รายงานความก้าวหน้า..พัฒนาระบบ การเข้าถึงบริการทันตกรรม กลุ่มวัยทำงาน


ปีที่ 2 ถึงเวลาไปเวทีแลกเปลี่ยนครั้งแรกของเยา

จากที่เป็น 1 ใน 13 อำเภอ ของประเทศ ในการพัฒนาระบบการเข้าถึงบริการทันตกรรม กลุ่มวัยทำงาน

งานเราทำมาก็เยอะ แต่ยังตอบบางคำถามไม่ได้ ไม่ใช่แค่ไม่ถึงฝัน แต่ถ้า ไม่เปลี่ยนแปลง ระบบ จะยิ่งทำให้ เราทุกข์ยิ่งๆขึ้น

โอกาสนี้ อาจลำบากในช่วงหนึ่ง แต่การมีเพื่อนมาช่วยร่วมทำก็น่าจะดีในระยะยาว มี วิชาการ มีพี่เลี้ยง มีกำลังใจมาช่วย

นั่งคิดนอนคิด


ฝันและหวัง

แนวทางที่อยากจะให้เกิด นี้ จริงๆแล้ว อยากให้เป็น

แนวทางที่ทำให้ง่าย และมีความสุข ทั้งประชาชน สาธารณะ และทีมงาน ( ไม่ใช่ถนัดแต่สุขของสาธารณะ ยกเว้น ความสุขของตัวเอง ครอบครัว และทีมงาน )

ง่ายและสุข จนสามารถเป็นงานที่ทำได้ประจำของเรา ง่ายและสุขจนเป็นเรื่องประจำเป็นวิถีธรรมดาเป็นกิจวัตรของทุกผู้คนกลุ่มวัยทำงาน



จากเป้าฝัน.. ยิ่งใหญ่ และไกลม๊าก

ตัวชี้วัด อัตราการเข้าถึงบิการทันตกรรมกลุ่มวัยทำงาน


ทบทวนบริบท

โรงพยาบาล ใหญ่นะเนี่ย ต้องพัฒนาเป็น รพ.แม่ข่าย ตอนนี้ M2 แต่สักวันไม่ไกล คงเป็น M1

มีแพทย์เฉพาะทางหลายสาขา งานทันตกรรมใน รพ.ก็จะพลอยเปลี่ยน จาก ที่เคยเป็น 30 -60-90 เตียงอย่างมากมาย

แต่ยังไง นโยบาย สร้างนำซ่อม เพื่อสุขภาวะ ของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ยังเป็นเรื่องสำคัญ

การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให่้ดี เราเชื่อมั่นว่า เป็นจุดคานงัดของระบบสาธารณสุข เป็นหนทางที่ดียั่งยืนเพื่อประชาชนและของประเทศชาติ


เรามี 21 รพ.สต. มี ทันตาภิบาล ประจำ 9 แห่งและ ทันตาภิบาลที่ย้ายสายงานไปเป็น นักวิชาการสาธารณสุข อีก 1 แห่ง


เรามี ทันตาภิบาล ไม่ครบทุก รพ.สต. ( น้อยจนเป็นเรื่องปกติ ของแถวนี้ โดยเฉพาะที่CUPนี้ )

นโยบาย PCC มา อย่างน้อย โซนนี้ก็มีครบตามเกณฑ์ ทภ. 1 คน : ประชากร 10000 คน

รูป นี้ เลย เอามาโชว์ เกร๋ๆ กิ กิ

PCC นี้ มี5 รพ.สต. , แบ่งเป็น สามทีม , มี ทภ.4 คน , ทันตแพทย์ ที่ รพ.กับ ผู้ช่วย เป็นทีมพีเลี้ยง และออกให้บริการที่ รพ.สต.เป็นบางวัน

ปลื้มว่า อย่างน้อยโซนนี้ มี ทภ.ครบ แต่คงยากที่จะมี ทันตแพทย์ ยอมมาอยู่ประจำในเวลาอันใกล้ , ใน 5 ปีนี้ เราหวังแค่ว่า ดีที่สูด คือ มี ทพ.ลง ทุกอาทิตย์ ในแต่ละ แห่ง เช่น จันทร์ ออก วังม่วย , อังคารกับ พฤ ออกสว่าง , พุธ ออกพรมสวรรค์ ศุกร์ ออกโคกกม่วง ครบ 5 วัน ทำการ ใช้ ทพ.3-4 คน


ทุนที่เรามีอยู่เดิม

ผอ.กัมปนาท โกวิทางกูร ผอ.รพ.เราชม ว่า แผนจ๊าบ เหลือแต่ทำ 555

เคยไปเล่า แผนให้ หลายๆ คนฟัง ว่า

ยุทธศาสตร์ โพนทอง นี้ ดัดแปลงมาจาก SLM ของ อาจารย์ นายแพทย์อมร นนทสุต

เครื่งมือนี้ เป็นลายแทง การทำงานส่งเสริมป้องกันให้ง่าย ตั้งแต่ฟังแบบไม่เข้าใจตอนแรก พอได้ มาลองใช้กับทีม รู้สึกกราบขอบพระคุณ อาจารย์มากๆ เป็นเคล็ดลับให้ เยาทำงาน PP ได้อย่างมีความสุข


ลองมาปรับใช้ ระดับอำเภอ ในการจัดการสถุขภาพช่องปาก

เป้าหมายคือ จัดบริการให้ ประชาชน เข้าถึงบริการ และพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพช่องปากได้

ตัววัดและติดตาม ที่สำคัญ พฤติกรรมด้านสุขภาพช่องปาก ผลลัพธ์ ระยะยาว ที่ต้องการ ลดโรค มีสุขภาวะด้านสุขภาพช่องปากก็จะมาถึงเอง


าก


การทำงาน ภูมิสังคมเชิงประจักษ์ ที่สำคัญเรื่องนึง เป็นแรงผลักดันให้เราทำงานต่อไปได้ ที่สำคัญ คือเริ่มจากทุนที่มีอยู่ เรื่องดีๆ คนดีๆ



ประวัติ นายแพทย์อมร นนทสุต
เกิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2471 ที่กรุงเทพฯ
เป็นบุตร น.อ.พระแสงสิทธิการ ร.น.(แสง นนทสุต)
ประวัติการศึกษา
สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต (คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล) พ.ศ.2495
สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต (มหาวิทยาลัยมหิดล) พ.ศ.2499 ; Master of Public Health
(Harvard) พ.ศ.2505
และสาธารณสุขศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) (มหาวิทยาลัยมหิดล) พ.ศ.2528
การรับราชการ
ได้เข้ารับราชการที่กรมอนามัย ตั้งแต่ พ.ศ.2496 ในตำแหน่งนายแพทย์ตรี กองอนามัยโรงเรียน
หลังจากนั้น ได้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตั้งแต่อนามัยจังหวัดแพร่ และเชียงใหม่ ผู้อำนวยการ
กองโภชนาการ นายแพทย์ใหญ่กรมอนามัย รองอธิบดีกรมอนามัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
อธิบดีกรมอนามัย และปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตามลำดับ นอกจากนั้น ยังได้รับพระราชทาน
โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิกด้วย

หมายเลขบันทึก: 628629เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2017 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2017 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แค่อารัมภบทยังชวนติดตาม รอ ๆ ๆ ๆ อ่านต่อนะคร้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท