การรับมือวิกฤตพลังงานที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจ




วิกฤตการณ์พลังงานที่แท้จริงนั้นยังมิได้เกิดขึ้นในประเทศไทยเพราะสภาวะการขาดแคลนพลังงานอย่างจริงจังโดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานที่ใช้ทางด้านการพาณิชย์นั้นยังไม่เคยเกิดขึ้นอย่างรุนแรงแต่ปัญหาด้านพลังงานของประเทศไทยมีสาเหตุสืบเนื่องจากการที่ต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากเพื่อสั่งซื้อสารเชื้อเพลิงประเภทต่างๆ เพื่อนำมาใช้ผลิตพลังงานในเชิงพาณิชย์ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ต้องสูญเสียเงินออกไปนอกประเทศปีละเป็นจำนวนมาก

ยิ่งไปกว่านั้น โลกจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นมากจนเกือบถึง 3,000 ล้านคนภายในปี ค.ศ.2050 (พ.ศ.2593) ซึ่งส่วนมากจะอาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา เมื่อประเทศเหล่านี้พัฒนาขึ้น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจก็จะถีบตัวขึ้นไปอยู่ในระดับเดียวกับประเทศอุตสาหกรรม โดยอยู่ใต้ขอบเขตจำกัดของระบบนิเวศน์บนโลกใบเดียวกันทำให้มีการใช้พลังงานมาก ก็อาจจะทำให้พลังงานบนโลกเริ่มลดลงเลื่อยๆ เกิดภาวะโลกร้อน เมื่อพลังงานที่จำเป็นต่อภาคเศรษฐกิจลดลงก็จะทำให้เศรษฐกิจเกิดการชะงัก และเริ่มตกต่ำเพราะเกิดการขาดแคลนพลังงาน

วิธีการเตรียมรับและป้แงกันการเกิดวิกฤตการณ์พลังงาน

1.ใช้รถสาธารณะส่วนกลางเพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และสามารถทำให้มลพิษลดลงได้อีก

2.ภาคอุตสาหกรรมควรมีการควบคุมดูแลการใช้พลังงานในการผลิตให้มีประโยชน์ที่สุด ผลิตเพียงพอต่อความต้องการใช้ของประชาชน

3.หันมาใช้พลังงานทดแทนอย่างโซลาร์เซลล์

4.รัฐบาลควรกำหนดนโยบายการใช้พลังงานอย่างชัดเจน มีกฎหมายการใช้พลังงานที่รัดกลุม

บรรณานุกรม

https://sites.google.com/site/joilzibm12/bth-thi-3...

http://www.vcharkarn.com/varticle/38692

คำสำคัญ (Tags): #Energy crisis
หมายเลขบันทึก: 628206เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2017 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2017 10:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท