จาก Operational KM สู่ Strategic KM คณะแพทย์ มข.(ตอนแรก)


สืบเนื่องจากการบันทึกเรื่อง “สัมมนาทิศทางการจัดการความรู้ เพื่อตอบสนองกลยุทธ์หลักของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น" ซึ่งจัดในวันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2559 โดยมี ดร.บุญดี บุญญากิจ ที่ปรึกษาสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นวิทยากร ซึ่งผู้เขียนได้เขียนเนื้อหาและถ่ายทอดความคิดในมุมมองของผู้เขียนไว้ใน blog GOTOKNOW

https://www.gotoknow.org/posts/612042 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2559


ผลลัพธ์การจัดสัมมนาครั้งนั้นสะท้อนตัวตน KM ของคณะฯ ในสถานการณ์จริง จนท่านคณบดีมีดำหริให้จัดอีกครั้งสำหรับผู้บริหารที่ไม่มีโอกาสได้เข้าฟังในรอบแรก เพื่อต้องการให้ร่วมกันนำพาคณะแพทย์ฯ สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง

จากแบบสอบถามเบื้องต้นของ “การจัดการความรู้ในองค์กร” พบว่า การทำกิจกรรม KM คณะฯ ที่ผ่านมา เป็น operational KM แต่ไม่มีความชัดเจนว่ากิจกรรม KM ทั้งหลายจะมุ่งผลักดันสู่วิสัยทัศน์ของคณะฯ

ทีมผู้นำสูงสุดจึงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับ KM ดังนี้

  • ให้มี commitment ที่เข้าถึงเรื่อง KM ทั่วทั้งคณะฯ ผ่านทีมผู้นำ/ผู้บริหาร
  • กำหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมาย KM ที่ชัดเจนมากขึ้นและสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน
  • จัดโครงสร้างสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม
  • จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรที่เหมาะสม
  • ติดตามการดำเนินกิจกรรมอย่างใกล้ชิดและจริงจัง
  • ส่งเสริม ยกย่อง ชมเชย สร้างแรงจูงใจต่อเนื่องผ่านระบบ HRD

 

จากดำหริดังกล่าว ส่งผลให้มีการจัดการสัมมนาทิศทางการจัดการความรู้ เพื่อตอบสนองกลยุทธ์สำคัญสู่ความเป็นเลิศ (ครั้งที่ 2) สำหรับผู้บริหาร ขึ้นในวันที่ 5 กันยายน 2559 ณ ห้องประชุม I Love โรงแรม I Hotel Khon Kaen โดยได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยากรท่านเดิม คือ ดร.บุญดี บุญญากิจ 





ทีมคณะกรรมการ KM ของคณะฯ เองก็เกิดการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน 

การกลับมาทบทวนบทบาทตนเองของผู้นำองค์กรระดับสูง พบว่า การปล่อยให้การทำ KM ไปตามธรรมชาติโดยมองเพียงการใช้เครื่องมือ KM มาช่วยแก้ปัญหาการทำงานประจำ ที่เรามาเข้าใจกันในภายหลังว่า เรียก Operational KM อาจไม่เพียงพอในการเคลื่อนองค์กรสู่วิสัยทัศน์ที่วางไว้ เป็นที่มาของการออกแบบ Strategic KM โดยในทุกกิจกรรมที่ตามมามีความเชื่อมโยงและสนับสนุนกันและกัน

กิจกรรมสำคัญที่สุดจึงเริ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ทุกหน่วยงานร่วมมือกันใช้ KM เผื่อผลักดันองค์กรร่วมกัน 

มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “การวิเคราะห์องค์ความรู้ที่จำเป็นต่อองค์กร เพื่อขับเคลื่อนคณะแพทยศาสตร์” ให้ทุกหน่วยงาน เพื่อกำหนด KM Objective และ KM Strategy ในวันที่ 31 ตุลาคม 2559  ณ โรงแรมราชาวดี รีสอร์ท ขอนแก่น 

เชิญ ดร.ยุวดี เกตสัมพันธ์ จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลมาเป็นวิทยากร และในครั้งนี้สิ่งที่ได้เรียนรู้จากศิริราช ได้แก่

- การจัดการความรู้ของศิริราชพยาบาล ใช้โมเดล “Link-Share-Learn”

- ศิริราชใช้ KM ขับเคลื่อนกลยุทธ์องค์กรอย่างไร

- ศิริราชใช้กระบวนการความรู้หมุน K-process


26-27 ธันวาคม 2559 มีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เรียนรู้และเข้าใจ Key Knowledge ของหน่วยงานตนเอง” ให้กับหัวหน้าหน่วย/หัวหน้างาน ณ โรงแรมราชาวดี รีสอร์ท ขอนแก่น ซึ่งวิทยากรนำโดย อ.วรานนท์ มั่นคง และคณะ มีหน่วยงานที่เข้าร่วม 69 หน่วยงาน จากทั้งหมด 96 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 72

ได้มีการออกแบบ KM Med Strategy โดยวางแผนสร้าง KM Team ในหน่วยงาน ที่ประกอบไปด้วย KM Supporter, KM Facilitator, KM Note taker และ KM Member ทั้งหมดทั้งมวลเป็นการออกแบบกันเอง เพื่อให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และเติบโตอย่างยั่งยืน จนกระทั่งบรรลุวิสัยทัศน์ มีการทำ workshop และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย

ผลการจัดอบรม

  • หัวหน้าหน่วยงานทราบบทบาทตนแองในการเป็น Supporter ใน KM ทีมของตน
  • หน่วยงานทราบ Key/Core Process และ Key/Core Knowledge ของที่สนับสนุนยุทธศาสตร์คณะฯ หรือภารกิจหลักของหน่วยงานตนเอง
  • วางแผนจัดอบรม Facilitator ในครั้งถัดไป





จากนั้นคณะแพทยศาสตร์ มีการทบทวนโครงสร้าง และออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานบริการวิชาการและการจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ มข. ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งมีการประชุม ปรึกษาหารือทีมทำงานและคณะกรรมการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง

...

ทั้งหมดทั้งมวล จะสำเร็จดังที่ตั้งใจหรือไม่ โปรดติดตามตอนต่อไป


กฤษณา สำเร็จ

รายงานย้อนหลัง 

15 ก.ค. 60 (เพิ่มเติม 17 ก.ค. 60)


หมายเลขบันทึก: 631128เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2017 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2017 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท