงานที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ทราบผลการตรวจสุขภาพ ช่องปากของตนเอง และการดูแลสุขภาพช่องปากรายบุคคล ( ร้อยละ 100 )

* ผลการดำเนินโครงการ  ร้อยละ 100 ( แจกแผ่นพับ สี บอกสุขภาพช่องปาก )

Key success factor/ปัญหาอุปสรรค

Cure & Care

1. ขยายพื้นที่ในการให้บริการ (ACCESS+COVERAGE)

2. ความสะดวก สบายในการรับบริการทันตกรรม (ENTRY)

3. มีเครื่องมือสื่อสารสุขภาพช่องปากให้เข้าใจง่าย/เห็นความสำคัญ/รับการรักษาทางทันตกรรมเพื่อป้องกันการสูญเสียฟัน (SELF CARE) 

4. สอดแทรกกิจกรรมสร้างเสริมทางทันตสุขภาพ (SELF CARE)

แผนการดำเนินงานต่อไป

1. ดำเนินงานและกิจกรรมตามแนวทางของปี 2560

2. ประเมินแนวโน้ม เขียว เหลือง ส้ม แดง ในวัยทำงานของผู้ป่วยเบาหวาน  เพื่อประเมิน Self Care ปี 2561

3. complete Case วัยทำงานในผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2561 

4. ร้อยละการเข้าถึงการบริการทันตกรรมวัยทำงานภาพรวม ในอำเภอพรหมพิราม ปี 2561

ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม :

  • โรงพยาบาลพรหมพิราม มีผู้นำดี มี Leadership เป็น Role model ถือเป็น Key success หนึ่งในการ empower ทีมงานทำให้งานสำเร็จ 
  • แนวทางในการจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายอีกร้อยละ 50 ให้เข้าถึงบริการทันตกรรมเพิ่มขึ้น ควรจะต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจบริบทของพื้นที่ บริบทของสภาพการทำงาน ให้ทีมงานเข้าใจและยอมรับ ที่สำคัญ คือ หัวหน้าต้องเป็น back up ให้ลูกน้องได้ ต้อง support ทั้งด้านงานและชีวิตส่วนตัว
  • ชื่นชมทีมงานที่ทำงานอย่างเข้มแข็ง เน้นการทำงานเป็นทีม รวมถึงปรับบริบทการทำงาน ปรับ service และเพิ่มข้อคำถามถึงความต้องการรักษาเทียบกับการมารับบริการจริง และค้นหาสาเหตุที่ทำให้ไม่มารักษา เพื่อการแก้ไขปัญหาที่แท้จริงต่อไป 

^_,^

9.  อำเภอลอง  แพร่

วิเคราะห์สถานการณ์
- โครงสร้างประชากรปี 2560 ตามที่อาศัยอยู่จริง พบว่าประชากรวัยทำงาน มี 23,750 คน คิดเป็นร้อยละ 59.07 และส่วนมากอยู่ในช่วงอายุ  45 – 64 ปี

- โรคที่เป็นปัญหาสำคัญของประชากรในกลุ่ม 45 – 64 ปีคือกลุ่มโรค NCD โดยกลุ่มที่ให้ความสนใจคือ กลุ่มเบาหวาน เพราะตัวโรคมีความสัมพันธ์กับโรคปริทันต์ในช่องปาก

- จำแนกโรคพบว่าป่วยด้วยโรคเบาหวานทั้งหมด 2,741 คน  และมีคนไข้เบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ 931 คน 

- รับยาที่โรงพยาบาล ประมาณ 2,000 ราย ส่วนที่เหลือรับยาที่ รพ.สต.

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

วัตถุประสงค์

1. เพิ่มการเข้าถึงบริการทันตกรรมในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มวัยทำงานในอำเภอลอง

2. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทราบผลการตรวจสุขภาพช่องปากรายบุคคล

รูปแบบการดำเนินงาน/ข้อเสนอเชิงนโยบาย

Action plan (โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากวัยทำงานในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคมระดับน้ำตาลไม่ได้)

1. ประชุมเครือข่ายทีมสหวิชชาชีพของโรงพยาบาล

2. ประชาสัมพันธ์โครงการ

3. สำรวจและคัดกรองผู้ป่วยเบาหวาน

4. ให้ความรู้ ทำการรักษาและติดตามสภาวะช่องปากผู้ป่วย ร่วมกับให้คำปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

- ตรวจสุขภาพช่องปากในผู้ป่วย NCD (ประจำปี)

- แสตมป์ฟันดี

รับแสตมป์สะสมทุกครั้งที่มาตรวจฟัน มาทำฟัน นำไปติดสะสมในสมุดสะสมแสตมป์ฟันดี เพื่อแลกรับของรางวัล เช่น เสื้อ ประเป๋า 

5.สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

ผลลัพธ์

การเข้าถึงบริการของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นจาก ปี 2559

1. ผู้ป่วยเบาหวานได้ตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก ปี 2560 ร้อยละ 57.45

2. ผู้ป่วยเบาหวาน ได้รับบริการทันตกรรม ปี 2560 ร้อยละ 67.19

3. ผู้มีอายุ 15-59 ปี ได้รับบริการทันตกรรมปี 2560 ร้อยละ 16.21

Key success factor 

  -ทีมงานมีความเข้มแข็ง

ปัญหาอุปสรรค :

- เป้าหมายยังมีจำนวนน้อยอยู่ และในบางรายไม่เข้ามารับการรักษาต่อเนื่อง

- การรักษาปริทันต์เป็นการทำงานต่อเนื่อง ต้องใช้เวลาถึงจะเห็นผลการรักษา

- การทราบถึงสภาวะที่ดีขึ้นจำเป็นต้องดูจาก HbA1C ซึ่งผู้ป่วยไม่ได้รับการเจาะทุกราย

- มีความล่าช้าในการตรวจ

แผนการดำเนินงานต่อไป

- ในตอนที่จะเข้าไปตรวจฟันสัญจร ตา ไต เท้า ฟัน ให้ทำการจำแนกผู้ป่วยที่เหมาะสมจะเข้าโครงการ  โดยการนัดมาที่โรงพยาบาล

- ต้องให้แรงจูงใจเพิ่มเติมเพื่อให้คนไข้มารับบริการต่อเนื่อง

  > การให้ความสะดวกด้านคิวทำฟันที่เร็วขึ้น

  > การเพิ่มกิจกรรมที่ส่งเสริมด้าน self care ให้กับผู้ป่วย โดยใช้หลักการ Health coaching เข้ามาช่วย

- การติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ผ้ป่วย มีภาวะเบาหวานดีแล้ว และเปลี่ยนไปรับยาที่ รพ.สต. 

    >ให้ทันตาภิบาลในพื้นที ติดตามต่อโดยใช้สมุดบันทึกสภาวะสุขภาพช่องปากเพิ่มเติม

ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม :

1.       รูปแบบของโรงพยาบาลลอง เป็นรูปแบบที่เป็นพื้นฐานของวิชาชีพ เป็นรูปแบบงานที่เราไม่ต้องเปลี่ยนอะไรจากที่เราทำอยู่เดิมมาก จะลองเอาไปทำในพื้นที่ ให้เจ้าหน้าที่ทำ ทำอย่างไร ให้เกิด access entry เพิ่ม จะไป empower ให้ทันตาภิบาลทำบ้าง โดยเฉพาะในกลุ่มควบคุมน้ำตาลไม่ได้ ซึ่งมักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องฟัน เพราะเขามีปัญหาในเรื่องสุขภาพด้านอื่นๆ มากกว่าเรื่องฟัน การใช้ model แบบนี้จึงเหมาะกับผู้ป่วยกลุ่มนี้

2.       โรงพยาบาลลอง จะมีการประชุมกับสหวิชาชีพทุกครั้ง ประชุมเป็นประจำทุกเดือน มีการสรุปข้อคิดเห็นร่วมกัน ทุกงานจะเกี่ยวเนื่องกับแทบทุกสหวิชาชีพ การทำcoaching ช่วยการทำงานได้มากขึ้น

3.       ทีมงานมีความเข้มแข็ง เรียนรู้การแก้ปัญหา ถึงแม้ทีมงานจะอายุน้อย แต่งานนี้จะทำให้ทีมเกิดความเข้มแข็งขึ้น การสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งโรงพยาบาลลอง ทำได้ดี

^_,^

10.  โรงพยาบาลละงู  จังหวัดสตูล

วิเคราะห์สถานการณ์

วัยทำงานได้รับบริการช่องปาก 4,045 คน 6,615 ครั้ง

- คิดเป็น 6.7 % ของประชากรทั้งหมด 60,718 คน (นับจากการตรวจฟัน)

- คิดเป็น 11.25% ของจำนวนประชากรวัยทำงาน

- หญิงเข้าถึงบริการมากกว่าชาย  2.55 เท่า

- ช่วงกลุ่มวัยที่เข้าถึงบริการมากที่สุด คือ 50-54 และ 55-59 ปี - บริการที่ได้รับส่วนใหญ่เป็น การถอนฟัน ขูดหินน้ำลาย และ อุดฟัน ตามลำดับ

กลุ่มเป้าหมาย

1. ผู้มารับบริการขูดหินน้ำลายในโรงพยาบาลและ รพ.สต.

2. กลุ่มผู้ปกครองเด็กเล็กในโครงการนมผงโพรไบโอติกป้องกันฟันผุ รพ.สต.เขาขาว 

3.กลุ่ม อสม. ตำบลกำแพง

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายวัยทำงานใน อ.ละงู ดำเนินชีวิตประจำวันด้วยวิถี self care ดูแลช่องปากตนเองได้

2. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการของประชากรวัยทำงานทั้งหมด

รูปแบบการดำเนินงาน/ข้อเสนอเชิงนโยบาย

1. กิจกรรมในกลุ่มผู้มารับบริการขูดหินน้ำลายในโรงพยาบาลและ รพ.สต.

1) ย้อมสี ประเมินสภาวะช่องปากของตนเองร่วมกับทันตแพทย์    ฝึกทักษะการแปรงฟัน และขูดหินน้ำลาย

2) นัดติดตามประเมินประสิทธิภาพการแปรงฟันต่อเนื่อง

3) ทำ completed case และ recall ทุก 3-6 เดือน

2. ในกลุ่มผู้ปกครองเด็กเล็กโครงการนมผงโพรไบโอติกป้องกันฟันผุ รพ.สต.เขาขาว

1)อบรมให้ความรู้เรื่องโรค การป้องกันและการรักษาโรค พฤติกรรม       การรับประทานอาหาร การเลือกแปรงและยาสีฟัน การแปรงฟัน

2) ย้อมสี ประเมินสภาวะช่องปากของตนเองร่วมกับทันตแพทย์

3) ฝึกทักษะการแปรงฟันและตรวจฟันโดยทันตแพทย์

4) นัดหมายทำการรักษาที่ รพสต เขาขาว ร่วมกับ ย้อมสีและฝึกทักษะการแปรงฟันทุกครั้ง จนผ่านเกณฑ์

3. ในกลุ่ม อสม. ตำบลกำแพง

1) อบรมให้ความรู้และฝึกทักษะการแปรงฟัน (Hand on) แก่ อสม. เพื่อสร้างแกนนำในการดูแลสุขภาพช่องปากประจำหมู่บ้าน

2) ตรวจฟันอย่างละเอียดตามแบบฟอร์มการตรวจฟันสำหรับวัยทำงานและวางแผนการรักษาร่วมกัน

3) นัดหมายทำการส่งเสริม ป้องกันและรักษาแก่ อสม. ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่องจนเสร็จสมบูรณ์

4. ในกลุ่ม อสม.ตำบลกำแพง  อสม. หาลูกข่าย  (อสม. 1 คนต่อลูกข่าย 5 ครัวเรือน)  เป้าหมาย 250 ครัวเรือน

1) อสม. แกนนำ ตรวจฟัน ย้อมสีและสอนทักษะการแปรงฟันให้แก่ลูกข่ายที่ตนเองรับผิดชอบ

2) ตรวจฟันลูกข่ายโดย อสม. กรณีคนที่อยู่ในความดูแลของ อสม. รายใด มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน อสม. จะประสานงานมายังเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขเพื่อนัดหมายทำการรักษาต่อไป

3) ทันตบุคลากร ร่วมกับ อสม. ออกเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการ โดย ออกเยี่ยมทั้งหมด 5 วันๆ ละ 1 หมู่บ้าน ทั้งหมด 5 หมู่บ้านๆละ 10 ครัวเรือน


ผลลัพธ์

1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มผู้ปกครองและ อสม.ทั้งหมด 100 ราย มีประสิทธิภาพการแปรงฟันดีขึ้น (วัดจากการเปลี่ยนแปลงของค่า PI) ผลลัพธ์ที่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงของประสิทธิภาพการแปรงฟัน (มาอย่างน้อย 2 visit) รวมทั้งหมด 107 ราย PI ดีขึ้น 56 ราย     คิดเป็นร้อยละ 52.34

2. ร้อยละ 30 ของกลุ่มผู้ปกครองและ อสม.ทั้งหมด 100 ราย มีประสิทธิภาพการแปรงฟันดีเยี่ยม (PI=A) ผลลัพธ์ที่ได้ ผู้รับบริการที่ฝึกทักษะการแปรงฟันแบบ hands on ทั้งหมด 518 ราย มีประสิทธิภาพการแปรงฟันดีเยี่ยม (PI=A) 52 คนคิดเป็นร้อยละ 10.02

3. ประชากรวัยทำงานมีการเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างน้อย 500  ราย ผลลัพธ์ที่ได้ วัยทำงานเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นจากเดิม 500 ราย เป็น 3,383 คิดเป็น ร้อยละ 9.35

ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม :
1. สอนแปรงฟันที่ยูนิต เนื่องจากไม่มีมีห้องสอน
2. การมีห้องสอนแปรงฟันเป็นระบบจะช่วยเพิ่ม self care ให้กับคนไข้
      3. ต้องจัดหาพื้นที่สำหรับแปรงฟันไว้สักห้อง ให้คนอยากเข้าไปแปรงฟัน

^_,^

11.  โรงพยาบาลยะหริ่ง  ปัตตานี

วิเคราะห์สถานการณ์

รพ.ยะหริ่ง ยังขาดแพทย์และทันตแพทย์  และอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ต่อประชากรยังขาดแคลน การทำงานเชิงรับไม่สามารถตอบโจทย์การทำงานได้ จึงมุ่งเน้นทำให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายวัยทำงานสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ (Self care)

กลุ่มเป้าหมาย

ประชากรกลุ่มวัยทำงาน

วัตถุประสงค์
1. ประชาชนวัยทำงานสามารถดูแลช่องปากตนเองได้

2. ประชากรวัยทำงานสามารถเข้าถึงบริการได้เพิ่มขึ้น

รูปแบบการดำเนินงาน/ข้อเสนอเชิงนโยบาย

1. กิจกรรมให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้มารับบริการในคลินิกทันตรรมพร้อมประเมินและติดตามผลการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง

1) ฝึกประเมินสภาวะช่องปากด้วยตนเอง ด้วยการย้อมสีฟัน

2) สอนทันตสุขศึกษา สาธิต และฝึกการแปรงฟัน

3) ติดตามประเมินประสิทธิภาพการแปรงฟันอย่างต่อเนื่อง และบันทึกลงโปรแกรม HosOS

2. กิจกรรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้ที่จะไปประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะห์ โดยการตรวจฟัน ให้ทันตสุขศึกษา และบริการทันตกรรม

3. กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายผู้นำศาสนาและอสม.

ในกลุ่มผู้นำศาสนา

1) ประชุมชี้แจงทีมผู้นำศาสนา

2) ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก (ผู้นำ)

3) ตรวจสุขภาพช่องปากผู้นำศาสนาและจัดช่องทางด่วน

4) ผู้นำศาสนาให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากผ่านการอ่านคุตเบาะห์ในการละหมาดวันศุกร์

ในกลุ่ม อสม.

1) อบรม/ฝึกทักษะ อสม.การทำความสะอาดช่องปาก

2) พาบุคลากรอสม. ไปพัฒนาศักยภาพในการเป็นผู้นำในการดูแลสุขภาพช่องปาก

3) อสม.สะท้อนหลังจากลงติดตามเยี่ยมบ้าน

ในกลุ่มผู้ปกครอง

1) อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากแม่ผู้ปกครอง

2) อสม.ให้ความรู้ผู้ปกครองในบ้าน (เยี่ยมบ้าน)

กิจกรรมอื่นๆ

1. กองทุนจำหน่ายอุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปาก (แปรง ยา ไหมขัดฟัน)

2. กำหนดนโยบายสาธารณะ

3. สร้างกระแสในการดูแลสุขภาพช่องปาก “คนตอหลังฟันดี” เดินพาเหรด ประกวดแปรงฟัน

4. ให้ทันตสุขศึกษาในกลุ่มวัยรุ่นที่มีการรวมตัวกัน 

5.กิจกรรมตรวจฟันและสอนทันตสุขศึกษาร่วมกับ NCD ในการตรวจคัดกรอง HT,DM

ผลลัพธ์

1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีประสิทธิภาพการแปรงฟันดีขึ้น (วัดจากการเปลี่ยนแปลงของค่า  PI) ผลการดำเนินงานพบว่า สามารถทำได้ร้อยละ 85

2. ร้อยละ 30 ของกลุ่มเป้าหมายมีประสิทธิภาพการแปรงฟันดี (PI≤1) ผลการดำเนินงานพบว่า สามารถทำได้ร้อยละ20.5      3. ประชากรวัยทำงานมีการเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างน้อย 2,000 ราย ผลการดำเนินงานพบว่า วัยทำงานเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น 1,330 คน

Key success factor/ปัญหาอุปสรรค

ผู้นำทางศาสนา  ใช้หลักคำสอนของศาสนา เช่น แปรงฟันก่อนละหมาดจะได้บุญเพิ่มขึ้น 70 เท่า หรือการมีสุขภาพช่องปากที่ดีจะทำให้ผลบุญเยอะกว่า

หลักศาสนาที่นำมาใช้ในการดูแลสุขภาพช่องปากที่สำคัญ คือ 


ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม :

อำเภอยะหริ่ง มี focal point ที่ผู้นำศาสนา ถ้าผู้นำศาสนาเอาด้วย งานจะสำเร็จได้มาก เพราะถ้าผู้นำศาสนาบอกให้ทำอะไร มักจะเชื่อโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือมีเงื่อนไข  มีหลักศาสนาที่เอื้อต่อสุขภาพช่องปาก เช่น การแปรงฟันก่อนละหมาดทุกครั้ง 

^_,^

12.  โรงพยาบาลน้ำพอง  ขอนแก่น

วิเคราะห์สถานการณ์
1. ความชุกโรคฟันผุ เหงือกอักเสบสูง

-ปชช. มีปัญหาสุขภาพช่องปากและส่วนใหญ่ขาดทักษะ

2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น

3. กำลังบุคลากรน้อย / ข้อมูลมาก

กลุ่มเป้าหมาย

ประชาชน วัยทำงาน

วัตถุประสงค์

1. ระดับบุคคล เพื่อเสริมศักยภาพและทักษะ อสม. แม่บ้าน และชุมชน ในการดูแลสุชภาพช่องปากของตนเองบูรณาการกับสุขภาพรวม

2. ระดับชุมชน

-เพื่อให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับทราบปัญหาของตนเอง ชุมชน และพฤติกรรมเสี่ยงของประชนในพื้นที่

-เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาสุขภาพช่องปากประชาชนวัยทำงาน โดยบูรณาการกับสุขภาพโดยรวม -และร่วมกันสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งการกำหนดมาตรการหรือนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้อง

รูปแบบการดำเนินงาน/ข้อเสนอเชิงนโยบาย

1. ระดับบุคคล ปรับระบบบริการต่อเนื่องเพิ่มกลุ่มวัยทำงาน  ANC  และวัยทำงานที่เข้ามารับบริการที่รพสต. 

-ตรวจช่องปาก และให้คำแนะ ทุกรายที่มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรก สอนแปรงฟัน และ ฝึกทักษะ (ในวันที่มาฟังผลเลือด)

-นัดหมาย /ส่งต่อเข้ารับบริการทันตกรรม ไตรมาส 2 กรณีขูดหินน้ำลาย

-เยี่ยมหลังคลอด 1 เดือน โดยบุคลากรสาธารณสุขและทันตบุคลากร

2. ระดับชุมชน

-การทำแผนสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย (ต่อเนื่องขยาย)

>ประชุมยกร่างแนวการดำเนินงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในตำบล รับฟังมติที่ประชุมในการเสนอแนวทางและผู้เข้าร่วมทำแผน จัดตำบลละ 1 วัน

>ให้ข้อมูลการบริโภคน้ำตาลในชุมชน ผ่านร้านค้า - การสร้างนโยบายสาธารณะ “งานบุญปลอดน้ำอัดลม

>พัฒนาศักยภาพ ทักษะ ภาคีเครือข่าย  อสม. ให้ผู้ปกครอง

 >>อบรมเชิงปฏิบัติการ “แปรงฟันอย่างไรให้ลูกฉลาด” แก่ผู้ปกครอง

สื่อที่ง่าย มีส่วนร่วม

>>อบรมเชิงปฏิบัติการ “กิน กอด เล่น เล่า และการดูแลสุขภาพช่องปาก แม่และเด็ก แก่ผู้ปกครอง -จัดเก็บข้อมูลใน JHCIS เรื่อง พฤติกรรมเสี่ยง หรือ การรู้เท่าทันด้านสุขภาพของประชาชนเป็นระยะ และ จัดIntervention ที่เหมาะสม ระดับ บุคคล ครอบครัว ชุมชน หรือเชิงนโยบาย

ผลลัพธ์

-ได้แผนการพัฒนาสุขภาพช่องปาก 1 ตำบล

-เกิดเครือข่ายการดำเนินงาน จาก อปท. อสม. ผู้ปกครอง ครู  ผู้นำชุมชน จนท.

-ทีมงานมีการเรียนรู้ร่วมกัน

-ผู้ปกครองได้รับการอบรมและมีทักษะการดูแลช่องปากเพิ่มขึ้น 1 ตำบล

 

การเข้าถึงบริการ

-ผู้ที่มีความจำเป็นต้องรับบริการเข้าถึงบริการทันตกรรมมากขึ้น

-ได้ปรับระบบบริการ 3 ตำบล เป็น รายบุคคล

-มีนโยบายสาธารณะในพื้นที่ 36 หมู่บ้าน 5 รพสต.

-ตกลงร่วมกันในการจัดทำเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

-ได้เรียนรู้ว่า ยังมีอะไรต้องพัฒนาต่ออีกหลายประเด็น

 Self care ชุมชนมีความตระหนักเรื่องสุขภาพมากขึ้น หลังได้รับคาวมรู้ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ใช้น้ำสมุนไพรทดแทนน้ำอัดลมในงานบุญ

ปัญหาอุปสรรค

1. ภาระงานของทันตบุคลากรในการคีย์ข้อมูล ใช้เวลามาก ทำให้มีเวลาน้อยลงในการพัฒนางานนี้

2. ข้อมูลจาก JHCIS ยังไม่สามารถนำมาประมวลเพื่อการควบคุมกำกับติดตามกลุ่มเป้าหมายได้ ทำให้ต้องใช้โปรแกรม SPSS เพิ่มมา

3. ช่องว่างระหว่างการให้ความรู้และการรับรู้ปรับเปลี่ยนการประเมินผล

4. การสร้างกระแสในชุมชน ควรต้องทำต่อเนื่องจนเกิดพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการในชุมชน

5. จัดให้มีบริการเพื่อ self care ทุก รพสต.

แผนการดำเนินงานต่อไป

1. การดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับงาน NCD

2. ขยายการเข้าถึงบริการทันตกรรมในผู้ป่วยเบาหวานในช่วงมารับบริการ ในชุมชน 

^_,^

เต็มอิ่มไหมคะทั้ง  12  อำเภอ  ทั่วประเทศไทย

พักก่อนนะคะเย็นนี้   รับประทานอาหารเย็นเรียบร้อย  ... แปรงฟันถูกวิธีให้สะอาด 

อาหารในกระเพาะย่อยไปเรื่อย ๆ   ข้อมูลทั้งหลายในสมองก็ย่อยเช่นกัน  จัดหมวดหมู่เรียบร้อย

พร้อมระดมจิตใจและสมองกันต่อในภาคค่ำ

ได้ยินว่าจัดกลุ่มใหม่  สลายภาค   ให้กลุ่มอำเภอที่ระดับงานซับซ้อนใกล้เคียงรวมกลุ่มใหม่

หาสิ่งที่เหมือน  แลกเปลี่ยนสิ่งที่ต่าง  จัดวางตัวต่อให้ jigsaw เป็นรูปร่างระบบงานที่ทำมากับมือ

ให้เห็นภาพที่จะวางตัวต่อตัวต่อไป  ให้เข้าใกล้ภาพฝันการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพช่องปาก (self care)  และเชื่อมเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพช่องปากภาครัฐ  (access to care) ตามโจทย์โครงการใหญ่  ในกลุ่มวัยทำงานที่ถือบัตรทอง

^_,^

บันทึกที่สามเชิงสังเคราะห์จากสมาชิก 4 อำเภอต่อกลุ่ม  รวมได้ 3 กลุ่ม

โปรดติดตามบทสรุปของการประชุมครั้งนี้

ต่อยอดไปสู่ปีที่สามของโครงการใหญ่

สักครู่นะคะ  พักแป๊บ

^_,^



ความเห็น (5)

มาส่งดอกไม้

พร้อมความคิดถึงจ้ะ

มาชื่นชม

ทีมงานมาจากทั่วประเทศเลยนะครับ

ขอบคุณมากค่ะคุณมะเดื่อ  ช้างกระหรือเปล่าคะ

ดีใจที่ตอบรับเข้าโครงการนี้ค่ะ  ดู Slides เพื่อน ๆ เหมือนได้ไปเหนือ ใต้ กลาง อีสานด้วยกัน

ทั่วไทยเลยค่ะ อ.ขจิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท