ระบบปัญญาประดิษฐ์(AI)และระบบผู้เชี่ยวชาญ(ES)


ปัญญาประดิษฐ์ และระบบผู้เชี่ยวชาญ

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)

คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานมาจากวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์

เป้าหมายคือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์(ทั้งฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์) โดยให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ รวมทั้งเลียนแบบความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์ ดังต่อไปนี้ ระบบต่างๆจะต้องมีความสามารถเข้าใจภาษามนุษย์ ซึ่งการทำงานที่ต้องใช้การประสานงาน ระหว่างส่วนต่างๆ (โรโบติก - Robotics) ใช้อุปกรณ์ที่สามารถรับทราบ และตอบสนอง ด้วยพฤติกรรม และภาษา (ระบบการมอง และ การออกเสียง) การเลียนแบบความเชี่ยวชาญและการตัดสินใจของมนุษย์ (ระบบผู้เชี่ยวชาญ) ระบบดังกล่าว ยังต้องแสดง ความสามารถทางตรรกะ การใช้เหตุผล สัญชาตญาณ และใช้หลักการสมเหตุสมผล (common sense) ที่มีคุณภาพ ในระดับเดียวกับมนุษย์

ความเป็นมาของปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์ได้เริ่มการศึกษาในปี ค.ศ.1950 โดยอาจารย์จากประเทศอเมริกาและอังกฤษ นิยามของปัญญาประดิษฐ์ได้ถูกกำหนดขึ้นในปี 1956 โดย John McCarthy ได้มีการศึกษาและพัฒนางานด้านปัญญาประดิษฐ์และได้มีการตั้งเกณฑ์ทดสอบเพื่อที่จะระบุว่าเครื่องจักรกลหรือระบบคอมพิวเตอร์สามารถคิดได้เหมือนมนุษย์ออกมาโดย Alan Turing นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ แต่จนบัดนี้เครื่องจักรกลหรือระบบคอมพิวเตอร์ก็ยังไม่สามารถผ่านเกณฑ์ของ Alan Turing ได้เลย ณ ปัจจุบันระบบปัญญาประดิษฐ์ยังไม่สามารถสร้างคำตอบที่แปลกใหม่หรือคำตอบที่มาจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ของระบบเองได้ เพียงแต่เป็นการลอกเลียนความสามารถของมนุษย์ได้เท่านั้น

ปัญญาประดิษฐ์

AI คืออะไร?

AI : Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ มุมมองต่อ AI ที่แต่ละคนมีอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการความฉลาดโดย คำนึงถึงพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมหรือคำนึงการคิดได้ของผลผลิต AI ดังนั้นจึงมีคำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการให้มันแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

Acting Humanly : การกระทำคล้ายมนุษย์ เช่น

- สื่อสารกับมนุษย์ได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อน ๆ ใช้เสียงสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์เอกสารให้

- มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่นคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) คอมพิวเตอร์มองเห็น รับภาพได้โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ (sensor)

- หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ เช่น ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ

- machine learning หรือคอมพิวเตอร์เกิดการเรียนรู้ได้ โดยสามารถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อม ที่เปลี่ยนไปได้

Thinking Humanly : การคิดคล้ายมนุษย์ ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร

Thinking rationally : คิดอย่างมีเหตุผล หรือคิดถูกต้อง โดยใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ

Acting rationally : กระทำอย่างมีเหตุผล เช่น agent (agent เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ) สามารถกระทำอย่างมีเหตุผลคือ agent ที่กระทำการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น agent ในระบบขับรถอัตโนมัติที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้จึงจะเรียกได้ว่า agent กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น agent ในเกมหมากรุกมีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้ เป็นต้น

ปัญญาประดิษฐ์กับการศึกษา

1. ปัญญาประดิษฐ์ กับการศึกษา

2. “ปัญญาประดิษฐ์ ” คืออะไร ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีพฤติกรรมเหมือนคน โดยเฉพาะความสามารถในการเรียนรู้และความสามารถทางประสาทสัมผัสซึ่งเลียนแบบการเรียนรู้และการตัดสินใจของมนุษย์ (Laudon & Laudon , 2001)

3. “ปัญญาประดิษฐ์ ประยุกต์ใช้ในการศึกษา” ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages) เป้าหมายหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ คือ การสร้างโปรแกรมที่สามารถเข้าใจภาษามนุษย์ ไม่เพียงแต่เข้าใจที่จะสามารถเข้าใจภาษาธรรมชาติซึ่งดูเหมือนจะเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงความฉลาดของมนุษย์แต่ยังสร้างความสำเร็จในการเพิ่มความสามารถ และเพิ่ม ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย(Luger and Stubblefield,1993,p.17)

4. “ตัวอย่างปัญญาประดิษฐ์ ประยุกต์ ใช้ ในการศึกษา” ระบบจำลองสถานการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการ สนทนาภาษาอังกฤษาที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาโดย ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร

5. "ระบบจำลองสถานการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะ การสนทนาภาษาอังกฤษ" คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้เป็นเครื่องมือประกอบการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ภายในสถาบันฯ โดยมีลักษณะพิเศษคือสามารถรู้จำเสียงพูดของมนุษย์ได้และสามารถแสดงเรื่องราวของเหตุการณ์ผ่านการ์ตูนแอนนิเมชัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะการสนทนาอังกฤษผ่านสิ่งแวดล้อมที่จำลองมาจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่นการเดินทางไปต่างประเทศ การฝึกงานในบริษัทต่างสาขา และเหตุการณ์อื่น ๆ ที่ผู้เรียนอาจพบเจอในชีวิตจริงได้


6. ระบบจำลองสถานการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษ

7. อ้างอิง• Business Information Technology.ภาษาธรรมชาติ.ค้นข้อมูลเมื่อ 24 มกราคม 2555.จาก http://www.phrae.mju.ac.th/Teacher/bu- nga/AI/AI4.html• สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์(PIM) คว้ารางวัลรองชนะเลิศ.ค้นข้อมูลเมื่อ 24 มกราคม 2555.จาก http://www.kspthailand.com/eng/news_detail.php?id=...

สรุป ความ เจริญก้าวหน้า ของคอมพิวเตอร์ เป็นไปใน ทุกด้าน ทั้งทางด้าน ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ การที่มีพัฒนาการ เจริญก้าวหน้า จึงทำให้ นักคอมพิวเตอร์ตั้งความหวัง ที่จะทำให้ คอมพิวเตอร์ มีความฉลาด และช่วยทำงาน ให้ มนุษย์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะวิทยาการ ด้านปัญญา ประดิษฐ์(Artificial Intelligence : AI) ซึ่งเชื่อกันว่า จะ เป็นวิทยาการที่ จะช่วยให้มนุษย์ใช้คอมพิวเตอร์ แก้ปัญหาต่างๆ ที่สำคัญ เช่นการให้ คอมพิวเตอร์ เข้าใจ ภาษา มนุษย์รู้จักการ ใช้เหตุผล การเรียนรู้ ตลอดจนการ สร้างหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์มีความหมายถึง การสร้าง เครื่องจักร ให้สามารถ ทำงาน ได้เหมือนคน ที่ใช้ปัญญา หรืออาจ กล่าวได้ว่า เป็นการ ประดิษฐ์ปัญญา ให้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ คอมพิวเตอร์ สามารถจำลอง การทำงานต่างๆ เลียนแบบ พฤติกรรม ของคน โดยเน้นแนวคิด ตามแบบ สมองมนุษย์ ที่มีการวาง แผนการเรียนรู้ การให้เหตุผล การ ตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจน การเลือกแนวทาง ดำเนินการใน ลักษณะคล้ายมนุษย์ ความรู้ ทางด้าน ปัญญาประดิษฐ์ จึงรวมไปถึง การสร้างระบบ ที่ทำให้ คอมพิวเตอร์ สามารถ มองเห็น และ จำแนกรูปภาพ หรือสิ่งต่างๆ ออกจากกัน ในด้าน การฟังเสียง ก็รับรู้ และแยกแยะเสียง และจดจำคำพูด และเสียง ต่างๆ ได้ การสัมผัส และรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร จะต้องมี กระบวนการ เก็บความรอบรู้ การถ่ายทอด การแปลความ และ การนำเอา ความรู้มา ใช้ประโยชน์ หากให้คอมพิวเตอร์ รับรู้ข่าวสาร และเหตุการณ์ ต่างๆ แล้ว ก็สามารถนำเอา ความรู้ต่างๆ เหล่านั้น มา ประมวลผล ได้ ก็จะ มีประโยชน์ได้มาก เช่น ถ้าให้คอมพิวเตอร์ มีข้อมูล เกี่ยวกับคำมีความเข้าใจในเรื่อง ประโยค และความหมายแล้ว สามารถ ประมวลผล เข้าใจประโยค ที่รับเข้าไป การประมวลผล ภาษาในลักษณะ นี้ จึงเรียกว่า การประมวลผล ภาษาธรรมชาติ โดยจุดมุ่งหมาย ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ มีความสามารถ ในการใช้ภาษา เข้าใจภาษา และนำไปประยุกต์ งานด้านต่างๆ เช่น การตรวจสอบ ตัวสะกดใน โปรแกรมประมวลคำตรวจสอบการ ใช้ประโยคที่กำกวม ตรวจสอบ ไวยากรณ์ ที่อาจผิดพลาด และหากมี ความสามารถ ดีก็จะนำไปใช้ ในเรื่อง การ แปลภาษาได้ ปัญญาประดิษฐ์จึงเป็นเรื่องที่ นักวิจัย ได้พยายาม ดำเนินการ และสร้างรากฐาน ไว้สำหรับอนาคต มีการคิดค้น หลักการ ทฤษฎี และวิธีการต่างๆ เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถทำงาน อย่างมีเหตุผล มีการพัฒนา โครงสร้างฐาน ความรอบรู้ ปัญญาประดิษฐ์เป็นวิชาการ ที่มีหลักการต่างๆ มากมาย และมีการนำออกไป ใช้บ้างแล้ว เช่น การแทน ความ รอบรู้ด้วยโครงสร้าง ข้อมูล ลักษณะพิเศษ การคิดหาเหตุผล เพื่อนำข้อสรุป ไปใช้งาน การค้นหา เปรียบเทียบ รูปแบบ ตลอดจน กระบวนการเรียนรู้ ที่เป็นประโยชน์ อย่างมีขั้นตอน เพื่อให้ เครื่องคอมพิวเตอร์สะสมความรู้ได้ เอง อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/ http://www.kitty.in.th/index.php?room=article&id=6...

ระบบผู้เชี่ยวชาญ [Expert Systems (ES)]

ระบบผู้เชี่ยวชาญ[Expert Systems (ES)]หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แสดงความสามารถได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ หรือในงานเฉพาะอย่าง (ทักษิณา สวนานนท์.2539:99) หรือหมายถึงระบบโปรแกรมใช้งาน (Software systems) ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในเรื่องของกระบวนการในการใช้เหตุผล (Reasoning process) และให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำแนะนำแกผู้ที่ต้องตัดสินใจ ซึ่งพบในผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ เช่น ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจมีความรู้สึกอย่างไร ระหว่างความเสี่ยงกับอัตราการเจริญเติบโตของการลงทุนในโครงการต่าง ๆ และถ้าลงทุนแล้วจะได้ผลตอบแทนอย่างไร เป็นต้น และหลังจากที่ได้รับคำตอบจากลูกค้าแล้ว ระบบผู้เชี่ยวชาญก็จะถามต่อไปจนกว่าจะมีการแนะนำแฟ้มเอกสาร หลังจากนั้นระบบก็จะดึงฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้มาใช้ (User) เช่น รายละเอียดตัวหุ้น ประวัติต่าง ๆ รายงานการวิจัย และการพยากรณ์ทางด้านเศรษฐกิจ

ความต้องการของระบบผู้เชี่ยวชาญ

ความต้องการของระบบผู้เชี่ยวชาญ(The need for expert systems) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system)เป็นระบบโปรแกรมใช้งาน (Software systems) ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในเรื่องของกระบวนการในการให้เหตุผล (Reasoning process) และให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำแนะนำแก่ผู้ที่ต้องตัดสินใจ แรงงานที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญเป็นสิ่งหาได้ยากและมีราคาสูง หลายบริษัทขาดพนักงานที่มีความรู้ในตำแหน่งที่สำคัญหลายตำแหน่ง ความสามารถของพวกเขาก็มีข้อจำกัดอยู่ในระดับหนึ่ง ข้อจำกัดนี้ได้แก่ เรื่องความสามารถในการประมวลผล และคุณภาพของการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจอย่างรวดเร็ว ระบบผู้เชี่ยวชาญ สามารถช่วยในเรื่องต่อไปนี้

  • ช่วยในเรื่องกลยุทธ์การประมูลโครงการต่าง ๆ (Bidding strategies) ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างข้อมูลของคู่แข่ง ข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายของโครงการ และข้อมูลที่บริษัทต้องเผชิญ เช่น เรื่องของความเสี่ยง การคิดราคาสินค้าค่าใช้จ่าย ตลอดจนการเซ็นสัญญาต่าง ๆ

ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ(Benefits of Expert Systems)

  • ช่วยรักษาความรู้ที่อาจสูญเสียไปเมื่อเกิดการลดออกของพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ
  • ช่วยทำให้ข้อมูลมีคุณภาพและมีศักยภาพในการนำมาใช้งานได้อย่างทันท่วงทีเมื่อต้องการ
  • ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่
  • ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อาจเกิดกับมนุษย์ เช่นความเมื่อยล้า ความสับสนวุ่นวาย หรือปัญหาด้านอารมณ์
  • ใช้เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ ด้านการตลาด การลดต้นทุน และการปรับปรุงพัฒนาสินค้า
  • ช่วยให้พนักงานสถาบันการเงินต่าง ๆ สามารถตอบคำถามของลูกค้าที่อยากรู้ในเรื่องต่าง ๆ เพราะระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) สามารถตอบคำถามในเรื่องระบบที่สนับสนุนการวางแผนด้านการเงินและด้านภาษีอากรได้
  • ช่วยบริษัทในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ในเรื่องรูปลักษณ์เฉพาะอย่างของผลิตภัณฑ์(Specification)ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามความต้องการของลูกค้า เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) จะช่วยในด้านการตรวจรูปลักษณ์ต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามความต้องการของลูกค้าระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ช่วยให้สามารถหาข้อผิดพลาดและแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ไม่สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ (ด้านการบริหาร ด้านองค์กร) ได้ทุกเรื่องทำให้ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ถูกนำมาใช้ในบางเหตุการณ์เท่านั้น

ส่วนประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญ

ส่วนประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญ(Components of an Expert System)หมายถึง ความรู้ด้านต่าง ๆ โดยใช้ (1) ใช้กฎเป็นพื้นฐาน (Rule-based systems) (2) ระบบที่มีขอบเขตเป็นพื้นฐาน (Frame-based systems) (3) การทำนายเป็นพื้นฐาน (Predicted-base) โดยทั่วไปแล้วระบบที่ใช้กฎเป็นพื้นฐานจะเป็นที่นิยมใช้กันเป็นส่วนมาก รูปที่ 11.5 แสดงส่วนประกอบสำคัญของระบบผู้เชี่ยวชาญ

การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ

การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ(Developing Expert Systems)กระบวนการพัฒนาทั่วไปของระบบผู้เชี่ยวชาญได้อธิบายไว้ในรูปที่ 11.10 วิธีนี้เริ่มต้นด้วย (1) การพิจารณาความต้องการของระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) คือข้อมูลข่าวสาร (2) ที่การแสวงหาความรู้ความชำนาญจากผู้เชี่ยวชาญ (3) ต้นแบบของระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system prototype) (4) ทดสอบความละเอียดประณีตของต้นแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ (5) ในกระบวนการทดสอบถ้ายังไม่เป็นที่พอใจก็จะต้องมาพิจารณาทดสอบใหม่ แต่ถ้าเป็นที่พอใจแสดงว่าการพัฒนาประสบความสำเร็จ ดังนั้นต้องจัดระบบให้เป็นปัจจุบันและบำรุงรักษาระบบให้ดีอยู่ตลอดเวลา


ระบบผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติ(Operating Expert System)ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ช่วยในเรื่องของการตัดสินใจ จะเป็นขั้นตอบการทดสอบ และตรวจแก้ไขจุดบกพร่อง และขัดเกลาระบบจนกระทั่งได้สิ่งที่ต้องการในขั้นที่ 1

เนื่องจากความซับซ้อนที่ยากแก่การอธิบาย จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายวิศวกรในการแสวงหาความรู้ความชำนาญมาใช้ในการพัฒนาระบบ ผู้เชี่ยวชาญ (ES)

การพัฒนากลไกอนุมานและส่วนประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญ(Developing inference and other components of the expert system) มี 3 วิธี ดังนี้

  • 1. ระบบที่สร้างขึ้นเฉพาะงาน(Custom-built system)เป็นวิธีการที่แพงที่สุดในการเขียนจากกระดาษทดชั่วคราว มีการแก้ไขปรับปรุงดัดแปลงกลไกอนุมานจนกระทั่งการนำไปประยุกต์ใช้ (Application) เช่น ภาษา Prolog ซึ่งเหมาะกับงานวิจัยหรืองานด้านการคำนวณต่าง ๆ และภาษา LISP
  • 2. โปรแกรมที่ใช้สนับสนุนการใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert System shell)เป็นโปรแกรมที่ใช้เพื่อควบคุมระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นวิธีที่นิยมมาก เป็นโปรแกรมที่ไม่ต้องใช้พื้นฐานความรู้ โปรแกรม Shell ใดที่มี 4GL จะสามารถช่วยวิศวกรพัฒนาฐานความรู้ได้เป็นอย่างดี ดังรูปที่ 11.10 เป็นตัวอย่างของโปรแกรมที่ใช้สนับสนุนการใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ

การเลือกใช้โปรแกรมที่สนับสนุนการใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญต้องคำนึงถึง (1) อุปกรณ์ที่รองรับ (Hardware platform) เช่น คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ขนาดลาง หรือขนาดใหญ่ ต้องพิจารณาว่าสามารถสร้างระบบและใช้งานกับระบบได้ (2) ความง่ายของการใช้งาน (3) มีโครงสร้างของการนำเสนอความรู้อย่างเหมาะสม (4) ประสิทธิภาพของการทำงานในเรื่องของเวลา (Run-time performance)

3. โปรแกรมประยุกต์(Application package)เป็นการซื้อโปรแกรมประยุกต์สำเร็จรูปที่เป็นระบบผู้เชี่ยวชาญมาใช้ในองค์กร ซึ่งโปรแกรมประยุกต์สำเร็จรูป (Application package) นี้ต่างจากโปรแกรมสนับสนุน (Shell program) คือ ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับโปรแกรมประยุกต์ได้ทันที

การนำระบบผู้เชี่ยวชาญไปใช้งาน

การนำระบบผู้เชี่ยวชาญไปใช้งาน(Putting Expert Systems to work)สามารถนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้

1. ด้านการผลิต(Production) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES)สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์การกำหนดตารางการผลิต และการกำหนดตารางการใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมที่สุด ตลอดจนการกำหนดโอกาสในการนำเอากากวัสดุไปผลิตอีกครั้ง

2. การตรวจสอบ(Inspection)ผู้ผลิตสามารถใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ที่เป็นระบบจับภาพ ซึ่งจะสามารถฉายภาพความเสียหายของวัตถุด้วยการใช้ลำแสง เพื่อป้องกันในการแพร่กระจายความเสียหายไปที่ต่าง ๆ นอกจากนี้ระบบนี้ยังสามารถช่วยทำรายงานด้านการรับประกันคุณภาพ ที่เกี่ยวกับชิ้นส่วนของวัตถุในเรื่องความชำรุดเสียหาย และวิธีการในการแก้ไขด้วย

3. การประกอบชิ้นส่วน(Assembly)ระบบผู้เชี่ยวชาญ XCON สามารถช่วยผู้ผลิตในการสร้างโครงร่างคำสั่งซื้อของลูกค้าไปเป็นแผนผังภาพ ซึ่งจะแสดงให้เห็นส่วนประกอบที่จำเป็นในการผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า และยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชิ้นส่วนต่าง ๆ

4. ด้านบริการ(Field service)ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) เป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้จัดการด้านการบริการและพนักงานซ่อมแซมทั่วไป (ช่าง) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ช่วยให้ช่างเข้าใจถึงลำดับขั้นตอนในการวิเคราะห์ เช่น เครื่องจักรกำลังเดินเครื่องหรือไม่ ความเสียหายเกิดขึ้นกับระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือเกิดกับส่วนใด ซึ่งเป็นการช่วยในการวิเคราะห์ตามลำดับขั้นตอนอย่างรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลาในการทำงาน

5. การตรวจสอบบัญชี(Auditing)ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ช่วยผู้ตรวจสอบบัญชีในเรื่องกระบวนการตรวจสอบบัญชีเพื่อความถูกต้อง เช่น สำหรับบัญชีลูกหนี้ (Account receivable) จะมีการป้อนข้อมูลลูกหนี้เข้าไปในระบบผู้เชี่ยวชาญ สิ่งที่ได้จากระบบคือการเสนอแนะกระบวนการในการตรวจสอบนั่นเอง

6. ด้านบุคคล(Personnel)ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ช่วยแผนกบุคคลในการเตือนผู้ใช้ในเรื่องที่สำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายของบริษัท และยังช่วยในการสร้างคู่มือให้แก่พนักงาน

7. ด้านการตลาดและการขาย(Marketing and sales)ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) สามารถทำงาน 6 งานพร้อมกันภายในไม่กี่วินาที ในขณะที่พนักงาน 1 คน ใช้เวลา 20-30 นาทีในการทำงาน 1 งาน

บันทึกนี้เขียนโดย เมื่อ 7 ปีที่แล้ว

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ใน ระบบปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ : ES

….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/628113

หมายเลขบันทึก: 628164เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2017 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2017 08:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท