โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1(ช่วงที่ 4: ระหว่างวันที่ 19 - 21 เมษายน 2560)


สวัสดีครับชาวบล็อก,

ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1(ช่วงที่ 4: ระหว่างวันที่ 19 - 21 เมษายน 2560) ผมรู้สึกดีใจที่ได้กลับมาทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อีกครั้งหนึ่ง โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 7 คณะ ประกอบด้วย ประกอบด้วยผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. และคณะพันธมิตรที่เป็นเครือข่าย 6 คณะ ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

การทำงานครั้งนี้ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายผมอีกครั้งหนึ่งในปีนี้ ผมและทีมงานต้องขอขอบคุณผู้บริหารและคณะทำงานของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. ที่ไว้วางใจพวกเรา และทุกท่านสามารถติดตามบรรยากาศและความรู้ต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ผมขอฝาก Blog นี้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้พวกเราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

#โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่1

#PSUNurse1


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/28413

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 หน้า 5

http://www.gotoknow.org/posts/626196

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 20 มีนาคม – 3 เมษายน 2560

http://www.gotoknow.org/posts/628017

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 27 เมษายน – 11 พฤษภาคม 2560


https://youtu.be/g0dkhclgGpE

ที่มา: รายการ: คิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ. ตอน: กิจกรรมเพื่อสังคมสร้างสรรค์..จากห้องเรียนผู้นำที่คณะพยาบาลศาสตร์

ม.อ. ออกอากาศ: วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม 2560 เวลา 21.00 – 21.30 น. สถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks


สรุปการบรรยาย

วันที่ 19 เมษายน 2560

นำเสนองานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ (3)

THE AGILITY SHIFT Creating AGILE and Effective Leaders, Teams, and Organizations

กลุ่ม 1

บทที่ 1 Agility Shift: What & Why

Agility เป็นการตอบสนองอย่างฉับไวต่อเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

กรณีตัวอย่างบุคคลที่เป็น Agile

กรณีมีฝูงห่านบินเข้าเครื่องบิน กัปตันใช้เวลาสั้นลงจอดปลอดภัย ใช้เวลา 200 กว่าวินาทีในการแก้ปัญหา

ใช้แม่น้ำฮัดสันนำเครื่องลง

กรณียานอพลอโลก 13 มี คาร์บอนไดออกไซด์เข้ามา มีการติดต่อภาคพื้นดินทำให้ลงจอดปลอดภัย

แสดงถึงปัจจัยที่ทำให้ทำได้มีประสิทธิภาพ

Agile Leader

Organization

Interaction

Available resource

เวลาในสถานการณ์คับขัน สมองเปลี่ยนเป็นหมวดเอาตัวรอด ต้องผ่านการพัฒนา

Agility เป็นการพัฒนาความสามารถ ความเชื่อมั่นในการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนให้เข้าบริบทที่เปลี่ยนเพื่อความสำเร้จยั่งยืน

เป็น Dynamic, Intentional และต่อเนื่อง

ความสามารถต้องเกิดจากการพัฒนาอย่างตั้งใจและอย่างต่อเนื่อง

Mindset shift ต้องเปลี่ยนเป็น Growth mindset

ต้องมี emotional intelligence

องค์กร Agile

ใช้ทรัพยากรสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ

ต้องมีการพัฒนาความสามารถอย่างดีเพื่อเปลี่ยนจากวิกฤติเป็นโอกาส

เหตุผลในการให้ความสำคัญ Agility

มีกำไรมากขึ้น เพิ่มผลิตได้ แข่งขันได้ในการเปลี่ยนแปลง

ทำให้คนในองค์กรอยู่อย่างมีเป้าหมาย มีสุข อยู่รอด

องค์ประกอบ Agility Shift คือ

Agility competence ทักษะ ความรู้ หาโอกาสพัฒนา

Agility capacity เป็นความสามารถตอบสนองภายใต้ความไม่แน่นอน

Agility confidence มีความเชื่อมั่นที่จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความไว้วางใจทีมและผู้ร่วมงาน

ทั้งสามอย่างไม่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ แต่เกื้อหนุนกัน

Agility Shift

เปลี่ยนจากวางแผนเป็น pre-planning

Event to process

Information to interaction

ต้องเปลี่ยนจาก fixed เป็น growth mindset

ความพร้อมเป็นเรื่องสำคัญ

บทที่ 2

Weaving the Relational Web for Agility

จะสร้างความพร้อมโดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

ทำแบบใยแมงมุม ซึ่งมีความเป็นระเบียบมีปมตาข่ายเหนียวและนุ่มนวล แมงมุมกินใยเดิมมาถักใยใหม่จึงเหนียวและแข็งแรงมาก

ถ้ามีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นจะทำอย่างไร

กรณีจัดการปัญหาทอร์นาโด ในอิลลินอย มีหน่วยกู้ภัย มีการใช้ Facebook ติดต่อเพื่อน

แสดงว่า ต้องถักทอเส้นใยให้ประสานสัมพันธ์กัน

Relational Web อาจจะเป็นคนหรือระบบทำงานร่วมกันมีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนกัน

Relational Web เกิดจากการที่ได้รับมอบให้ทำงานใหม่ หรือสิ่งไม่คาดฝัน

ประโยชน์ Relational Web

ทำให้เกิดความเข้าใจโดยมีกลุ่มช่วย และจะทำให้แก้ปัญหานั้นได้

ทำให้เกิดการสร้างความหมาย ได้เรียนรู้ปัญหา มีความรู้สึกต้องสู้เพื่อความอยู่รอด

Relational Web เหมือนใยแมงมุม คือ มี connection กับคนอื่นแล้วเขาจะช่วย support ในยามที่มีปัญหา

การเชื่อมโยงกับคนหลายกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีความสำคัญ มีการช่วยเหลือกัน

เมื่อ 10 ปีที่แล้วได้ทำงานกับ ยูนิเซฟ มีคนจากแคนาดาใช้ใยแมงมุมมาทำงานกับอบต. สะท้อนว่า ถ้ามีการช่วยเหลือกัน ทุกคนจะเข้มแข็ง

มีการใช้ใยแมงมุมให้อบต.เขียนว่าจะต้องเชื่อมโยงกับใครบ้างทั้งในและนอกชุมชน

การนำมาใช้กับม.อ.

ทำให้ทราบว่า ความว่องไวต้องเป็นไปทั้งองค์กร

คนในองค์กรต้องมีความสามารถ ต้องมีการเตรียมพร้อมคน สร้างความมั่นใจ เชื่อมั่น ไม่อยู่นิ่ง Dynamic พร้อมเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหา

ต้องสร้าง Mindset ก่อน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้เขียนเป็น Consultant แต่ยังติดความเป็นนักวิชาการ

กลุ่มนี้ได้นำเสนอแล้วได้คะแนนใกล้ 10

นำเสนอได้ชัดเจนมาก เรื่องนี้เป็นเรื่องของอนาคตเกี่ยวข้องกับคณะ

เมื่อได้อ่านแล้ว ควรนำไปใช้ ทำอย่างไรให้อาจารย์เข้าใจแล้วนำไปใช้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้อ่านเล่มนี้หลายครั้ง

บทต่างๆมีการจัดลำดับดี ละเอียดมาก

ประเด็นที่ฝากไว้

การเรียนกับการอ่านหนังสือคือเรื่องเดียวกัน คือ ต้องเตรียมตัว ม.อ.ต้องวางแผนมาก แต่ทำงานในบริบทที่ไม่เปลี่ยนแปลง สีจิ้นผิงบอกว่าต้องจัดความรวดเร็ว ไม่แน่นอน ทายไม่ได้ บางเรื่องก็คาดไม่ถึง เช่น Trump เคยประกาศจะไม่เป็นตำรวจโลก แต่กลับมาเป็นตำรวจโลก ในทฤษฎี 3 วงกลม มีสมรรถนะ 5 เรื่อง คนมี 3 เรื่องแรก คือ Functional Competency สิ่งที่ทุกคนต้องทำ Organizational Competency การอยู่ในองค์กรLeadership Competency ภาวะผู้นำ แต่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มีจิตวิญญาณผู้ประกอบการด้วย

Macro and Global Competency สำคัญสำหรับผู้นำ คนไทยดูข่าวต่างประเทศแต่ไม่ค่อยได้เชื่อมโยง การเข้าใจภาพใหญ่คือเข้าใจโอกาสและภัยคุกคาม

ในการเรียน ต้องเรียนเป็นทีม แบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้กัน

บทที่ 1 และ 2 มีการข้ามศาสตร์ มีการเชื่อมโยงกับการทำงานของสมอง คือ ความอยู่รอด

กลุ่ม 1

Keyword ของเรื่องนี้ที่มีความสำคัญต่อคณะพยาบาล คือการเตรียมและการสร้างเครือข่าย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การปะทะกันทางปัญญาต้องไปเชื่อมโยงกับ Interaction ทำให้เกิดปัญญายกกำลัง 5

วิชาการจะเป็นประโยชน์เมื่อคนนอกเห็นคุณค่า ต้องมีการสร้างแบรนด์ ไม่ใช่มีตำแหน่งทางวิชาการแต่ไม่มีคนรู้จัก

Social Network ในหนังสือเล่มนี้น่าจะ beyond เพราะไปสร้าง Relational Web

ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เก่ง ไปรวมเรื่องมาเขียน

ประชารัฐไม่ใช่แค่มีคนมาร่วมมือ ต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจ มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการยกย่องให้เกียรติ

คณะพยาบาลควรทำงานร่วมกับอินโดนีเซีย

ในการทำงาน ควรเปลี่ยนตัวละคร

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

มีประเด็น 3 เรื่อง

What คือความฉับไว

Why คือสถานการณ์แวดล้อม เช่น ในวิกฤติ ถ้ามีความฉับไว ให้ดึงโอกาสาใช้เป็นประโยชน์ได้

คนต้องสร้างเสริมประสิทธิภาพตลอดเวลา เช่น สมองต้องคิดให้ทัน โดยต้องมีความรู้เข้าไป คือ Competency และองค์ความรู้ใหม่ที่มาตลอดนำมารวมกับทักษะเดิมและความรู้ที่ประมวลแล้ว นำมาสร้าง Productivity

ต้องทำน้อยแล้วได้มาก ต้องเข้าใจสถานการณ์อย่างชัดเจนแล้วจำได้

กลุ่มนี้เก่งโยง Growth Mindset ได้ เป็นการเชื่อมโยงความรู้เดิมที่มี

ในอนาคตบทเรียนที่ได้นำเสนอก็จะงอกงาม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คณะพยาบาลและพันธมิตรติดกับระบบราชการ

กฟผ.มีบริษัทลูกไปเซ็นสัญญา แต่ต้องเข้าค.ร.ม. ทำให้เกิดความล่าช้าเสียหาย

ในการสร้าง Agility Model ของที่ม.อ.ควรทำแบบขั้นบันได ค่อยๆทำในสิ่งที่ไม่อยู่ในกฎระเบียบ

ผู้นำต้องเป็นต้นแบบ มีวัฒนธรรมซึ่งผู้เรียนในรุ่นนี้มีแล้ว แต่คนอื่นๆยังไม่มี

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ชอบความรู้ที่ได้จากใยแมงมุม คล้าย Transformer กลืนของเก่าแล้วสร้างใหม่ ของเก่าไม่ได้ทิ้ง

กลุ่ม 2

บทที่ 3 Discovering the Five Dynamics of Agility Shift

Agility เป็นกาตอบสนองต่อสถานการณ์ไม่คาดคิดได้ฉับไว พลิกวิกฤติเป็นโอกาส ทำให้แข่งขันได้ในสภาวการณ์ไม่แน่นอน

Relational Web เป็นเครือข่ายความรู้ ความสามารถและทรัพยากรที่ต้องค้นหาให้ได้ ทำให้พลิกผันสถานการณ์ให้เป็นโอกาส

Relational Web ประกอบด้วย

  • Relevant หมายถึง ความเข้าใจ ความตระหนัก มีคุณค่าบุคคลที่สอดรับคุณค่าเป้าหมายขององค์กร เป็นพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลง
  • Responsive
  • Resilient เป็นองค์กรที่ regroup, reorganize และ renew เพื่อตอบสนอง
  • Resourceful ทราบถึงทรัพยากรที่มีหรือขาด
  • Reflective เรียนรู้จากประสบการณ์ที่มี นำประสบการณ์มาวิเคราะห์ปัญหา สร้างความสำเร็จโดยการปรับปรุงแก้ไข ต้องทำทุกครั้งที่มีปัญหา

สิ่งสำคัญคือ Why เป็นการสะท้อนความเข้าเป้าหมายของตัวบุคคลและองค์กร แล้วจะทำให้การขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน

องค์กร Agile ถูกขับเคลื่อนโดยเป้าหมาย องค์กรที่เน้น Relevant บุคคลในองค์มีอิสระในการตัดสินใจ ทำให้ตอบสนองได้โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และฉับไวกว่า ทำให้ตอบสนองได้มีประสิทธิภาพมากกว่า

กรณีศึกษา Mightybytes ขับเคลื่อนโดย Relevant มีการดำเนินการก้าวหน้ารวดเร็ว ช่วงต้นที่มี demand เพิ่ม ก็มีการขยายทีม แล้วทำงานหนักขึ้น แต่พบว่า การกระทำแบบนี้ทำให้ขาดความสมดุลในชีวิตการงาน ทำให้เกิดการเจ็บป่วย แล้วไม่สอดรับคุณค่าและเป้าหมายส่วนบุคคล ทางบริษัทแก้โดย

Refocus meaning คือมีความยั่งยืนขององค์กรและสังคม จึงจ้างคนด้วยวิธีใหม่ คือจ้างคนที่เข้าใจคุณค่าและเป้าหมายองค์กร ไม่เน้นสินค้าอย่างเดียว ให้คุณค่ากับความยุติธรรม การตัดสินในเน้นค่านิยมร่วมกัน เป็นคุณค่าที่องค์กรให้ความสำคัญคือ คน โลกและกำไร มีการทำ Annual Retreat เพื่อคำนึงถึงคุณค่า

ผลการใช้คือ ทำให้มีสินค้านวัตกรรม แก้ปัญหาดี เป็นแบรนด์บริษัทที่ใส่ใจคนและคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อม

ในการสร้างให้เกิด agility shift คือ SOAR

Strength

Opportunities

Aspiration ทำให้ออกมาเป็นการกระทำ

Results ผลิตภัณฑ์

กระบวนการ SOAR

เปิดโอกาสให้คนในองค์กรแสดงความเห็น มีการถามสมาชิกว่า อยากทำอะไร แล้วใช้กิจกรรมนั้นดึงสมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในองค์กร แล้วมีสินค้าที่เกิดจากกิจกรรม นำมามอบเป็นของขวัญให้ลุกค้า ทำให้เกิดความเหนียวแน่นในองค์กร

ตอบสนองอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพต่อสถานการณ์

มีการเปรียบเทียบกับ Reactive

Reactive เป็นการตอบสนองโดยอัตโนมัติโดยไม่มีการวางแผน

แต่ Responsive เป็นการตอบสนองผ่านกระบวนการคิด สอดคล้องกับองค์กร

แต่องค์กรต้องมีความสามารถ มีการนำพนักงานเข้ามามีส่วนร่วม ตอบสนองจากภายในไม่ใช่ด้วยหน้าที่

Responsive แบบมีประสิทธิภาพ ต้องแก้สถานการณ์ ส่งผลบวก และทำได้ภายใต้ทรัพยากรที่เหมาะสม

ทำได้โดย การตอบสนองต้องมีคุณภาพและทันเวลา เช่น ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าเร็ว

ต้องมีการมอบอำนาจให้พนักงานทุกระดับตอบสนองได้ทันท่วงที

กรณีศึกษาธนาคารในสหรัฐอเมริกา เดิมมี 6 สาขา ต่อมาขยายเป็น 400 สาขา ทำให้สินทรัพย์เพิ่มขึ้น ทำได้โดยมีกลยุทธ์ฝึกอบรมบุคลากรแนวหน้าให้ตอบสนองลูกค้าได้ทุกระดับทันท่วงที มี Hotline Phone ติดต่อสาขา ทำเป็นวัฒนาธรรมขององค์กร

ทำได้โดยหมั่นฝึกถามบุคลากรว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์นั้นจะทำอะไรเพื่อเตรียมพร้อม

กรณีศึกษา Ericsson และ Nokia เกิดไฟไหม้

ผู้นำ Ericsson มองไม่ร้ายแรง

ผู้นำ Nokia มองร้ายแรง ระดมทุกฝ่ายมาร่วมระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหา ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่ม 3%

ต่อมา Ericsson เน้น Agility

กรณีศึกษา UPS มีปรัชญาคือ อะไรก็ได้ เวลามีอุปสรรคในการส่ง ก็ขอความคิดเห็นจากทุกฝ่ายมาปรับใช้พัฒนา ผลผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ทั้งหมดนี้ต้องเชื่อมโยงใน Relational Web

บทที่ 4 Becoming an Agile Leader Empowering Every to be Agile

การพัฒนา Agile Leader

ทำได้โดย

ทำงานเป็นทีม

ผู้นำต้องลงมือไปทำร่วมกับคนในทีม เพื่อช่วยให้ทีมแสดงศักยภาพออกมา

ต้องเครือข่ายมาช่วยสนับสนุนแก้ปัญหา

ต้องมีการเรียนรู้ตลอดเวลา ไม่ใช่รอ ยอมรับความผิดพลาดทำให้เกิดการเรียนรู้

ต้องพยายามออกจาก comfort zone

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

2R’s ครอบคลุม 5R

Resilient คืออดทนใจการจัดการปัญหา

Relevant คือ ต้องสร้างคุณค่า ตอบโจทย์องค์กร และนำไปสู่ความยั่งยืน

ผู้นำ Agile ต้องทำให้คนอื่นมีส่วนร่วม Empower ต้องมีการฝึกทักษะด้วย

เรื่องคน เน้น skill, knowledge และ talent

สามารถมองเห็นโอกาส

จะต้องมี 5R ตอบสนองต่อการเปลี่ยนเป็น Agility Organization

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ในขณะเกิดวิกฤติ ก็เกิดโอกาสได้ โลกไอทีสร้างความเชื่อมโยงมีทั้งวิกฤติและโอกาส

ผู้นำต้องมองอนาคตให้ออก

ในเรื่อง how to ผู้นำ คนที่สร้างสมรรถนะ องค์กร

มีการเห็นร่วมกันก่อน ก็คือ 2R’s มาช่วยในการวางยุทธศาสตร์ของคณะ

ต้องทำงานให้น้อย แล้วได้ผลมาก คนมีความสุขจึงมีความสามรถรับสถานการณ์

ในภาวะปกติ ถ้าสร้างนวัตกรรมได้ ก็จะไปช่วยอนาคต

กลุ่ม 2

ปัจจัยหลักที่กระทบคณะพยาบาล

ได้แก่ปัจจัยภายนอกทั้งในและนอกประเทศเปลี่ยนเร็ว การออกนอกระบบ สังคมสูงอายุ นักศึกษาน้อยลง

ดร.จีระ

ควรไปเยี่ยมอินโดนีเซียนอกเหนือจากผลิตบุคลากรให้

กลุ่ม 2

5R ให้ความสำคัญกับทุกคนในองค์กร ทุกคนสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ต้องมีการมอบอำนาจให้เกิดศักยภาพในองค์กร

ดร.จีระ

จะเขียนบทความเรื่องนี้เปรียบเทียบกับ Chira Way

Agility ต้องมีความหมาย และต้องมี 3V’s

Agility ทำให้องค์กรสามารถสร้างโอกาสใหม่ได้

Panel Discussion& Workshop

หัวข้อ การพัฒนา คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม

โดย ดร.พยัต วุฒิรงค์

ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนานวัตกรรมแห่งเอเชีย

ปัญหาของมหาวิทยาลัยไทยคือ มีงานวิจัยแต่ไม่สามารถนำไปสร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์ได้ เพราะเป็นแค่สิ่งประดิษฐ์แต่ยังไม่เป็นนวัตกรรม

ถ้ามีความคิดสร้างสรรค์มากก็จะมีโอกาสกลายเป็นนวัตกรรมได้มาก แต่ก็อาจจะไม่เป็นนวัตกรรมก็ได้

สิ่งประดิษฐ์คือ การนำความคิดมาทำเป็นของ 95% ของมหาวิทยาลัยมหิดลเป็น Lab Scale ทำ 1 ชิ้นแล้วจดสิทธิบัตร Pilot Scale ทำเกิน 1 ชิ้นมี 4.5% ที่เหลือเป็น Industrial Scale

Innovation คือ นวัตกรรม สามารถทำได้จริงและมีการแพร่หลายไปได้

คนไทย 90% คิดว่า นวัตกรรมมีแค่ Product เท่านั้น แต่มีประเภทอื่นด้วย

Service Innovation เช่น One-stop Service

Process Innovation เช่น Lean Process สำหรับการสร้างรถยนต์ให้ออกมาเร็วที่สุด

Business Model Innovation เช่น ระบบการเรียนการสอนอาจเป็น E-learning ทั้งหมดก็ได้ เป็นการปรับรูปแบบธุรกิจให้เร็วขึ้น

Behavior Innovation เป็นเรื่องพฤติกรรม

อะไรที่ใหม่และสร้างมูลค่าให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)ได้ถือเป็นนวัตกรรม

บางครั้งมี Networking Innovation เช่น ผู้ประกอบการในธุรกิจร่วมมือกันเป็นเครือข่ายส่งนักท่องเที่ยวต่อให้กัน เป็นการสร้างรายได้ร่วมกัน

มหาวิทยาลัยมหิดลมีมูลค่าจาก Commercialization มาน้อยมาก แม้ได้รับงบสนับสนุนมาก

Social Innovation การทำเพื่อสังคม เช่น อ่านหนังสือให้คนตาบอด

IKEA เป็น Self-Service Furniture เฟอร์นิเจอร์ประกอบเอง ใช้ไม้ผลิต 1% ของโลก ปีหนึ่งส่งกล่องไปทั่วโลก 800 ล้านกล่อง มีพนักงาน 130,000 คน แต่ตั้งแต่ปี 2000 IKEA ปรับราคาสินค้าลง 2-3% ต่อปี

การสร้างนวัตกรรมของหลักสูตร ต้องทำให้แตกต่างจากที่อื่น เช่น หลักสูตรของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นนวัตกรรมเพราะอาจารย์มาควบคุมหลักสูตรเอง มีความเข้มข้นทำให้คนมาเรียนไม่สามารถอยู่เฉยๆได้ มีการวิจารณ์หนังสือ จัดแล้วใช้ทีมงานมากแต่ละคนเก่งมาก มีระบบที่ดีมีการส่งต่องานทำให้มีความราบรื่น

นครชัยแอร์ปรับปรุงรถทัวร์ มีเครื่องแบบพนักงาน ทำ All Thai Taxi รับผู้โดยสารทุกคนที่เรียกรวมถึงผ่าน Application ด้วย

การบริหารจัดการนวัตกรรมไม่ใช่กระบวนการนวัตกรรม แต่ในความเป็นจริง เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เป็นการทำให้องค์กรสามารถทำนวัตกรรมได้ตลอดเวลา และทุกคนสามารถคิดนวัตกรรมได้

ต้องมี Innovative Leadership

Innovative Strategy

Innovative Knowledge

Innovative People

Innovative Result

นวัตกรรมไม่สามารถเกิดได้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีการแข่งขัน ปัญหาคือผลงานไม่ผูกติดกับ Commercialization ทำให้มีผลงานวิจัยแต่ไม่มีนวัตกรรม

Total Innovation Management นวัตกรรมเป็นหน้าที่ของทุกคนและทุกระดับในองค์กร ถือเป็นแนวโน้มนวัตกรรมในอนาคต นวัตกรรมคือวัฒนธรรมของคน เพื่อให้คนพัฒนางาน

นวัตกรรมต้องใหม่ แตกต่าง ดีขึ้น

นวัตกรรมทำให้องค์กรเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

Innovative Leadership ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงและวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งบ่งบอกค่านิยม Commitment เพื่อความเป็นเลิศทางนวัตกรรม การสื่อสารวิสัยทัศน์และนวัตกรรม ส่งเสริมวัฒนธรรมนวัตกรรม เปิดกว้างรับความคิดเห็น กล้าเสี่ยง ยอมรับความท้าทาย กระจายอำนาจ

Innovative Strategy ประกอบด้วยการเน้นนวัตกรรม การประชุมมีการติดตามความคืบหน้าการทำนวัตกรรม มีเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว การทำแผนปฏิบัติการ ตัวชี้วัด การจัดสรรทรัพยากร

Innovative Knowledge ประกอบด้วย Knowledge Management (ที่มีการใช้สม่ำเสมอ) Technology Roadmap การเปรียบเทียบ Benchmarking (เทียบกับคนที่เก่งที่สุดในอุตสาหกรรม)

Innovative People ประกอบด้วย การสร้างระบบบริหารทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องยุทธศาสตร์นวัตกรรม เน้นสมรรถนะด้านนวัตกรรม มีกิจกรรมข้ามสายงาน การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ฝึกปฏิบัติการสร้างนวัตกรรม มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่สนับสนุนนวัตกรรม นวัตกรรมต้องสร้างความสุขและความอยากมาทำงาน รางวัลและการเชิดชูเกียรติ มีการประเมินผล

Innovative Process ประกอบด้วย

Breakthrough ทำสิ่งใหม่

co-creation ร่วมมือกันสร้างนวัตกรรม

เปิดรับ feedback จากพันธมิตรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การบริหารจัดการความคิด

มุมมองลูกค้า

การบริหารโครงการนวัตกรรม

การบริหารความเสี่ยง

Innovative Result

ลูกค้าต้องพอใจ

ช่วงปะทะกันทางปัญญา

1.ที่ม.อ.มี Commitment to Innovation หรือไม่

กลุ่ม 1

ภาพรวมของหลายคณะในม.อ.อยู่ระดับ Creativity และ Invention บางครั้งไม่สามารถนำไปขยายผลไม่ได้

Commitment to Innovation ถือเป็นนโยบายที่มหาวิทยาลัยต้องการ แต่กระบวนการเป็นอุปสรรค จึงติดอยู่แค่ Invention

2. ถ้าจะเน้น Innovation มีการทำอะไรเกี่ยวกับ Innovation ในระดับยุทธศาสตร์ มีการกำหนดกลยุทธ์ ตัวชี้วัด จัดสรรทรัพยากรหรือไม่

กลุ่ม 2

ม.อ.ประกาศตัวเข้าสู่ Thailand 4.0 เป็นนวัตกรรม มีผลกระทบในระดับบุคคลคือ แต่ละคนต้องมี TOR คือข้อตกลงว่า ต้องทำงานอะไรบ้างในช่วงเวลาครึ่งปี ต้องมีนวัตกรรมการสอน มีการกำหนดไว้ แต่แต่ละคนยังเข้าใจไม่ชัดเจนและเข้าใจไม่ตรงกัน เพราะยังไม่เข้าใจเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว เมื่อก่อนนี้เป็นเรื่องของสิ่งประดิษฐ์ที่ต้องทำ เรื่องนี้ยังไม่ชัดเจนเพราะเป็นเรื่องของตัวบุคคล ในการขับเคลื่อน มีแผนปฏิบัติการของสาขา และคณะ

ในส่วนการจัดสรรทรัพยากร มีค่าตอบแทน Incentives ถ้าทำได้ตาม KPIs จากการที่เคย Commercialize วิธีสกัดสารบางอย่าง เมื่อมีบริษัทเอกชนซื้อไป 500,000 บาท สำหรับวิธีที่เป็น Patent นักวิจัยจะได้ส่วนแบ่ง 5% แล้วต้องนำ 5% นี้มาแบ่งให้นักวิจัยแต่ละคน ถ้าในทีมวิจัยมี 2 คน อาจารย์จะได้ 60% ส่วนที่เหลือก็เป็นของอีกคน ก็คิดเป็นหลักหมื่นบาท

ดร.พยัต

มีระเบียบชัดเจนว่า

1.อาจารย์ตั้งบริษัทได้ถ้าไม่ได้รับราชการ และสามารถถือหุ้นที่ใดก็ได้ ในการจะตั้งบริษัทได้ ต้องนำภาคเอกชนเข้ามาร่วม

2.ถ้า Commercialize ได้ 500 ล้านบาท เงินทั้งหมดจะไม่ถูกหักค่าวิจัยออกไปก่อน นักวิจัยจะได้ 50% ของเงินจำนวนนี้คือ 250 ล้านบาท ส่วนอีก 250 ล้านบาทที่เหลือแบ่งให้หน่วยต่างๆดังนี้ มหาวิทยาลัย 20% คณะ 10% ภาควิชา 10% และหน่วยงานที่นักวิจัยสังกัด 10%

คำถามจากกลุ่ม 2

มีประเด็นเรื่องผู้ให้ทุนเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่

ดร.พยัต

ถ้ามีทุนภายนอก จะมีการทำหนังสือไปถามว่า ต้องมีการคืนทุนหรือไม่ ถ้ามี ก็ต้องส่งคืนไปก่อน 250 ล้านบาท แล้วนำ 250 ล้านบาทที่เหลือมาแบ่ง 50% แต่ถ้าผู้ให้ทุนไม่ทวงทุนคืน ก็จะได้เงินเต็มจำนวน

คำถามจากกลุ่ม 2

มีประเด็นว่า 1 Patent สามารถ Licensing ได้จำนวนเท่าไร

ดร.พยัต

ถ้ามีกำหนดว่า ต้องแบ่งเงินทุกลิขสิทธิ์ ก็ต้องแบ่งเงินไปให้ผู้ให้ทุน

ต้องมี Incentives ให้นักวิจัยอยากเข้ามาร่วมโครงการ

คำถาม

ถ้าต้องการ Spin off ต้องมี KPIs เป็นอาจารย์ปกติ แต่สามารถใช้เวลาในช่วงของการ Spin off ได้ด้วยหรือไม่ เนื่องจากมีโครงการ Talent Mobility ที่สามารถไปช่วยกิจกรรมของเอกชน

ดร.พยัต

ที่มหาวิทยาลัยมหิดลมีโครงการ Talent Mobility ที่ภาคเอกชนยืมตัวบุคลากรไป ภายใต้เงื่อนไขว่า คณะต้องปล่อยไปเป็นเวลานานเท่าไร คิดเป็นสัดส่วนเท่าไร แล้วทางเอกชนต้องให้เงินอาจารย์และมหาวิทยาลัยคืนให้ 2-3 เท่าหรือแล้วแต่ตกลง คณะเป็นผู้รับเป้ามา และก็ต้องบริหาร KPIs ได้ การ Spin off ก็สามารถทำได้

ทั้งหมดนี้เป็นยุทธศาสตร์ว่าให้ความสำคัญมากเพียงใด ถ้าให้ความสำคัญกับวิจัย การบริการวิชาการ การบริการสังคม ก็จะได้ KPIs

ควรจะเน้น Commercialization เพราะรัฐบาลทำอยู่ มหาวิทยาลัยอาจจะแก้กฎระเบียบภายในเพื่อสนับสนุนก็ได้ แล้วทุกคนต้องมี Commitment ร่วมกัน

3.ด้านความรู้ มีการทำ KM หรือไม่

กลุ่ม 3

ม.อ.ทำ KM แค่ช่วงหนึ่ง แล้วไม่มีคนดูแล นอกจากนี้มี Facebook แบ่งปันความเห็น

มีคนเข้าถึงน้อย ไม่มีคนสรุปประเด็นนำไปทำอะไรต่อ มีแต่คนร้องเรียนปัญหาอาคารสถานที่แต่ไม่มีการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง

ม.อ.ประกาศจะBenchmark กับมหาวิทยาลัยในระดับใกล้เคียงคือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการผูกมิตรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อมา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็เข้ามาร่วมในปีที่ 3 ร่วมเป็น 3 มหาวิทยาลัย มีการพบปะสังสรรค์ แบ่งปันทุนวิจัยช่วยมหาวิทยาลัยขอนแก่นเรื่องเดียว

4.คนที่อยู่ในม.อ. มีความสุขหรือไม่

กลุ่ม 4

แต่ละคณะทำงานเป็นไซโล แม้ ม.อ. จะส่งเสริมการทำงาน cross function แต่ไม่ได้เป็นการบังคับคนในม.อ.จึงอยู่ใน comfort zone และก็มีความสุข

ดร.พยัต

เคยคุยกับรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลใหญ่ท่านหนึ่ง ท่านถามว่ามองมหิดลเป็นอย่างไร จึงตอบว่า มหิดลควรไปได้ไกลกว่านี้ มีทรัพยากรยิ่งใหญ่มาก มีอาจารย์เก่งระดับโลกหลายคน แต่ยังไม่สามารถตั้งเป็น Worldclass University ได้ เพราะไม่มีการผลักดันเรื่องการให้เงินวิจัย ไม่สนับสนุนให้เกิดการสร้าง Impact งานวิจัยควรจะ Commercialize ได้มากกว่านี้ แล้วจะสามารถเติบโตเป็น Innovative Organization ได้

การที่มหาวิทยาลัยจะเป็น Innovative Organization ต้องใช้เวลา ทำได้โดย

มี commitment ทำให้นวัตกรรมอยู่ในสายเลือด คือ ทำตลอดเวลา ต้องเปิดรับความคิดเห็น

ผู้นำต้องสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทำตัวเป็นแบบอย่าง

เนื้อหา (ต่อ)

ตอนที่เคยไปทำงานให้มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ค้นพบว่า มีรายได้จากการ Commercialization งานวิจัยน้อยมาก

สาเหตุความล้มเหลว Commercialization

1.สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

หัวข้อวิจัยมีความเฉพาะทางเกินไป ทำแล้วผลงานล้าสมัย ไม่ตอบสนองความต้องการของตลาด

เป็นงานวิจัยที่ไม่เสร็จ ไม่ทราบว่า เสร็จสมบูรณ์สำหรับ Commercialization

ต้นทุนไม่สามารถควบคุมได้

2.นักวิจัย

ไม่มีความยืดหยุ่นในการปรับให้ตรงตามความต้องการของตลาด

ไม่เข้าใจความต้องการของอุตสาหกรรม เพราะไม่เคยสอนนักวิจัยเรื่องนี้

ต้องทำให้ดีที่สุดจึงปล่อยผลงานให้ออกมา แต่ในความเป็นจริง การสร้างนวัตกรรม ต้องทำแล้วมีการทดสอบว่ามีข้อบกพร่องอะไรแล้วแก้ไข

3.มหาวิทยาลัย

คนในมหาวิทยาลัยไม่เข้าใจแนวคิดทางธุรกิจ ยังไม่เข้าใจหลายมุมมองของ Stakeholders บางครั้งขาดการคิดต้นทุน

เจรจาต่อรองไม่เป็น

Connection เป็นระดับบุคคล ไม่ใช่เป็นระบบ ไม่ใช่ Connection ส่วนรวม

มหาวิทยาลัยไม่ทราบว่า มหาวิทยาลัยมีบริการหรือนวัตกรรมอะไร และไม่ทราบว่าใครทำได้

4.เอกชน

มีตลาดไม่ชัดเจน

มีการลงทุนที่ไม่น่าสนใจสำหรับมหาวิทยาลัย

วันที่ 20 เมษายน 2560

กิจกรรม CSR: Public Spirit - Enlarge your networks

กิจกรรมเพื่อสังคม วันกตัญญูและผู้สูงอายุไทยใส่ใจสุขภาพ

ณ ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านหนองเสาธง ม.6 ต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

กล่าวแนะนำโครงการ

โดย ผศ.ดร.ลัพณา กิจรุ่งโรจน์

รองคณบดีฝ่ายการศึกษา

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ในนามผู้แทนคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ซึ่งท่านติดภารกิจไปดูงานโครงการพระราชดำริที่จังหวัดชุมพร จึงได้มาร่วมการเกิดกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งกิจกรรมเพื่อสังคมที่คณะพยาบาลศาสตร์จัดร่วมกับอบต.ควนรู และรพ.สต.ในการคืนให้กับประชาชนในควนรูในเรื่องของสุขภาพ

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในปีนี้ครบรอบ 45 ปีของการศึกษาทางการพยาบาลซึ่งถือว่า สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมากในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า เรื่องของสิ่งแวดล้อมต่างๆมีผลต่อการดูแลสุขภาพ ในวันนี้มีทีมงานจากคณะต่างๆที่เป็นผู้บริหารระดับคณะ อาจารย์และนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ คณะต่างๆที่มาในวันนี้ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์มาร่วมให้ความรู้เรื่องสุขภาพแก่คนในชุมชนเพราะเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง คนเราจะอยู่ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีต้องมีสุขภาพที่ดี จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกับท้องถิ่นเป็นวันกตัญญูและผู้สูงอายุไทยใส่ใจสุขภาพ มีการรวมทั้งสหวิชาชีพต่างๆเพื่อดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

ที่มาของกิจกรรมสังคมที่ถือว่า ได้มีความตระหนักโดยเฉพาะผู้มาเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ผู้นำในอนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในการที่จะสร้าง ตระหนักและปลูกจิตสำนึกในการรับผิดชอบบำเพ็ญประโยชน์คืนสู่สังคม โดยเฉพาะท้องถิ่นภาคใต้ซึ่งถือว่า เป็นปูชนียบุคคลที่สำคัญที่จะให้การดูแลและเรียนรู้จากท่านด้วยเช่นกัน โดยให้นักศึกษาพยาบาลมาเรียนรู้ด้วย

กิจกรรมแบ่งเป็น 4 ฐาน

ฐานที่ 1 การตรวจและให้คำแนะนำด้านสุขภาพ เช่น การตรวจไขมัน ความดัน ความแข็งแรงของมวลกระดูกภายในร่างกาย มีเครื่องตรวจสมรรถภาพด้านนี้ เป็นการให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เมื่อตรวจแล้ว ก็สามารถเตรียมความพร้อมด้านร่างกายได้

ฐานที่ 2 การฝึกสมองของผู้สูงอายุ เป็นการฝึกเพื่อป้องกันอัลไซเมอร์ โดยมีกิจกรรมฝึกสมอง เกม

ฐานที่ 3 ของเล่นเด็กเคลื่อนที่ เป็นการพัฒนาเด็กให้ฉลาดผ่านทักษะต่างๆ

ฐานที่ 4 การทำอาหารสมุนไพรในท้องถิ่น มีอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์มาให้ความรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการ มีการแข่งขันการทำอาหารท้องถิ่นจากสมุนไพร

ขอบคุณทีมงานที่ทำให้เกิดงานวันนี้ รวมถึงทีมงานของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่ทำให้กิจกรรมนี้ดำเนินไปได้ด้วยดี ขอบคุณผู้ใหญ่ของชุมชนที่มาร่วมกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสมบูรณ์ในการดำเนินชีวิตภายใต้วิถีไทยท้องถิ่นภาคใต้ และขอขอบคุณทุกท่าน

กล่าวในนามมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอขอบคุณคณะพยาบาลศาสตร์และคณะพันธมิตรที่ได้มาร่วมกันจัดกิจกรรมในครั้งนี้

หลักสูตรนี้ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้รับเกียรติจากคณะพยาบาลศาสตร์ให้ดำเนินการเป็นแบบหลักสูตรการสร้างผู้นำ มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

นายกอบต.ก็พัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

อยากจะเห็นลูกศิษย์มาพัฒนาศักยภาพคนให้มีรายได้สูงขึ้น นำไปสู่ความมั่นคง เพราะการเพิ่มรายได้สำคัญที่สุด ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น

กิจกรรมวันนี้มีนักศึกษาพยาบาลมาร่วมด้วย หลายคนจะเป็นอนาคตที่ดีต่อการแพทย์และพยาบาล

ถ้ามีโอกาส อยากให้ทุกคนร่วมมือกันมากที่สุด

ทรัพยากรมนุษย์ต้องลงไปข้างล่าง ลดความเหลื่อมล้ำในประเทศ สิ่งสำคัญคือต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง มีการแบ่งปันความรู้กัน

ตอนนี้มีมหาวิทยาลัยและชุมชนมาร่วมแล้ว ในอนาคตอาจเชิญภาครัฐและนักธุรกิจ รวมถึงวิสาหกิจชุมชนมาร่วมด้วย แล้วมีการปะทะกันทางปัญญาบนพื้นฐานความหลากหลาย เพราะแต่ละคนมีภูมิปัญญาที่หลากหลาย

ขออวยพรให้กิจกรรมนี้ประสบความสำเร็จ และถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น หลังจากนั้น ควรกลับมาดูแลที่ชุมชนนี้ ในการทำงานให้สำเร็จต้องใช้ 3 ต. ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

กล่าวต้อนรับ

โดย นายจั่น จุลนวล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู

ในนามอบต.ควนรู ขอต้อนรับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คณาจารย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ด้วยความยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง

วันนี้ถือเป็นโชคดีที่จะได้ทำความดีร่วมกัน ได้รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้โอกาส

ตำบลควนรูเป็นตำบลเล็กที่สุดในอำเภอรัตภูมิ ถือเป็นครอบครัวรายได้น้อย ตำบลควนรูเน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต้องการให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ โดยเริ่มจากฐานที่มีจำกัด ประชาชนยังขาดข้อมูลและความรู้อีกมาก

ถือเป็นโอกาสอันดีที่ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เข้ามาช่วยพัฒนาหลายๆเรื่องที่ผ่านมา และก็มีมูลนิธิรากแก้วมาร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ด้วยในการพัฒนาตำบลควนรูไปได้มากพอสมควร

ถ้าทุกคนพร้อมใจร่วมกันพัฒนาและได้รับการส่งเสริมก็จะสามารถไปสู่เป้าหมายชุมชนพึ่งตนเองได้

การนำเสนอการดำเนินกิจกรรม CSR

ฐานที่ 1 การตรวจและให้คำแนะนำด้านสุขภาพ

มีกิจกรรมลงทะเบียน วัดส่วนสูง วัดความดัน มีการประเมินความเครียด 2Q ซึ่งยังไม่ค่อยเป็นระบบในตอนแรก แต่ดีขึ้นในตอนหลัง

ชาวบ้านชอบกิจกรรมนี้มาก

จากการวัดความดัน บางรายเป็นความดันสูง จึงได้บอกให้วัดซ้ำ แต่ความดันยังสูง จึงจะส่งต่อ รพ.สต.

ประเมิน 2Q พบว่า ไม่มีความเครียด บางครั้งกรณีผู้สูงอายุก็แยกได้ยาก ต้องถามให้ดี

ต้องใจเย็นกับผู้สูงอายุต้องใช้เวลาในการลุกนั่ง

ฐานที่ 2 การฝึกสมองของผู้สูงอายุ

มีนักศึกษามาช่วยผู้สูงอายุออกกำลังสมองให้สุขภาพดี ช่วยเหลือตนเองได้

ตอนแรกใช้เกมสุภาษิต เขามองไม่ชัด หูไม่ได้ยินมีปัญหาการสื่อสาร

จึงให้ผู้สูงอายุถ่ายทอดภูมิปัญญาสมุนไพร

ผู้สูงอายุความจำดีและถ่ายทอดเรื่องสมุนไพรได้

มีการฝึกออกกำลังกาย ถ้าลูกหลานมาอาจนำไปทำต่อได้

มีสันทนาการทำให้ผู้สูงอายุสนุกสนาน มี social interaction

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อายุเฉลี่ยผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไป สุขภาพดี

ชุมชนชนบทดีตรงความสัมพันธ์ในครอบครัวดีอยู่

ในกรุงเทพ ถ้าไม่มีลูกหลาน ก็ไปอยู่บ้านบางแค ไม่มี feeling of network

สังคมไทยมีค่านิยมดีมาก

บุคลิกนักศึกษาพยาบาลเป็นคนใฝ่รู้อยากทำงานเพื่อสังคม

อยากให้นักศึกษาได้มีโอกาสได้เรียนรู้

กลุ่มอื่น

ป้าบางคนอ่านไม่ออกเพราะไม่ได้เรียน จึงได้เริ่มเรียนรู้ตอนมาที่วัด

ฐานที่ 3 ของเล่นเด็กเคลื่อนที่

มีเด็กมาเล่น 17 คน มี 3 เกมคือ ระบายสี ร้อยลูกปัด ทำดอกไม้จากใบเตย

สัมภาษณ์ เด็ก 6 คน

ชอบเล่นร้อยลูกปัด เพราะสนุกแล้วนำกลับบ้านได้

เด็กชายมาร้อยด้วย ไปฝากย่ากับพี่

เด็กให้คะแนนความพึงพอใจในกิจกรรมฐานนี้ 10 คะแนนเต็ม

ถ้ามาอีก ก็อยากเล่นร้อยลูกปัด

มีนักศึกษามาช่วย 5 คน เด็กบอกว่าใจดีและน่ารัก

เด็กไม่ตอบว่า อาจารย์เป็นอย่างไร แต่ตอนหลัง ก็ตอบว่าใจดีเหมือนกัน

มีปัญหาคือ อากาศร้อน มดมาก

คาดหวังคือ การสืบสานวัฒนธรรมไทย ให้เด็กเล่นของไทยๆ ให้เด็กมาเล่นใบเตย ก็ไม่เล่น

เมื่อทำเสร็จ จะมาทำดอกไม้ต่อ แต่ก็ไม่ได้ทำ

นักศึกษายังทำใบเตยไม่ได้ จึงสอนนักศึกษา

เด็กชายมาร้อยลูกปัด นั่งนิ่งมีสมาธิเพื่อให้ย่ากับพี่ หาได้ยากที่เป็นแบบนี้

ฐานที่ 4 การทำอาหารสมุนไพรในท้องถิ่น

ทีม CSR ครั้งนี้เป็น improvised team เริ่มจากอาจารย์ 3-4 คน แล้วคนอื่นเห็นด้วย ทุกคนตั้งใจทำให้ดี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ได้เห็นกิจกรรมแบบนี้มาก

ประทับใจความร่วมมือของทุกคน เราแค่เสริม

ท่านเลือกตำบลนี้ ได้เห็นวิธีการแต่เริ่ม มีคนมาร่วมมาก มี Impact สูง ด้านนี้ถือเป็นทุนทางวัฒนธรรม

ทำครั้งเดียวแต่ผลมหาศาล

นายกอบต.บอกว่า ธกส.ส่งลูกค้าเกษตรมาดูงานเป็นพันคน

Eco system ยุคต่อไปต้องหลากหลาย

ตอนนี้ยังขาดเรื่องผู้ประกอบการ การตลาด การเงิน

มีเศรษฐกิจพอเพียงแล้วต้องทำให้ชุมชนมีรายได้จากภูมิปัญญา โดยต้องมีกลุ่มแพทย์ พยาบาลมาด้วยเพราะเป็นสาขาที่มีความคิดที่เป็นระบบ

ฐานที่ 4 การทำอาหารสมุนไพรในท้องถิ่น

เราทำตาม Agility team ทำตามสถานการณ์จริง

เราต้องเรียนรู้ต้นทุนชุมชนก่อนให้ เขามีความรู้สมุนไพรดีมากและดีกว่าเรา

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เป็นห้องเรียนผู้นำแบบภาคสนามทำให้ได้การเรียนรู้แบบนิเวศวิทยา

การที่นักศึกษายังไม่รู้จักพืชสมุนไพร ทำให้ทราบว่า ยังขาดการเรียนรู้ชีวิต

การไปในวันนี้เป็นการปลูกความรักในใจชุมชนแล้ว ทำให้คณะมีเครือข่าย

ต้องมีการแก้ไขตามสถานการณ์ ได้ค้นพบความจริง

เป็นการกระชับความสัมพันธ์ ต้องพัฒนาการตระหนักทรัพยากร ส่งต่อคนอีกรุ่น นักศึกษามีโอกาสได้เห็นโลกแห่งความเป็นจริง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นายกอบต.มี Value Added ทำให้ท่านเปิดกว้างขึ้น ก็ต้องคิดนวัตกรรมด้วยในด้านต่างๆ นำสินค้าบริการไปสร้างมูลค่าเพิ่ม

มีคณะต่างๆเข้าไปชุมชนทำให้เกิด Diversity ส่วนใหญ่ที่เข้าไปมักเป็นคณะทางวิทยาศาสตร์

ปัญหา ม.อ. ไม่มีความสมดุลระหว่างวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ งบวิจัยของม.อ. 90% ไปทางวิทยาศาสตร์

เมื่อเช้า ได้สังเกตตัวละครได้ทำหน้าที่ได้ดีมาก บุคลิกอาจารย์ที่ไปทำงานกับชุมชนมีความมุ่งมั่นสูงมาก

Panel Discussion& Workshop หัวข้อ “Crucial Conversations”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ร่วมกับ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนังสือเรื่อง Crucial Conversations มีข้อดี 3 เรื่อง

1.ผู้เขียนทำวิจัยเรื่อง Crucial Conversations แล้วก็มาที่ประเทศไทย

2. Conversations คือการสนทนา มีความหมายมากกว่า Communication

3. ม.อ.ต้องฝึกด้านการสื่อสาร

ประเด็นเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

Crucial Conversations เป็นการพูดที่ต้องให้ความสำคัญ เป็นระดับต่ำกว่า Negotiation

Crucial Conversations เป็นปัญหาของคนไทยมากเพราะมีความเกรงใจไม่กล้าพูดความจริง เกรงว่าจะกระทบความสัมพันธ์ หนังสือเล่มนี้เป็นการปิดจุดอ่อนของวัฒนธรรมในสังคมไทยที่ไม่กล้าพูดความจริงอย่างตรงไปตรงมา

Crucial Conversations เป็นศิลปะการนำเสนอความเป็นจริงของเรื่องที่สำคัญ

เวลาที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์สอนเรื่อง Crucial Conversation ก็มีมุมมองการนำไปใช้จริง เช่น การนำเสนอโครงการเพื่อของบประมาณ

เรื่อง Crucial Conversations ทำให้ได้มุมมองกว้างขวางมาก

มีหลายเรื่องที่ต้องเรียนรู้เพราะ Crucial Conversations เป็นเรื่องของภาวะผู้นำ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Trends ในการพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคต่อไป คือ การสร้างมูลค่าแบบ 3 V ของทุนมนุษย์ ซึ่งเน้น Macro ไปสู่ Macro เน้นปลูก เก็บเกี่ยว และ Execution และ Trends ก็คือ HR ต้องสร้าง Leadership ในทุกระดับ และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และ HR เองก็ต้องมีภาวะผู้นำด้วย Crucial Conversations เป็นส่วนเล็กๆของการเป็นผู้นำที่ดีและมีศักยภาพในการเป็นคนที่สนทนาและเจรจาต่อรองด้วยดี เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ

คณะพยาบาลฯ ม.อ. และคณะพันธมิตร มีศักยภาพสูงมาก แต่สิ่งที่ท้าทาย คือ จะนำเอาศักยภาพที่ซ่อนเร้นภายในเหล่านั้นออกมาเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น หลักสูตรนี้จึงเน้นไปที่..

- Tangible / Intangible

- Visible / Invisible

Crucial Conversations มี Impact ต่อการสื่อสารในองค์กรอย่างมหาศาล บางครั้งมีปัจจัยลบทำให้เกิดวิกฤติในบางเรื่อง เช่น เวลาที่ไม่กล้าพูดกับเจ้านาย จึงเกิดการพูดลับหลัง หรือมีการแสดงสีหน้าออกมา

หนังสือเรื่องนี้จึงกล่าวว่า Conversation จึงมีทั้ง Verbal และ Non-verbal

ดังนั้นการสร้างศักยภาพเรื่อง Crucial Conversations เป็นสิ่งสำคัญมาก

Crucial Conversations ลดความขัดแย้งในองค์กร หาทางแก้ปัญหาได้ ถ้า conversation นั้นเป็นประโยชน์ ก็จะนำไปสู่โอกาสใหม่ๆ ต้องเปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาส การประชุมไม่ควรพูดแต่เรื่องปัญหา ควรพูดถึงโอกาสแล้วงานก็จะสนุกสนาน ผู้ใหญ่ควรสร้างโอกาสให้ผู้อื่นทำตาม

ถ้า Crucial Conversations ดี ก็จะไปสู่ 3V’s ได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้อ่านและได้พบกับผู้เขียนโดยตรง และได้นำเรื่องนี้มาใช้ในการพัฒนาคนหลายแห่ง ผู้เขียนเป็นลูกศิษย์ของ Steven Covey เจ้าพ่อ 7 Habits ซึ่งถือว่ามีครูดี และทำวิจัยอย่างหนักว่าทำไมการสื่อสารในองค์กร(กรณีศึกษาในสหรัฐอเมริกา) จึงไม่ประสบความสำเร็จ

จุดดีของหนังสือเล่มนี้ คือ ค้นพบว่า เรื่องเล็ก ๆ อย่างการสนทนา แต่ถ้าฝึกฝน ปรับตัวได้ก็จะกระเด้งไปสู่เรื่องใหญ่ คือ สามารถนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศได้

ข้อเสียของหนังสือเล่มนี้ คือ Context หรือ บริบทเป็นตะวันตก

ดังนั้น จุดสำคัญ คือ จับหลักการใหญ่ ๆ หรือ Principle ว่า หลักของ Crucial Conversations คืออะไร? แต่น่าจะประกอบไปด้วย 4 เรื่อง

1.การสื่อสารมีหลายวิธี เช่น

1.1 ทางการ / ไม่เป็นทางการ

1.2 ทางกาย (Verbal) คือ ใช้เสียง โดยการพูดและฟัง แต่ ท่าที สีหน้า ท่าทางที่เรียกว่า Non – Verbal ก็สำคัญมาก ความเงียบ (Silence) มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ความเงียบดีในบางจังหวะดังคำกล่าว “Silence is golden.” แต่ถ้าเป็นความเงียบในเวลาที่โกรธ ก็จะเกิดปัญหาในที่สุด

2.การสื่อสารที่ดี คือ ไม่สื่อสาร บางจังหวะไม่พูดจะดีกว่า แต่บางจังหวะพูดก็ดี คล้าย ๆ แนวคิดผู้นำของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เรื่อง Rhythm and Speed คือ จังหวะ หรือ กาลเทศะ

3.การสื่อสารที่ดีต้องควบคุมอารมณ์และควรใช้ 5K’s ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คือ Emotional Intelligence

4.การสื่อสารที่ดี ต้องใช้ 2 I’s

Inspiration (สร้างแรงบันดาลใจ)

Imagination (สร้างจินตนาการ)

ดูเหมือนว่าเรื่องเล็ก ๆ เรื่อง Conversation ในทางวิชาการมีความหมาย คล้าย ๆ ว่า “Insignificant” หรือ ไม่สำคัญนัก แต่จริง ๆแล้วมีสาระมาก Session นี้ควรมีการ Deep Drive คือ ลงลึก และใช้กรณีศึกษาของคณะฯ ในหลาย ๆ ชนิดของงาน ชนิดของกลุ่ม บุคลากรที่หลากหลาย และชนิดของการสนทนา – ยกตัวอย่างให้ชัด ๆ เช่น การสร้างบรรยากาศอย่างไรไปสู่ความสำเร็จ

บางครั้งจะเน้นบรรยากาศ เช่น ทานข้าวกลางวันหรือเย็น สร้างบรรยากาศให้ Relax อย่า formal มากไป จึงเป็นที่มาของแนวคิด Morning Coffee

หลายท่านยังมองการทำงานเป็น Formal เน้นการเรียนในห้องเรียนมากไป จึงต้องปรับ Mindset อย่างต่อเนื่อง และต่อเนื่องคล้าย ๆ Concept ของไคเซน

หวังว่าช่วงเวลาที่ไปดูงานร่วมกันคงจะมี Crucial Conversations ระหว่างกันมากขึ้น และบางครั้งบรรยากาศสบาย ๆ อาจจะนำไปสู่มูลค่าเพิ่มอย่างคาดไม่ถึง

ชมวีดิโอ Crucial Conversations

Joseph Grenny เป็นลูกศิษย์ของ Stephen Covey และเป็นหนึ่งในผู้เขียนหนังสือ Crucial Conversations ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เคยได้ไปฟังบรรยายจาก Joseph Grenny ใน workshop ที่จัดโดยคุณพรทิพย์ อัยยิมาพันธ์ CEO ของ Pacrim Group

คุณพรทิพย์ อัยยิมาพันธ์ CEO ของ Pacrim Group ได้อ่านหนังสือ พบว่าเรื่องนี้เป็นประโยชน์ต่อคนไทยด้วย

Joseph Grenny เคยทำงานร่วมกับ Stephen Covey เหมือนกับคุณพรทิพย์ จากประสบการณ์ทำงานร่วมกับ Stephen Covey ซึ่งควรจะลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์เพราะเป็นสินทรัพย์สำคัญ

Crucial Conversations เริ่มจากการสงสัยว่าทำไมจึงเกิดปัญหาในครอบครัวหรือองค์กร ก็พบว่ามาจากการสื่อสารที่ไม่ตรงไปตรงมาซึ่งมาจากการกลัวเสียหน้า

การสื่อสารสำคัญเพราะมีผลต่อผลผลิต ความปลอดภัย และผู้นำมีหน้าที่สื่อสาร การสื่อสารทีมีคุณภาพมีผลต่อคุณภาพองค์กรด้วย

คุณพรทิพย์บอกว่า ปัญหาคือคนพูดลับหลัง เวลาที่จะให้พูด ก็ไม่พูด ทำให้ปัญหาสะสมในองค์กร นำไปสู่การไม่ไว้วางใจกัน เนื่องจากคนขาดทักษะในการให้ feedback ตรงไปตรงมาให้คนยอมรับได้

Joseph Grenny กล่าวว่า เรื่องนี้มีการทำกรณีศึกษามาเป็นเวลา 20 ปีพบว่าคนคาดหวังจากการสื่อสาร และการสื่อสารมีผลต่อการเพิ่มผลผลิตด้วย แนวคิดพื้นฐานคือ คนไม่คุยกัน เมื่อมีการสนทนาภายใต้บรรยากาศตึงเครียด ควรมีเหตุผลว่าควรจะพูดหรือไม่พูด ต้องทำให้คนรู้สึกปลอดภัย แล้วจะกล้าเปิดใจพูดต้องแสดงความห่วงใยก่อนแล้วนำเสนอข้อเท็จจริงเพื่อให้คนรู้สึกปลอดภัย

คุณพรทิพย์บอกว่า คนวิตกไปล่วงหน้าว่าเจ้านายจะไม่ฟัง ควรจะเอาชนะความกลัวก่อน ถ้าเจ้านายมองเห็นความจริงใจ ก็จะรับฟัง

Joseph Grenny ได้นำเสนอการเอาชนะกลัว ก็ต้องมีความสามารถในการนำเสนอ การสื่อสารไม่ใช่การเปลี่ยนองค์กรเป็นประชาธิปไตย แต่ผู้นำต้องเข้าใจว่าไม่มีใครฉลาดกว่าการที่ทุกคนคิดร่วมกัน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ปกหนังสือระบุว่า การสนทนาที่เน้นเนื้อหาสาระที่สำคัญเป็นเครื่องมือสำหรับพูดคุยเมื่อเดิมพันสูง อยู่ในระดับที่สูงกว่าการสนทนาระดับธรรมดา

เรื่องนี้มี 2 อย่างซ้อนกัน ภาพหนึ่งคือเนื้อหาในหนังสือ และอีกภาพหนึ่งเป็นการสื่อสารที่เป็นแบบ Chira Way ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ให้รายละเอียดการสื่อสารทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จังหวะและกาละเทศะเป็นศิลปะที่จะนำไปใช้ เพราะ Crucial Conversations เกิดจาก 3 อย่าง

1.ต้องแก้ปัญหา เช่น งานไม่เสร็จ จะต้องหารือกัน

2.ต้องหาทางออก

3.ลดความไม่ไว้วางใจ มีเรื่องความสัมพันธ์และความไม่กล้าพูด มาเกี่ยวข้อง

Crucial Conversations เป็นส่วนหนึ่งของภาวะผู้นำ ต้องเรียนรู้ได้ มีการทำวิจัย มีครูดี ต้องสอนผู้ใต้บังคับบัญชาให้กระชับประเด็นเป็น คุณพรทิพย์เสนอให้พูดตรงไปตรงมาแต่ให้อีกฝ่ายยอมรับได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ก็นัดคุยที่ร้านกาแฟเป็นการผ่อนคลาย

Crucial Conversations มีจังหวะและกาลเทศะมาเกี่ยวข้องในการพูด บางครั้งพูดความจริง แต่ก็ต้องให้ผู้ฟังกลับไปคิดแล้วมาตอบด้วย ต้องนำเสนอความจริง เสนอแนวทาง ค้นหาอุปสรรค สิ่งที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมจะทำให้คนยอมรับได้ ต้องใช้ศิลปะการเจรจา เก่ง ดีและมีความจริงใจที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

ต้องรู้ความจริง ควรจะพยายามค่อยๆถามข้อมูลเพื่อทราบแนวโน้มคำตอบ เวลาทำ Crucial Conversation จะมีความแหลมคม ตรงประเด็น ควรนำสิ่งที่ชาวตะวันตกพูดมาผสมผสานศิลปะแบบไทย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปประเด็นได้ดังนี้

1.ความกล้าหาญอย่างเดียวไม่พอ ต้องฝึกวิธีการพูดที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกปลอดภัย โดยไม่ใช้คำพูดที่รุนแรง

2.ควรควบคุมอารมณ์ให้ดีในการเจรจา

3.ควรมีการสร้างบรรยากาศให้มีความผ่อนคลาย เช่น นัดพบที่ร้านกาแฟให้เกิดความผ่อนคลายในการคุยกัน ความสบายทำให้เกิดปัญญาและอาจมีมูลค่ามหาศาล

วันที่ 21 เมษายน 2560

กิจกรรมรักษ์ใจ: ศิลปะ..สร้างสมาธิและปัญญา

โดย อาจารย์สาโรจน์ อนันตอวยพร และทีมงาน

อาจารย์เจษฎา เนื่องหล้า

คณะพยาบาลและพันธมิตรใช้สมองซีกขวามาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ให้เรียนวิชานี้เพื่อสร้างสมดุลให้สมอง

ในวิชาศิลปะ ควรสลัดกรอบออกไป

วัสดุอุปกรณ์ในการระบายสีนํ้า วัสดุที่จำเป็น

1. กระดานรองเขียน (Drawing Board) ควรมีนํ้าหนักเบา

2. กระดาษวาดเขียน (Paper)

ขนาดมาตรฐาน22 x30 นิ้ว

ความหนาตั้งแต่ 80 -400 ปอนด์กระดาษอัดเย็น (Cold Press) ทำด้วยมือคุณภาพดีกว่ากระดาษอัดร้อน (Hot Press)

3.ขาหยั่งรองเขียน (Easel) ใช้ควบคุมการระบายโดยการเอียงหรือตั้ง ปกตินิยมวางกระดาษรองเขียน 15 องศา

4.สีนํ้า (Water Color) แบ่งประเภทเป็น ประเภทสีเหลือง, สีเขียว, สีเทาและนํ้าตาล มีหลายชนิดและหลายขนาด

5. จานระบายสี (Palette)คือภาชนะแบนมีแอ่งสำหรับใส่สี ควรมีสีขาว

6. พู่กันสีนํ้า (Brush) มีลักษณะ คือกลมพอง กลมปลายแหลม และ แบนปลายตัด

7. ภาชนะใส่นํ้า (Water Container) ควรมี 2 ใบ สำหรับนํ้าผสมสีและใส่นํ้าล้างพู่กัน

8. อุปกรณ์เสริม เช่น ฟองนํ้า ผ้าเช็ดมือ ฯลฯ

อาจารย์สาโรจน์ อนันตอวยพร

เริ่มจากการขึงกระดาษ ควรทำกระดาษให้เปียกทั้งหมด แล้วขึงด้วยกระดาษกาวทาน้ำ ติดด้านที่เรียบก่อนแล้วจึงติดหลวมๆที่ด้านยังไม่เรียบ เมื่อกระดาษแห้งแล้วจึงเขียน จะลดอาการกระดาษบวมลงได้ 50-60%

เทคนิคการวาดเปียกบนแห้ง

เป็นการฝึกระบายสีให้เรียบบนพื้นแห้ง เริ่มโดยการนำสิ่งของมาหนุนใต้กระดานวาดรูปให้เอียงประมาณ 10 องศา

การระบายเรียบสีเดียว

1.นำพู่กันจุ่มน้ำแล้วไปจุ่มสีมาละลายในจานระบายสี

2.ระบายจากซ้ายไปขวาทิศทางเดียวเท่านั้นอย่าถูไปถูมา

3.ระบายแถวถัดไปที่อยู่ด้านล่างด้วยวิธีการเดียวกัน อย่าเว้นช่องว่าง ใช้หลักการน้ำต่อด้วยน้ำ สีต่อด้วยสี ต้องระบายต่อตอนเปียก

การระบายเรียบสีแก่อ่อน เป็นการฝึกระบายไล่น้ำหนักสี

1.นำพู่กันจุ่มน้ำแล้วไปจุ่มสีมาละลายในจานระบายสี

2.ระบายจากซ้ายไปขวาทิศทางเดียวเท่านั้นอย่าถูไปถูมา

3.ระบายทับแถวเดิมให้เหลื่อมไปแถวล่างเล็กน้อย แล้วทำซ้ำไปเรื่อยๆ

4.นำพู่กันจุ่มน้ำไปผสมสีให้อ่อนลงแล้วมาระบายต่อแถวต่อไป

การระบายเรียบสีอ่อนแก่

1.นำพู่กันจุ่มน้ำแล้วไปจุ่มสีมาละลายในจานระบายสี

2.ระบายจากซ้ายไปขวาทิศทางเดียวเท่านั้นอย่าถูไปถูมา

3.นำพู่กันจุ่มสีให้เข้มขึ้นแล้วมาระบายต่อแถวต่อไประบายทับแถวเดิมให้เหลื่อมไปแถวล่างเล็กน้อย แล้วทำซ้ำไปเรื่อยๆ

การระบายเรียบหลายสี

  • นำพู่กันจุ่มน้ำแล้วไปจุ่มสีมาละลายในจานระบายสี ทำเตรียมไว้ หลายๆสี
  • นำพู่กันจุ่มสีแรกมาระบายแถวแรก
  • นำพู่กันไปจุ่มน้ำล้างสี
  • นำพู่กันจุ่มสีที่สองแล้วนำมาระบายแถวที่อยู่ถัดไปด้านล่างโดยระบายให้เหลื่อมขึ้นมาทางสีแรกเล็กน้อย จะเกิดสีที่ผสมกัน

เทคนิคการวาดเปียกบนเปียก

ทำกระดาษให้เปียก เมื่อระบายสีลงไป จะมีลักษณะฉ่ำๆ ฟู่ๆ

1.นำแปรงจุ่มน้ำมาทากระดาษให้เปียกก่อน

2.นำพู่กันจุ่มน้ำผสมสีอ่อนแล้วระบายลงก่อน แล้วจึงค่อยระบายสีเข้ม

เทคนิคการวาดแห้งบนแห้ง

นำสีแห้งๆ ไปวาดบนพื้นแห้ง เหมาะกับการไล่น้ำหนักแสงเงา

1.นำพู่กันจุ่มสีผสมน้ำน้อยที่สุด

2.นำพู่กันมาลาก สีจะติดเข้มช่วงแรกแล้วค่อยๆหลายไปช่วงหลัง

หมายเหตุ การเขียนกระดาษสีน้ำ ต้องใช้ด้านหยาบ คือด้านที่อ่านชื่อยี่ห้อออก สำหรับผู้เพิ่งเริ่มเขียน ควรจะวางกระดาษแบนราบก่อน

วิธีการวาดท้องฟ้า

1.เอาแปรงจุ่มน้ำทากระดาษให้เปียก บริเวณที่จะวาดท้องฟ้า

2.ใช้พู่กันจุ่มน้ำแล้วจุ่มสีผสมน้ำให้เปียกแล้วระบายสีอ่อนก่อนสีเข้ม ระบายซ้ำให้ฉ่ำๆ ไล่ระดับทำให้มีมิติ อาจจะเอียงกระดาษให้สีผสมกันไล่ระดับก็ได้ โดยเอียงเข้าหาตัว สีท้องฟ้าควรเป็นสีเรียบไม่ให้รบกวนสิ่งอื่นๆ

3.วาดก้อนเมฆเป็นก้อนๆด้วยการใช้สีข้นกว่าเดิม อย่าใช้น้ำมากเกินไปเพราะจะทำให้ด่าง

4.วาดก้อนเมฆแล้วอียงกระดาษเข้าหาตัว จะได้ภาพเมฆที่มีสายฝนด้วย

วิธีการวาดภูเขา

1.ใช้ดินสอร่างแนวภูเขาเบาๆ อย่าวาดไปทับเมฆและฝน

2.ใช้พู่กันกลมจุ่มสีเข้มระบายเป็นขอบแนวภูเขา โดยระบายอย่างต่อเนื่อง ใช้หลักการน้ำตกจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ต้องระบายต่อขณะที่สียังไม่แห้ง

3.ส่วนตีนเขา ใช้พู่กันจุ่มน้ำระบายเป็นสีอ่อน

4.ใช้พู่กันกลมจุ่มสีผสมน้ำให้อ่อนลง ระบายไล่ระดับเป็นสีภูเขา

วิธีการวาดทะเล และหาดทราย

1.รอขอบล่างของภูเขาให้สีแห้งก่อน แล้วใช้สีฟ้าระบายเป็นน้ำทะเล ระบายต่อเนื่องขณะเปียก

2. นำสีเหลืองมาระบายเป็นหาดทรายระบายไล่ระดับไปตรงสีทะเล แล้วระบายทับสีทะเลส่วนหนึ่งให้สีผสมกัน

3.บิดกระดาษทิชชูเป็นเกลียวซับตรงทะเลเป็นคลื่น

วิธีการวาดต้นไม้

ใช้สีเขียวเข้มข้นวาดต้นไม้โดยวาดส่วนยอดต้นไม้ก่อน

วิธีการวาดเรือ

1. นำดินสอมาวาดเป็นโครงเรือ

2. นำสีน้ำตาลเข้มข้นมาวาดเป็นขอบในด้านบนและขอบข้างเรือ เว้นขอบแสงด้านบนไว้

3. ระบายสีตัวเรือให้เต็ม

4. ขีดเส้นเล็กๆ ตรงขอบบนของเรือ เป็นระยะห่างเท่าๆกันเพื่อวาดเป็นกระดูกงูของเรือ

5. ขีดเส้นตรงลงมาตั้งฉากที่เรือ 2 เสาไม่ต้องสูงเท่ากัน สำหรับพาดอวน

6. ขีดเส้นเชื่อม 2 เสาเพื่อเป็นราวพาดอวน

7.ใช้สีน้ำเงินข้นค่อนข้างแห้งวาดเป็นรูปตัว U เป็นอวนพาดบนราว แล้วต่ออีกด้านหนึ่งของอวนเป็นเส้นตรงลงมาที่ตัวเรือ

8.วาดหางและเครื่องยนต์ที่ท้ายเรือ

วิธีการวาดแนวหาดทราย

1.นำพู่กันจุ่มสีแห้งมาวาดเป็นแนวคลื่นบนหาดทราย

2.นำพู่กันจุ่มสีเข้มข้นแล้วมาจุดตรงหาดทรายที่เป็นบริเวณรอบต่อกับทะเลเพื่อเป็นแนวเปลือกหอย

วิธีการวาดเงาสะท้อนสีท้องฟ้า

1.นำแปรงจุ่มน้ำทากระดาษส่วนล่างให้เปียกให้ทั่ว

2.จุ่มสีเปียก ใช้สีเดียวกับท้องฟ้าหรือใช้สีที่ใกล้เคียง โดยเริ่มจากสีอ่อนก่อนแล้วค่อยตามด้วยสีเข้ม

วิธีการวาดเงาสะท้อนต้นไม้ในน้ำ

1.นำสิ่งของมาหนุนใต้กระดานวดรูปให้ด้านที่อยู่นอกตัวสูงขึ้น

2.นำสีน้ำเงินผสมกับสีเขียว อาจนำสีม่วงมาผสมเล็กน้อยได้เพื่อเป็นเงาสะท้อน

3.ใช้สีเข้มวาดพุ่มไม้กลับหัว ความสูงของเงาพุ่มไม้ไม่จำเป็นต้องสูงเท่ากัน

วิธีการวาดพุ่มไม้

วาดพุ่มไม้ให้มีตำแหน่งตรงกับเงาและลักษณะเดียวกับเงา

วิธีการวาดต้นไม้สูงมีดอกและใบเล็กจำนวนมาก

1.นำดินสอมาร่างโครงต้นและกิ่งก้านแบบเบาๆ

2.นำแปรงมาจุ่มสีข้นแต่เป็นสีอ่อนแล้วกระทุ้งหัวแปรงที่กระดาษให้เป็นจุดเล็กๆ หลายๆจุดแบบ แต่ต้องมีช่วงว่างเล็กๆพอประมาณด้วย แล้วเปลี่ยนเป็นใช้สีเข้มขึ้นเพื่อกระทุ้งตามแนวกิ่งก้านที่ร่างไว้

3.นำพู่กันเล็กจุ่มสีน้ำตาลข้นวาดกิ่งก้านและลำต้น

วิธีการวาดเงาสะท้อนใต้ต้นไม้

นำพู่กันจุ่มสีเขียวข้นมาขีดเป็นเส้นตั้งเล็กๆ ใต้โคนต้นไม้แบบถี่ๆแต่ไม่ติดกัน

หมายเลขบันทึก: 627470เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2017 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2017 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท