แนวโน้มวิกฤติการณ์ทางการเงินที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและการปรับตัวในช่วงวิกฤติพลังงาน


วิกฤติการณ์เศรษฐกิจหรือทางการเงินในอดีตนั้น มีมากมายหลายเหตุการณยกตัวอย่าง เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้างก็เช่นวิกฤติการณ์ทางการเงินของสหรัฐอเมริกาหรือที่ทุกคนรู้จักกันในนามของ วิกฤติแฮมเบอเกอร์หรือวิกฤติซับไพร์นั้นเองซึ่งส่งผลเป็นวงกว้างให้กับเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงเวลานั้นนั้นก็เพราะ สหรัฐเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเมื่อเกิดปัญหาก็ทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง แต่หากเหตุการณ์นี้ยังไม่ทำให้ท่านผู้อ่านได้รับรู้ถึงความร้ายแรงของวิกฤติการณทางการเงินที่เิดขึ้นมากพอ ตัวผมขอเอ่ยถึงวิกฤติ ต้มยำกุ้ง ที่ทำให้ประเทศไทยเสียหายและเป็นหนี้ ไอเอ็มเอฟ เป็นจำนวนมหาศาล ธุรกิจภาคเอกชนและธนาคารต่างๆพากันปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก จำนวนคนว่างงานในประเทศไทยสูงขึ้นและจำนวนหนี้ NPL สูงขึ้นเป็นประวัติกาล เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มากจากวิกฤติ ต้มยำกุ้งในปี 2540 ทั้งนั้น ซึ่งเราคนไทยทุกคนในวัย 40 ต้นๆ จะเข้าใจเป็นอย่างดี

หากจะถามว่า วิกฤติการทางการเงินในโลกนั้นยังมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ตัวผมซึ่งเป็นเจ้ของบล็อคคงจะของบอกได้ว่าเลยมันอาจะเกิดขึ้นได้ เพราะจากสถิติในทุกๆ 10 ปีก็จะมีเหตุการณ์สำคัญในโลกซึ่งส่งกระทบให้กับเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก ตัวอย่างก็หากสังเกตุกัน วิกฤติ ต้มยำกุ้งเกิดขึ่นในปี 2540 ใน 10 ปี ต่อมาปี2550 วิกฤติแฮมเบอเกอร์หรือวิกฤติซับไพร์ก็เกิดตามมา และในยุคปี 2560 เหตุการณ์ต่างๆในโลกก็ล่วงแล้วแต่เป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมากว่าอาจจะส่งผลต่อการเกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินครั้งใหม่เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐ หรือกรณีข้อพิพาของเกาหลีเหนือกับสหรัฐอเมริกาที่ก็ยังดูไม่มีทีท่าที่ชัดเจน สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนนำไปทำให้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินครั้งใหม่เป็นอย่างมาก แต่ถึงอย่างไรก็ดีจะเห็นได้ว่าวิกฤติการณ์ทางการเงินและเศรษฐกิจโลกในช่วงหลัง วิกฤติ ต้มยำกุ้งมา ไม่ได้ส่งผลร้ายแรงหรือหากร้ายแรงก็ใช้เวลาในการเยียวยาตัวเองไม่นานนั้นก็เพราะหลายประเทศทั่วโลกก็มีการเฝ้าระวังและจับตาดูสภาพเศรษฐกิจของตัวเองและของโลกว่าจะมีทิศทางและแนวโนวไปอย่างไร เพื่อจะได้หาวิธิการับมือได้อย่างทันการซึ่ง หากวิกฤติการณ์ทางการเงินที่จะเกิดขึ้นครั้งใหม่นั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้แต่ก็จะไม่ส่งผลกระทบร้ายแรงเหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านด้วยสาเหตุที่ได้กล่าวไปข้างต้น

นอกจากวิกฤติการณ์ทางการเงินที่เป็นผลกระทบที่ส่งผลโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจแล้ว วันนี้ตัวผมเองของหยิบโยกวิกฤติการณ์อย่างหนึ่งซึ่งก็เป็นเหตูในเศรษฐกิจได้รับผลกระทบเป็นอันมากเช่นกัน หากเกิดขึ้นนั้นก็ได้แก่ วิกฤติพลังงาน

พลังงานเป็นสิ่งที่ปฎิเสธไม่ได้ว่ามีผลต่อการเศรษฐกิจเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานน้ำมัน ซึ่งในปัจจุบันพลังงานเหล่านี้มีจำนวนลดน้อยลงนั้นก็เพราะจำนวนของคนที่มีความต้องารเพิ่มขึ้นในทุกๆปีแต่แหล่งพลังงานและวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตพลังงานนั้นกลับมีจำนวนน้อยลงสวนทางกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นซึ่ง ในอนาคตประเทศไทยเมื่อพลังงานลดน้อยเราก็ควรจะมีแนวทางในการรับมือในด้านนี้กันทุกฝ่าย

ภาครัฐบาล

ควรมีการจัดทำโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียเพื่อลดการนำเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านและต่างประเทศ เพราะในทุกวันนี้พลังงานในไทยส่วนมากนั้นมีการนำแล้วและส่งซื้อจากทางต่างปรเทศเองไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้าและพลังงานน้ำมัน นอกจากนี้รัฐบาลควรในความสำคัยในการพัฒนาพลังงานทดแทน ที่กำลังเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันซึ่งเป็นเรื่องที่ดีหากจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านนี้ป็นอย่างมาก

ภาคเอกชน

นโยบายของบริษัทหรือองค์กรของตนควรมีการสอดแทรกในเรื่องของการประหยัดพลังงานเพื่อลดต้นทุนในด้านนี้ซึ่งมีแนวโน้มจะสูงขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ในฝ่ายบริหารความเสี่ยงก็ควรจะมีการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับข่าวพลังงานโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเพื่อหาทางรับมือได้อย่างรวดเร็วและควรมีการเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือในการจัดการความเสี่ยงในด้านต้นทุนวัตถุดิบเช่น น้ำมัน เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาวิกฤติพลังงานที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ภาคประชาชนและครัวเรือน

ในส่วนของตัวเราที่เป็นประชาชนก็มีส่วนช่วยในการประหยัดพลังงานเช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ เบอร์ 5 และปรับเปลี่ยนวิธีการใช้พลังงานของตัวเราและครอบครัว นอกจากนี้การเลือกวิธีเดินทางของเราหากเลือกให้เหมาะสมก็ยังมีส่วนช่วยในการประยหัดพบังงานเพื่อในมีอยู่กับตัวเราไปได้นานๆ อีกด้วย

นี้ก็เป็นเพียงหนึ่งความคิดเห็นของตัวผมซึ่งเป็นผู้เขียนซึ่งบางช่วงอาจมีการสอดแทรกมุมมองความคิดของตัวเองเข้าไปท่านผู้อ่านก็ควรใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วย และในส่วนแนวทางในการปรับตัวของท่านผู้อ่านละครับ พอมีวิธีในการปรับตัวอะไรที่นอกเหนือจากผมไหมเพื่อที่จะรับมือได้ในวิกฤติพลังงานที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตครับ ...




หมายเลขบันทึก: 628207เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2017 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2017 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท