ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก : กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย ( ครั้งที่ 6 )


วันนี้เป็นการศึกษาสำรวจเก็บข้อมูลของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านปลักไม้ลายให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อครั้งต่อๆไปจะเป็นการศึกษาองค์ความรู้ของภายในศูนย์ทั้งหมด ซึ่งทางเราได้ทำการสัมภาษณ์ลุงสุธรรม จันทร์อ่อน ในส่วนข้อมูลที่ขาดและต้องการเพิ่มเติม และได้ถอดเทปบทสัมภาษณ์ได้ดังนี้


การสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากลุงสุธรรม จันทร์อ่อน

ภาพถ่ายโดย : ณัฐภัทร พระสว่าง

นักศึกษา : วันนี้หนูจะมาสอบถามเกี่ยวกับแผนและวิสัยทัศน์ของศูนย์การเรียนรู้ว่ามีแผนหรือวิสัยทัศน์ของศูนย์การเรียนรู้ไหมค่ะ ?

ลุงสุธรรม : แผน คือ ศูนย์เรามีแผนที่จะให้ความรู้กับเกษตรกร การให้ความรู้ก็จะมีด้วยกัน 3 รูปแบบ รูปแบบเเรก คือ การให้ความรู้ตัวต่อตัวหรือว่าต่อครอบครัวก็จะมีเกษตรกรที่เขาจะมาเป็นครอบครัวมาเช้าเย็นกลับหรืออาจจะมาพักค้างอะไรก็แล้วแต่อันนี้จะให้ความรู้กับกลุ่มคนนี้ รูปแบบที่2 คือ ให้ความรู้กับคนที่มาศึกษาดูงาน มาระยะหนึ่งอาจจะมาเช้าเย็นกลับบหรือมาแค่ดูงานแล้วก็กลับอันนั้นก็จะเป็นแผนการให้ความรู้แบบระยะสั้นคือการให้ความรู้เฉพาะด้าน ดูดิว่ากลุ่มคนกลุ่มนั้นต้องการอะไรเค้าเป็นกลุ่มคนที่มีอาชีพอะไรก็ให้ความรู้เขาเฉพาะด้านไป รูปแบบที่3 คือแผนการจัดอบรมให้ความรู้กับคนอีกกลุ่มหนึ่งก็คือกลุ่มที่มีเวลามาศึกษามาอบรมมาอยู่ที่พักแล้วก็ฝึหปฎิบัติด้วยอันนีเจะเป็นหลักสูตร 4 วัน 3 คืน ก็คือเกษตรกรรุ่น 1 ประมาณ 30-60 คนแต่ละรุ่น เราก็จะมีแผนไว้อบรมไว้ปีหนึ่งประมาณ 4-5 รุ่นโดยที่เราจะกำหนดร่วงหน้าก่อน อย่างปีนี้กำหนดถึง 4 รุ่นคืแ เดือนธันวาคม มกรา กุมถา มีนา รุ่นหนึ่ง ก็จะเป็นการอบรมฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย อันนี้เราจะมีงบประมาณสนับสนุนการส่วนราชการและคนที่มาอบรมมาเรียนรู้ก็จะไม่เสียค่าใช้จ่ายอันนี้คือแผนที่จัดเอาไว้ และจะเป็นแบบนี้ตลอดทุกปี ปีหน้าก็เหมือนกันจะมี3กลุ่มเนี้ย วิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์ของเราก็คือศูนย์เรียนรู้เราเนี่ยเป็นศูนย์เรียนรู้ที่ให้ความรู้กับเกษตรกรและก็เน้นเรื่องเกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ แล้วก็น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติและนี่คือวิสัยทัศน์ของศูนย์การเรียนรู้

นักศึกษา : แล้วแผนการแผนที่วางไว้มันสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่สามารถนำมาพัฒนาได้มากน้อยแค่ไหนค่ะ ?

ลุงสุธรรม : เกือบทั้งหมดเลย แผนเราก็จักอบรมในหลักสูตรวิชาที่เกี่ยวกับความรู้ในเรื่องของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องของการดำรงชีวิต เรื่องของการประกอบอาชีพ วิสัยทัศน์ของเราก็จะเรื่อฝเกษตรอินทรีย์ เรื่องการประกอบอาชีพที่ทำยังไงให้ลดต้นทุน ทำยังไงให้มีรายได้เพิ่ม ทำยังไงให้ลดภาระหนี้สินได้นี่คือแนววิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับแผนที่เราจัดอบรม


ลุงสุธรรมได้อธิบายเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการ

ภาพถ่ายโดย : ชริญา แก้วบัวดี

นักศึกษา : แล้วผลประโยชน์ของศูนย์การเรียนรู้กับส่วนตนที่ได้เอามารวมหรือว่าแยกกันออกไปค่ะ ?

ลุงสุธรรม : ไม่ได้แยก

นักศึกษา : ก็คือเอามารวมกันคือแบบทำแล้วก็คือใช้เหมือนเป็นอาชีพของตัวเองใช่ไหมค่ะ ?

ลุงสุธรรม : ศูนย์การเรียนรู้เป็นบ้าน องค์ความรู้เป็นภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้าน เพราะฉะนั้นศูนย์เรียนรู้ก็คือภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้าน งั้นเราไม่สามารถแยกออกไปได้ว่า คนหรือว่าศูนย์เรียนรู้แยกรายได้หรือแยกผลประโยชน์มันแยกไม่ได้ มันคือคนคนเดียวกัน มันสถานะเดียวกัน นั้นก็เป็นผลประโยชน์ที่ได้รับอันเดียวกันทั้งศูนย์เรียนรู้ทั้งตัวปราชญ์ ชาวบ้าน อย่างเดียวกัน

นักศึกษา : แล้วภายในศูนย์นี้มีการแบ่งหน้าที่ภายในศูนย์ไหมค่ะ ?

ลุงสุธรรม : มีแบ่งหน้าที่ มีกลุ่มหนึ่งเป็นวิทยากรมีประมาณ 10 คน วิทยากรก็จะมีหน้าที่กันคนที่อบรมให้ความรู้เรื่อองดินคนหนึ่ง เรื่องการทำปุ๋ยคนหนึ่ง เรื่องการทำนาคนหนึ่ง เรื่องของการแปรรูปก็อีกคนหนึ่ง ก็แล้วแต่วิทยากรที่เขาถนัดเป็นแต่ละด้านไป อันนี้จะแบ่งหน้าที่ไปถ้าให้ความรู้ในเรื่องของการืำเกษตรแบบยั่งยืนก็จะมีฐานเรียนรู้เพิ่มมาด้วย นอกจากเป็นตัวบุคคลแล้ว แล้วก็ยังมีแบ่งเป็นฐานเรียนรู้ ฐานเรียนรู้ก็จะมีภายในศูนย์นี้ด้วยแล้วก็นอกศูนย์ที่เป็นบ้านของวิทยากรเอง บ้านของตัวแทน เรียกว่าจุดเรียนรู้ของศูนย์เรียนรู้นี้คือคนหรือเกษตรกรที่มาเรียนรู้ แล้วไปทำแล้วประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นจุดเรียนรู้ที่ไปดู อย่างเช่น การเลี้ยงเห็ด การเพาะเห็ด เชิงการค้าเชิงธุระกิจ การเลี้ยงแพะ รีดนมแพะ การทำสวนฝรั่ง และก็การปลูกผักอินทรีย์ ก็จะแยกเป็นกลุ่มๆ มันก็จะมีหลายกลุ่ม หลายจุดเรียนรู้ที่อยู่ภายนอกศูนย์ ในศูนย์ก็จะมีฐานเรียนรู้คือ การเลี้ยงไก่ การทำปุ๋ยหมัก การทำเกษตรอินทรีย์ การปลูกผัก การปลูกกล้วยหอม การสีข้าว การทำนา เป็นต้น นี่เป็นส่วนที่ฐานเรียนรู้ที่เราแยกองค์ความรู้กัน

นักศึกษา : แล้วศูนย์การเรียนรู้นี้มีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการอย่างไรบ้างค่ะ ?

ลุงสุธรรม : มี ปัญหามีตลอด อุปสรรคมีตลอด แต่ว่าปัญหาเป็นปัญหาที่เราจัดการได้เราแก้ได้ อุปสรรคก็มี แต่ว่าเราใช้จุดแข็ง เราใช้โอกาสมาแก้อุปสรรค อุปสรรคมันอาจจะเกิดจากคนในกลุ่มหนึ่ง แต่ก็มีคนกลุ่มหนึ่งที่สามารถที่จะมาสนับสนุนได้ เราใช้โอกาสนี้มาแก้ปัญหาอุปสรรค โดยใช้จุดแข็งมาแก้อุปสรรค

นักศึกษา : เวลาจัดกิจกรรมทำอะไรก็คือสนับสนุนจากภายนอกใช่ไหมค่ะ ?

ลุงสุธรรม : ไม่ทุกครั้ง มีแค่รุ่นเดียว หนึ่งในสามแผนมีแค่รุ่นเดียวเท่านั่นที่มาสนับสนุน

นักศึกษา : ที่เหลือนี่เราต้องออกเองใช่ไหมค่ะ ?

ลุงสุธรรม : คนที่เข้ามาก็แชร์ค่าใช้จ่าย คนที่มาเรียนรู้เขาก็ต้องรู้ว่าเขามาเรียนรู้เรื่องอะไร อะไรที่เป็นองค์ความรู้ที่ต้องมีค่าใช้จ่าย เช่น องค์ความรู้การทำปุ๋ยหมัก จะต้องไปซื้อลำ ต้องซื้อส่วนผสมของการทำปุ๋ยหมัก การทำปุ๋ยหมัก เขาก็จะเป็นคนที่ออกค่าใช้จ่าย ศูนย์ก็ให้แต่ความรู้

นักศึกษา : แล้วคิดว่าต่อไปจะมีการพัฒนาอะไรมากกว่านี้ไหมค่ะ นอกจากสิ่งที่ทำอยู่ค่ะ ?

ลุงสุธรรม : มี มันก็พัฒนาไปตามกลไกของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมโลกมันจะเกี่ยวข้องกันหมด มันจะสอดคล้องกันไป เช่น การพัฒนาปัจจุบันในเรื่องของการสื่อสารซึ่งวันนี้การสื่อสารเราค้อนข้างไวมากเป็นการสื่อสารระบบออนไลน์ เราก็ใช้ระบบออนไลน์นี่แหละเข้ามาในการสอน เราก็จะสอนให้ทุกคนเนี้ยใช้ระบบออนไลน์ก็จะสอดคล้องกับการเจริญทางเทคโนโลยี อันนี้คือการปรับตัว เราก็จะปรับให้สอดคล้องกับปัญหาของสังคมด้วย อย่างเช่น เรามองว่าในอนาคตอีก 20 ปี แรงงานเราจะขาด อาหารภาคการเกษตรเราจะน้อยลงแต่คนกินกินมากขึ้นใน 20 ปีข้างหน้านี้เราจะเจอกับวิกฤตด้านอาหาร เราก็เตรียมให้ความรู้กับคนสอนให้คนกับมาทำภาคการเกษตร คนที่คิดว่าเรียนจบแล้วไปเป็นลูกจ้างเขา ไปเป็นขี้ข้ารัฐ เป็นขี้ข้าเอกชน ก็กลับมาเป็นนายของตัวเอง โดยกลับมาทำภาคการเกษตร ไม่ได้หมายความว่าให้มาขุดดิน ถากหญ้า แต่มาทำธุระกิจเกษตร นี่คือแผนในอนาคต แผนการให้ความรู้ที่มันสอดคล้องกับอนาคตข้างหน้า ก็คือทุกคนต้องกลับมาทำธุระกิจ แต่ธุระกิจที่มันเจริญที่สุดในอนาคตก็คือ ธุระกิจด้านอาหาร เพราะว่ามนุษย์โลกจะขาดแคลนเรื่องอาหาร ถ้าใครกับมาทำธุระกิจด้านอาหารก็จะประสบความสำเร็จง่ายกว่า มีช่องทางมากกว่า เอาวัตถุดิบที่เรามีอยู่ เอาจุดแข็งของสังคมที่มีอยู่ อย่างเช่น เราทำนา ประเทศไทยเราเป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตร เราก็เอาผลผลิตด้านการเกษตรนี้มาจัดการเป็นธุระกิจ ทำอย่างไรที่เราจะแปรรูป ที่เราจะสร้างระบบตลาดเราเข้าไปเกี่ยวข้องกับการจัดการในระบบการตลาดหรือการผลืตทั้งหมด นี่คือแผนในอานาคตที่จะปรับตัวไปสู่ยุคข้างหน้า

ลุงสุธรรมอธิบายอาณาเขตของคำว่า "ชุมชนปลักไม้ลาย"

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ อยู่มากญาติ


หมายเลขบันทึก: 627461เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2017 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2017 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท