นวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษาในศตวรรษที่ 21


ครูต้อง "สอนน้อย เรียนมาก" เป็นอุดมการณ์ด้านการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ คือ การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ในการเรียนต้องจัดกิจกรรม และ หลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ให้เด็กได้เรียนในสิ่งที่เขาอยากรู้ ครูมีหน้าที่ในการเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากภายในใจและสมองของตนเอง เรียกว่า PBL (Project-Based Learning) หรือการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก

ขั้นตอนการเรียนรู้จากผลการวิจัยในยุคปัจจุบัน คือ

จำได้ (remember) เข้าใจ (understand)

ประยุกต์ใช้ (apply) วิเคราะห์ (analyze)

ประเมิน(evaluate) สร้างสรรค์ (create)

พลังสมอง 5 ด้านครูสอนไม่ได้ แต่ศิษย์เรียนได้และเรียนได้ดี หากครูใช้วิธีการที่ดีในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ศิษย์ ได้แก่

สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind) การเรียนรู้แก่นวิชา ไม่ใช่จดจำสาระแบบผิวเผิน แต่รู้แก่นวิชาจนสามารถเอาไปเชื่อมโยงกับวิชาอื่นได้

สมองด้านสังเคราะห์ (synthesizing mind) ความสามารถในการรวบรวมสารสนเทศและความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมากลั่นกรองคัดเลือกเอามาเฉพาะส่วนที่สำคัญ

สมองด้านสร้างสรรค์ (creating mind) สมองที่สร้างสรรค์คือ สมองที่ไม่เชื่อว่าวิธีการหรือสภาพซึ่งถือว่าดีที่สุดที่มีอยู่นั้น ถือเป็นที่สุดแล้ว

สมองด้านเคารพให้เกียรติ (respectful mind) ต้องไม่มีอคติ ทั้งด้านลบและด้านบวกต่อคนต่าง เชื้อชาติ ต่างศาสนา ต่างความเชื่อ

สมองด้านจริยธรรม (ethical mind) เรียนรู้ซึมซับได้โดยการชวนกันสมมติและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันว่าตัวเองเป็นอย่างไรในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง


วิธีออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์มีทักษะนี้ ใช้หลักการว่า ต้องมีการเรียนรู้แบบที่เด็กร่วมกันสร้างความรู้เองคือ เรียนรู้โดยการสร้างความรู้ และเรียนรู้เป็นทีม การฝึกตั้งคำถาม การตั้งคำถามที่ถูกต้องสำคัญกว่าการหาคำตอบ


ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

นวัตกรรม โลกกำลังเปลี่ยนยุค จากยุคความรู้สู่ยุคนวัตกรรม การฝึกพลังสร้างสรรค์และนวัตกรรมจึงสำคัญยิ่ง

1. การออกแบบการเรียนรู้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา

เป้าหมาย : นักเรียนสามารถใช้เหตุผล

เป้าหมาย : นักเรียนสามารถใช้การคิดกระบวนระบบ (systems thinking)

เป้าหมาย : นักเรียนสามารถใช้วิจารณญาณและตัดสินใจการเรียนทักษะเหล่านี้ทำโดย PBL (Project-Based Learning) และต้องเรียนเป็นทีม

2. การออกแบบการเรียนรู้ทักษะการสื่อสารและความร่วมมือ

เป้าหมาย : ทักษะในการสื่อสารอย่างชัดเจน

3. การออกแบบการเรียนรู้ทักษะด้านความสร้างสรรค์

เป้าหมาย : ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์

เป้าหมาย : ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์

 เป้าหมาย : ประยุกต์สู่นวัตกรรม


โลกยิ่งเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อย ๆ และมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากขึ้น คนที่อ่อนแอในทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมจะเป็นคนที่ตามโลกไม่ทัน

ทักษะด้านสารสนเทศ (Information Literacy)

เป้าหมาย : เข้าถึงและประเมินสารสนเทศ

เป้าหมาย : ใช้และจัดการสารสนเทศ

ทักษะด้านสื่อ (Media Literacy Skills)

เป้าหมาย : วิเคราะห์สื่อได้

เป้าหมาย : สร้างผลิตภัณฑ์สื่อได้

ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Literacy)

เป้าหมาย : สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิผล

ทักษะชีวิตและอาชีพ

• ความยืดหยุ่นและปรับตัว

• การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง

• ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม

• การเป็นผู้สร้างหรือผลิต (productivity) และความรับผิดรับชอบเชื่อถือได้(accountability)

• ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ(responsibility)

เครื่องมือที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้และการสอนในศตวรรษที่ 21 คือ คำถามกับปัญหา

การเรียนรู้แบบใช้การตั้งคำถาม เป็นหลักเรียกว่า Inquiry-Based Learning หรือ IBL วิชาที่สร้างความสนุกและความรู้สู่คำตอบ คือ วิชา STEM คือ Science, Technology, Engineering และ Mathematics บรรยากาศของการตั้งคำถามและตั้งปัญหา จะทำให้ชีวิตนักเรียนเป็นชีวิตที่สนุกสนานตื่นเต้นเร้าใจ กระตุ้นจินตนาการ ยั่วยุให้ ค้นคว้า ค้นหา สร้าง และเรียนรู้ คือ ทำให้โรงเรียนไม่เป็นสถานที่น่าเบื่อหรือสร้างความทุกข์ให้แก่ศิษย์

การเรียนรู้อย่างมีพลัง

เครื่องมือของการเรียนรู้อย่างมีพลังคือ จักรยานแห่งการเรียนรู้ซึ่งมีวงล้อประกอบด้วย 4 ส่วน คือ

Define คือ ขั้นตอนการทำให้สมาชิกของทีมงาน ร่วมทั้งครูด้วยมีความชัดเจนร่วมกันว่า คำถาม ปัญหา ประเด็น,

Plan คือ การวางแผนการทำงานในโครงการ นักเรียนที่เป็นทีมงานก็ต้องวางแผนงานของตน แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ การประชุมพบปะระหว่างทีมงาน

Do คือ การลงมือทำ มักจะพบปัญหาที่ไม่คาดคิดเสมอ

Review คือ ทีมนักเรียนจะทบทวนการเรียนรู้ ขั้นตอนนี้เป็นการเรียนรู้แบบทบทวนไตร่ตรองหรือ เรียกว่า AAR (After Action Review) วงล้อมี 2 วง วงหนึ่งเป็นของนักเรียน อีกวงหนึ่งเป็นของครู หลักสำคัญ คือ วงล้อจักรยานแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนกับครูต้องไปด้วยกันอย่าง สอดคล้องเชื่อมโยงกัน จากห้องเรียนเข้ากับสถานการณ์ในชีวิตจริง และเมื่อเขาได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมระยะยาวที่ให้โอกาสได้จดจ่อกับเรื่องนั้นและได้ร่วมมือกับทีมงาน

วิธีจัดการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีพลัง

- การเรียนรู้กลุ่มย่อยแบบร่วมมือกัน(Collaborative Small- Group Learning)

- การเรียนรู้แบบใช้โครงการ (Project Learning Methods)


การเรียนแบบโครงการที่ได้ผลสูงมีลักษณะสำคัญ ๕ ประการ

1. ผลของโครงการตอบสนองหรือผูกพันอยู่กับหลักสูตรและเป้าหมายการเรียนรู้

2. คำถามหลักและปัญหาหลักนำไปสู่การเรียนรู้หลักการสำคัญของเรื่องนั้น หรือของสาระวิชา

3. การค้นคว้าของนักเรียนเกี่ยวข้องกับความสงสัยใฝ่รู้ (inquiry)และการสร้างความรู้

4. นักเรียนทำหน้าที่รับผิดชอบการออกแบบ และการจัดการการเรียนรู้ของตนเป็นส่วนใหญ่

5. โครงการอยู่บนฐานของคำถามและปัญหาในชีวิตจริง เป็นของจริง นักเรียนไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องหลอก ๆ

ครูที่เก่งคือ ครูที่ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง และครูที่เก่งมีคุณลักษณะสำคัญ 2 ด้าน คือ

1. รักเอาใจใส่เด็ก เด็กสัมผัสจิตใจเช่นนั้นได้และสบายใจที่จะเข้าหา ซึ่งเป็นมิติด้านมนุษย์สัมผัสมนุษย์

2.สามารถออกแบบการเรียนรู้ ให้น่าสนใจและเข้าใจง่ายสำหรับศิษย์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกและเกิดความจำระยะยาว

อ้างอิง http://warangkhana1307.blogspot.co.id/2014/09/21.h...


หมายเลขบันทึก: 628057เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2017 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2017 12:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท