โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 5: ระหว่างวันที่ 2-4 พฤษภาคม 2560)


สวัสดีครับชาวบล็อก

ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 5: ระหว่างวันที่ 2-4 พฤษภาคม 2560) ผมรู้สึกดีใจที่ได้กลับมาทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อีกครั้งหนึ่ง โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 7 คณะ ประกอบด้วย ประกอบด้วยผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. และคณะพันธมิตรที่เป็นเครือข่าย 6 คณะ ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

การทำงานครั้งนี้ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายผมอีกครั้งหนึ่งในปีนี้ ผมและทีมงานต้องขอขอบคุณผู้บริหารและคณะทำงานของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. ที่ไว้วางใจพวกเรา และทุกท่านสามารถติดตามบรรยากาศและความรู้ต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ผมขอฝาก Blog นี้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้พวกเราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์


โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 1

กุมภาพันธ์ – มิถุนายน2560

วันที่ 2 พฤษภาคม 2560

ศึกษาดูงาน ณ บริษัทกิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด

เรียนรู้กรณีศึกษาด้านการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศและองค์กรแห่งธรรมาภิบาล

และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา

โดย น.ท.นพ.จักรพงศ์ ไพบูลย์

รองประธานกรรมการ บริษัทกิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด และบริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ แลบบอราทอรี่ แอนด์ เฮลท์แคร์ จำกัด

พญ.ใจทิพย์ ไพบูลย์

รองประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ แลบบอราทอรี่ แอนด์ เฮลท์แคร์ จำกัด

สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy

โรงงานของกิฟฟารีน

โรงงานของกิฟฟารีน ใช้งบลงทุนสูงถึง 800 ล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 30 ไร่ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ออกแบบถูกต้องตามหลัก GMP (Good Manufacturing Practice) ทั้งในด้านโครงสร้างเเละวัสดุที่ใช้เป็นโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตระดับสากล"สามารถรองรับกำลังการผลิตได้ถึง 20,0000 ล้านบาท/ปี" ดำเนินงานโดยบุคลากรมืออาชีพกว่า 1,000 คน อีกทั้งยังเป็นโรงงานรักษาสิ่งแวดล้อม

โรงงานกิฟฟารีน ประกอบด้วย 3 ส่วน แบ่งเป็น โรงงานผลิตเครื่องสำอางโรงงานผลิตอาหารและยา และ Central Lab หรือห้องปฏิบัติกลางซึ่งมีภารกิจในการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อาหาร อาหารเสริม ยาแผนโบราณ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน ฯลฯ ที่ผลิตโดย โรงงานของกิฟฟารีน เพื่อเป็นการประกันว่าสินค้าต่างๆของกิฟฟารีนมีคุณภาพ และ ความปลอดภัยสูง เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซื้อ และใช้สินค้าอย่างมั่นใจ

ด้วยความตั้งใจจริงในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดเพื่อผู้บริโภคจึงพิถีพิถันทุกขั้นตอน เริ่มจากการเลือกสรรวัตถุดิบที่ได้มาตรฐานจากทั่วทุกมุมโลก โดยมีพันธมิตรหลัก หลากหลายบริษัท อาทิ DSM ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ Daito และ Iwase ประเทศญี่ปุ่น ผ่านการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยี อันทันสมัยและถูกสุขอนามัย พร้อมทั้งควบคุมคุณภาพ ในทุกๆจุดของการผลิต จาก ชื่อเสียงและประสบการณ์ รวมถึงเกียรติรางวัลที่ได้รับตลอดระยะเวลากว่า 19 ปีที่ผ่านมา จวบจนถึงวันนี้ ... โรงงานกิฟฟารีน จึงเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจซึ่งไม่เพียงแต่สร้างความประทับใจให้คนไทย เท่านั้น ผลิตภัณฑ์จากโรงงานของกิฟฟารีน ยังได้ส่งออกไป จำหน่ายยังกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศที่ส่งออกยากที่สุด เช่น กลุ่มประเทศยุโรป และประเทศญี่ปุ่น

  • โรงงานกิฟฟารีน เป็นการยืนยันถึงความมั่นคงและการเติบโตอย่างยั่งยืนของกิฟฟารีน
  • สามารถคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพสูงสุดจากทั่วทุกมุมโลกผ่านกระบวนการผลิต อันทันสมัย ซึ่งควบคุมโดยแพทย์และเภสัชกร เพื่อนำมาเป็นผลิตภัณฑ์กิฟฟารีน
  • กิฟฟารีน สามารถผลิตผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่าได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อความต้องการ ของตลาด และไปถึงมือผู้บริโภคในราคาที่ยุติธรรม
  • ห้องปฏิบัติการกลาง Central Lab ของกิฟฟารีน มีมาตรฐานรับรองห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 10725 จึงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ทำให้ได้รับความสนใจในการศึกษา ดูงาน และสร้างความร่วมมือ จากภาคการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชนต่างๆ ดังนั้นห้องปฏิบัติการกลางของกิฟฟารีนจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการควบคุมคุณภาพ ผลิตภัณฑ์กิฟฟารีน
  • โรงงานกิฟฟารีน ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนไทย และสร้างเม็ดเงินให้หมุนเวียน ภายในประเทศ อีกทั้งเป็นการสนับสนุน และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตต่อไป

ได้รับรางวัล

- Thai Owned Brand จากกรมส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์

- รางวัลระดับโลก “Superbrands 2008-2009 / 2010-2011 / 2012 / 2013 /2014 ”

จากประเทศอังกฤษที่ได้รับต่อเนื่องกันถึง 5 ปีซ้อน ในฐานะสุดยอดแบรนด์ไทยที่เป็นเลิศ ด้านการสร้างแบรนด์ รวมถึงคุณภาพและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทุกกลุ่มอย่างแท้จริง

- รางวัล “ อย. Quality Award ปี 2009 / 2012 /2014 และ 2015 ”

มอบให้กับผู้ประกอบการที่ร่วมพัฒนาสถานที่ผลิตให้ได้คุณภาพมาตรฐาน และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดแสดงถึงความร่วมรับผิดชอบต่อสังคมในการ ผลิตผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

- รางวัล “ บรรษัทภิบาลดีเด่น ”

ในฐานะผู้ประกอบการที่ยึดหลักความโปร่งใส และความซื่อสัตย์สุจริตเป็นสำคัญโดยหอการค้าไทยร่วมกับสำนักงานป้องกันการทุจริต ภาครัฐวิสาหกิจ และ ธุรกิจเอกชน

- รับมอบโล่ “ ตราสัญลักษณ์การคุ้มครองผู้บริโภค”จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งแสดงว่า “กิฟฟารีน” ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายนี้ เป็นผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงที่มีสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคสามารถไว้วางใจได้

- ติดอันดับ Top 100 บริษัทขายตรงผลประกอบการสูงสุด ประจำปี 2013

จากการประกาศผลการจัดอันดับในเว็บไซต์ www.directsellingnews.com (The 2013 Direct Selling News Global 100 ) เพื่อจัดอันดับบริษัทขายตรงชั้นนำจากทั่วโลกที่มีผลประกอบการสูงติดอันดับ 1-100 โดยนิตยสาร Direct Selling News ในประเทศสหรัฐอเมริกา กิฟฟารีนได้ถูกจัดอันดับในกลุ่มบริษัทขายตรงชั้นนำของโลก 100 ลำดับแรกที่มีผลประกอบการ สูงที่สุดประจำปี 2013 ซึ่งกิฟฟารีนเป็นบริษัทขายตรงหลายชั้นแบรนด์ไทยเพียงแบรนด์เดียวที่ได้รับการ จัดอันดับที่ 71 โดยนิตยสาร Direct Selling News ในสหรัฐอเมริกา ตอกย้ำความเป็นแชมป์ผู้นำธุรกิจเครือข่ายสัญชาติไทยและความเป็นเลิศด้านการสร้างแบรนด์ และคุณภาพของผลิตภัณฑ์สู่เวทีธุรกิจขายตรงในระดับสากล

ผลิตภัณฑ์ได้รับการควบคุมโดยคณะแพทยศาสตร์ เภสัชกร และผู้เชี่ยวชาญชาวไทย รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

เครื่องสำอาง ได้มีการคิดค้นวิจัยร่วมกับต่างประเทศ อาทิ DSM Product กับสวิสเซอร์แลนด์ Daito และ Iwase ประเทศญี่ปุ่น

- อาหารและยาได้รับมาตรฐาน ISO 9001 OHSAS HACCP HALAL

- โรงงานผลิตอาหารและยา ผลิตในรูปแบบเม็ด แค็ปซูล ซอง ด้วยความรวดเร็ว และมีกระบวนการผลิตชั้นสูง มีบรรจุภัณฑ์หลากหลายตามความพึงพอใจของผู้บริโภค

- ห้องปฏิบัติการกลาง (Central Lab) ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง กลุ่มสภา อาหารเสริม ยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ครัวเรือน ที่ทันสมัย การตรวจสอบจะเป็นที่ยอมรับในระดับสากล จะควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ไม่ต่ำกว่า 30 คน ได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 10725จากหน่วยงานการแพทย์ และได้คิดค้นจากหน่วยงานอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม

น.ท.นพ.จักรพงศ์ ไพบูลย์

โรงงานกิฟฟารีน เป็นโรงงานขนาดไม่ใหญ่ แต่มีหลากหลายผลิตภัณฑ์ ใช้คนในการทำงานที่หลากหลาย เป็นโรงงานที่มีคนงานจำนวน 900 คน มีสวัสดิการดีเน้นการให้ทุกคนมีความสุขมาก เป็นรูปแบบเหมือน MLM ระบบการบริหารเสมือนสหกรณ์ มีโรงงานที่รับจากสมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศไทยคือผู้ประกอบการที่ไม่สามารถวางตามห้างร้าน หรือ 7-eleven ก็จะมาขายตามบริษัท มีอีกมากมายที่ไม่ได้รับจากโรงงาน

โรงงานผลิตอาหารและยา

มีระบบการจัดการและดูแลมาตรฐานความปลอดภัย ควบคุมโดยนักวิทยาศาสตร์อาหาร GMP และผู้เชี่ยวชาญการผลิตต่าง ๆ มีการปรับบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายตามผู้บริโภค
Central Lab

ทำหน้าที่ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ยา และการปนเปื้อนต่าง ๆ จะทำในกระบวนการตั้งแต่วัตถุดิบทั้งหมดจนถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ห้องปฏิบัติการควบคุมโดยนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญไม่ต่ำกว่า 30 คน ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ เป็นหน่วยงานแรกที่ได้รับการวิเคราะห์สารสำคัญ วิเคราะห์น้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. การดูแลเรื่องระบบกำจัดน้ำเสีย

1. ถ้าเป็นนำเสียทางบริษัทจะเป็นผู้บำบัดเอง

2. ถ้าไม่ใช่น้ำ จะมีบริษัทรับไปทำลาย

3. ถ้าเป็นลัง กล่อง กระดาษต่าง ๆ จะมีบริษัทรับไปขาย โดยมีทีมงานที่ดูแลให้การขายโปร่งใส มีคณะกรรมการตรวจขยะ ว่าขายได้กี่กิโล โดยกิฟฟารีนจะมีการคัดแยกขยะ และเงินที่ได้จะกลับเข้ามาสู่เป็นสวัสดิการของพนักงาน

2. เรื่อง สวัสดิการ

1. เงินกู้นอกระบบ ดอกเบี้ย 0% ให้ 10 เท่าของเงินเดือน โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องหักเงินเดือนทุกเดือน

เงื่อนไขการกู้คือต้องให้หัวหน้าเซ็นมา โดยหัวหน้าต้องรับทราบว่าลูกน้องมีปัญหาอะไร และจะให้กู้เพราะอะไร

2. อาหารกลางวันฟรี และถ้าทำโอทีจะมีอาหารเย็นฟรี

3. มีทุนเรียนปริญญาตรีฟรี

4. ทุนบุตรพนักงาน

5. บัญชีเงินฝาก ใครฝากทุกเดือนสม่ำเสมอ จะมีรางวัลให้ และให้คูปองจับฉลากด้วย เพื่อสร้างให้คนรู้จักการออม และมีกำลังใจที่จะเก็บเงินต่อ โดยไม่ถอนมาใช้เก็บไว้เป็นบัญชีฉุกเฉินไม่ต้องไปกู้นอกระบบเสียดอกเบี้ยแพง ๆ

6. รักษาพยาบาล จะมีตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไรบ้าง มีการดูแลการเจ็บป่วยและประกันสังคม

หลักการทำงาน

1. ให้ทุกคนเป็นคนดี ตั้งใจทำงาน ทำผิดพลาดจะตักเตือน ไม่มีการให้ออก ยกเว้นทำชั่ว เช่นขโมยของ ปล่อยเงินกู้ ค้ายาบ้า ชกต่อยกัน เป็นชู้ ถ้าพบก็จะให้ออก

2. ให้ทุกคนทำงานเต็มที่ และใช้ระบบไลน์ในการตรวจสอบ มีการสื่อสารผ่านทางไลน์ในการประเมินผลงานเพื่อความเรียบร้อย

3. วิธีการสื่อสารให้กับพนักงาน พบว่าการเยี่ยมชมมีหลากหลาย Key Success Factor ที่ทำให้การสื่อสารมีคุณภาพทำได้อย่างไร

- ที่บริษัทจะมีการตั้งกลุ่มต้นไม้ของพ่อ ที่เขียนเรื่องการทำความดี มีอะไรคุยในไลน์ แล้วจะส่งตรงถึงคุณหมอเลย มีการสื่อสารตลอดใครทำไม่ดีอะไรจะช่วยบอกกัน

- มีการสอบถามปัญหาสมาชิกผ่านทางไลน์ จะเป็นประโยชน์เนื่องจากเป็นหลักฐานทางลายลักษณ์อักษร

4. การดูแลทุกคนเหมือนครอบครัว ต้องเน้นเรื่องความซื่อตรง และซื่อสัตย์ อยู่ในความดี ความถูกต้อง ต้องมีความกลัว และละอายต่อบาป ให้ลองถามตัวเองว่า ถ้ามีโอกาสทำผิดจะทำหรือไม่ เราต้องไม่ทำ ต้องรู้ว่าอะไรเป็นข้อห้าม อะไรเป็นข้อเสีย

5. ต้องให้เกียรติลูกน้อง จะพบว่าทุกคนในบริษัทจะรักบริษัท รักงานตัวเอง ทุกคนอยากให้ลูกน้องก้าวหน้า อยู่ดี มีความสุข มีโบนัสให้ตามที่ต้องการ ทุกคนมีความมั่นคง ไม่ให้ออกโดยง่าย ยกเว้นทำชั่วจริง ๆ เน้นการทำดีที่สุดทุกวัน อยู่ด้วยการแก้ปัญหา ด้วยหน้าที่ ด้วยสติ ไม่ใช้อารมณ์ ใช้ปัญญา ผู้บริหารต้องไม่โกรธง่าย ต้องไม่ดุลูกน้อง ถ้าจะดุลูกน้องต้องคิดให้ดีก่อนว่าไม่ดุหรือไม่

สังเกตได้ว่าคนยิ่งตำแหน่งสูง ยิ่งโกรธง่าย ดังนั้นอย่าสอนตอนโกรธ เพราะถ้าโกรธแล้วสอนเรียกว่าดุ ถ้าชมให้ชมได้เลย แต่ถ้าตำหนิต้องเรียกมาคุยส่วนตัว ต้องใจเย็นก่อนค่อยคุย ถ้าใจร้อนห้ามคุย แล้วลูกน้องจะไม่ชอบไม่เข้าใจ ดังนั้นถ้ามีอะไรเกิดขึ้นไม่ดีให้รอให้อารมณ์เย็นก่อน ให้คำนึงว่าเราพูดได้ดีกว่านี้ได้หรือไม่

6. งานวิจัย โดยส่วนตัวไม่อยากได้โอกาสจากงานวิจัย เพราะคิดว่าสมุนไพรเป็นของสากล เพียงแค่ว่าจะคุยว่าจะวิจัยอะไร แล้วอะไรได้ดี ไม่สนับสนุนให้หาโอกาสจากสมุนไพรจากอะไร ไม่อยากให้เป็นการผูกมัด และหลายครั้งที่ให้ทุนวิจัยโดยบางครั้งรู้อยู่แล้วไม่สามารถทำได้ แต่ก็อาจให้เพื่อสร้างโอกาส แต่ไม่ค่อยอยากสนับสนุนเท่าไหร่เป็นต้น สิ่งที่เห็นด้วยคือจะทำของที่กินได้เลย

7. การควบคุมคุณภาพให้เสมือนเราใช้เอง หรือพ่อแม่ใช้ ใช้หลักวิทยาศาสตร์ไปควบคุม คุณภาพไม่ตรงตามที่ควรจะเป็น ถ้าเราเป็นคนที่ใช้ของเอง เราทานเอง หรือพ่อแม่ใช้ เราจะปล่อยไปหรือไม่

8. ได้ยึดหลักพระธรรมโกศาจารย์พุทธทาสภิกขุ เรื่องการทำวันนี้ให้ถูกต้อง แล้วจะไม่กลัวในวันพรุ่งนี้ ผลคือจะพบว่าบริษัทกิฟฟารีนไม่มีปัญหาเรื่องความไม่ถูกต้อง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เรื่องคุณภาพไม่เป็นที่สงสัย อยากจะขอความรู้คือ การมีคุณภาพ มีมาตรฐาน และยกระดับเป็นองค์กรนวัตกรรม ผู้บริหารจะเคลื่อนองค์กรไปเป็นองค์กรนวัตกรรม จะทำอย่างไร

ตอบ เริ่มจากวิสัยทัศน์ก่อนคือ วันนี้ทำให้ดีที่สุด ในขณะเดียวกันก็มองข้างหน้าด้วย เรื่องเทคโนโลยี ความรู้ ให้ทำงานได้ดี มีประสิทธิภาพ ถ้าเราย่ำอยู่กับที่ ปีนี้เรายังได้ดีอยู่ แต่อีก 1

0-20 ปีข้างหน้าองค์กรจะอยู่ไม่ได้ สังเกตได้ว่ากิฟฟารีนเปลี่ยนไปมาก อย่างเรื่องไลน์กลุ่มต้องมีการดูไลน์ระดับแนวตั้งและแนวขวางด้วย ในช่วงแรกทำงาน 100 คน จะเปิดกว้างห้องทำงานให้พนักงานทุกคน ห้องทำงานจะไม่เคยปิดประตูเลย แต่พอมีระบบเทคโนโลยีดีขึ้น มีระบบไลน์ ได้มีการปรับเปลี่ยนการทำงาน เช่นมีเรื่องเร่งด่วน มีอะไรให้ไลน์เข้าไปก่อน เพื่อแจ้งให้ทราบเบื้องต้น แล้วระหว่างนั้นให้แต่ละคนไปจัดการปัญหา ผู้บริหารให้ข้อเสนอแนะเล็กน้อย แต่อย่าไปขวางหรือสั่งงาน ทุกคนจะดูแลโรงงานได้อย่างดีเหมือนผู้บริหารอยู่ในโรงงาน

ดังนั้น นวัตกรรมที่มาใช้คือ วัฒนธรรมขององค์กรที่ติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็วนำมาใช้ เป็นการทำให้องค์กรพัฒนาและร่นระยะเวลาประหยัดเงิน ทำให้ชีวิตมีความสุข

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เห็นด้วยที่นวัตกรรมไม่จำเป็นต้องเป็น Product เท่านั้น แต่อาจเป็น Process Innovation

ดีใจที่คณะพยาบาลศาสตร์ และพันธมิตรได้มาเยี่ยมที่กิฟฟารีน

1. ทฤษฎี 8K’s 5K’s บริษัทกิฟฟารีนมี 3 เรื่องคือ เรื่องทุนคุณธรรมจริยธรรม เรื่องทุนทางอารมณ์ พบว่าคุณหมอมีมาก ผู้นำต้องอดทน

ถาม การฝึกให้คนมีทุนทางอารมณ์ และทุนทางจริยธรรมจะทำอย่างไร

คุณหมอ ตอบ

1. การฝึกอดกลั้นเวลาโกรธ ต้องฝึกให้ได้ว่าเวลาโกรธ ไม่รู้ว่าเราโกรธ

2. ฝึกคิดในแง่ดี เช่น ช่างมันเถอะดีเหมือนกัน ทุกอย่างมีข้อดีเหมือนกัน

3. ฝึกอดทนที่จะเป็นคนขยัน เพราะถ้าเป็นคนขี้เกียจจะทำความดีไม่ได้ ได้ยกตัวอย่างพระราชบิดาทรงศึกษาแพทยศาสตร์ อยากเป็นหมอมาชั่วชีวิตเพื่อเป็นหมอที่ดี แต่ท่านเป็นหมอได้เพียงแค่ 24 วัน แล้วท่านป่วยถูกส่งกลับมาที่ศิริราช ป่วย 4 เดือน แล้วสิ้นพระชนม์ ต้องคำนึงถึงประโยชน์เพื่อมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ประโยชน์ส่วนตัวเป็นกิจที่สอง

ปัญหาทางการแพทย์คือ Communication Failure คือคนไข้ไม่รู้ว่าเป็นโรคอะไร ห้ามอะไร แล้วแนวทางจะทำอย่างไรต่อ พร้อมเชื่อทุกคนที่ไม่ใช่หมอ ต้องให้ญาติ 1 คน ช่วยดูแลและจดจำด้วย ระบบแพทย์เลยล้มเหลว พูดกับคนไข้ไม่ดี ต้องอดทนเป็นหมอใจดี เป็นพยาบาลใจดี ต้องอดทน ต้องเป็นแบบหมอพุดเดิ้ล ไม่ใช่บางแก้ว ต้องไหว้คนไข้ก่อน ต้องพูดอ่อนน้ำ

อดทนต่อความโลภ โกรธ หลง ต้องคิดว่าทุกอย่างไม่ใช่ตัวเรา ของเรา ของทุกอย่างไม่เที่ยวทำวันนี้ให้ดีที่สุด แต่วางเป้าหมายไว้ สิ่งสำคัญคือปัจจุบันให้ทำวันนี้ให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง แล้วไม่ต้องกลัววันพรุ่งนี้ ไม่มีใครเคยทำผิดในสิ่งที่ถูก ต้องใช้หลักการซื่อตรง ถูกต้อง ไม่รับเงิน ไม่มีเส้น ใช้หลักกลัวบาป ละอายบาปให้มาก ทำดีทำชั่วมีเทวดาเห็น

ถ้ากามคุณดี จะมีปฐมฌาน ต้องทิ้งกามคุณก่อน ทิ้งได้เนื่องจากพบความสุขที่ดีกว่า

ถ้าทำบาปกับคนดีจะตกนรกมาก ถ้าทำดีกับคนดีจะยิ่งได้บุญมาก

คนเก่งจริง จะถ่อมตัวมาก ๆ

ความให้เกียรติ ความสุขภาพที่ดีต่อกันสำคัญกว่าการงาน ครอบครัวสำคัญกว่าการงาน สำคัญกว่าธุรกิจ ทุกอย่างอยู่ในความดี ต้องให้เกียรติ เผื่อแผ่ ให้เกียรติลูกน้อง ไม่ดุไม่ว่า อย่าสั่งลูกน้องมาก ไม่เช่นนั้นลูกน้องจะไม่คิด เจ้านายเพียงแค่คอยแนะนำเพราะเจ้านายก็ไม่สามารถรู้ไปทั้งหมด แต่จะสามารถให้ลูกน้องช่วยแก้ปัญหาและบริหารเองได้

ยกตัวอย่างนักศึกษาพยาบาล ให้ไปศึกษาประสบการณ์ที่โรงพยาบาล แล้วเอามาวิเคราะห์ว่าดีหรือไม่ดี คนโกรธจะไม่เห็นตัวเอง แต่เราสามารถเห็นเวลาคนอื่นโกรธ จะรู้ว่าเป็นอย่างไร แล้วเราจะนำมาปรับ คุยกัน ให้ดูว่าการเป็นแพทย์ที่ดี และพยาบาลที่ดีจะเป็นอย่างไร

ต้องมี Role Model คือทำดีให้ได้เห็น ได้เห็นตัวอย่างที่ถูกต้อง เห็นแรงผลักที่เกิดขึ้นภายในแล้วออกมาเป็นพฤติกรรมภายนอก


โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 1

วันที่ 3พฤษภาคม 2560

การศึกษาดูงานที่ มูลนิธิชัยพัฒนา

วีดิทัศน์แนะนำมูลนิธิชัยพัฒนา

นับตั้งแต่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จนิวัติสู่พระนครเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ทรงทุ่มเทเสด็จพระราชดำเนินออกเยี่ยมราษฎรโดยทั่วถึงเพื่อขจัดทุกข์ บำรุงสุขอย่างต่อเนื่อง ทรงได้หาวิธีบรรเทาความเดือดร้อนให้ทันเวลาและความต้องการของราษฎร

ในปีพ.ศ. 2531 มูลนิธิชัยพัฒนาได้ก่อตั้งขึ้นตามพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นองค์เป็นประธาน

นอกจากนี้ยังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดแบบตราสัญลักษณ์พร้อมทั้งความหมายด้วยพระองค์เอง อันประกอบด้วย

1.พระแสงขรรค์ชัยศรี มีความหมายถึง พระราชอำนาจ พระบารมีและกำลังแผ่นดินที่จะฝ่าฟันให้เกิดการดำเนินการต่างๆ อันเป็นผลไปสู่ความมั่นคงแห่งพระราชอาณาจักร

2.ธงกระบี่ธุช เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะในการต่อสู้ เพื่อป้องกันอาณาประชาราษฎร์ และพระราชอาณาจักรให้พ้นภยันตรายทั้งปวงและประสบความสำเร็จในการต่อสู้นั้น

3.ดอกบัว มีความหมายถึง ศักดิ์ศรี ความสงบร่มเย็น ความเจริญงอกงาม และความบริบูรณ์แห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร และบรรดาทรัพยากรทั้งปวงอันจะนำไปสู่ความอยู่ดีกินดี และความสงบสันติสุขของประชาชนโดยทั่วหน้ากัน

4.สังข์ มีความหายถึงน้ำที่จะสร้างความชุ่มชื้น ชโลมแผ่นดินให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และความร่มเย็นเป็นสุข

“งานของมูลนิธิชัยพัฒนานั้นต้องทำเร็ว คิดเร็ว แก้ปัญหาเร็ว...

เรื่องเช่นนี้ไม่อาจทำได้ระบบระเบียบของทางราชการ เนื่องจากราชการ

มีขั้นตอน ระเบียบแบบแผนที่ยุ่งยากพอสมควร จะไม่ทันเวลาและปัญหา

ที่ต้องใช้ความรวดเร็ว...มูลนิธิฯ ดำเนินการเป็นตัวอย่างก่อน หากรัฐบาล

เห็นสมควรว่ามีประโยชน์ก็นำไปทำต่อ หรือจะนำแบบอย่างไปทดลองที่อื่นก็ได้..”

ด้วยความตระหนักอย่างถ่องแท้ถึงพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของพสกนิกร มูลนิธิชัยพัฒนาจึงได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริสนับสนุนโครงการต่างๆมากมาย จากปัญหาและอุปสรรคที่เกษตรกรต้องประสบอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น การขาดแคลนที่ทำกิน ราคาผลผลิตตกต่ำ ปัญหาหนี้สินจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น

มูลนิธิชัยพัฒนาจึงได้นำแนวคิดพระราชทานมาส่งเสริม สงเคราะห์ พัฒนาและช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการทำการเกษตรที่เน้นในเรื่องการบริหารจัดการที่ดินและน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างพอเพียงตามแนวคิดพระราชทานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงทดลอง ณ บริเวณ วัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรีเป็นที่แรก แล้วได้แพร่ขยายไปยังเกษตรกรและประชาชนทั่วไปอย่างกว้างขวาง

การเกษตรแบบผสมผสาน เป็นการพัฒนาและจัดทำเป็นแปลงสาธิตทางการเกษตรในรูปแบบต่างๆ บนที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยคำนึงถึงสภาพพื้นที่และอาชีพดั้งเดิมของราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นเพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรและผู้สนใจ สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้และนำไปปรับใช้ประกอบอาชีพของตนได้

โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ จังหวัดสระแก้ว แหล่งเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียงด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรไทยจัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเพื่อเป็นโรงเรียนสำหรับฝึกกระบือและผู้ต้องการใช้กระบือให้สามารถไถนาและสามารถทำงานด้านการเกษตรร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งขยะมูลฝอย น้ำเสีย ดินเสีย ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงได้ทรงพระราชทานแนวคิดในการประดิษฐ์เครื่องจักรในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่

1.กังหันน้ำชัยพัฒนา เครื่องกลเติมอากาศ ต้นแบบในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระราชทานรูปแบบให้กรมชลประทานศึกษา วิจัย ทดลองสำหรับปรับปรุงคุณภาพน้ำ เพื่อให้หน่วยงานและประชาชนสามารถผลิตและใช้เองภายในประเทศ แม้ในต่างประเทศ เช่น ประเทศเบลเยี่ยมก็ได้นำกังหันน้ำชัยพัฒนาไปใช้ด้วยเช่นกัน

2.เครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ เป็นเครื่องกลเติมอากาศขนาดเล็กเพื่อใช้ปรับปรุงคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำที่ไม่สามารถติดตั้งกังหันน้ำชัยพัฒนาได้หรอใช้ควบคู่กัน ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9ทรงคิดค้นและออกแบบขึ้น

3.โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้นแบบการบำบัดน้ำเสียและฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน โดยใช้กระบวนการทางธรรมชาติ 4 วิธี

3.1 การใช้ระบบบ่อผึ่งบำบัดน้ำเสีย

3.2 การใช้ระบบกรองน้ำเสียด้วยหญ้า

3.3 การใช้ระบบบำบัดน้ำเสียโดยใช้พื้นที่ชุ่มน้ำเทียม

3.4 การใช้ระบบบำบัดน้ำเสียโดยใช้แปลงป่าชายเลน

จากปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรที่สะสมขึ้นมาก ทำให้เกิดผลกระทบตามมามากมาย เช่น พื้นที่ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว สัตว์ป่าหายากหรือสูญพันธุ์ ปัญหาน้ำท่วม เป็นต้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงได้มีพระราชดำริจัดตั้งโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ได้แก่ สระเก็บน้ำพระราม 9 เป็นสระกักเก็บน้ำขนาดใหญ่บนพื้นที่กว่า 2,800 ไร่ เพื่อประโยชน์ในการรองรับน้ำจากที่ราบลุ่มตอนบน นอกจากจะป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมในบริเวณกรุงเทพและปริมณฑลแล้ว ยังช่วยให้ประชาชนใกล้เคียงได้มีน้ำใช้ทั้งการอุปโภคบริโภคและการเพาะปลูกในฤดูแล้ง

จากการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วตามกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างวัฒนธรรมเมืองและวิถีชีวิตของชุมชน แต่ดั้งเดิมมา มูลนิธิชัยพัฒนาจึงได้ดำเนินโครงการอันเป็นแบบอย่างของวิถีชุมชนอันเรียบง่ายได้แก่

1.วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เป็นพุทธสถานขนาดเล็ก เน้นความประหยัดเรียบง่าย โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมในลักษณะ บ-ว-ร คือ บ้าน วัด และโรงเรียนหรือหน่วยราชการที่ก่อสร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9

2.โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ ตัวอย่างของการพัฒนาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์วิถีชุมชนอัมพวาอันเก่าแก่ให้มีความเข้มแข็ง เรียบง่าย ยั่งยืนและมีความสุข เป็นโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บนที่ดินที่มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวายบริเวณชุมชนอัมพวา ด้วยการน้อมนำหลักการพัฒนาด้านภูมิสังคมและเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ

จากแนวโน้มกระแสความต้องการใช้พลังงานจำนวนมหาศาลของประชาชนที่นับวันจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น จนอาจก่อให้เกิดภาวการณ์ขาดแคลนพลังงาน ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงทรงมีพระราชดำริให้คิดค้นและจัดหากรรมวิธีในการผลิตพลังงานทดแทนเพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ได้แก่ การจัดสร้างโรงงานต้นแบบในการผลิตปาล์มน้ำมันขนาดเล็กและโรงงานผลิตไบโอดีเซลครบวงจร ณ โครงการชัยพัฒนาแม่ฟ้าหลวงตามแนวพระราชดำริ เพื่อเป็นต้นแบบการผลิตไบโอดีเซลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป็นแบบอย่างของชุมชนในการพึ่งตนเองด้านพลังงาน ทั้งยังได้ส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทนชนิดต่างๆเพื่อนำไปใช้ในการศึกษาวิจัยและผลิตน้ำมันไบโอดีเซลให้ได้มาตรฐานและราคาถูกต่อไปซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจากการดำเนินงานที่จังหวัดกระบี่และศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากกระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส

นอกจากนี้ มูลนิธิชัยพัฒนายังมีโครงการอื่นๆที่ดำเนินงานตามพระราชกระแสเพื่อช่วยเหลือราษฎรในกรณีต่างๆ อย่างเป็นระบบตามลำดับขั้นตอน เช่น การช่วยเหลือในด้านโครงการพื้นฐานที่จำเป็นในระยะแรก การฟื้นฟูอาชีพเพื่อให้ราษฎรสามารถกลับมาดำเนินชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาฟื้นฟูสภาพแวดล้อมอย่างครบวงจร เช่น โครงการชัยพัฒนากาชาดไทย จังหวัดพังงา โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยดินถล่ม จังหวัดอุตรดิตถ์ และโครงการช่วยเหลือฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและการศึกษา จังหวัดสตูล เป็นต้น

ขณะเดียวกัน มูลนิธิชัยพัฒนายังได้ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อพัฒนาและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการโดยเฉพาะในด้านการเกษตร เช่น โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนากับมหาวิทยาลัยจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โครงการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนาและสาธารณรัฐประชาชนจีน อันจะนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรระหว่างประเทศ เช่น การปลูกชาน้ำมันเพื่อนำเมล็ดไปสกัดเป็นน้ำมันสำหรับใช้ประกอบอาหาร การเพาะปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรไทยโดยเฉพาะเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือเป็นต้น

ทั้งนี้การดำเนินกิจกรรมต่างๆของมูลนิธิชัยพัฒนาได้ยึดหลัก วิธีการตามแนวพระราชดำริ โดยคำนึงถึงความประหยัด เรียบง่าย สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นประการสำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมายในการสร้างเสริมอาชีพและการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง มีความสุขและยั่งยืนของพสกนิกรไทย ยังผลให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองอันมั่นคงแก่ประเทศชาติได้ในที่สุดสมดังพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่า

“...ชัยชนะของประเทศนี้ โดยงานของมูลนิธิชัยพัฒนานั้นก็คือ

ความสงบ...เป็นเมืองไทยที่มีความเจริญก้าวหน้า จนเป็นชัยชนะของการ

พัฒนาตามที่ได้ตั้งชื่อ มูลนิธิชัยพัฒนา ชัยของการพัฒนานี้มีจุดประสงค์ คือ

ความสงบ ความเจริญ ความอยู่ดีกินดี...”

วีดิทัศน์แนะนำสำนักงานกปร.

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ด้วยพระราชหฤทัยมุ่งมั่น ทรงตรากตรำเสียสละและทุ่มเทพระวรกายเยี่ยมเยียนราษฎรทุกหมู่เหล่าทั่วทุกภูมิภาคของประเทศและพระราชทานพระราชดำริในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับราษฎรที่ประสบความทุกข์ยาก เดือดร้อนอย่างต่อเนื่องตลอดมา อันเป็นที่มาของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในระยะแรกยังมีไม่มากนัก ต่อมาได้ขยายออกไปในด้านจำนวน ขอบเตการพัฒนาและมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น รัฐบาลจึงได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นในปี พ.ศ.2524 เพื่อให้การดำเนินงานมีเอกภาพและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกำหนดให้มีคณะกรรมการระดับชาติคือ คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เรียกว่า กปร. มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน องคมนตรี 1 ท่านที่ทรงโปรดเกล้าฯ เป็นที่ปรึกษา คือ นายอำพล เสนาณรงค์ มีหน่วยงานต่างๆร่วมเป็นกรรมการ โดยมีเลขาธิการกปร.เป็นกรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการกปร.มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุม กำกับ ดูแล ติดตาม และประสานงานการดำเนินงานหน่วยงานต่างๆ พิจารณาอนุมัติโครงการ แผนงาน กิจกรรมและงบประมาณในการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ สำนักงานกปร. เป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินงาน

สำนักงานกปร.เป็นหน่วยงานไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง มีฐานะเป็นกรมขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ในการติดตามเสด็จ รับและประมวลพระราชดำริ เป็นหน่วยงานหลักในการประสาน สนับสนุน ดำเนินงาน ติดตาม ประมวลผลเพื่อให้สามารถสนองพระราชดำริได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีปรัชญาและจุดมุ่งหมายหลักคือ การพัฒนาคนให้พออยู่ พอกิน และพึ่งตนเองได้ มุ่งเน้นผลลัพธ์คือ ประโยชน์สุขของประชาชน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน เริ่มจากการรวบรวมประมวลพระราชดำริ การนำพระราชดำริไปสู่การปฏิบัติเป็นโครงการและกิจกรรมต่างๆ การพิจารณาของสำนักงานกปร.เพื่อเสนอกปร.หรือประธานกปร.ให้ความเห็นชอบการดำเนินโครงการและนำผลสำเร็จไปขยายผลด้วยการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีความสำคัญและดำเนินงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2522 ถึงปัจจุบัน

จากหลักการภูมิสังคม มีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นในภูมิภาคต่างๆ รวม 6 ศูนย์โดยทำหน้าที่ศึกษา ค้นคว้า ทดลองด้านต่างๆ เพื่อหาตัวแบบความสำเร็จและสาธิตแสดงไว้ในลักษณะพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตพร้อมทั้งขยายผลไปสู่เกษตรกรและประชาชน โดยการฝึกอบรมและให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อให้ประชาชนนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

นอกจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยังมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สำคัญในการพัฒนาด้านอื่นๆ ได้แก่

1.การพัฒนาแหล่งน้ำ

2.การพัฒนาการเกษตร

3.การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4.การพัฒนาด้านอาชีพและรายได้

5.การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต

ด้วยสายพระเนตรอันกว้างและยาวไกลและพระอัจฉริยภาพในการพัฒนา ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบความทุกข์ยากเดือดร้อนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติมากมาย นำมาซึ่งประโยชน์สุขของพสกนิกรอย่างแท้จริง

บรรยายเรื่อง เรียนรู้กรณีศึกษาด้านการพัฒนาองค์กรตามศาสตร์ของพระราชา

โดย ม.ล.จิรพันธุ์ ทวีวงศ์

รองเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

สมัยแรกที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงงานยังไม่มีคนประสาน จนกระทั่งปี 2524 นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีดำริมาหารือกับเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ว่า น่าจะมีหน่วยงานประสานงาน เพราะเวลาที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงงานในพื้นที่ ก็ทรงมีรับสั่งหลายเรื่อง ส่วนมากเป็นปัญหาเรื่องน้ำ ถนนหนทาง คุณภาพชีวิต สุขภาพอนามัยต่างๆ แต่ละหน่วยก็รับผิดชอบไปแต่ละด้าน อาจจะมีปัญหาการสื่อสารที่ทำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน จึงมีหน่วยพิเศษขึ้นมาเรียกว่า กปร.ขึ้นตรงกับสภาพัฒน์ฯ ในปี 2524 เป็นครั้งแรกที่มีงบประมาณ สาเหตุคือ ระบบงบประมาณของประเทศไทยต้องมีการตั้งงบล่วงหน้า กว่าจะได้งบประมาณก็ไม่ทันการณ์ รัฐบาลจึงถวายงบกลางสำหรับจัดการรับสนองพระราชดำริอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และดำเนินการได้ทันทีในเบื้องต้น เป็นการแก้ปัญหางบประมาณล่าช้า

กปร.มีหน้าที่บันทึกพระราชดำริแล้วประสานหน่วยปฏิบัติให้ดำเนินการโครงการ จากนั้น เป็นการจัดทำโครงการตามวงจรโครงการ มีการขออนุมัติงบจากนายกรัฐมนตรีทำให้ดำเนินการได้ เมื่อโครงการเสร็จสิ้น ก็มีการประเมินผล ทุกปีมีการติดตามโครงการ มีภารกิจหลักคือบริหารจัดการโครงการ ในส่วนที่เห็นผล ก็มีการประชาสัมพันธ์โครงการออกไปสู่ประชาชน

กปร.ทำงานเร็วกว่าระบบราชการปกติ แต่ยังไม่เร็วเท่าภาคเอกชนหรือ NGOs มูลนิธิชัยพัฒนาเป็น NGOs ทำงานได้เร็วกว่าราชการ เพราะมีเงินของมูลนิธิที่ให้ประธานมูลนิธิคือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นประธาน มีการจัดทำงบประมาณรายปี เวลาที่มีเรื่องเร่งด่วน ก็ทรงมีพระราชานุมัติได้ มูลนิธิชัยพัฒนาทำงานเป็นสัดส่วนเมื่อปี 2538 ทำงานเหมือนกปร. เป็นระบบจัดการองค์กรแบบหนึ่ง

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีวิธีการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ

การทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 มีระบบขั้นตอนชัดเจน ต่อเนื่องและค่อนข้างจะได้ผลเกือบทั้งหมด

วิสัยทัศน์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 คือพระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” เน้นถึงความสุขของประชาชน ไม่เป็นการปกครอง แต่ทรงครองแผ่นดินไม่ใช่ปกครอง แต่เหมือนครองเรือน ครองเพศสมณะ เปี่ยมด้วยความเมตตา มีความสุขเป็นเป้าหมายหลัก ทรงงานโดยเน้นความสุขอย่างต่อเนื่องมาตลอด

แม้ว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงศึกษาในต่างประเทศ แต่ทรงเริ่มเข้าใจประเทศไทยด้วยการเสด็จเยี่ยมราษฎรตามภาคต่างๆ และเสด็จภาคอีสานเป็นครั้งแรก ต่อมาก็เสด็จภาคเหนือและภาคใต้ ทำให้ทรงเห็นปัญหา

ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยาเขียนเรื่อง ทำเป็นธรรม แล้วถวายให้ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทอดพระเนตร ม.ล.จิรพันธุ์ ทวีวงศ์ได้มีโอกาสทำงานรับเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2533 และได้เริ่มต้นไปเห็นปัญหาของชาวบ้านเบื้องต้นได้แก่ สุขภาพ ถนน อาชีพทางการเกษตร เรื่องน้ำ ในหลวงรัชกาลที่ ทรงคิดฝนหลวงตอนเสด็จไปภาคอีสาน เมื่อทรงเข้าใจปัญหาแล้ว ก็ทรงจะพิจารณาการแก้ไขปัญหา

มีงานวิจัยส่วนพระองค์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชวังสวนจิตรลดาหลายเรื่องได้แก่ เรื่องข้าว ปลา การเกษตร การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การถนอมอาหาร พลังงานทดแทน ไบโอดีเซล เครื่องจักรกล โรงงานขนาดย่อม

เรื่องการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพพระราชทาน สะท้อนให้เห็นไม่ใช่แค่เรื่องรายได้เกษตรกร แต่เป็นเรื่องโภชนาการ คุณภาพชีวิต

ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานปลาหมอเทศ และปลานิล สะท้อนเรื่องโภชนาการโปรตีนที่หาง่ายและราคาถูก

ปีหนึ่ง ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงงานในต่างจังหวัด ฐานทรงงานหลักคือพระราชวังไกลกังวลสำหรับภาคกลาง พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ที่เชียงใหม่ พระตำหนักภูพานที่สกลนคร และพระตำหนักทักษิณที่นราธิวาส

ในการทรงงาน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทอดพระเนตรเห็นความขาดแคลนปัจจัยการเกษตร เช่น น้ำ เพราะฉะนั้นโครงการพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ เกินครึ่งเป็นโครงการเรื่องแหล่งน้ำ อีกครึ่งหนึ่งเป็นเรื่องความจำเป็นของอาชีพและความเป็นอยู่

ในส่วนการทรงงาน เสด็จแปรพระราชฐานไปยังที่ต่างๆ ในช่วงเวลาต่อไปนี้

เดือนมิถุนายน-สิงหาคม เสด็จแปรพระราชฐานไปยังพระราชวังไกลกังวล

เดือนกันยายน-ตุลาคม เสด็จแปรพระราชฐานไปยังพระตำหนักทักษิณที่นราธิวาส

เดือนพฤศจิกายน เสด็จแปรพระราชฐานไปยังพระตำหนักภูพานที่สกลนคร

วันที่ 5 ธันวาคม เสด็จกลับกรุงเทพมาร่วมพระราชพิธีต่างๆ

เดือนมกราคม-มีนาคม เสด็จภาคเหนือ

จังหวัดที่มีโครงการพระราชดำริจำนวนมาก เป็นจังหวัดที่มีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำ

ที่โครงการหลวงในภาคเหนือ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงแก้ไขปัญหายาเสพติด ความมั่นคงชายแดนโดยชนกลุ่มน้อย ถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จึงหาพืชที่ก่อให้เกิดรายได้ไปทดแทนและมีการปลุกป่าทดแทนด้วย แหล่งต้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในภาคเหนือ เพราะฉะนั้นพื้นที่ในภาคเหนือต้องมีการรักษาป่าใหม่ โดยใช้ศาสตร์พระราชา

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนโดยทรงใช้หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ Cost Effectiveness ไม่ใช่ Cost Benefit

นอกจากโครงการหลวงก็มีโครงการที่สำคัญคือ โครงการอาหารกลางวัน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเล็งเห็นว่า เป็นการให้ความรู้ทางด้านการเกษตร การปรับปรุงบำรุงดิน การชลประทานในพื้นที่ ให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่เด็ก มีการตั้งสหกรณ์ ทำบัญชีสหกรณ์ ปลูกผักแล้วก็ต้องมีการจดบันทึกรายได้ เพราะต้องมีการจ่ายเงิน เด็กได้รับการศึกษาเรื่องนี้ เป็นจุดเริ่มต้นความยั่งยืน

คำว่า ภูมิสังคม เป็น Keyword หมายถึง การพัฒนาจะต้องดูสภาพภูมิศาสตร์และสังคมคือคนในพื้นที่ จึงจะพัฒนาด้วยความเข้าใจ ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงได้พระราชทานศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 แห่งทั่วประเทศ

ในการจัดองค์กรศูนย์ศึกษาแต่ละแห่งก็จะแตกต่างกันไปตามภูมิสังคม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเขาหินซ้อนที่ฉะเชิงเราเป็นศูนย์แรกมีปัญหาเบื้องต้นคือเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ดินขาดความสมบูรณ์ กรมพัฒนาที่ดินเป็นผู้รับผิดชอบหลัก อีกส่วนหนึ่งที่กรมพัฒนาที่ดินดูแลคือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริพิกุลทองที่นราธิวาส มีปัญหาดินเปรี้ยว ผู้อำนวยการศูนย์มาจาก 2 กรม กรมชลประทานดูแลที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริห้วยฮ่องไคร้และศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริภูพาน ซึ่งมีปัญหาเรื่องต้นน้ำและแหล่งน้ำ

ในการพัฒนาศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่ง มีการระบุคุณสมบัติดิน ส่วนประกอบแร่ธาตุ ปัญหาแต่ละพื้นที่ ที่อ่างเก็บน้ำเขาเต่า ได้มีการถวายรายงานเรื่องดินเปรี้ยว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีรับสั่งว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ไปทรงงานในพื้นที่ที่มีปัญหาทั้งนั้น ในการแก้ไข อันดับแรกคือการจัดหาน้ำ อันดับที่สองคือการปรับปรุงดิน อันดับที่สามคือการขยายกิจการการเกษตร

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริห้วยทรายมีตำรวจเป็นผู้อำนวยการศูนย์ เพราะเป็นพื้นที่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

แต่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกแห่งมีองค์ประกอบข้าราชการครบทุกด้าน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีรับสั่งว่า ข้าราชการต้องเรียนรู้การทำงานร่วมกันทำโครงการ เช่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริก็มีกระทรวงสาธารณสุขมาดูแลเรื่องโรคเท้าช้าง มีการศึกษาวิจัยในพื้นที่และให้ความรู้ นอกจากวิชาการแล้ว ชาวบ้านก็ได้ประโยชน์ทุกเรื่องเพราะศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทำหน้าที่เป็น One stop Service เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต มีการให้ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

ศาสตร์กษัตริย์ด้านการจัดการน้ำ

1.ฝนหลวง เป็นโครงการที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงคิดและทำมาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ผลชัดเจน จนกระทั่งจอร์แดนมาขอไปทำ

2.แก้มลิง ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงอธิบายการแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง โดยมีเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์สำหรับสองลุ่มน้ำ แต่เขื่อนสำหรับแม่น้ำยม เวลาทำโครงการพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ต้องทรงถามชาวบ้านก่อน เพื่อให้ความยินยอมในการดำเนินการ โครงการฝายที่นราธิวาส มีชาวบ้านคนหนึ่งไม่ยอมให้สร้าง ท่านจึงยังไม่ทำในตอนนั้น

ปัญหาลุ่มน้ำเจ้าพระยาใน ปี 2554 ฝนตกมากในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงพระราชทานแก้มลิง สุขุมวิทและคลองชายทะเลสมุทรปราการเป็นแก้มลิงฝั่งตะวันออก ส่วนฝั่งตะวันตกก็มีคลองสนามไชย มหาชัย ในระยะหลังจะมีประตูน้ำมาสูบไว้แล้วส่งออก เมื่อน้ำล้นก็เปิดประตูให้น้ำออก ได้พระราชทานแนวคิดการสร้างคันกั้นน้ำในกรุงเทพ

ที่สงขลามีน้ำท่วมหาดใหญ่ มีการใช้ถนนลพบุรีราเมศวร์เป็นเขื่อนกั้นน้ำ มีอ่างเก็บน้ำสะเดาสำหรับระบายน้ำ ที่ชุมพร ก็มีโครงการพระราชทาน ด้านการบริหารจัดการน้ำ

ศาสตร์กษัตริย์ด้านการปรับปรุงดิน

1.“แกล้งดิน” นราธิวาสมีโครงการแกล้งดิน เมื่อมีฝนตก แล้วน้ำแห้งลงไป ตัวกำมะถันเมื่อสัมผัสกับออกซิเจนจะกลายเป็นกรด จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ปีละครั้ง ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริให้แกล้งดินให้โกรธ ให้เกิดการระบายน้ำเข้าออกหลายๆครั้ง แล้วนำน้ำมาทำให้ดินหายโกรธ ดินก็จะทำงาน รูปแบบอยู่ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริพิกุลทอง ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้รับถวายรางวัลจดสิทธิบัตรโครงการแกล้งดิน

2.หญ้าแฝก เริ่มที่ต้นที่พระราชวังไกลกังวล ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงหาหญ้าแฝกมาปลูก ธนาคารโลกมีรายงานการศึกษามาว่า หญ้าแฝกเป็นเครื่องมือที่สามารถหญ้าแฝกอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีและมีราคาไม่แพง และเป็นประโยชน์ในการจัดการดิน

ศาสตร์กษัตริย์ด้านการเกษตร

1. ทฤษฎีใหม่ คือ การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรขนาดเล็กอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งพื้นที่เป็น

สระน้ำ 30% (3ไร่) นาข้าว 30% (5ไร่) พืชไร่ พืชสวน 30% (5ไร่) ที่อยู่อาศัย 10% (2ไร่)

ทฤษฎีใหม่มี 3 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 - การจัดสรรที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน

ขั้นตอนที่ 2 - การรวมพลังกันในรูปกลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้านต่างๆ

ขั้นตอนที่ 3 - ติดต่อประสานงานเพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต

ศาสตร์กษัตริย์ด้านป่าไม้

1.พระราชปรัชญา “ปลูกต้นไม้ในใจคน”

2.ทฤษฎีปลูกป่าในที่สูง

3.ทฤษฎีปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก มีตัวอย่างที่เขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี ทำโดยไปสร้างความชุ่มชื้นให้พื้นที่แล้วป่าก็จะเกิดขึ้นมาเอง

4.ทฤษฎีป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ประกอบด้วย ไม้ใช้สอย ไม้เศรษฐกิจ ไม้กินได้และมีประโยชน์คืออนุรักษ์ดินและน้ำ

5.ฝายชะลอความชุ่มชื้น check dam

ศาสตร์กษัตริย์ด้านการบำบัดน้ำเสีย

1.อธรรมปราบอธรรม เช่น ใช้ผักตบชวาที่บึงมักกะสันมีรากดูดซึมสารโลหะในน้ำสามารถกำจัดสารพิษในน้ำ

2.น้ำดีไล่น้ำเสีย พระราชทานพระราชดำริเปิดประตูคลองเทเวศร์ให้น้ำไหลออกตรงปากคลองตลาด

3.กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2 เป็นที่รู้จักมาก

4.เครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ RX-5C

5.บำบัดน้ำเสียที่แหลมผักเบี้ย

6.ผืนป่าโกงกางที่งอกเพิ่มปีละ 19.5 ไร่

ศาสตร์กษัตริย์ด้านพลังงานทดแทน

1.ไบโอดีเซล ม.อ.มาช่วยดำเนินการเรื่องไบโอดีเซลก่อนที่จะมีการตั้งกปร. มีการศึกษาไบโอดีเซลที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริพิกุลทองและอ่าวลึกที่กระบี่ วัตถุประสงค์ของไบโอดีเซลคือช่วยให้เกษตรกรที่มีสวนปาล์มและเครื่องจักรกล นำน้ำมันปาล์มมาใช้โดยไม่ต้องไปซื้อน้ำมันดีเซล โครงการชั่งหัวมัน ทำเป็นตัวอย่าง

2.แก๊สโซฮอล์

3.โซล่าร์เซลล์

4.กังหันลม

ศาสตร์กษัตริย์ ด้านการบริหารจัดการ

ปฏิรูปการบริหารจัดการ Single management One Stop Services

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

1.สถานที่เรียนรู้การบริหารในรูป Single Management

2.สถานที่เพิ่มพูนปัญญา พัฒนาอาชีพ เพื่อความมั่นคงยั่งยืนของชีวิตในรูปของ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต”

3.One Stop Services for Farmers

4.สถานที่เรียนรู้การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

5.เป็นแหล่งรองรับการอพยพของประชาชนให้เข้ามาพักอาศัยและทำมาหากินได้อย่างต่อเนื่องทันที

ศาสตร์กษัตริย์ด้านการพัฒนามนุษย์

1.พระราชทานทุนการศึกษา

ทุนอานันทมหิดล

ทุนภูมิพล

ทุนเล่าเรียนหลวง

2.พระราชทานโอกาสทางการศึกษา

โครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

โครงการพระดาบส

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

3.เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอ ประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

“...เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารได้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป...”

ช่วงถาม-ตอบ

คนที่ 1

ตนเป็นคนจากอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงการพระราชดำริมาตั้งแต่เด็ก มีความประทับใจที่พระองค์ท่านทรงทำให้กับพื้นที่ ปัจจุบัน เราก็ยังคงใช้ในหลายมิติของการพัฒนาคน ตนเป็นพยาบาลดูแลเรื่องสุขภาพ คนในพื้นที่รู้จักโครงการพระราชดำริ แต่คนนอกพื้นที่อาจจะยังไม่รู้จัก โครงการ ในส่วนการดูแลเรื่องวัฒนธรรม โครงการได้ให้ความสนใจในเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทำอย่างไรให้ภาคประชาชนเห็นในส่วนที่เชื่อมโยงทางด้านวัฒนธรรม ทำอย่างไรให้ความสงบกลับคืนมาเหมือนเดิม

ตอบ

ในปี 2517 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระตำหนักทักษิณ ทรงงานพัฒนามากมาย ทรงไม่ได้แบ่งแยกเป็นไทยพุทธหรือไทยมุสลิม พระราชทานครบทั้งหมด พระองค์ท่านได้ทำโครงการโภชนาการเด็ก สำรวจพื้นที่ยะลา ปัตตานี นราธิวาสในปี 2532-2533 จากประสบการณ์ที่ได้ไปติดตามนายไกรสิทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายโภชนาการ กปร. ที่โรงเรียนตชด. มีการชั่งน้ำหนัก ติดตามภาวะโภชนาการ แต่ละอำเภอมีเจ้าหน้าที่เดินสายไปชั่งน้ำหนัก แล้วบันทึกว่า ใครขาดสารอาหารอะไรแล้วแก้ไข ตอนนี้เป็นงานต่อเนื่องในกระทรวงสาธารณสุข ส่วนในพื้นที่นราธิวาสและยะลา เจ้าหน้าที่ชาวมุสลิมของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริพิกุลทองก็ออกไปตามบ้านเรือน สอนแม่บ้านทำอาหารเพื่อลงไปถึงแก่นของปัญหา วัฒนธรรมไม่ใช่ปัญหา ตอนที่ไปทำงานที่นราธิวาสในปี 2533 ก็ไม่มีปัญหา มีความคาดหวังให้เยาวชนสร้างความเข้าใจในอนาคต ก็มีความพยายามไปให้ความรู้แก่โรงเรียนสอนศาสนา ไม่ใช่แค่เรื่องศาสนา แต่ยังรวมถึงหลักสูตรสามัญและโครงการอาหารกลางวัน จะเน้นความมั่นคงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเน้นการพัฒนาด้วย

คนที่ 2

ขอถามเกี่ยวกับโครงการเพชรบุรี ในหลวงรัชกาลที่ 9ทรงมีพระราชดำริอย่างไรจึงพระราชทานชื่อโครงการชั่งหัวมัน

ตอบ

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงอธิบายว่า มีมันเก็บไว้ที่พระตำหนักแล้วก็งอก นำมาชั่ง เป็นโครงการส่วนพระองค์ที่มีเจ้าหน้าที่อีกส่วนรับผิดชอบอยู่ เป็นโครงการที่รวบรวมการเกษตรหลายอย่าง ใช้วิธีการเดียวกัน คือ ใช้น้ำ ปรับปรุงดิน หากิจการเกษตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงจดทะเบียนเป็นเกษตรกรชั่งหัวมันด้วย มีหนังสือระบุตัวตนเกษตรกรด้วย ตอนนี้ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาทำคู่มือ 80 เส้นทางพระราชดำริ

คนที่ 3

ทุกครั้งที่ได้ฟังเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริ ก็ประทับใจในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นอัจฉริยะ ไม่ใช่เรื่องนวัตกรรมอย่างเดียว ยังพยายามที่จะคิดค้นระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ คิดเร็ว ทำเร็ว แก้ปัญหาเร็ว ซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนา พระองค์ทรงมีรูปแบบตัวอย่างให้เห็นว่า ทำอย่างไรให้เร็วและแก้ปัญหาได้ทันการณ์ การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ เวลาที่มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ก็พยายามทำให้มีประสิทฺธิภาพ แก้ปัญหาได้เร็ว ทำงานได้มีประสิทธิภาพ แต่ในความเป็นจริง ยังไม่สามารถออกจากระบบราชการได้จริงจัง ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และสนับสนุนใช้แนวคิดเหล่านี้สู่การปฏิบัติ มีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมอะไรบ้าง

ตอบ

มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีหลักสูตรปริญญาโทด้านเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งกปร.และมูลนิธิชัยพัฒนาได้สร้างหลักสูตรนี้ไว้ นอกจากนี้ก็มีที่มหาวิทยาลัยบูรพาด้วย หลักสูตรด้านนี้ นิด้าทำมานานแล้ว มีการเผยแพร่ศาสตร์กษัตริย์ไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ เรื่องประชาสัมพันธ์อาจจะยังไม่กว้างขวาง แต่ตอนนี้คนรู้จักโครงการพระราชดำริมากขึ้นพอสมควร หันมาสนใจตอนที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 สวรรคตไปแล้ว เอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศได้เคยไปเข้าเฝ้าพระองค์ท่านที่พระราชวังไกลกังวล ทูลถามว่า ท่านอยากอะไรได้เป็นของขวัญจากประชาชน ท่านมีพระดำรัสตอบว่า อยากให้มีความพอเพียง มีความสุข ไม่มีความโลภ เดินทางสายกลาง แต่ไม่ตระหนี่ พระองค์ท่านทรงสนับสนุนให้ทำบัญชีครัวเรือน เพื่อให้รู้รายรับ-รายจ่ายแล้วตัดรายจ่ายที่ไม่เหมาะสมออกไป

คนที่ 4

เมื่อในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่อยู่แล้ว สิ่งที่พระองค์ท่านทำอยู่จะมีการดำเนินการต่อไปอย่างไร แต่มีมูลนิธิชัยพัฒนาและระบบของรัฐ ก็น่าจะดำเนินการต่อได้ รู้สึกดีใจด้วย ท่านทรงเน้นให้คนไทยมองสิ่งที่มีอยู่ คนไทยก็อยู่ได้โดยการพึ่งตนเอง เมื่อมองกลับมาที่คณะพยาบาลศาสตร์ ทำให้คิดว่า ต้องสอนนักศึกษาให้ทำงานพยาบาลบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง รักษาผู้ป่วยโดยรักษาดูใจ จะสอนให้คนดูแลตัวเองได้ จะทำให้นักศึกษาพัฒนาตนเอง แล้วประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาพหุวัฒนธรรมของตัวเอง

ตอบ

หมอเก่งสร้างระบบอสม. ได้ดี ที่สุพรรณบุรีมีทะเบียนครัวเรือน รายงานสุขภาพของคนในชุมชน มีการออกไปเยี่ยมและตรวจสุขภาพคนในชุมชน เป็นการเข้าใจ เข้าถึงตามแนวพระองค์ท่านให้ Model นี้สุพรรณบุรีทำ เรื่องอสม.ทำแล้วได้คุณประโยชน์มาก

คนที่ 4

เคยนำเสนอเรื่องนี้เมื่อ 20 ปีที่แล้วที่สหรัฐอเมริกา เขาชื่นชมมากที่คนไทยใช้อาสาสมัครที่เป็นคนในชุมชน เป็นเรื่องที่ดีจริง แต่ตัวระบบต้องขับเคลื่อนให้เข้มแข็งกว่านี้ ในปัจจุบัน อสม.ได้เงินเดือนด้วยดูแลตัวเอง ควรให้มีกลไกแน่นหนาและพัฒนาต่อไป

ตอบ

ในหลวงรัชกาลที่ 9 เริ่มจากทำจุดเล็กๆ

คนที่ 5

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงจากประชาชนไปแล้ว แต่มูลนิธิชัยพัฒนาก็ยังคงอยู่ การดำเนินงานมูลนิธิจะเป็นไปทิศทางใดเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของตัวองค์กรและช่วยเหลือประชาชนได้ต่อไปเพราะไม่มีพระราชดำริใหม่มาจากพระองค์ท่าน

ตอบ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นประธานมูลนิธิชัยพัฒนา ท่านทรงงานอยู่และเป็นผู้แทนในหลวงรัชกาลที่ 10 ด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีรวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ก็มีพระราชดำริใหม่ด้วย กปร.และมูลนิธิชัยพัฒนาก็จะทำงานต่อ

เคยมีคำถามตอนในหลวงรัชกาลที่ 9 ประชวร ว่า กปร.จะมีงานทำหรือไม่เมื่อในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่มีพระราชดำริใหม่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงงานแทนและมีพระราชดำริออกมา ตอนนี้งานโครงการพระราชดำริ เป็นงานฎีกามาก โดยเฉพาะเรื่องแหล่งน้ำ มีการขอผ่านมาทางสำนักราชเลขาธิการมาส่งให้กปร. กรมชลประทาน และกรมป่าไม้ไปดูความเหมาะสม พระราชทานโครงการแหล่งน้ำไป มีพระราชดำริพระราชทานตามฎีกาที่ทรงรับแล้วเข้าเป็นโครงการพระราชดำริ ใช้งบกปร. ให้เริ่มต้นได้ โครงการพระราชดำริเป็นงานเสริมรัฐบาล

คนที่ 6

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีโครงการมากมาย ท่านแก้ไขปัญหาอย่างไร

ตอบ

ที่ภาคใต้ เคยมีพระราชดำริจะทำฝาย ใกล้ทางปัตตานีเชื่อมกับนราธิวาส เมื่อได้ไปเจรจากับชาวบ้าน ชาวบ้านไม่ยอมย้าย จึงถวายรายงาน ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงมีพระราชดำรัสว่า ไม่ต้องทำ ทรงรอเวลาจนประชาชนต้องการหรือมีความจำเป็น ท่านต้องมีรับสั่งถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม จึงจะสร้างเขื่อนป่าสักออกมา

ที่สำคัญคือ เศรษฐกิจพอเพียงเน้นสมดุลการพัฒนาให้สอดคล้องกับภูมิสังคม แก้ปัญหาตามต้นเหตุของปัญหา

คนที่ 7

จากการเรียนวันนี้ สิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำ ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีมาก แต่ข้อมูลที่ได้รับจากสื่อเป็นโครงการพระราชดำริที่แก้ปัญหาและมีรายละเอียดของโครงการ จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะถ่ายทอดวิธีคิด ก่อนจะออกมาเป็นโครงการ อยากให้เด็กรุ่นหลังได้มีโอกาสเรียนรู้วิธีคิดของพระองค์ท่าน เพื่อให้มีโครงการใหม่ที่เกิดจากการคิดของประชาชน

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเคยดำริกับพระสังฆราชในเรื่องการเผยแพร่ธรรมะง่ายๆ ไปสู่เด็ก เช่น เรื่องเล่า หรือการ์ตูน ทำให้เข้าใจและดำเนินการตามพระราชดำริ ทำให้มีโครงการใหม่เกิดขึ้นจากประชาชน

ตอบ

หลักคิดคือ ต้องดูความเป็นมาของโครงการ

ศ.น.พ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวว่า ทำงานต้องมีหลักคิด หลักวิชาการและหลักปฏิบัติ

หลักคิดของพระองค์ท่านคือดูปัญหา ภูมิสังคม สภาพต่างๆ ต้องให้คนสนใจใส่ใจดู

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จไปเปิดห้องสมุดกปร. มีรับสั่งผ่านเลขาธิการกปร.ให้นำวารสารมูลนิธิชัยพัฒนาไปใส่ไว้ในห้องสมุด และแจกในงานพระบรมศพ

ถ้าจะมีความคิด ความรู้ ต้องสนใจประวัติศาสตร์

คนที่ 8

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีหลักการบริหารทรัพยากรอย่างไร

ตอบ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริคือหลักการ

ส่วนเรื่องงบประมาณ เป็นเรื่องที่รัฐบาลถวาย มีกปร.ประสานโครงการพระราชดำริโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ในการตั้งกปร. ต้องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าให้ตั้งกปร.เพื่อประสานงานดูแลโครงการพระราชดำริ กปร.คล้ายองค์กรราชการทั่วไป ทรัพยากรบุคคลก็เป็นข้าราชการแต่ได้รับการอบรมให้เข้าใจ รวมถึงมูลนิธิชัยพัฒนาด้วย มูลนิธิชัยพัฒนามีความอิสระกว่าหน่วยราชการในการทำงาน ไม่มีขั้นตอนมาก

สิ่งที่รับสนองมาที่ผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนาและกปร.นำมาทำคือ การสร้างความเข้าใจ จิตสำนึก กปร.เป็นเรื่องงบประมาณที่รัฐบาลถวายในหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์ การจะใช้จ่ายดูแลให้เหมาะสมและถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ และปลูกฝังกับข้าราชการใหม่ ส่วนของมูลนิธิชัยพัฒนา เงินที่ได้มานั้นเป็นเงินที่ประชาชนให้มาเพื่อช่วยเหลือราษฎร ต้องใช้จ่ายให้ถูกต้องเหมาะสม มีเหตุผลตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

คนที่ 9

ทุกคนชื่นชมและศรัทธาในหลวงรัชกาลที่ 9 ขอให้อธิบายหนังสือ เรื่อง ทำเป็นธรรม ที่เขียนโดยท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

ตอบ

หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องของในหลวงรัชกาลที่ 9 ประกอบด้วยพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงศึกษาปัญหาของประเทศไทยด้วยการเสด็จเยี่ยมราษฎร แล้วระบุปัญหามา เรื่องแรกที่แก้ไขคือปัญหาสาธารณสุข การคมนาคม พระราชทานรถแทร็คเตอร์ ทำถนนเป็นโครงการพระราชดำริโครงการแรก แหล่งน้ำโครงการแรกคืออ่างเก็บน้ำเขาเต่า โครงการในระยะแรก มีโครงการหุบกะพง โครงการในพระราชประสงค์ต่างๆ จากนั้น ก็เสด็จพระราชดำเนินไปทั่วประเทศ ส่วนกปร.มีหนังสือหลักการทรงงาน 23 ข้อ เช่น ทำให้ง่าย ขาดทุนคือกำไร รวมพระราชดำรัสต่างๆ

คนที่ 10

คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยกับเศรษฐกิจพอเพียง แต่มีกี่คนที่สามารถเข้าใจลึกซึ้งแล้วนำมาใช้ในชีวิตได้ ถ้าทุกคนเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้วนำมาปรับใช้กับชีวิต ก็จะดีมาก ก็จะสามารถต่อยอดคิดโครงการ โดยต้องเริ่มจากระดับบุคคลก่อน

ตอบ

ในปี 2550 กับปี 2552 เคยมีการประกวดด้านเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตร ภาคธุรกิจ ตอนหลังมีหลายรางวัล เป็นการประกวดหาผู้ที่ประสบความสำเร็จในการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นผู้ดำเนินการ ในส่วนราชการ หน่วยงานที่ได้รับรางวัลคือ ธกส.และกรมราชทัณฑ์ เพราะมีการพึ่งตนเองในการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย เศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำได้ทุกสาขา นำไปใช้ได้หลายด้าน เช่น การบริหารค่าใช้จ่าย การกินอาหารถูกหลักโภชนาการเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้สุขภาพ ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ศ.นพ.เกษม วัฒนชัยเป็นผู้รู้ดีเรื่องนี้

คนที่ 11

ม.อ.ออกจากระบบราชการแล้ว มีข้อเสนอแนะอะไรในการปรับ Mindset ให้คิดเร็ว ทำเร็วและแก้ปัญหาเร็ว

ตอบ

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสว่า. “ความสามัคคีนั้น อาจหมายความถึงเห็นชอบเห็นพ้องกันโดยไม่แย้งกัน ความจริงงานทุกอย่างหรือการอยู่ เป็นสังคมย่อมต้องมีความขัดแย้งกัน ความคิดต่างกัน ซึ่งไม่เสียหาย แต่อยู่ที่จิตใจของเรา ถ้าเราใช้หลักวิชาและความปรองดองด้วยการใช้ปัญญา การแย้งต่าง ๆ ย่อมเป็นประโยชน์ หากมีรากฐานของความคิดอย่างเดียวกัน รากฐานของความคิดนั้นคือ แต่ละคนจะต้องทำให้บ้านเมืองมีความมีความเป็นปึกแผ่น”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯ

29 ตุลาคม 2517

ก็เหมือนโครงการพระราชดำริที่ไม่ได้ทำแค่ด้านเดียว ต้องสร้างความสมดุลทุกด้านถูกต้องตามหลักวิชาการและกฎหมาย

ในการที่ม.อ.จะเดินหน้าต่อไป ควรมีการหารือกันภายในองค์กร เพราะเป็นเรื่องยากที่บุคคลภายนอกจะเสนอแนะ เมื่อมาเรียนแล้ว ควรมีข้อสรุปว่าจะทำอะไรต่อ แล้วจัดเป็นลำดับขั้นตอนในการพัฒนา ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป จากจุดเล็กแล้วค่อยๆ ขยายไปในวงกว้าง

ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้มาดูงาน เพราะจะได้นำแนวคิดไปเสนอผู้บริหารระดับสูง แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบ แต่รัฐบาลก็ยังคงให้งบอุดหนุนบางส่วน มีการเปลี่ยนชื่อจาก “ข้าราชการ” เป็น “พนักงานราชการ” เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจและสร้างขวัญกำลังใจ ระเบียบเป็นเรื่องที่แก้ไขได้แต่ต้องมีเหตุผลสนับสนุน

คนที่ 12

ความรักที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 ประชาชนรักท่านแบบไม่มีเงื่อนไข อยากทำงานรับใช้ท่าน ในฐานะที่ท่านรองเลขาธิการได้ทำงานใกล้ชิดกับในหลวงรัชกาลที่ 9 ความรักได้มาอย่างไร ขอให้ให้คำจำกัดความว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงทำอย่างไรให้คนทำงานด้วยความรัก

ตอบ

ข้าราชการคือคนที่ถวายงานพระองค์ท่าน ถือเป็นจุดที่ได้เรียนรู้จากการทรงงานมากพอสมควร รักที่ได้ทำงานถวาย จึงรีบทำงานตามพระราชดำริ เป็นความภูมิใจที่ได้ทำงานถวายท่าน ท่านรับสั่งให้ทำตามหน้าที่ ในการประสานงานต้องสร้างความเข้าใจด้วย ท่านทรงงานเป็นแบบอย่างที่ดีของคนขยัน เมื่อเจ้านายขยัน ลูกน้องต้องขยันตามไปด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ลูกศิษย์ให้ความเห็นที่มีคุณค่า บรรยากาศที่ท่านรองเลขาธิการกระตุ้นโดยปล่อยเวลาให้แต่ละคนแสดงความเห็น คล้ายกับการปะทะกันทางปัญญา ขอชื่นชมท่านรองเลขาธิการและลูกศิษย์ทุกคน ครั้งนี้มีคำถามที่ดีมาก

สรุปแล้ววันนี้มี 3 ประเด็นที่สำคัญ

1. หลังจากการมาเยี่ยมมูลนิธิชัยพัฒนาครั้งนี้ ม.อ.ควรคิดทำงานร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนาและกปร.อย่างต่อเนื่องเพราะทุกหน่วยงานต้องการ Networking ถ้าวันนี้ต้องการขยายความรู้ของในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ ศาสตร์พระราชาให้กระจายไปมากกว่านี้ ก็ต้องมีแนวร่วม ควรกลับไปคิดว่า จะทำกิจกรรมอะไรเพื่อเป็นโครงการต่อเนื่อง อาจจะมี Reunion อีกครั้ง 3 เดือนหลังจากจบหลักสูตรไปแล้วที่นราธิวาส ก่อนที่มาที่มหาวิทยาลัยนี้ ม.อ. ได้ขอให้แนะนำศูนย์อาเซียนของม.อ. ซึ่งจะนำ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นแก่นในการทำงานเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน สมัยก่อน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชวังที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งไม่ปลอดภัย และมีพระราชกรณียกิจมากมาย เรื่อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ใช่แค่เรื่องทหารและตำรวจ แต่มีม.อ.ปัตตานี ที่เข้าใจเรื่องพหุวัฒนธรรม โดยเฉพาะเรื่องมุสลิม

2. ตอนนี้ องค์การสหประชาชาติมี UN Sustainable Development Goals แล้วยอมรับนำเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิธีการไปสู่เป้าหมาย ออกมาเป็นยุทธศาสตร์ ม.อ.ควรจะศึกษาเรื่องนี้ ต้องมีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงจะไปได้ ต้องมีความพร้อมก่อน

3. เมื่อในหลวงรัชกาลที่ 9 จากไปแล้ว คนไทยรุ่นใหม่เริ่มเข้าใจว่า สังคมเป็นทุนนิยมสามานย์ ควรสร้างความยั่งยืนให้ศาสตร์พระราชา ม.อ.ควรตั้งศูนย์รัชกาลที่ 9 สอนชาวบ้านแบบต่อเนื่อง และแบบ Chira Way ให้เด็กคิดแล้วนำไปประยุกต์ใช้

โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 1

กุมภาพันธ์ – มิถุนายน2560

วันที่ 3พฤษภาคม 2560

เรื่อง “เศรษฐกิจโลก...เศรษฐกิจไทย กับ การทำงานด้านสาธารณสุขไทยในอนาคต”

โดย คุณณัฐิกานต์ วรสง่าศิลป์

สรุปการบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy

เริ่มด้วยคำถาม

1. ทำไมเราต้องเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจไทย...เศรษฐกิจโลก

คำตอบจากผู้เข้าร่วมประชุม

1.เศรษฐกิจเป็นแรงขับสำคัญ

2. เชื่อมโยงกับด้านสุขภาพ และด้านอื่น ๆ เป็นตัวประกอบ

3. เศรษฐกิจนำมาสร้างปรัชญาทางการศึกษาเนื่องจากมีผลกระทบกับความเป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปิด AEC และทุกอย่างเชื่อมโยงด้วยอินเตอร์เน็ต ประเทศไทยมีเศรษฐกิจพอเพียง แล้วมีการเชื่อมโยงมาที่สุขภาพ ดังนั้นการพัฒนาต้องพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วย

ในมุมของในหลวงรัชกาลที่ 9

ทำไมถึงเลือกให้ทุนอานันทมหิดลสำหรับลูกหลานไทยที่จบปริญญาตรีไปเรียนต่อปริญญาโทที่ต่างประเทศ

- เรียนปริญญาตรีเนื่องจากต้องรู้จักไทยก่อน ท่านผู้ว่าการฯ ประสานกล่าวว่าในวันที่รับทุนเป็นเสมือนสัญญาใจที่ต้องกลับมารับใช้ประเทศ ในหลวง ร.9 ได้ทรงกล่าวถึงปัญหาของไทยว่ามีอะไร แล้วเด็กที่จบมาจะแก้ไขได้ถูกทาง

ประเทศไทยไปไกลกว่านั้น มีการเชื่อมโยงกับโลกมากขึ้น เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

คณะแพทยศาสตร์ เป็นคณะแรกที่ในหลวง ร.9 ให้ทุนอานันทมหิดล เนื่องจากทรงเห็นความสำคัญในเรื่องคุณภาพชีวิตและสุขภาพ ได้ทรงกล่าวว่าชาติไปได้บุคลากรต้องแข็งแกร่ง

ต้องการให้สงขลานครินทร์เป็นศูนย์กลางและจุดรวมใจของคนภาคใต้ ได้ยกตัวอย่างเมื่อน้ำท่วมภาคใต้ที่ผ่านมา นำหน่วยแพทย์และคณะพยาบาลศาสตร์ไปช่วยเหลือคนในพื้นที่

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จังหวะในการฉกฉวย ไม่ได้อยู่ที่เรื่องแบรนด์อย่างเดียว

คุณณัฐิกานต์ วรสง่าศิลป์

โลกคิดอะไรและกำลังเผชิญอะไร

1. ความยากจน

คำถาม ประชาชนที่มีความยากจนในโลกนี้นี้มีมากเท่าไหร่

คำตอบ คือ 11% มีประมาณ 800 ล้านคน รายได้ต่อวันไม่เกิน 45 บาท และ 1 ใน 4 เป็นเด็ก ปัญหาที่ตามมาคือสมอง การเจริญเติบโต สุขภาพ ซึ่งทำให้แต้มต่อในชีวิตหายไป

ความยากจน ถ้ามีจำนวนมาก สิ่งที่เกิดขึ้น คือ

1. จะเกิดความโกลาหลในสังคม การตัดสินใจที่ขาดจริยธรรมจะมีสูงมาก และความไม่สงบจะเกิดขึ้น

มหาตะมะ คานธีกล่าวว่าความยากจนคือสิ่งที่เลวร้ายที่สุดและส่งผลให้เกิดความเลวร้ายที่สุด

2. ความเหลื่อมล้ำในการทำงาน ทุกประเทศที่เป็นเมืองขนาดใหญ่ ความเหลื่อมล้ำจะกัดกร่อนและนำมาซึ่งปัญหาสังคมที่หลากหลายมาก และสิ่งที่ตามมาคือ ปัญหามลพิษมีน้ำเสีย สารเคมี การเจริญเติบโตทำให้เกิดผลเสียทางอุตสาหกรรม เช่นการขนส่งการขุดเจาะก๊าซน้ำมัน

สิ่งที่ภาคใต้เจอคือ ปัญหาไฟป่าจากอินโดนีเซียจนกระทั่งเครื่องบินขึ้นไม่ได้

2. มลพิษทางอากาศคุกคามชีวิตมนุษย์มากขึ้น

พบว่าปัจจุบันมีคนตายจากทั่วโลกเพิ่มขึ้น 17% และที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากประเทศพัฒนาแล้วได้ส่งออกโรงงานไปยังกำลังประเทศกำลังพัฒนาเช่นอินเดีย และจีน

ประเด็นคือเราจะยอมให้โลกต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะ และมลพิษที่มากขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน จึงเกิด Common Vision ของโลก

Common Vision

ที่ UN ประกาศเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องพยายามทำให้คนจนหมดไปจากโลกนี้ คนต้องมีสุขภาพดี ความเป็นอยู่ดี คุณภาพชีวิตดี

1. Good Health ได้ทานอาหารที่ดี

2. การศึกษา สมองมีศักยภาพ มีวิริยะ จะอยู่รอดได้

3. คุณภาพน้ำสะอาด อากาศบริสุทธิ์ พลังงานสะอาด

4. ผู้ผลิตมีความจำเป็นในการบริโภคการผลิตของเขา

เราทนโลกแบบที่พบว่ามีการคุกคามจากสารพิษ ต้องการให้เกิดความรับผิดชอบบางอย่างในการผลิต จึงได้คิดสิ่งที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน คือสุขภาพที่ดี แต่สิ่งที่ทำให้ Maintain ไปมากที่สุดคือเรื่องการศึกษา ดังนั้น เราต้องร่วมมือกัน ความร่วมมือคือการใช้จุดแข็งของแต่ละคน ต่างคนต่างใช้จุดแข็งของแต่ละคนมาเพื่อการพัฒนา

เรากำลังเผชิญกับปัญหาโลกที่มากขึ้น ต้องรู้ Rhythm & Speed คือต้องรู้จังหวะและโอกาส

ผู้บริโภคมีอาวุธคือ Social Medial ดังนั้นหมายถึงเราจะรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้นคือการสร้างขั้วอำนาจของ ซีเรีย และสหรัฐฯ

3. ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลก

อาทิ ปัญหาความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ เส้นทางลำเลียงน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่สำคัญของโลก

4. การเปลี่ยนแปลงทิศทางการเมือง

เช่น การรวมตัวกันของยุโรปการได้เปรียบในการผลิตสินค้าที่จีน

โลกนี้ถ้ามีการได้เปรียบระยะเวลานานจะเกิดความไม่พอใจ ในช่วงยุคหนึ่งสิ่งที่ถูกต้องอาจไม่ถูกต้องในอีกยุคหนึ่ง ในกลุ่มประเทศที่เสียประโยชน์มากที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 คือยุโรป ได้ประโยชน์คืออเมริกา ซึ่งเป็นเหตุผลต่อการรวมตัวของยุโรป แต่เป็นการรวมตัวที่ไม่สมบูรณ์ แยกกระเป๋า แต่การเงินรวมกัน ยกตัวอย่าง กรณีกรีซ พันธบัตรของกรีซก่อนเข้า EU อยู่ที่ 25% แต่พอกรีซเข้าไปอยู่ที่ยุโรป ธนาคารกลางที่ยุโรปบอกว่าไม่ว่าธนบัตรประเทศไหนก็ตามเข้ามาอยู่ที่นี่แล้ว ทำให้ธนบัตรของกรีซ 25% เหลือ 5% เท่ากับที่เยอรมัน พันธบัตรของรัฐบาลต่ำทำให้กรีซยิ่งอยากกู้เงินเพื่อดำเนินนโยบายรักษาอำนาจของประเทศ จึงเป็นเหตุผลที่มาของประเทศกรีซที่อยู่ในปัญหาที่กลื่นไม่เข้าคายไม่ออกตราบจนปัจจุบัน เหตุเพราะจุดเริ่มต้นไม่ถูก

5. การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในอัตราเร่ง

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ

1. โอกาสตกงานสูง

อาทิ นักหนังสือพิมพ์ต้องอยู่ในภาวะที่คนตกงาน 40%

ในโลกยุคใหม่เราเห็นการเปลี่ยนแปลง แต่เราช่วยเขาได้หรือยัง เราส่ง Positive ไปหรือยัง เรารู้หรือไม่ว่ารอยยิ้มไม่เป็นต้นทุน มีแต่บวกกับบวก

เทคโนโลยีได้เข้ามาช่วยในการทำงาน และประกอบธุรกิจเนื่องจากโลกเปลี่ยนไป ทุกอย่างต้องเน้น Efficient มากขึ้น อย่างการค้าออนไลน์ UBER และโรงแรมที่จองทางอินเตอร์เน็ต

2. การเข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงอายุ

3. ทิศทางเศรษฐกิจโลก

โลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และมีอะไรที่ไม่คาดฝันเยอะ เรารู้ได้แค่การเปลี่ยนแปลงสั้น ๆ จะพบว่าในช่วงระยะเวลาสั้น การเติบโตของไทยยังเติบโตได้ดีในฐานะอยู่ในประเทศอาเซียน แต่เป็นลักษณะดีแบบทรงตัวในขณะที่อเมริกา

ในท่ามกลางบริบทโลก สิ่งที่ประเทศไทยต้องพบคือ

1. มาตรฐานโลกที่สูงขึ้น

2. ความไม่แน่นอน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

3. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ท้าทาย

ตัวอย่างเช่น กระบี่ประกาศไม่รับโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพราะอะไร ทำไมประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมายเรื่องสิ่งแวดล้อม หลักการคือใครเป็นคนปล่อยมลพิษต้องเป็นคนจ่าย สิ่งที่เกิดขึ้นคือบทเรียนที่ผ่านมา เช่นโรงงานน้ำตาลปล่อยน้ำเสียที่แม่น้ำพอง ซึ่งมีการเลี้ยงปลาเป็นกระชัง พอโรงงานน้ำตาลปล่อยน้ำเสีย ปลาในกระชังตาย เกษตรกรชาวประมงขอให้จ่ายประมาณ 100 ล้านบาทเพื่อเป็นค่าชดเชยให้เขา แต่เขาได้มาแค่ 1,000,000 บาท เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นการต่อสู้ระหว่างคนตัวใหญ่กับคนตัวเล็ก สังคมเกิดความไม่ไว้วางใจกัน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่โรงไฟฟ้ากระบี่แอนตี้ เป็นการแอนตี้แบบสุดโต่งคือผืนดิน ผืนน้ำที่อาศัย ถ้าสูญเสียไปไม่สามารถหวนกลับมาได้ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นการจ่ายเพื่อสิ่งแวดล้อมจึงไม่สมมาตรในการปฏิบัติ และการต่อสู้ จึงเกิดปรากฎการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น

ดังนั้นต้องเป็นเรื่องที่อยู่ได้ ต้องรักษาสมดุลซึ่งกันและกัน ชีวิตต้องหาทาง Win- Win ทั้งคู่

ตัวอย่าง ภูโกร่น ป่าต้นน้ำ น่าน ที่ถูกบุกรุกจนไม่เหลือความเป็นป่า สิ่งที่พบคือสูญเสียป่าเพื่อไปปลูกข้าวโพด สิ่งที่ถามคือเรามีความจำเป็นขนาดไหนที่ต้องสูญเสียป่าขนาดนี้เพื่อไปปลูกข้าวโพด หรือสร้างความเจริญ แล้วต้องใช้สารเคมีจำนวนเท่าไหร่ และเมื่อน้ำท่วมจะมีป่าที่ไหนรองรับน้ำ

ประเทศไทยท่ามกลางสถิติที่น่าตกใจ

ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาเรื่องไฟฟ้า ไทยมีวิธีประหยัดไฟอะไรที่ช่วยประเทศไทยได้บ้าง สิ่งเหล่านี้สะท้อนอะไร 1. การกระจุกตัวของการพัฒนา 2. ความเหลื่อมล้ำของสังคม

- ความสามารถในการแข่งขันดีขึ้น แต่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานยังน่ากังวล

- คุณภาพการศึกษาที่ต่ำลงอย่างน่าใจหาย

- เงินออมต่ำลง + แก่แล้วยังมีหนี้ไทยมีโอกาสแก่ก่อนรวย

- โครงสร้างพื้นฐานไม่เอื้อ + ใช้ชีวิตลำบาก

ในไทยโครงสร้างพื้นฐานอยู่ในลำดับที่ 49

Solution

1. ต้องมี High Standard

2. Social Safety Net

3. Investment ดีขึ้น

4. การศึกษาดีขึ้น

5. เอื้อเฟื้อคนด้อยโอกาสให้เติบโตไปพร้อมเรา

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ

- ดูสภาพคล่อง เสถียรภาพต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนถ้าเปลี่ยนทำให้หนี้เรามากขึ้นก็ได้

ภาพรวมเศรษฐกิจไทยเดือนมีนาคม 2560

ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน

- การส่งออกขยายตัวดีในหลายหมวดสินค้า

- การบริโภคภาคเอกชนมีทิศทางปรับดีขึ้น

- การใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ

- เสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน (อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงจากราคาอาหารสดและพลังงาน, อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย)

- ภาคต่างประเทศยังอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว

- การท่องเที่ยวปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

- การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนยังไม่เข้มแข็ง

ทิศทางและปัญหาด้านสาธารณสุขไทย

ทิศทาง : ประเทศไทยกับการเป็นผู้นำในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

การร่วมแสดงความคิดเห็น

Facility ที่ลงไปดูน้อยกว่าที่เห็นทั้ง ๆ ที่ต้องการพัฒนางานด้านสาธารณสุข

วิธีการแก้คือ

1. ปรับเรื่องการจัดสรรทรัพยากรของประเทศใหม่ ต้องใช้ Co-ordination คือการสร้างการมีส่วนร่วม มี Partnership ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ นอกจากนี้เราต้องช่วยกัน พยายามเอา Premium ของคนรวยมาช่วยคนจน ไม่เช่นนั้นโรงพยาบาลรัฐจะขาดทุน คนที่มีกำลังต้องจ่าย เพราะเป็นการช่วยเหลือกัน และยังเป็นการดูแลบุคลากรทางการแพทย์ให้ดีด้วย

2. เก็บภาษีเพิ่มขึ้น

3. รักษาคนไข้ผ่านระบบแพทย์ทางไกล

4. อัพเกรดโรงพยาบาล

พยาบาลทำอย่างไร

1. พัฒนางานเชิงรุก

2. พัฒนาความรู้ใหม่และคุณภาพแรงงาน

3. บูรณาการกับงานสำคัญ

4. ร่วมงานกับวิชาชีพอื่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เราต้องรู้ว่าลูกค้าคือใคร มอง Supply & Demand ให้ออกแล้วจัดระบบให้ถูก

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. เรื่องระบบการเงินในอนาคต ทิศทางเรื่องระบบการเงินเป็นอย่างไร

ตอบ มีธนาคารพาณิชย์เป็นตัวกลาง แล้วตัวกลางทั้งหมดถูกดิจิตอลเบียด ธนาคารพาณิชย์ก็ถูกเบียดโดยการถูกการเงิน Operate มากขึ้น บางคนบอกว่าเมืองไทยอาจไม่ได้ไกลเหมือนที่อื่น เพราะเมืองไทยเอาของแพงมาขายถูก เอาของถูกมาขายแพง

การใช้บริการ ต้นทุนไม่ค่อยคิดถึงด้านนี้ ไม่มีต้นทุนในการใช้บริการสาขา แต่บนอินเตอร์เน็ตเราจะรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย ในขณะเดียวกัน การใช้ Internet Banking ของแพงมาขายถูก ตัวผู้ใช้ไม่มีต้นทุนมากมายแต่ถ้ามองประเทศที่เจริญแล้วอย่างสิงคโปร์ จำนวนสาขาลดลงเยอะมาก แต่คนไทยไม่ใช่ ระบบการเงินของโลกไปแบบนั้นแล้ว แต่พฤติกรรมการใช้ของคนไทยไม่ค่อยเปลี่ยนเท่าไหร่ ทั้ง ๆ ที่โลกเปลี่ยนหมดแล้ว ความกลัวทำให้การตัดสินใจทุกอย่างบิดเบี้ยวไปหมด

ลดหลายรุ่นสามารถเติม E20 ได้แล้ว แต่คนไม่กล้าใช้ ทั้ง ๆ ที่ไป E20 ได้ ราคาต่างกันมาก แต่บอกว่ายอมรับต้นทุนได้ไม่มีปัญหา เทคโนโลยีเปลี่ยนแต่พฤติกรรมไม่เปลี่ยน คำตอบคือ เราจะไปได้แค่ไหนขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของคน

2. ตอนอยู่ต่างประเทศความปลอดภัยการใช้บัตรเดบิตและเครดิตมีมาก คือถ้าไทยทำในเชิงระบบที่เอื้อจะทำให้คนเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ได้หรือไม่ แต่ไม่มีระบบรองรับ

ตอบ การไปเมืองนอกแล้วทำแบบนี้ มีพฤติกรรมแบบนี้ อยู่ในที่คนหมู่มากใช้กัน แล้วระบบได้มีการทดสอบจนระบบเสถียร เกิดความมั่นใจที่จะใช้ เพราะฉะนั้นพฤติกรรมที่มั่นใจเกิดขึ้นเมื่อคนจำนวนมากใช้แล้วมั่นใจ แล้วเมื่อคนจำนวนมากใช้แล้วเรามั่นใจ เราจะใช้

3. เรื่องความเข้าใจระบบบัตร ที่ได้รับการเปิดบัตรแล้วจะได้อย่าทำให้เกิดความกลัว และชาวบ้านที่ไม่เข้าถึงความรู้แบบนี้จะยิ่งถูกหลอกและเข้าใจผิดเยอะมาก

ตอบ การให้ Incentive ที่ผิด ท่านประยุทธ์ ประยุตโต บอกว่าไทยไม่มีวัฒนธรรมทางปัญญา คือการเสพข้อมูลแบบตื่นเต้น ไม่รู้จักคิดวิเคราะห์ เราต้องยอมรับว่าเราขาดวัฒนธรรมเรื่องนี้ เหมือนผู้ขายอยากขายของ เขาจึงคิดว่าการล่อซื้อแบบนี้ง่าย หมายถึง Demand กับ Supply ตรงกันอีกเรื่องคือความรู้ด้านการเงินไม่มี และมนุษย์ปุถุชนทุกคนทั่วไปกลัวการเปลี่ยนแปลง คนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง และเมื่อเปลี่ยนแปลงจะรู้สึกชอบธรรมในการวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ ก็ได้ โดยเฉพาะคนไทยชอบความตื่นเต้น

4. ข้อมูลรายละเอียดคือ One coin ที่เป็นเงินดิจิตอล ไม่ใช่ค่าเงินจริงจะเกิดผลกระทบอะไรกับบ้านเรา

ตอบ ในบ้านเรายังไม่สามารถรับรองให้ใช้ ถ้าจะทำเขาจะทำในกลุ่มเล็ก ๆ ก่อนแล้วลองผลว่าเป็นอย่างไร แต่บิดคอยส์ กระทรวงการคลัง ยังบอกว่าผิดกฎหมายด้วย

5. การเตรียมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ควรเตรียมเมื่อไหร่ และเก็บเงินกี่เปอร์เซ็น

ตอบ หลักปรัขญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 พอเพียงตั้งแต่วันนี้ เราต้อง Survive ได้ เราถึงพอเพียงได้ เราต้องมีความยั่งยืนคือมีความรู้ที่สามารถทำให้เราเลี้ยงชีพได้อย่างสุจริตมั่นคง เช่น จะสอนพิเศษอะไรการให้คนเต็มที่ ช่วยเหลือกัน มีความอุ่นใจ

เรื่องความยั่งยืน ในหลวงไม่เคยเอาเงินเป็นตัวตั้ง แต่ถามว่าใช้ชีวิตเพื่ออะไร ให้ Survive Sufficiency Sustainable

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

บอกว่าในประเทศไทย กรมแรงงานน่าจะมีที่ดูแลการมีอาชีพของผู้สูงอายุได้ เพราะผู้สูงอายุมีคุณค่า และเมื่อมี Demand ก็จะมีคุณค่า เพิ่มประสบการณ์คนที่เกษียณแล้วให้คนกลุ่มนี้ทำงาน Wisdom มากกว่าใช้พลัง

ต้องให้ทุกคนมี Healthy Life

มีการวิจัยว่าคนที่เสียชีวิตเร็ว คือหลังเกษียณแล้วไม่มีอะไรทำ

ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เข้ารับการอบรม

1. บางครั้งคนมี Mindset ผิดว่าเกษียณแล้วหยุดทำงาน อยากให้ต้องคิดใหม่ ส่งเสริมให้คนทำงาน Life Long ปลูกฝังมุมมองใหม่

2. ระบบเช่นเมืองนอกมีการนำคนแก่มาทำแคชเชียร์ 3 ชั่วโมง แต่ของไทยเห็นเด็กมาทำแคชเชียร์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อยากให้ดูตัวอย่างการนำเสนอของวิทยากรจากแบงค์ชาติ เป็นตัวอย่างของการนำเสนอสองทางที่ดี มีการให้ของรางวัล การนำเสนอมีการหาข้อมูลสนับสนุนที่ถูกต้อง แต่ไม่จำเป็นต้องทำเองทั้งหมด

การนำเสนอก็นำสมัย ให้เกียรติผู้ฟังสูงมาก อยากให้นำตัวอย่างวิธีการทำที่ดี

1. ประเด็นความรู้ที่ให้เป็นความรู้ ความรู้จากกูรูหรือผู้รู้ เป็นสิ่งที่เลือกได้หรือเก่งแล้ว ถ้าเป็นพยาบาลศาสตร์ เราก็สามารถอ้างอิงแหล่งได้ มีความรู้สดใหม่ความรู้จากกูรูโดยตรง เป็นความรู้ที่ได้รับการเรียนรู้จากอาจารย์จีระ ที่ถ้าต้องทำเป็นวัฎจักร ต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และต่อยอดสังคมการเรียนรู้ไปเรื่อง Life Long Learning เพราะความรู้สดใหม่มีตลอดเวลา

2.เรียนรู้เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย ทำไมต้องเป็นผู้นำสัญจร การวิเคราะห์มี 3 ข้อคือ 1.การเมือง ความมั่นคง2. เศรษฐกิจ 3.วัฒนธรรม ถ้าทั้ง 3 อย่าง Balance ได้จะดีมาก สิ่งที่สนุกเพราะเป็นการเรียนแบบองค์รวม

3. โลกทั้งผองพี่น้องกัน Butterfly Effect ดังนั้นการกระทำใด ๆ ส่งผลถึงกันและกัน แต่เราอาจไม่ไปสามารถ Balance มหาอำนาจได้ แต่เราสามารถใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 สร้างความยั่งยืนได้และมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ทรงรับรางวัลการสื่อสารอารยธรรมของโลก ดูแลเรื่องอาหารความยากไร้ และเผยแพร่เกียรติคุณของไทย สังเกตที่จีน Deal กับไทยทำให้สหรัฐฯ ไม่กล้ายุ่ง ทำไม Trump ถึงต้องขอคุยกับ นายกฯประยุทธ์รัฐบาลปัจจุบัน อำนาจนิยม มาแล้วต้องใช้ให้เป็น ประเทศไทย 4.0 ต้องการแก้ 3 อย่าง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะทำได้หรือไม่ไม่ทราบ แต่เราต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้คือ 1. แก้ปัญหากับดักรายได้ปานกลาง 2 ลดกับดักความเหลื่อมล้ำ 3.ลดกับดักเรื่องการพัฒนา เราต้องมีเทคโนโลยี เศรษฐกิจนวัตกรรม และสร้าง 3 V คือคุณค่าและมูลค่าจากมูลค่าเพิ่ม คุณค่าใหม่ และความหลากหลาย

4. การเรียนเรื่องภาวะผู้นำกับ ดร.จีระ เพราะ ผู้นำที่ดีต้องกล้าหาญ บางทีต้องใช้ Rhythm & Speed เพราะถ้าถนนภาคใต้ดี เศรษฐกิจก็จะดีด้วย เพราะมีทรัพยากรจำนวนมาก แต่ติดขัดเรื่อง Infrastructure ดังนั้นภาวะผู้นำที่เรียนต้องกล้าหาญ รู้ความจริง มี Direction มีเสน่ห์ มีความจริงใจ คุณธรรม จริยธรรม

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม 2560

กิจกรรมรักษ์กาย : เรียนรู้การดูแลสุขภาพและผ่อนคลายด้วยกิจกรรมต่าง อาทิ

- “ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง”

- “วารีบําบัด สร้างเสริมสุขภาพ”

- Mat exercise เพื่อบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อ

- Hydro-aerobics วารีบำบัด

- ซาวน่าอบสมุนไพร

- อาบแสงตะวัน

ธรรมชาติบำบัด กินอยู่อย่างไทยเพื่อสุขภาพดี

บรรยาย โดย น.พ.สมเกียรติ อัครศรีประไพ

จากประสบการณ์ทำงานที่ขุมยวม คนกะเหรี่ยงไม่เป็นโรคเบาหวาน คนที่เป็นเบาหวานเป็นคนที่ย้ายมาจากที่อื่นมาอยู่ เมื่อมาอยู่แม่สะเรียง มีคนเป็นเบาหวาน 100 คนจากประชากรทั้งหมด 50,000 คน

ที่พระสมุทรเจดีย์เจอคนไข้เบาหวาน 200 คนต่อสัปดาห์ไม่ซ้ำกัน ส่วนคนกะเหรี่ยงที่มาอยู่ที่พระสมุทรเจดีย์เป็นเบาหวาน

ตอนอยู่ที่แม่ฮ่องสอน ก็ได้รักษาเด็กขาดสารอาหาร มีทุกอาการแต่สมองดีมาก น้ำหนักเท่าเดิมแม้เวลาผ่านไป แต่ก็วิ่งเล่นได้ ปัญหาคือเด็กคนนี้เป็นลูกคนกลาง วิ่งหาอาหารไม่ทันพี่ แต่แม่ก็ต้องให้น้องดูดนมแล้ว เขาจึงขาดสารอาหาร

ตอนที่ช่วงเศรษฐกิจดีจะมีโรคมาใหม่ เช่น สารอาหารเกิน

ตอนที่อยู่แม่ฮ่องสอน มีคนเป็นโรคกระดูกพรุน คนกะเหรี่ยงอายุ 70 ปีไม่เป็นโรคกระดุกพรุน แต่คนที่พระสมุทรเจดีย์เป็นโรคกระดูกพรุน จึงมีการส่งเสริมให้ผู้หญิงใช้อาหารเสริมป้องกันกระดูกพรุน

โฆษณาทำให้คนเชื่อว่ากินนมแล้วตัวสูง ในความเป็นจริง คนที่กินนมแทนน้ำก็ไม่ได้สูงเสมอไป การออกกำลังกายในเวลาที่เหมาะสม เช่น กีฬาที่มีการกระโดดจะทำให้กระดูกยืดยาวขึ้น เผ่าพันธุ์ก็มีอิทธิพลต่อความสูง ปัจจุบันนี้มีการใช้ Stem Cell ดัดแปลงพันธุกรรมรักษาโรค

ธรรมชาติบำบัดสามารถรักษามะเร็งได้โดยทำใจให้สงบ เพื่อให้เซลล์ทำงานดีตลอดเวลา คนที่เป็นมะเร็งเป็นเพราะระบบป้องกันตัวไม่สามารถป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งรวมตัวกัน

การรดน้ำมนต์เป็นพลังบำบัด เป็นการถ่ายทอดพลังงานผ่านน้ำ

หมอเยอรมันเมื่อ 200 ปีที่แล้ว ทดลองชิมสารต่างๆแล้วได้ตัวยาทำให้รักษาได้จริง ผู้ให้การรักษาต้องซักประวัติด้วยความเป็นกลาง ทำให้ได้ข้อสรุปจากข้อมูลที่มากที่สุด จึงจะสามารถหายาที่ดีที่สุดให้ได้

สาขาหนึ่งของธรรมชาติบำบัด คือการปฏิบัติตัว บางคนเชื่อว่าสมาธิสามารถรักษาได้ทุกโรค แต่บางโรคก็รักษาไม่ได้ ธรรมชาติบำบัดเหมาะสมกับโรคที่ไม่เฉียบพลัน เพราะรอเวลาได้

ธรรมชาติบำบัด ใช้กาย ใจ อาหาร ในเรื่องบำบัดใจ ไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิ อาจจะทำกิจกรรมอื่นให้ใจสงบก็ได้ ในเรื่องอาหาร ควรกินอาหารที่ปรุงสุกครั้งเดียว ไม่มีการอุ่นซ้ำ อาหารเป็นเรื่องสำคัญ ต้องเป็นอาหารบริสุทธิ์ สะอาด ต้องกินอาหารตามโรค กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้กินผักครึ่งหนึ่ง อย่างอื่นครึ่งหนึ่ง

การกินแบบเรียบง่ายจะทำให้สุขภาพดี ต้องกินข้าวและผักก่อน สังเกตได้จากคนกะเหรี่ยงปลูกข้าวกิน เก็บผักกินรอบบ้าน ส่วนเนื้อสัตว์ต้องออกไปล่า หรือรอวันเซ่นไหว้

คนจีนกินเจ ขาดสารอาหาร เพราะคนจีนไม่กินผักสดทำให้ขาดวิตามิน

สิ่งสำคัญคือหัวใจต้องเต้นเร็วพอประมาณ โดยต้องออกกำลังกายให้หัวใจเต้นเร็ววันละ 45 นาที

ต้องทำให้คนไข้เชื่อและศรัทธาผู้ให้การรักษา ต้องมีการนำเสนอข้อดีจูงใจ แล้วเสนอสิ่งที่เหมาะสมต่อชีวิตของคนไข้

คนที่มีความเครียด ลำไส้จะตอบสนองไว บางคนกินยารักษาโรคซึมเศร้า ทำให้ลำไส้บีบตัวช้า จึงท้องผูก แต่ถ้าทนท้องผูกไม่ไหว ก็ต้องทนคอแข็งจากอาการโรคซึมเศร้า

ไม่ควรเชื่อว่า มียาวิเศษ อายุขัยอยู่ที่กรรมพันธุ์ โรค ควรเลือกอาหารมีประโยชน์และไม่มีโทษ อาหารมีประโยชน์บางอย่างไม่ควรกินมากเกินไป เช่น โปรตีน ถ้ากินปลาทู 1 ตัวต่อวันทำให้โปรตีนเกิน ผู้ใหญ่ไม่ควรกินโปรตีนเกิน 4 ช้อนชาต่อวัน ควรกินให้ครบสัดส่วน

ตอนนี้ มีข้อมูลออกมา ไขมันในเลือดสัมพันธ์กับอาหาร ถ้ามีแป้งและน้ำตาล ก็สามารถสร้างไขมันได้ ถ้ากินแล้ว ขับถ่ายเร็ว จะทำให้ไขมันในเลือดไม่สูง การมีโปรตีนในกระเพาะทำให้กรดเจือจาง

ในปัจจุบันนี้ คนมักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกรดไหลย้อน

การกินผักอย่างเดียวก็ทำให้ขาดสารอาหารได้

การป้องกันโรค ทำด้วยการกินนั้นไม่พอ โลหะหนักทำให้เยื่อบุเส้นเลือดอักเสบ การทำคีเลชั่นทำให้เส้นเลือดตีบน้อยลงแต่ไม่ควรทำบ่อย ถ้ากินยามาก ก็อาจจะทำให้ไตวายเฉียบพลัน

บางโรคเรื้อรังมีการรักษาที่แตกต่างกัน

ในการรักษาภูมิแพ้ ต้องหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นภูมิแพ้ เช่น ผู้หญิงบางคนกินนมวัวแล้วแพ้ แต่งดไปจึงหาย เมื่ออายุมากขึ้น หมอแนะนำให้ดื่มนมมาก จึงกลับมาเป็นภูมิแพ้

การอดเป็นการฟื้นฟูร่างกาย

ควรกินผักสดมากกว่าผักสุก ผลไม้เปรี้ยวก็มีน้ำตาล

การกินอาหารจืดทำให้โซเดี่ยมต่ำ หมดแรง

แม้อาหารที่ไม่เปื้อนน้ำมัน ก็มีไขมัน

น้ำมันมะกอกและน้ำมันเมล็ดชาเปลี่ยนโครงสร้างน้อยเวลาที่ได้รับความร้อน จะไม่มีอันตรายเวลากิน

เวลาที่พูดกับคนไข้มะเร็งระยะสุดท้าย ก็ต้องบอกเขาว่า ต้องรีบสะสางภาระ วางแผนการเงินในการรักษา ทำใจให้สงบเตรียมตัวตายทุกวัน

คนที่เป็นมะเร็งลามไปสมองตาจะบอด

BMI ที่ดีคือ 20-25

วิธีลดน้ำหนัก

1.ควบคุมแคลอรี่

2.ใช้พลังงานมากกว่ากิน

3.การอดอาหารไม่ทำให้น้ำหนักลดเพราะอัตราการเผาผลาญต่ำลง แต่ควรมีกิจกรรมออกกำลังกาย

4.งดน้ำตาล ถ้าคนไม่กินน้ำตาล ร่างกายก็จะนำไขมันมาเปลี่ยนเป็นน้ำตาลใช้เป็นพลังงาน ไม่ควรกินผลไม้ เพราะมีน้ำตาล

5.เวลากินแป้ง ต้องกินแป้งย่อยช้า เช่น ข้าวกล้อง และกินให้น้อยลง

การมีกล้ามเนื้อแข็งแรงจะทำให้มวลกระดูกหนาแน่น

เมื่อพุงลง โรคต่างๆ ก็หายไป เช่น ความดัน เบาหวาน ไขมันในเส้นเลือด

การเดินในน้ำทำให้รูปร่างดีแม้น้ำหนักไม่ลด

เวลาผู้หญิงเข้าวัยทอง ฮอร์โมนลด ทำให้อัตราการเผาผลาญลดลง แต่คนอ้วนไม่มีอาการวัยทอง

คาเฟอีนทำให้กระดูกพรุน แต่สมองไม่เสื่อม

ควรจะกินผักให้มากเพื่อขับโลหะหนักในเส้นเลือดออก แต่ควรเป็นผักอินทรีย์

สารต้านอนุมูลอิสระ ร่างกายสร้างเองได้และบางส่วนก็มาจากวิตามิน

การทำสมาธิทำให้สมองหยุดคิดและความดันลดลง หายใจช้าลง อัตราเผาผลาญลดลง ซ่อมแซมร่างกายมากขึ้น ทำให้แก่ช้าลง

การล้างพิษ ต้องทำให้ร่างกายมีของเสียน้อยที่สุด ระบายของเสียได้มากที่สุด

การสวนกาแฟใช้แทนยาระบาย ไม่เกิดการติด

คนที่กินกาแฟแล้วไปออกกำลังกายจะทำให้มีการเผาผลาญดีขึ้น

การกินน้ำมันมะกอกมากทำให้น้ำดีออกมามาก ดีเกลือมาจับกับน้ำดีทำให้กลายเป็นก้อนนิ่ว

คนเป็นเบาหวานควรลดยาก่อน แล้วสร้างสมดุลระหว่างการกินยาและกินน้ำตาล

การอบเซาน่า กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวออกมา ทำให้เลือดไหลเวียน เหมาะสำหรับช่วยให้คนฟื้นไข้

การใช้ระบบร้อนสลับเย็นทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/28413

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 หน้า 5

http://www.gotoknow.org/posts/626196

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 20 มีนาคม – 3 เมษายน 2560

http://www.gotoknow.org/posts/628017

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 27 เมษายน – 11 พฤษภาคม 2560

https://youtu.be/g0dkhclgGpE

ที่มา: รายการ: คิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ. ตอน: กิจกรรมเพื่อสังคมสร้างสรรค์..จากห้องเรียนผู้นำที่คณะพยาบาลศาสตร์

ม.อ. ออกอากาศ: วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม 2560 เวลา 21.00 – 21.30 น. สถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks

#โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่1

#PSUNurse1

หมายเลขบันทึก: 628170เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2017 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2017 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จได้เพราะมีกระบวนการทำงานอย่างมีระบบ มี R&D (Research and Develoment) และ PD (Producttion Development) การบริหารงานที่โปร่งใส่ มีคุผณธรรม จริยธรรม ร่วมกันทำงานอย่างมีความสุขโดยยึดหลักการ Healthy and happy workplace มีกระบวนการ marketing มีแผนงานที่รัดกุมในการผลิตสินค้า เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ การร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการผลิตบัณฑิตโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย มองในแง่บริหาร มีการทำงาน ที่มี คุณภาพ ทั้ง 3 ส่วน structure, process and outcome ซึ่งเป็นหัวใจของ quality of service ในแต่ละประเด็นที่ประทับใจคือ. 1 structure. มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีคุณภาพ. จำนวนพนังงานที่เพียงพอ ประทับใจ ใช้แรงงานสัญญาติไทย อุปกรณ์ที่ทันสมัย ครบวงจร ผู้บริหารมีคุณธรรม จริยธรรม ใช้หลักบริหาร ethical capital, emotional capital , happiness capital , sustainability capital innovation capital และ cultural capital ได้ดีมาก 2. Process มีกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ ภายในองค์กร ทำงานเป็นทีม team learning ทำงานแทนกันได้หากผู้บริหารไม่อยู่ ชอบตรงที่ไม่ได้เก่งคนเดียว มีการสื่อสารที่ดีโดยใช้เทคโนโลนี่ Line การเข้าถึงผู้บริหาร การทำงานที่มีคุณภาพตั้งแต่คัดเลือกวัสดุ กระบวนการผลิตที่ได้คุณภาพสากล ผ่านการรับรับจาก องค์ต่าง ๆ มีการวิเคราะห์ตลาด ศึกษาสถานการณ์จริง 3. Outcome มีสมาชิกเป็นล้านๆคน สิ้นค้าราคาถูก มีคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ดี สวยงาม น่าใช้ มีรสนิยม จากการดูงาน เอาไปใช้ในการทำงานโดย 1.สร้างบรรยากาศการทำงาน Happy workplace อย่างเป็นรูปธรรม และจริงจังเป็นรูปธรรม 2.ใช้ rrole model ในการสอนจริยาธรรม และการให้นักศึกษาเรียนรู้จากสถานการณ์จริง สีการสะท้อนคิด 3. กระบวนการทำงานต้องมีระบบ ประหยัด ซื่อสัตย์ มีคุณภาพ เน้นการรักองค์กร มุ่งความสำเร็จด้วยกัน ไปให้ถึงวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ โดยร่วมมือกันทำงานในทุกระดับ มีการประเมินคุผณภาพการทำงานและนำมาปรับปรุงใช้กระบวนการ PDCA และ R&D, P&D อยากเป็นผู้บริหารที่มีความอดกลั้น ไม่พูดเวลาโกรธ มีสติในการทำงาน ให้เกียรติผู้ร่วมงาน เน้น effective communication...สื่อสารชัดเจน..ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดเพื่ออนาคตที่ดีกว่า...ขอบคุณทีม ศ.ดร.จีระ ที่จัดประสบการณ์ที่ดีๆให้ ได้บทเรียนชีวิตอีก 1 บท ..Life is learning...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท