ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๑๖. สร้างและปกป้องข้อเสนอ


บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง


ตอนที่ ๑๖ สร้างและปกป้องข้อเสนอ ตีความจาก Element 14 : Generating and Defending Claims เป็นเรื่องของ การสนับสนุนให้นักเรียนคิดสร้างข้อสรุปใหม่ของตนเอง และเหตุผลสนับสนุนข้อสรุปนั้น จากการทำกิจกรรมที่ต้องคิดซับซ้อน


คำถามเชิงยุทธศาสตร์ของครู ในการสร้างและปกป้องข้อเสนอของนักเรียน คือ “ครูจะช่วยให้นักเรียนสร้างข้อเสนอและปกป้องข้อเสนอของตนได้อย่างไร”


ยุทธศาสตร์และวิธีการที่ครูสนับสนุนการสร้างและปกป้องข้อเสนอของนักเรียน มีดังต่อไปนี้




ในบทเรียนนี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้ว่า ข้อเสนอ (claim) แตกต่างจากข้อเท็จจริง (fact) นักเรียนจะได้ฝึกทักษะการนำความรู้มาใช้อย่างซับซ้อน เพื่อพัฒนาข้อเสนอ ที่มีเหตุผลสนับสนุน ตามด้วยข้อมูลหลักฐานยืนยัน และมีข้อสรุประดับความมั่นใจที่สมเหตุสมผล โดยที่ทั้งสี่ส่วนมีความต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน


เมื่อยุทธศาสตร์นี้ได้ผล จะสังเกตเห็นพฤติกรรมของนักเรียนดังต่อไปนี้

  • นักเรียนสามารถสร้างข้อเสนอ จากความคิดที่ซับซ้อน
  • นักเรียนสามารถให้เหตุผลสนับสนุนได้
  • นักเรียนสามาถให้ข้อมูลหลักฐานสนับสนุนเหตุผล
  • นักเรียนสามารถให้ข้อสรุประดับความเชื่อมั่นต่อข้อเสนอ
  • นักเรียนสามารถบอกได้ว่าการฝึกสร้างข้อเสนอ และการให้เหตุผลและข้อมูลหลักฐานสนับสนุน ช่วยให้ตนมีทักษะในการเรียนอย่างลึกและจริงจัง


ดังได้กล่าวแล้วว่า สาระในภาค ๕ สร้างบทเรียนประยุกต์ใช้ความรู้ นี้ เป็นการเรียนเพื่อวางรากฐานของทักษะ แห่งศตวรรษที่ ๒๑ ที่ซับซ้อนมาก ในตอนที่ ๑๖ นี้ เป็นการฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) หนังสือบอกว่าคนเรามักให้ข้อคิดเห็นตามด้วยเหตุผลตื้นๆ หากได้ฝึกตามที่ระบุในตอนที่ ๑๖ นี้ ก็จะมีทักษะให้เหตุผลประกอบข้อคิดเห็นโดยมีข้อมูลหลักฐานสนับสนุนอย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งผมคิดว่า นี่คือการฝึกทักษะชีวิตอย่างหนึ่ง โดยที่หนังสือ The New Art and Science of Teaching ถือว่าเป็นบทประกอบการเรียนสาระความรู้ใหม่ แต่ผมมองว่า เป็นการเรียนสาระความรู้ (content/knowledge) ไปพร้อมๆ กันกับการฝึกทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑


วิจารณ์ พานิช

๖ เม.ย. ๖๐

หมายเลขบันทึก: 629418เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2017 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2017 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท