​หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะครูชำนาญการ


หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะครูชำนาญการ

ดร.ถวิล อรัญเวศ

รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

หลักเกณฑ์

1. ผู้ขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการ ต้องมีคุณสมบัติ ต่อไปนี้

1.1 ดำรงตำแหน่งครูมาแล้ว

ไม่น้อยกว่า 6 ปีสำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี

ไม่น้อยกว่า 4 ปีสำหรับผู้มีวุฒิปริญญาโท และ

ไม่น้อยกว่า 2 ปีสำหรับผู้มีวุฒิปริญญาเอก นับถึงวันที่ยื่นคำขอ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า

หมายเหตุ หลักเกณฑ์นี้ มีการเปลี่ยนแปลง 9 ธันวาคม 2559 สืบเนื่องจากครูผู้สอนไปเรียนสาขาบริหารการศึกษามาก ดังนั้น ตั้งแต่ 9 ธันวาคม 2559 เป็นต้นไปผู้จบการศึกษาต้องเป็นไป
ตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด คือเรียนสายตรงกับที่เราจบหรือปฏิบัติงานเท่านั้น จึงจะได้ลดหย่อนด้าน
เวลาในการเสนอมีวิทยฐานะชำนาญการ ยกเว้นผู้จบการศึกษาก่อน 9 ธันวาคม 2559 เท่านัน

1.2 มีภาระงานสอนไม่ต่ำกว่าภาระงานขั้นต่ำ ตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด โดยความเห็นชอบของ ก.ค.ศ. (ไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)

1.3 ได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ

2. ผู้ขอต้องผ่านการประเมิน 3 ด้าน ดังนี้

ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

พิจารณาจากข้อมูลของบุคคลและหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเอกสารหลักฐาน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ประวัติการรับราชการ (ก.พ.7)

ส่วนที่ 2 คำรับรองของผู้บังคับบัญชา และคณะกรรมการสถานศึกษา

ส่วนที่ 3 เอกสารหลักฐานที่แสดงการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ

พิจารณาจากการพัฒนางานในหน้าที่ และการพัฒนาตนเอง ดังนี้

ส่วนที่ 1 การเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน

พิจารณาจาก หลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อ/นวัตกรรม แฟ้มสะสมผลงานคัดสรร

ส่วนที่ 2 การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในสาขาหรือกลุ่มสาระที่รับผิดชอบหรือในงานที่รับผิดชอบ

พิจารณาจากการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ผลการทดสอบความรู้จากหน่วยงานหรือสถาบันทางวิชาการที่ ก.ค.ศ. ให้การรับรอง การประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพและการนำไปใช้ ในการจัดการเรียนการสอน และการให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ

ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน

พิจารณาจาก ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายงาน

การสังเคราะห์ผลการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ผลการประเมินและหรือการทดสอบของวิชาที่สอนในระดับเขตหรือระดับประเทศ และ ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่น ๆ โดยคำนึงถึงปริมาณ คุณภาพและสภาพของงานด้วย

3. การประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2

ให้คณะกรรมการประเมินจากเอกสารหลักฐานรวมทั้งการปฏิบัติงานจริง ณ สถานศึกษา ส่วนด้านที่ 3 ให้ประเมินจากเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอรับการประเมินเสนอ โดยอาจประเมินจาก

การปฏิบัติงานจริง ณ สถานศึกษา หรืออาจให้ ผู้ขอรับการประเมินนำเสนอ และตอบข้อซักถามด้วยก็ได้

ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาในเรื่องที่ประเมินของผู้ขอรับการประเมินไว้ในแบบประเมินด้วย

4. การประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3

ให้มีคณะกรรมการประเมิน 3 คน ประเมินพร้อมกันทั้ง 3 ด้าน และให้ดำเนินการภายในเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับคำขอจากสถานศึกษา

5. เกณฑ์การตัดสิน

ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินต้องได้คะแนนแต่ละด้าน ดังนี้

5.1 ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

ต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้ง 3 คนเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65

5.2 ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ ต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้ง 3 คนเฉลี่ย

ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65

5.3 ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน ต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน

ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65

กรณีคณะกรรมการประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 มีความเห็นว่า

ผลการประเมินอยู่ในวิสัยที่สามารถพัฒนาให้ผ่านเกณฑ์ได้ ให้พัฒนาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน

6. การพิจารณาอนุมัติผลการประเมินเพื่อให้มีวิทยฐานะครูชำนาญการ

ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้อนุมัติ (ปัจจุบัน กศจ.) มีผลไม่ก่อนวันที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับคำขอและเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์

กรณีที่มีการพัฒนาไม่ว่าด้านใดก็ตาม ให้อนุมัติได้ไม่ก่อนวันที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับหนังสือที่ส่งรายละเอียดในการพัฒนาครบถ้วนสมบูรณ์ครั้งหลังสุด

7. เมื่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา (กศจ.) พิจารณาผลการประเมิน และมีมติ
เป็นประการใดแล้ว ให้ถือเป็นอันสิ้นสุด

8. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้หมายความรวมถึง ส่วนราชการด้วย และ
อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ให้หมายความรวมถึง อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้งด้วย

วิธีการ

ให้ผู้ประสงค์ขอรับการประเมินยื่นคำขอได้ตลอดปี รอบปีละ 1 ครั้ง โดยส่งคำขอพร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) ซึ่งเป็นเอกสารผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จำนวน 4 ชุด
ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้น เพื่อตรวจสอบและรับรองแล้วเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ ถึง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

กรณีผู้ที่จะเกษียณอายุราชการให้ยื่นคำขอพร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) ซึ่งเป็นเอกสารผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จำนวน 4 ชุด ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้น เพื่อตรวจสอบและรับรองแล้วเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ ถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน

2. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสารหลักฐาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด และนำเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา (กศจ.) พิจารณา

3. ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา (ปัจจุบัน กศจ.) ตั้งคณะกรรมการประเมินด้านที่ 1 คือ ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านที่ 2 คือ ด้านความรู้ความสามารถ และด้านที่ 3 คือ ด้านผลการปฏิบัติงาน จำนวน 3 คน ประกอบด้วย

1. ผู้อำนวยการสถานศึกษาของผู้ขอรับการประเมิน

2. ผู้ทรงคุณวุฒินอกสถานศึกษานั้นที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสม จำนวน 1 คน

และ

3. ข้าราชการครูที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะครูชำนาญการ และเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์สอดคล้องกับความรับผิดชอบของผู้ขอรับการประเมิน จำนวน 1 คน เป็นกรรมการ โดยให้ตั้งกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ

4. การประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3

4.1 กรณีผลการประเมินด้านใดไม่ผ่านเกณฑ์และคณะกรรมการมีความเห็นว่าผลการประเมินอยู่ในวิสัยที่สามารถพัฒนาให้ผ่านเกณฑ์ได้ ให้คณะกรรมการประเมินแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อแจ้งสถานศึกษาภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการประเมินแล้วเสร็จ ให้ผู้ขอรับการประเมินพัฒนาตามข้อสังเกตของคณะกรรมการภายในเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

4.2 เมื่อผู้ขอรับการประเมินได้พัฒนาแล้ว ให้สถานศึกษาส่งหนังสือแจ้งรายละเอียดที่พัฒนาถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเสนอคณะกรรมการชุดเดิมตรวจและประเมินต่อไป

4.3 กรณีที่คณะกรรมการประเมินพิจารณารายละเอียดที่พัฒนาแล้วเห็นควรให้มีการพัฒนาเพิ่มเติม ให้แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อแจ้งสถานศึกษาภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการประเมินแล้วเสร็จ ให้ผู้ขอรับการประเมิน พัฒนาตามข้อสังเกต ของคณะกรรมการภายในเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

4.4 กรณีที่กรรมการประเมินคนเดิมไม่สามารถประเมินได้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา (กศจ.) ตั้งกรรมการแทนได้ตามที่กำหนดในวิธีการข้อ 3

4.5 กรณีผู้ขอรับการประเมินไม่ส่งรายละเอียดการพัฒนาตามข้อสังเกต ภายในเวลาที่กำหนด หรือส่งเกินเวลาที่กำหนด ถือว่าสละสิทธิ์

4.6 กรณีผู้ขอรับการประเมินได้พัฒนาแล้ว และมีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ ที่ ก.ค.ศ.กำหนด ถือว่าไม่ผ่านการประเมิน ให้เสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาไม่อนุมัติ และให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งผลการพิจารณาให้สถานศึกษา เพื่อแจ้งผู้ขอรับการประเมินทราบ

4.7 กรณีผลการประเมินทั้ง 3 ด้าน ผ่านเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด ให้เสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา (กศจ.) พิจารณาอนุมัติ

5. การแต่งตั้งให้มีวิทยฐานะครูชำนาญการ

กรณี อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา (กศจ.) มีมติอนุมัติ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 (ปัจจุบัน ศธจ.) สั่งแต่งตั้งให้มีวิทยฐานะครูชำนาญการ และให้ได้รับเงินเดือนอันดับ คศ. 2 สำหรับผู้ที่รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับ คศ. 2 จะแต่งตั้งได้เมื่อรับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับ คศ. 2 ไม่เกิน 1 ขั้น และส่งสำเนาคำสั่ง จำนวน 1 ชุด ให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในเวลา 7 วัน นับแต่วันออกคำสั่ง

6. ให้ดำเนินการประเมินให้แล้วเสร็จภายในรอบระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่สำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาได้รับคำขอและเอกสารผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) หากดำเนินการไม่แล้วเสร็จให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งสถานศึกษาเพื่อแจ้งผู้ขอรับการประเมินทราบ และเร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

เอกสารสารหลักฐานที่จะต้องยื่น

  • แบบ ก.ค.ศ. 1 แบบเสนอขอรับการประเมินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในการขอมีวิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 4 ชุด
  • แบบก.ค.ศ. 2แบบรายงานด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และ
  • แบบ ก.ค.ศ. 3 แบบรายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากร

จรรยาบรรณวิชาชีพ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ

จำนวน 4 ชุด

พิจารณาจากข้อมูลของบุคคลและหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเอกสารหลักฐาน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ประวัติการรับราชการ (ก.พ.7)

ส่วนที่ 2 คำรับรองของผู้บังคับบัญชา และคณะกรรมการสถานศึกษา

ส่วนที่ 3 เอกสารหลักฐานที่แสดงการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

ทางการศึกษาในการขอมีวิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 4 ชุด

พิจารณาจาก

ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ พิจารณาจากการพัฒนางานในหน้าที่ และ

การพัฒนาตนเอง ดังนี้

ส่วนที่ 1 การเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน พิจารณาจาก หลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อ/นวัตกรรม แฟ้มสะสมผลงานคัดสรร

ส่วนที่ 2 การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในสาขาหรือกลุ่มสาระที่รับผิดชอบหรือในงานที่รับผิดชอบ

พิจารณาจาก การศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ผลการทดสอบความรู้จากหน่วยงานหรือสถาบันทางวิชาการที่ ก.ค.ศ. ให้การรับรองการประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพและการนำไปใช้ ในการจัดการเรียนการสอน และการให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ

ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน

พิจารณาจาก ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายงานการสังเคราะห์ผลการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ผลการประเมินและหรือการทดสอบของวิชาที่สอนในระดับเขตหรือระดับประเทศ และ ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่น ๆ โดยคำนึงถึงปริมาณ คุณภาพและสภาพของงานด้วย

การส่งผลงานให้เขต กรณีขอมีวิทยฐานะชำนาญการ ส่งแบบ ก.ค.ศ. 1 ,2 ,3 เพียงชุดเดียว พร้อมหนังสือนำส่งจาก ร.ร. (อีก 3 ชุดเก็บไว้ให้กรรมการประเมินที่ ร.ร.) บางเขตฯ อาจ ให้ส่งทั้งหมดเลยก็ได้ และเก็บไว้ที่โรงเรียนด้วย เพราะทางเขตฯจะจัดส่งเอกสารให้คณะกรรมการประเมินทั้ง 3 คน เอง

3. การประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2 ให้คณะกรรมการประเมินจากเอกสารหลักฐานรวมทั้ง

การปฏิบัติงานจริง ณ สถานศึกษา

ส่วนด้านที่ 3 ให้ประเมินจากเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอรับการประเมินเสนอ โดยอาจประเมินจากการปฏิบัติงานจริง ณ สถานศึกษา หรืออาจให้ ผู้ขอรับการประเมินนำเสนอ และตอบ
ข้อซักถามด้วยก็ได้

ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาในเรื่องที่ประเมินของผู้ขอรับการประเมินไว้ในแบบประเมินด้วย

4. การประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3

ให้มีคณะกรรมการประเมิน 3 คน ประเมินพร้อมกันทั้ง 3 ด้าน และให้ดำเนินการภายในเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับคำขอจากสถานศึกษา

5. เกณฑ์การตัดสิน

ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินต้องได้คะแนนแต่ละด้าน ดังนี้

5.1 ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้ง 3 คน เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65

5.2 ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ ต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้ง 3 คน เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65

5.3 ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน ต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ไม่ต่ำกว่า

ร้อยละ 65

กรณีคณะกรรมการประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 มีความเห็นว่า ผลการประเมินอยู่ในวิสัยที่สามารถพัฒนาให้ผ่านเกณฑ์ได้ ให้พัฒนาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน





หมายเลขบันทึก: 629524เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2017 00:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2017 02:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท