คำนิยม หนังสือ เกมภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑


หนังสือ เกมภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ เล่มนี้จึงมีประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับ ใช้เป็นเครื่องมือครู ในการจัดการเรียนภาษาอังกฤษให้สนุกสนานน่าสนใจ

คำนิยม

หนังสือ เกมภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

วิจารณ์ พานิช

...............

สำหรับเด็ก การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการเล่น   เพราะเป็นกิจกรรมที่ดึงดูดการสนใจหรือสนุก ที่ภาษาวิชาการทางการเรียนรู้เรียกว่ามี student engagement    

การประยุกต์เกมเข้ามาเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างยิ่ง    และจริงๆ แล้ว ใช้ได้สำหรับคนทุกวัย ไม่ใช่เฉพาะเด็กๆ เท่านั้น  

หนังสือ เกมภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ เล่มนี้จึงมีประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับ ใช้เป็นเครื่องมือครู ในการจัดการเรียนภาษาอังกฤษให้สนุกสนานน่าสนใจ พร้อมๆ ไปกับการได้บรรลุเป้าหมาย ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนด   ยิ่งเป็นหนังสือที่เขียนจากประสบการณ์กว่า ๒๐ ปี   ซึ่งหมายความว่า ได้เคยทดลองใช้เกมเหล่านี้ในนักเรียนหลากหลายบริบทในสังคมไทย   แล้วนำมาปรับปรุงเขียนเป็นหนังสือเล่มนี้   ยิ่งมีคุณค่าสูง

ในมุมของการเรียนรู้ การเล่นเกม คือ “การปฏิบัติ” (doing / acting)    ทฤษฎีการเรียนรู้สมัยใหม่บอกว่า วิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ “Learning by doing”   การเล่นเกมจึงเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง    และจริงๆ แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น เล่นที่บ้าน หรือเด็กๆ ชวนกันเล่นกันเองก็ได้ 

เพื่อให้ครูสามารถใช้หนังสือเล่มนี้แล้วเกิดประโยชน์ต่อ “ผลลัพธ์การเรียนรู้” (learning outcome) ของศิษย์ได้ตามเป้าหมาย  ผมขอให้ข้อสังเกตสองข้อ

1.          อย่าให้ความสนุกบดบังเป้าหมายของการเรียนรู้ที่แท้จริง   คือต้องไม่ใช่เล่นเกมแล้วได้แต่ ความสนุกเป็นหลัก ลืมเรื่องเป้าหมายการเรียนรู้ไปเลย หรือเอาใจใส่น้อย   ครูต้องตั้ง เป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้ไว้ให้ชัดเจน   และสังเกตจากการเล่นเกมว่านักเรียนทุกคนได้ บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ดังกล่าวหรือไม่

2.          ตามหลักการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑  จะให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ในระดับ “เรียนแล้วรู้จริง” (mastery learning) บทเรียนโดยการลงมือทำ (action)   ต้องตามด้วยการ “ไตร่ตรองสะท้อนคิด” (reflection / AAR – After Action Review) ร่วมกัน   ดังนั้น หลังเล่นเกม ครูต้องชวนศิษย์ไตร่ตรอง สะท้อนคิดเพื่อตีความหรือทำความเข้าใจการเรียนรู้ ในมิติที่ลึกจากประสบการณ์ตรงของตน    โดยครูต้องฝึกทักษะการตั้งคำถามให้นักเรียน ตีความประสบการณ์ตรงของตน   เพื่อให้ศิษย์ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดในระดับที่ รู้ลึกและเชื่อมโยง

ผมขอแสดงความยินดีและชื่นชม ที่อาจารย์ขจิต ฝอยทอง รวบรวมเกมภาษาอังกฤษจำนวน ๕๑ เกมนี้ออกตีพิมพ์เผยแพร่   ยิ่งเป็นการผลิตผลงานทำความดีให้แก่สังคม เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่คุณใหญ่ หรือคุณนงนาท สนธิสุวรรณ (ผู้ล่วงลับ) ที่ผมคุ้นเคยและนับถือด้วยแล้ว ผมยิ่งอนุโมทนา

 

วิจารณ์ พานิช

ประธานมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์   

๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๐


หมายเลขบันทึก: 630591เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2017 05:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2017 05:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบพระคุณอาจารย์หมอวิจารณ์ มากครับที่ให้ความกรุณาเขียนคำนิยมที่ทรงพลังให้ กำลังดำเนินการพิมพ์ครับ

ขอบคุณครับท่าน ดร.ขจิต ฝอยทอง

1. แค่อ่านคำนิยม ก็สนใจมากครับ

2. ถ้ามีขาย ผมต้องการ 2 เล่มครับ

3. ถ้าท่านสะดวก เก็บเงินปลายทางมาที่

ปรีชา ศรีสรากรณ์ บ้านเลขที่ 139/4 หมู่ 1 ต.หนองหญ้า อ.เมืองกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี 71000

4. หรือมีขายที่ ไหนบ้างครับ

ขอบคุณท่านหัวหน้าปรีชา ยังอยู่ในกระบวนการพิมพ์ครับ

ขอบคุณมากครับที่สนใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท