วิกฤตธรรมกาย: ยอดของภูเขาน้ำแข็งของพุทธแบบไทย


ในขณะที่คณะทหารจะคิดว่าพุทธแบบไทยจะบริสุทธิ์ได้หากมีการจับกุมอดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมกาย แต่ผู้เชี่ยวชาญกลับบ่งชี้ว่าการขาดซึ่งรัฐฆราวาสวิสัย (secularism) และการขาดซึ่งความอดทนทางการเมือง (political tolerance) ก็อุปสรรคของศาสนาที่มีอำนาจครอบงำอยู่นั้น (พุทธศาสนา ผู้แปล)

ในวันที่ 10 เดือนมีนาคม ปี 2016 คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดสัมมนาเรื่อง วิกฤตธรรมกาย หรือวิกฤตสังคม? ในการสัมมนาจะมีการพูดถึงการข่มขู่ (harassment) ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องกับวัดธรรมกาย และการข่มขู่นั้นจะทำให้การแก้ไขปัญหาสังคมห่างไกลออกไป ผู้เข้าร่วมเห็นว่าอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่มิใช่วัดธรรมกาย แต่คือองค์กรชาวพุทธที่มีอำนาจครอบงำ หรือมหาเถรสมาคมต่างหาก

ประวัติศาสตร์ของมหาเถรสมาคม (History of Sangha Council)

Aphinya Fuengfusaku ซึ่งเป็นผู้บรรยายที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม. เชียงใหม่ กล่าวว่ามหาเถรสมาคมป้องกันไม่ให้การแยกพุทธออกจากรัฐ (secularism) ในสังคมไทยปัจจุบัน

มหาเถรสมาคมเป็นองค์กรแบบบนลงล่าง ที่ปกครองพระสงฆ์ทั้งประเทศ  ตัวมหาเถรสมาคมเองเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อทำศาสนาให้ทันสมัย (modernize) อย่างไรก็ตาม อำนาจรัฐ (state power) ถูกใช้เพื่อรับรองการดำรงอยู่ขององค์กรทางศาสนาที่แน่นอนอันหนึ่ง (a certain religious organization) และให้อำนาจเหนือกว่าองค์กรทางศาสนาอื่นๆ (ครูบาศรีวิชัยเป็นตัวอย่างขององค์การทางศาสนาอื่นๆ ผู้แปล)

Aphinya ยังกล่าวเสริมด้วยว่ามหาเถรสมาคมมีจุดมุ่งหมายประการหนึ่งก็คือทำพุทธให้บริสุทธิ์ ดังนั้นนิกาย (sects) หรือความเชื่อต่างงๆที่จะเบนออกห่าง “พุทธแบบจริงๆ” (real Buddhism) จะต้องถูกกดหรือไม่ให้เผยแพร่ วัดธรรมกายเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เบนห่างจากพุทธจริงๆ ด้วยความร่ำรวย (prosperity) และความมีชื่อเสียง  อย่างไรก็ตามมหาเถรสมาคมเองก็ไม่เคยตระหนักรู้เลยว่าความเชื่อที่ออกห่างจากพุทธจริงๆนั้นเกิดขึ้นมาจากวามผิดพลาด หรือล้มเหลวของตนเองในการจัดการกับสังคมที่กำลังเปลี่ยนไป

เธอยังเปรียบเทียบกับความเชื่อแบบพุทธที่ไม่เป็นไปตามพุทธแท้กับองค์กรทางสังคมแบบพลเรือน (a civil society organization) ที่เติมเต็มระหว่างรัฐกับสังคม  ความเชื่อที่แตกต่างจากพุทธจริงๆนั้นจะนำเสนอทางเลือกต่อสาวกที่เห็นต่างจากการตีความแบบพุทธจริงๆ ซึ่งนำเสนอการแก้ปัญหาให้กับองค์ทางสังคมแบบพลเรือนได้ เมื่อพวกเขาพบว่าการแก้ปัญหาของรัฐบาลนั้นไม่ค่อยจะได้ผล (ineffective)

Aphinya ยังชี้อีกว่าความพยายามของทหารในการจัดการกับวัดธรรมกายนั้นไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างที่เป็นปัญหา (the problematic structure) ของมหาเถรสมาคม  ปัจเจกบุคคลอย่างพระธัมมชโย และความเชื่อแบบต่างๆเช่น วัดธรรมกาย ถึงที่สุดแล้วก็เกิดขึ้นมาอีก เพราะไม่มีทางที่จะห้ามให้ประชาชนตีความศาสนาตามแนวทางของตนได้อีกต่อไป

เธอยังกล่าวเพิ่มอีกว่ารัฐไทยต้องแยกตนเองออกจากองค์กรทางศาสนามานานแล้ว และปล่อยให้ประชาชนตัดสินใจว่าจะเชื่อเรื่องอะไรดี รัฐต้องรับรองอิสรภาพทางศาสนา (freedom of religion) และอนุญาตให้มีการโต้เถียง (debate) ในเรื่องการตีความทางศาสนา  ดังนั้นผู้คนจึงเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันด้วยการมีความอดทนทางการเมือง (political tolerance)

Phramaha Boonchuay ยังได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาของมหาเถรสมาคม เขายังสังเกตเห็นว่ามหาเถรสมาคมได้ทุบทำลายแก่นของพุทธโดยสิ้นเชิง เนื่องจากมหาเถรสมาคมตั้งตำแหน่งพระ (the monastic titles)ตามความอาวุโส และความรู้เรื่องธรรมะ ดังนั้นพระส่วนใหญ่จึงเรียนแต่ธรรมะ และไม่ค่อยจะปฏิบัติสมาธิ ซึ่งการปฏิบัติสมาธิเป็นแก่นของพุทธศาสนา

พุทธศาสนาที่เป็นกลไกของรัฐ (Buddhism as a State Mechanism)

Pinyapan Potjanalawan ซึ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาราชภัฎลำปาง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมวิทยา กล่าวว่าจริงๆแล้ว ในทางศาสนานั้นแยกกันชัดเจนระหว่างรัฐกับตัวศาสนา แต่พุทธก็ยังคงเป็นกลไกที่สำคัญของรัฐ ในพระเจ้าอโศกราช พุทธเป็นข้ออ้างในการเผยแพร่พระราชอำนาจเหนืออินเดีย พระเจ้าอโศกยังได้ใช้พุทธในการกดบังคับคนที่นอกรีตไปจากความเป็นพุทธแท้ๆอีกด้วย เธอยังกล่าวอีกว่าเหตุการณ์แบบเดียวกันได้เกิดขึ้นในเมืองไทยแล้วในตอนนี้

ในระบบการศึกษาในประเทศไทย พุทธมีพื้นที่มากกว่าศาสนาอื่นๆ รัฐไทยมีนโยบายที่จะเชื่อมโยงโรงเรียนกับวัด เพื่อที่สถาปนาศีลธรรมแบบพุทธ (Buddhist moralities) ให้เป็นค่านิยมหลักต่อนักเรียน เหตุที่วัดธรรมกายมีชื่อเสียง เพราะวัดได้เชื่อมโยงสาวกที่เป็นเด็กๆ (younger generations) ผ่านนโยบายนี้

รัฐให้อำนาจและทรัพยากรกับพุทธ โดยปราศจากการตรวจสอบและสมดุล หรือการคานอำนาจ (check and balance) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเงิน และพระหลายรูปต้องเจอกับข้อกล่าวหาในเรื่องการใช้เงินที่ผิดประเภท (dirty money), การครอบครองที่ดินอย่างผิดกฎหมาย

Pinyapan ยังเพิ่มเติมอีกว่า หากรัฐไทยต้องการจะเก็บภาษี ก็ควรมีภาษีในทางศาสนาไว้ด้วย (religious tax) เพื่อที่รัฐจะได้กระจายภาษีนี้สู่สังคม เขายังสรุปว่า รัฐกับศาสนายากที่จะแยกออกจากกัน อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของรัฐก็คือการกระจายความมั่งคั่งเท่านั้น ไม่ควรจะควบคุมความคิดของใคร

แปลและเรียบเรียงจาก

ไม่ชื่อผู้แต่ง. Dhammakaya crisis: The tip of the iceberg in Thai Buddhism

https://prachatai.com/english/node/7008

หมายเลขบันทึก: 635412เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2017 18:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2017 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท