DSS


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

(Decision Support System)

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) คือ ระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยระบบจะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง

การจัดการกับการตัดสินใจ

Henri Fayol ชาวฝรั่งเศส ได้กล่าวถึงหน้าที่หลักในการจัดการ (Management Functions) ไว้ 5 ประการ คือ การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การประสานงาน (Coordinating) การตัดสินใจ (Deciding) และการควบคุม (Controlling)

Mintzberg (1971) ได้กล่าวถึงบทบทการจัดการ (Managerial Role) ว่าเป็นกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้จัดการสมควรจะกระทำ ขณะปฏิบัติหน้าที่ภายในองค์การ โดยกิจกรรมเหล่านั้นสามารถออกเป็น 3 กลุ่ม คือ บทบาทระหว่างบุคคล (Interpersonal Role) บทบาททางสารสนเทศ (Information Role) และบทบาททางการตัดสินใจ (Decisional Role)

ระดับการตัดสินในภายในองค์การ

การแบ่งระดับชั้นของผู้บริหาร (Management Level) ในลักษณะชั้น (Hierarchy) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมปิรามิด ตามหลักบริหารที่ใช้กันอยู่ทั่วไป สามารถจำแนกได้ 3 ระดับ ดังนี้

1. การตัดสินใจระดับกลยุทธ (Strategic Decision Making) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงในองค์การ ซึ่งจะให้ความสนใจต่ออนาคตหรือสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น

2. การตัดสินใจระดับยุทธวิธี (Tactical Decision Making) เป็นหน้าที่ของ ระดับกลาง โดยที่การตัดสินใจในระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเพื่อให้งานต่างๆเป็นไปตามนโยบายของผู้บริหารระดับสูง

3. การตัดสินใจในระดับปฏิบัติการ (Operational Decision Making) หัวหน้างานระดับต้นมักจะต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับนี้ ซึ่งมักจะเป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเฉพาะด้านที่มักจะเป็นงานประจำที่มีขั้นตอนซ้ำๆและได้รับการกำหนดไว้เป็นมาตรฐาน

กระบวนการในการตัดสินใจ

Simon (1960) ได้กล่าวว่า ถึงขั้นตอนในการตัดสินใจมีหลัก 3 ประการ

1. การให้ความคิดประกอบเหตุผล

2. การออกแบบ

3. การคัดเลือก

ประเภทการตัดสินใจ

1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structured Decision) คือ การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำเป็นกิจวัตร (Routine) มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่ถูกกำหนดไว้แน่นอน

2. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decision) คือ การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่ได้เกิดประจำ/ไม่สามารถวางแผนล่วงหน้า การตัดสินใจต้องวิเคราะห์จากสิ่งแวดล้อมประกอบต้องผู้บริหารที่เก่งและมีประสบการณ์สูง

3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured Decision) คือ ส่วนหนึ่งใช้หลักเกณฑ์และขั้นตอนมาประยุกต์แก้ปัญหาได้ ส่วนที่เหลืออาศัยประสบการณ์ผู้ทำการตัดสินใจ

ส่วนประกอบของ DSS

1. อุปกรณ์ เป็นส่วนประกอบแรกและเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ DSS โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะสามารถบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ด้วยกัน คือ

1.1 อุปกรณ์ประมวลผล ประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์

1.2 อุปกรณ์สื่อสาร เช่น ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่

1.3 อุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพ เครื่องปริ้นซ์

2. ระบบการทำงาน มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบหลักของ DSS เพราะถือเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ

2.1 ฐานข้อมูล (Database) DSS จะมีหน้าที่สร้าง ค้นหา หรือปรับปรุงข้อมูลขององค์การ เพื่อรอการนำไปประมวลผลประกอบการตัดสินใจ

2.2 ฐานแบบจำลอง (Model Base) มีหน้าที่รวบรวมแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และแบบจำลองในการวิเคราะห์ปัญหาที่สำคัญ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้

2.3 ระบบชุดคำสั่งของ DSS (DSS Software System) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้ฐานข้อมูลกับฐานแบบจำลอง โดยระบบชุดคำสั่งของ DSS จะมีหน้าที่จัดการ ควบคุมการพัฒนา จัดเก็บ และเรียกใช้แบบจำลองต่างๆ เพื่อนำมาประมวลผลกับข้อมูลจากฐานข้อมูล นอกจากนี้ระบบชุดคำสั่งยังมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ในการโต้ตอบกับ DSS โดยที่สามารถแสดงความสัมพันธ์ของส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ

- ผู้ใช้

- ฐานแบบจำลอง

- ฐานข้อมูล

3. ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนของ DSS เพราะถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพเพียงพอแล้วก็จะไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับ DSS จะแตกต่างจากข้อมูลในระบบสารสนเทศอื่น โดยที่ข้อมูล DSS ที่เหมาะสมจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

3.1 มีปริมาณพอเหมาะแก่การนำไปใช้งาน

3.2 มีความถูกต้องและทันสมัยในระดับทีเหมาะสมกับความต้องการ

3.3 สามารถนำมาใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และครบถ้วน

3.4 มีความยืดหยุ่นและสามารถนำมาจัดรูปแบบเพื่อการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม

4. บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากบุคคลจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่ การกำหนดเป้าหมายละความต้องการ การพัฒนา การออกแบบ และการใช้ DSS ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

- ผู้ใช้ (End-user)

- ผู้สนับสนุน DSS (DSS Support)

คุณสมบัติของ DSS

เพื่อความสะดวกต่อในการใช้งานของผู้ใช้ โดยที่ DSS ที่เหมาะสมควรมีคุณลักษณะดังนี้

1. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน

2. สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว

3. มีข้อมูลและแบบจำลองสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจที่เหมาะสม

4. สนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง

5. มีความยืดหยุ่นที่จะสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้

ความแตกต่างระหว่าง DSS กับระบบสารสนเทศอื่น

1. DSS ให้ความสำคัญกับการนำสารสนเทศไปประกอบการตัดสินใจของผู้ใช้ ไม่ใช่ระบบการรวบรวม และการเรียกใช้ข้อมูลประจำวัน

2. DSS สนับสนุนปัญหาการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้างของผู้จัดการระดับกลางและระดับสูง

3. DSS พัฒนาให้เหมาะกับการแก้ปัญหาของผู้ใช้

4. DSS มีแนวโน้มในการพัฒนาสำหรับการใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

5. ผู้ใช้มีส่วนสำคัญในการออกแบบระบบ ส่วนใหญ่นิยมใช้การออกแบบระบบด้วยการทำต้นแบบ (Prototyping Approach)

ประเภทของ DSS

ภายหลังจากเริ่มต้นพัฒนา DSS ในทศวรรษ 1970 ได้มีผู้พยายามจำแนกประเภทของ DSS เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานตามคุณสมบัติของแต่ละระบบออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. DSS แบบให้ความสำคัญกับข้อมูล (Data-Oriented DSS) ให้ความสำคัญกับเครื่องมือในการจัดการ วิเคราะห์ข้อมูล และการทดสอบทางสถิติ ให้ผู้ใช้เข้าใจสารสนเทศและตัดสินใจได้มีประสิทธิภาพ

2. DSS แบบให้ความสำคัญกับแบบจำลอง (Model-Based DSS) ให้ความสำคัญกับแบบจำลองในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (mathematical model) และแบบจำลองการวิจัยขั้นการดำเนินการ (Operational Research Model) ให้ผู้ใช้วิเคราะห์ปัญหาและปรับตัวแปรที่เกี่ยวข้อ เพื่อเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

คำสำคัญ (Tags): #dss
หมายเลขบันทึก: 628054เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2017 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2017 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท