สิทธิอันเนื่องมาจากการกระทำของบุคคล?


สิทธิอันเนื่องมาจากการกระทำของบุคคล  เป็นสิทธิที่กระทำด้วยใจสมัคร  และชอบด้วยกฎหมาย  เรียกว่า  นิติกรรม
                องค์ประกอบนิติกรรม  นิติกรรมจะต้องเกิดจากการกระทำของบุคคล  และประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
                1.  ต้องมีการแสดงเจตนาของบุคคล  หมายความว่า  บุคคลนั้นกระทำสิ่งใดลงไปเพื่อต้องการผลอย่างใดอย่างหนึ่งทางกฎหมาย  หรือมีความประสงค์ที่จะก่อความสัมพันธ์ขึ้นตามกฎหมาย  เช่น  การทำสัญญา  เป็นต้น
                2.  จะต้องเป็นการกระทำด้วยความสมัครใจ  กล่าวคือ  เมื่อมีการแสดงเจตนากระทำแล้ว  การกระทำนั้นจะต้องประกอบด้วยความสมัครใจอีกด้วย  เช่น  ไม่ใช่การกระทำที่เกิดจากการข่มขู่หรือใช้กำลังบีบบังคับไม่ใช่การกระทำขณะไม่มีสติสัมปชัญญะ  ซึ่งอาจจะเป็นผลทะให้นิติกรรมไม่มีความสมบูรณ์ได้
                3.  ต้องเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย  ผลของนิติกรรมนั้นกฎหมายยอมรับในการคุ้มครองและบังคับบัญชาให้เกิดผลตามที่เจตนากระทำ  ฉะนั้นการกระทำดังกล่าวนั้นจึงจะต้องการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย  เช่น  ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย  หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  เป็นต้น
                4.  จะต้องเป็นการที่กระทำที่มีเจตนาให้เกิดผลตามกฎหมาย  ผลตามกฎหมายของนิติกรรมนี้มีความสำคัญมาก  คือ  เมื่อนิติกรรมที่ได้ทำขึ้นมีความสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วจะเกิดผลซึ่งเรียกว่า  ความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ

คำสำคัญ (Tags): #kmpprep
หมายเลขบันทึก: 636987เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2017 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2017 09:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท