ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๓๒. ใช้เกมวิชาการ



บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano   ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง


ตอนที่ ๓๒ ใช้เกมวิชาการ ตีความจาก Element 30 : Using Academic Games


สำหรับนักเรียนส่วนใหญ่ เกมเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจแบบติดหนึบ  ด้วยธรรมชาติของความท้าทาย    โดยมีหลักการสร้างเกมว่า เป็นการค้นหาบางสิ่งที่หายไป หรือยังไม่รู้จัก    โดยมีสภาพแวดล้อมเป็นตัวให้กุญแจไข ทีละเปลาะๆ    เขายกตัวอย่างเกมชื่อ Pictionary  ที่ให้คำหรือวลีใบ้สิ่งที่ให้ค้นหา     ภาพที่ผู้เล่นได้รับ จะช่วยนำทางไปสู่การค้นพบสิ่งที่ต้องการหา    


คำถามเชิงยุทธศาสตร์ของครู ในการใช้เกมวิชาการ  คือ    “ครูจะจัดให้นักเรียนเรียนโดยใช้เกมวิชาการได้อย่างไร”


ยุทธศาสตร์และวิธีการที่ครูใช้เกมวิชาการมีดังต่อไปนี้





เกมให้ความตื่นเต้น สนุกสนาน    แต่หากครูต้องการใช้เกมเป็นเครื่องมือให้นักเรียนได้ประโยชน์ด้านเรียน สาระวิชาด้วย  ครูก็ต้องออกแบบเนื้อหาในเกมให้เอื้อประโยชน์ดังกล่าว โดยเน้นที่เนื้อหาของบทเรียนปัจจุบัน หรือบทเรียนที่แล้ว    และการสร้างเกมก็อาจเอาอย่างบางเกมในทีวีก็ได้  


เมื่อยุทธศาสตร์นี้ได้ผล    จะสังเกตเห็นพฤติกรรมของนักเรียนดังต่อไปนี้

  • นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมเล่นเกมด้วยความสนุกสนาน
  • นักเรียนบอกได้ว่าสาระการเรียนรู้จากเกมคืออะไร
  • นักเรียนอธิบายได้ว่ากิจกรรมเล่นเกมช่วยให้ตนเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้นอย่างไร



วิจารณ์ พานิช

๑๐ เม.ย. ๖๐

ห้องโถงชั้นล่าง จตุรัสจามจุรี 


หมายเลขบันทึก: 630983เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2017 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2017 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กิจกรรมเกมเหล่านี้มีประโยชน์มากครับ

พยายามประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท