ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๓. ติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียน



บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teachingเขียนโดย Robert J. Marzano ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง โดยตอนที่ ๓ นี้ตีความจาก Element 2 : Tracking Student Progress ซึ่งเป็นตอนที่สองใน ๓ ตอนของ ยุทธศาสตร์สื่อสารเป้าหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจน แก่นักเรียน โดยที่ยุทธศาสตร์นี้มีเป้าหมายให้นักเรียนได้รับข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ที่ทรงประสิทธิผล เพื่อให้เข้าใจความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของตน และรู้ว่าตนก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว อันจะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง


เมื่อมีสเกลความเข้าใจ (proficiency scale) แล้ว ก็สามารถใช้บอกความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนได้ สามารถนำคะแนนที่ได้มาทำเป็นกราฟให้เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีขั้นตอนและรายละเอียดในการใช้สเกลความเข้าใจ ดังต่อไปนี้





โปรดสังเกตว่า ต้องมีการใช้คะแนนความเข้าใจ (proficiency score) เพื่อประโยชน์หลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อใช้ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียน ที่เรียกว่า formative scores สำหรับครูใช้เป็นข้อมูลประกอบการให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ (constructive feedback) แก่ศิษย์ และเพื่อใช้คะแนน formative นำมาสังเคราะห์เป็นคะแนนตัดสิน (summative score)


มีคำแนะนำว่า เมื่อครูจะดำเนินการสอบ ต้องให้ชัดเจนว่า จะสอบแบบ formative (ประเมินเพื่อพัฒนา) หรือสอบแบบ summative (ประเมินเพื่อตัดสิน) ทั้งครูและศิษย์ต้องรับรู้เป้าหมายนี้ร่วมกัน


ในหนังสือกล่าวถึงการดำเนินการประเมิน ๓ แบบ คือ

  • การประเมินแบบที่ต้องระงับการเรียนตามปกติ (obtrusive assessment) เป็นรูปแบบการสอบที่ครูรู้จักกันดี มักเป็นการสอบแบบให้ตอบข้อสอบลงบนกระดาษคำตอบ การสอบมักเป็นแบบนี้ทั้งหมด
  • การประเมินในกระบวนการสอนปกติ (unobtrusive assessment) เป็นการประเมินโดยครูสังเกตพฤติกรรมและถ้อยคำของนักเรียนเป็นรายคน ที่สำคัญคือครูประเมินโดยการตั้งคำถาม และยุยงส่งเสริมให้นักเรียนตอบหลายๆ แบบ เพื่อฝึกการคิดของนักเรียน และครูประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนไปในเวลาเดียวกัน ผมได้เขียนเรื่องนี้ไว้โดยพิสดารในหนังสือ ประเมินเพื่อมอบอำนาจการเรียนรู้
  • การประเมินที่นักเรียนประเมินเอง (student-generated assessment) เป็นการประเมินที่มีลักษณะจำเพาะและทรงพลัง ตามในหนังสือ ประเมินเพื่อมอบอำนาจการเรียนรู้

เมื่อยุทธศาสตร์ตามใน element นี้ก่อผล จะเห็นพฤติกรรมต่อไปนี้ในนักเรียน

  • นักเรียนสามารถอธิบายความก้าวหน้าของตนตามสเกลวัด
  • นักเรียนเปลี่ยนระดับการเรียนรู้ของตนตามสเกลความเข้าใจ
  • นักเรียนสามารถบอกได้ว่า หากตนต้องการเลื่อนระดับ จะต้องทำอะไรบ้าง

ผมแปลกใจ ที่ในยุคไอซีทีเช่นนี้ หนังสือเล่มนี้ไม่แนะนำการสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์หรือสอบทางอินเทอร์เน็ต และใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจส่วนหนึ่ง เพื่อผ่อนแรงครู และช่วยให้นักเรียนมีเครื่องมือประเมินความก้าวหน้าของตนเองได้เมื่อต้องการ


วิจารณ์ พานิช

๑ เม.ย. ๖๐

หมายเลขบันทึก: 628337เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2017 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2017 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หนูเป็นครูสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาค่ะ ติดตามอ่านบล็อกของอาจารย์เปรียบเสมือนขุมทรัพย์ ที่จะได้นำความรู้ แง่มุมต่างๆ ทั้งด้านการศึกษาและชีวิต ไปพัฒนาเด็กๆ ถึงแม้อยู่ไกลจากเมือง แต่ก็เชื่อว่าต้องมีทางที่จะพัฒนาเด็กๆ ได้ดีค่ะ อ่านบันทึกนี้แล้วหนูสนใจ "สเกลการเรียนรู้" เป็นคำใหม่ที่น่าสนใจศึกษาและน่านำไปใช้ คิดว่าจะเกิดประโยชน์ค่ะ ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท