การพัฒนาสหกรณ์บริการเดินรถแท๊กซี่ หากพัฒนาการสหกรณ์ไทยในภาพรวมด้วยก็จะสำเร็จได้ง่าย


สมาชิกสหกรณ์เป็นเจ้าของสหกรณ์ และผู้ใช้บริการสหกรณ์ ในคน ๆ เดียวกัน

ขออนุญาตนำ หลักการสหกรณ์ไทย พ.ศ. 2459 - 2477 มาใช้อ้างอิง
หลักที่ 2 สมาชิกทุกคน ไม่ว่ามั่งมีหรือจน เมื่อเข้ามาในสหกรณ์แล้วเสมอหน้ากันหมด


..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/597773
มาใช้จัดระเบียบแท๊กซี่

ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการรับจดทะเบียนสหกรณ์ และรับจดข้อบังคับของสหกรณ์แท๊กซี่ พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547 ให้สหกรณฺ์แท๊กซี่กำหนดคุณสมบัติของสมาชิกในข้อบังคับ อย่างน้อยดังนี้
(1) เป็นผู้มีใบอนุญาตขับรถยนต์ประเภทสาธารณะ และ
(ก) เป็นผู้เช่าขับรถแท๊กซี่ของสหกรณ์ หรือ
(ข) เป็นเจ้าของรถแท๊กซี่ได้ไม่เกิน 3 คัน หรือเป็นผู้เช่าซื้อรถแท๊กซี่
(2) ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหกรณ์บริการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับสหกรณ์นี้
ฯลฯ

ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ และรับจดทะเบียนข้อบังคับของสหกรณ์แท๊กซี่ พ.ศ. 2547
ต้องพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน

สมาชิก 1 รายเป็นเจ้าของรถได้ไม่เกิน 3 คัน ทำให้ปริมาณรถแท๊กซี่ของสมาชิกแต่ละรายไม่ถึง scale ที่คุ้มที่จะตั้งอู่แท๊กซี่ ต้องกระจายให้ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงถือกรรมสิทธิ์ แยกเป็นเจ้าของรถแท๊กซี่

หากสมาชิกที่มีอู่และดูแลแท๊กซี่ของตนเองได้ทั่วถึง แล้วให้กรรมสิทธิ์แท๊กซี่เป็นชื่อของเจ้าของอู่ได้เลย เป็นร่มเล็กภายในในร่มใหญ่ หากครบอายุไม่ปลดป้าย ความรับผิดชอบเป็นของสมาชิกที่เป็นเจ้าของอู่(ร่มเล็ก) หากไปเกิดความเสียหายก็เป็นชื่อเจ้าของอู่ (ร่มเล็ก) ให้เช่าไปก็ควบคุมภายในร่มเล็ก หากมีปัญหาเฉี่ยวชน ขนส่งก็มาที่ร่มเล็ก ร่มใหญ่ตัวสหกรณ์เป็นจุดเชื่อมโยงข้อมูล ไม่ต้องมีกรรมสิทธิ์ในรถ เป็นเพียงผู้ประสาน


การคิดว่าสมาชิกสหกรณ์ที่มั่งมี จะเอาเปรียบสมาชิกสหกรณ์ที่ยากจนเสมอมา นั้นไม่เป็นการถูกต้อง
ตามหลักการสหกรณ์ไทย พ.ศ. 2459 - 2577 สมาชิกทุกคนไม่ว่ามั่งมีหรือยากจน ล้วนมีสิทธิ์เสมอหน้ากันหมด
สมาชิกสหกรณ์จะช่วยเหลือกันทั้งหมด

สมาชิกสหกรณ์ในปัจจุบันที่มั่งมีนั้น ล้วนมาจากสมาชิกที่ยากจน แล้วก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาจากการใช้บริการสหกรณ์เป็นสมาชิกสหกรณ์ เมื่อหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางไปแล้ว มั่งมีแล้ว ก็มีจิตที่จะช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกด้วยกัน ตามปรัชญาของการสหกรณ์ ช่วยตน ช่วยกัน self help mutual help จึงไม่ควรที่จะไปจำกัดจำนวนรถที่สมาชิกสหกรณ์เป็นเจ้าของ ไม่เกิน 3 คัน ควรปล่อยเสรี แล้วสมาชิกสหกรณ์จะสามารถช่วยกันเองได้เป็นอย่างดี

ในเรื่องนี้ต้องยึดตัวคน สมาชิกเป็นสำคัญ ไม่ยุึดจำนวนรถ เพราะมีรถมากหรือน้อยก็มีสิทธิออกเสียงได้เพียง 1 เสียง (one member one vote) หันกลับมาปรองดองช่วยเหลือกัน ร่วมมือกันสร้างสรรค์สหกรณ์ของพวกตน เพื่อบริการประชาชนทั้งประเทศ

การพัฒนาในภาพรวมของขบวนการสหกรณ์ต้องควบคู่กันไปด้วยการจัดระเบียบสหกรณ์แท๊กซึ่จะสำเร็จได้ง่าย

1. จุดแข็งความเป็นอเนกประสงค์ของสหกรณ์ประเภทบริการ

2. เชื่อมโยงสหกรณ์บริการเดินรถเป็นกลุ่มก้อนด้วยเครือข่าย ดิจิทัลแบบไม่เป็นทางการ

3. พัฒนาศูนย์วิทยุเป็น application ในโทรศัพท์มือถือ สำหรับผู้ใช้บริการ

4. สหกรณ์บริการเดินรถดูแลสมาชิก สมาชิกสหกรณ์ไปบริการประชาชน ประชาชนที่ใช้บริการแยกตามอายุ มีบริการสำหรับทุกวัย เด็ก สตรี คนชรา ให้บริการเรียกรถ ทั้งแบบดิจิทัล และแบบมือโบก และผู้โดยสารจะชำระเงินสด บัตรเครดิต บัตรเดบิต และพร้อมเพย์ ก็ได้

5. ระเบียบและกฏหมายที่ใช้กับแท๊กซี่ ทำให้ต้นทุนการให้บริการเพิ่มขึ้นในสหกรณ์ที่ปฎิบัติถูกต้องตามกฏหมายสูงขึ้น เห็นได้จากแท๊กซี่อูเบอร์ที่สามารถคิดค่าโดยสารได้ถูกกว่า ความปลอดภัยของผู้โดยสาร หมายถึงค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นมา (ในกรณีที่เป็นข่าวหากเกิดขึ้นกับ ผู้โดยสารอูเบอร์นั้นจะเรียกร้องไม่ได้เลยเพราะเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล ผู้โดยสารเลือกรถที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมายด้วยตนเอง)

6. การรวมกันเป็นสหกรณ์แท๊กซี่ เพื่อให้เกิดการประหยัดเนื่องจากระดับขนาด ( economies of scale )จากการรวมกันให้บริการ จากการรวมกันซื้ออะไหล่ รวมกันซื้ออุปกรณ์เครื่องมือมาซ่อมรถที่อู่ รวมกัน ทางกายภาพ หรือผ่านดิจิทัล ด้วยน้ำใจไมตรี ภายใต้วัฒนธรรมไทย ช่วยเหลือกันมีความสุข

7. กรณีมีกลุ่มผู้ไม่ใช่เกษตรกรอยู่ใกล้กับโรงสีข้าวของสหกรณ์การเกษตร ก็ไม่สามารถใช้บริการ รวมกันซื้อในฐานะสมาชิกสหกรณ์การเกษตร(เจ้าของร่วม) ได้เพราะติดที่ไม่ได้เป็นเกษตรกร จึงสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรไม่ได้ ด้วยเข้าใจว่า คนมั่งมีจะไปเอาเปรียบเกษตรกรยากจน มาถึงวันนี้เวลานี้เหตุการเปลี่ยนไปแล้ว คงต้องปรับเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ได้แล้ว ประชาชนคนธรรมดาที่ใช้บริการแท๊กซี่เป็นประจำน่าจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์แท๊กซี่ได้ เพราะจะสามารถเป็นเจ้าของและผู้ใช้บริการสหกรณ์แท๊กซี่ในคน ๆ เดียวกัน ทุกคนในสังคมสามารถร่วมมือร่วมใจกันใช้วิธีการสหกรณ์ในการพัฒนาประเทศไทยได้ (พัฒนาระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ และรับจดทะเบียนข้อบังคับของสหกรณ์แท๊กซี่ พ.ศ. 2547 ขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับ digital economy และสภาพแวดล้อม Fintech มุ่งสู่ Thailand 4.0 มีสมาชิกสหกรณ์แบบขับเอง สมาชิกสหกรณ์แบบอู่ สมาชิกสหกรณ์แบบเช่าขับ และสมาชิกสหกรณ์แบบผู้ใช้บริการแท๊กซี่)


8. สหกรณ์ให้บริการประกันชีวิต (ทีเมืองไทยยังทำไม่ได้ติดที่พรบ.ประกันชีวิต ให้เฉพาะ บริษัท จำกัด กับบริษัท จำกัด (มหาชน)เท่านั้น สหกรณ์ จำกัด หรือชุมนุมสหกรณ์ จำกัด ทำไม่ได้) เมื่อทำได้สมาชิกสหกรณ์ผู้สูงอายุไทยจะได้เป็นเจ้าของโรงพยาบาล และเป็นผู้ใช้บริการโรงพยาบาลในชุมชนที่ตนเองเป็นเจ้าของได้ ไม่ต้องตั้งเป็นกลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ในปัจจุบัน หรือในกรณีสหกรณ์แท๊กซี่ ก็มีบริการประกันชีวิตกับสมาชิกสหกรณ์ผู้ขับรถแท๊กซี่ โดยบริการของสหกรณ์

9. สหกรณ์ให้บริการประกันภัย (เมืองไทยก็ยังทำไม่ได้ติดที่ พรบ.ประกันภัย ทำได้เฉพาะ บริษัท จำกัด กับบริษัท จำกัด (มหาชน)เท่านั้น สหกรณ์ จำกัด หรือชุมนุมสหกรณ์ จำกัด ทำไม่ได้) หากทำได้สหกรณ์ก็สามารถให้บริการประกันภัย รถแท๊กซี่ได้ ประกันพรบ.ได้ ประกันภัยให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการได้ ประกันพืชผลการเกษตรได้ โดยสมาชิกสหกรณ์เป็นเจ้าของเองและเป็นผู้ใช้บริการในคน ๆ เดียวกัน

10. ธนาคารสหกรณ์ก็ทำไม่ได้ ธนาคารสหกรณ์มีสหกรณ์เป็นเจ้าของและผู้ใช้บริการ และใช้วิธีการสหกรณ์ในการดำเนินการ (ติดที่พรบ.สถาบันการเงิน ให้เฉพาะ บริษัท จำกัด กับ บริษัท จำกัด มหาชนเท่านั้น สหกรณ์ จำกัด หรือ ชุมนุมสหกรณ์ จำกัดยังทำไม่ได้) สหกรณ์ต้องแบ่่งปันระหว่างสหกรณ์ด้วยกันกันโดยตรงความเสี่ยงสูงมาก หรือไม่ก็ต้องไปใช้บริการธนาคารพาณิชย์ หรือ ธนาคารของรัฐ ซึ่งเงินในขบวนการสหกรณ์ซึ่งมีวัตถุประสงค์จะช่วยเหลือกันต้องไหลออกไป ไม่เชื่อมโยงกันระหว่างขบวนการสหกรณ์ก่อน ในทฤษฏีใหม่ขั้นที่สอง เหลือจึงขาย ช่วยกันภายในบ้านก่อน ให้สามารถทำได้ผ่านธนาคารสหกรณ์

พีระพงศ์ วาระเสน
2 พฤษภาคม 2560

หมายเลขบันทึก: 628203เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2017 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2017 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท