11 เมษายน 2560
(ต่อหลักคำสอนนิกายย่อย มี 4 ตอนย่อย)
8. นิกายมนตรยาน (มิกจง) หรือวัชรยาน หรือ นิกายเจิ้นเหยียน
(1) คำว่า “ตันตระ” (Tantra) เป็นคำสันสกฤต มีความหมายโดยทั่วไปคือ “สิ่งที่เป็นเครื่องกระจายความรู้” และความหมายโดยเฉพาะคือ “วรรณคดีที่เป็นการเฉพาะภายใน”
(2) ชาวจีนเรียกว่า “เชน-เหยน” แปลว่า คำที่แท้จริง บางครั้งเรียกว่า มี่-จุง แปลว่า นิกายอันเร้นลับ (นิกายเจิ้นเหยียนหรือมี่จง)
(3) เรียกว่า “ตันตรยาน” ก็เพราะคำสอนนั้นเป็นเรื่องของตันตระ เรียกว่า มันตรยาน (Mantrayāna) คุยหยาน (Esoteric Buddhism) ก็เพราะมันตระหรือมนต์อันเร้นลับมีบทบาทอย่างสำคัญ ที่เรียกว่า วัชรยาน (Vajrayana) ก็เพราะวัชระหรือสายฟ้าเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ และเรียกว่า “สหัชยาน” แปลว่า ยานอันมีมาแต่กำเนิด ก็เพราะมีคำสอนว่า ความจริงอันสูงสุดนั้นมีมาแต่กำเนิดแล้วในชีวิตทุกชีวิต
(4) ผู้ก่อตั้งนิกาย คือ ท่านศุภกรสิงหะ ท่านวัชรโพธิ ท่านอโมฆวัชระ
(5) หลักคำสอนสำคัญ
- แนวคิดเรื่องมันตระ
- แนวคิดเรื่องมุทรา
- แนวคิดเรื่องมณฑล
- แนวคิดเรื่องอภิเษก
- มหายานโดยทั่วไปนั้นถือว่า การตรัสรู้เป็นผลรวมของปัญญาและความกรุณา เมื่อปัญญาและความกรุณาประสานรวมกันเข้าอย่างเหมาะสม สภาพนิพพานก็ปรากฏ ในพุทธศาสนานิกายตันตระ ปัญญาถูกพิจารณาว่าเป็นเพศหญิง และความกรุณาเป็นเพศชายขั้นตอนของการบรรลุของการตรัสรู้นั่นจะต้องประกอบไปด้วยหญิงสาวพรหมจรรย์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของปัญญา
การรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวของปัญญาและความกรุณานั้นถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ในภาพเขียนของทิเบตคือ แยบ-ยัม (Yab-Yum) หรือภาพคู่ของเพศพ่อและแม่ ซึ่งพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และเทพพระเจ้าทั้งหลายต่างก็สวมกอดกับชายาของตน
คำว่า “ตันตระ” (Tantra) เป็นคำสันสกฤต มีความหมายโดยทั่วไปคือ”สิ่งที่เป็นเครื่องกระจายความรู้”และความหมายโดยเฉพาะคือ “วรรณคดีที่เป็นการเฉพาะภายใน” (an esoteric literature)
เมื่อพุทธศาสนานิกายตันตระมาถึงประเทศจีน ชาวจีนเรียกว่า “เชน-เหยน”(Chen yen) ซึ่งแปลว่า คำที่แท้จริง หรือบางครั้งเรียกว่า มี่-จุง (Mitsung) ซึ่งแปลว่านิกายอันเร้นลับ (secret doctrine)
พุทธศาสนาฝ่ายตันตระเรียกได้อีกหลายอย่างคือ “ตันตรยาน”(Tantrayana) มันตรยาน (Mantrayana) วัชรยาน (Vajrayana) และ สหัสยาน(Sahajayana) ที่เรียกว่า “ตันตรยาน”ก็เพราะคำสอนนั้นเป็นเรื่องของตันตระ ที่เรียกว่ามันตรยาน ก็เพราะมันตระหรือมนต์อันเร้นลับมีบทบาทอย่างสำคัญ ที่เรียกว่า วัชรยาน ก็เพราะวัชระหรือสายฟ้าเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ และเรียกว่า “สหัชยาน”แปลว่า ยานอันมีมาแต่กำเนิด ก็เพราะมีคำสอนว่า ความจริงอันสูงสุดนั้นมีมาแต่กำเนิดแล้วในชีวิตทุกชีวิต
ประวัติการก่อตั้งนิกาย
พุทธศาสนานิกายตันตระ หรือนิกายเชน-เหยน (Chen-Yen) เป็นพุทธศาสนานิกายที่แปลกเป็นพิเศษกว่านิกายใดๆ ในแง่ที่มีคำสอนว่า ความสัมพันธ์ทางเพศนั้น หากเป็นไปอย่างถูกต้องและด้วยความเคารพแล้วกลับจะเป็นเครื่องส่งเสริมให้ก้าวหน้าบนหนทางแห่งสัจจะ และบรรดาพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าทั้งหลายต่างก็มี “ชายา” ของตน ความอิสระจากกฎเกณฑ์ทั้งปวงและการยกย่องเพศหญิงได้กลายมาเป็นลักษณะเด่นของพุทธศาสนานิกายตันตระ พระสูตรพื้นฐานที่สำคัญของนิกายนี้ได้แก่ มหาไวโรจนสูตร พุทธศาสนานิกายตันตระมีคณาจารย์ที่สำคัญ ดังนี้
(1) ท่านศุภกรสิงหะ (Subhakarasimha) หรือ ฉาน-วู-เว่ย (Shan-wu-wei)เป็นคนชาวภาคกลางของอินเดีย กล่าวกันว่า ท่านเป็นผู้ล่วงรู้ความลับของทั้งกาย วาจาและใจ ขณะเมื่อท่านยังอยู่ในอินเดียนั้นเกียรติคุณของท่านได้แพร่กระจายไปถึงประเทศจีนในปี พ.ศ. 1259 และได้รับการต้อนรับในฐานะคุรุแห่งรัฐ ท่านได้พำนักอยู่ที่เมืองชาง-อัน (Ch’ang-an) ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระจักรพรรดิ ท่านได้มรณภาพในประเทศจีนในปี พ.ศ. 1278 เมื่ออายุได้ 99 ปี
(2) ท่านวัชรโพธิ (Vajrabodhi) หรือ ชิน-คัง-ชิ (Chin-kang-Chih) ท่านได้ทราบข่าวความเจริญเติบโตของพุทธศาสนาในประเทศจีน จึงได้เดินทางไปยังประเทศนั้นโดยทางเรือและมาถึงฝั่งเมืองกวางตุ้ง (Canton) ในปี พ.ศ. 1263 มีพระบรมราชโองการจากพระจักรพรรดิให้ท่านได้ไปพำนักที่เมืองชาง-อัน (Ch’ang-an) ซึ่งเป็นเมืองหลวงที่เมืองนี้ ท่านได้พำนักอยู่ในวัดจื่อ-เอิน (Tz’u-en Temple) และวัดเชียน-ฟู (Chien-fuTemple) ตามลำดับ ท่านได้สร้างแท่นบูชาและเครื่องหมายมณฑลขึ้นในวัดทั้งสองสำหรับทำพิธีอภิเษก หรือการมอบตัวเป็นศิษย์ ท่านได้เผยแพร่นิกายตันตระอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยและได้แปลงานทางพุทธศาสนาที่สำคัญจำนวนหนึ่ง ผลจากงานเผยแพร่ของท่านทำให้พุทธศาสนาฝ่ายตันตระได้เจริญรุ่งเรืองสูงสุดทั้งที่เมืองชาง -อัน และ โล-ยางท่านมรณภาพลงในปี พ.ศ. 1284 รวมอายุได้ 71 ปี
(3) ท่านอโมฆวัชระ (Amoghavajra) หรือ ปู้-คง ชิน-คัง (Pu-k’ungchinkang) ได้เดินทางไปประเทศจีนตั้งแต่อายุยังน้อย และได้กลายเป็นอาจารย์แห่งฝ่ายตันตระภายใต้ท่านวัชรโพธิหลังจากที่วัชรโพธิได้มรณภาพลงในปี พ .ศ. 1284 ท่านได้ออกจากประเทศจีนเดินทางกลับอินเดียและศรีลังกา และได้รับความเคารพนับถือเป็นอย่างสูงจากพระราชาและเจ้าชายต่างๆ ในปี พ.ศ. 1289 ท่านได้เดินทางไปยังประเทศจีนอีกและได้ใช้ชีวิตที่เหลือทั้งหมดที่นั่น ท่านได้แปลคัมภีร์และได้เผยแพร่พุทธศาสนาฝ่ายตันตระอย่างกว้างขวาง ท่านเป็นที่เคารพและเป็นที่โปรดปรานของพระจักรพรรดิถึง 3 พระองค์ติดต่อกัน ท่านอโมฆวัชระ ได้มรณภาพในปี พ.ศ. 1317
มหายานในเกาหลี
มหายานที่ปรากฏชัดเป็นรูปธรรม มี 2 ช่วง โดยช่วงแรกนั้นไม่ทราบว่าเป็นมหายานนิกายใด สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นมหายานอย่างที่นับถือกันในจีน และต่อมานั้น เป็นแบบเซ็นที่เข้ามาโดยการนำของพระอุยซอน ทำให้มหายานหยั่งรากลึกลงในเกาหลีอย่างแน่นแฟ้น นอกจากสองช่วงนี้แล้ว มหายานในเกาหลีสมัยหลัง ๆ จนถึงปัจจุบัน มีแต่ทรงกับทรุด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ทำให้นิกายที่ยังคงเหลืออยู่เพียงเซ็นแบบนิกายสุขาวดี(4) ซึ่งเกิดจากการผสมผสานกัน ด้วยเหตุผลที่จะนำเสนอข้างหน้านี้
สารัตถะของเซ็นแนวใหม่ (ผสมสุขาวดี) เซ็น เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า ฌาน ในภาษาบาลี ที่ฌานกลายเป็นเซนไป เพราะญี่ปุ่นออกเสียงได้เพียงแค่นั้น (5) เกาหลีออกเสียงเป็น ซ็อน (Son)วิธีการปฏิบัติของซ็อนหรือเซ็นนั้น มุ่งให้มองเห็นศักยภาพแห่งพุทธะที่แต่ละคนมี เรียกว่า จิตเดิมแท้ หรือ พุทธภาวะ (Buddhahood) บนรากฐานความเชื่อที่ว่า ทุกคนมีพุทธภาวะเหมือนกันหมด และสิ่งนี้เองที่ทำให้คน
มหายานในญี่ปุ่น
พระพุทธเจ้า “ศากยมุนี” (Sakyamuni) “อมิดา” (Amida) (ในภาษาญี่ปุ่น)
ศาสนาชินโตดูเหมือนจะนับสถิติจากคนทุกคนในชุมชนที่ได้บริจาคเงินในเทศกาลทางศาสนาของตน ซึ่งกล่าวว่ามีจำนวนมากถึง 60,000,000 คน อย่างไรก็ตาม วัดในศาสนาชินโตมีประมาณ 80,000 แห่ง และมีพระชินโตอยู่เพียง 22,000 คนเท่านั้น ชาวพุทธในญี่ปุ่นมีรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 37,000,000 คน ในจำนวนนี้นิกายโจโด ชินชู และนิกายนิชิเรน ได้รับความนิยมแพร่หลายที่สุด
นิกายเซน (Zen) มาจากพุทธศาสนานิกายฌาน (Ch’an) ของจีน รากศัพท์ของคำว่า “เซน”หรือฌาน มาจากคำว่า “ธยานะ” ในภาษาสันสกฤตซึ่งแปลว่า “สมาธิภาวนา” (Meditation)
ปัจจุบันมี พุทธศาสนาแบบชินโต และพุทธศาสนานิกายเซน โดยเฉพาะนิกายเซนกำลังแพร่หลาย มีพุทธมามกะรวมประมาณ 10 ล้านคน และนับวันจะเพิ่มมากขึ้น
พุทธศาสนานิกายเซนจากประเทศจีนเข้าสู่ญี่ปุ่นโดยการปะปนมากับนิกายเทนได และต่อมาก่อตั้งเป็นนิกายอิสระโดยแยกออกเป็นสองสาขา คือ “รินไซเซน” (Rinzai Zen) กับ “โซโตะเซน” (Soto Zen)
คำว่า เซน (Zen) เป็นภาษาญี่ปุ่น มีรากศัพท์มาจากคำว่า ธยาน (ธฺยาน) ในภาษาสันสกฤต แปลว่า การเพ่ง หรือการทำจิตให้เป็นสมาธิโดยการนั่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในภาษาจีน คือ เสี่ยม-จงหมายถึง นิกายที่เน้นการปฏิบัติทางวิปัสสนา
หลักคำสอนสำคัญ
(1) หลักพื้นฐานสำคัญของนิกายเซน
- ความจริงที่สูงสุด เป็นสิ่งที่ไม่สามารถแสดงได้ด้วยคำพูดต้องได้จากประสบการณ์ตรงเท่านั้น
- การฝึกฝนในทางธรรม เป็นสิ่งที่ไม่อาจฝึกฝนกันได้
- ธรรมชาติของความเป็นพุทธะนั้นมีอยู่แล้วในตัวเรา เราเพียงแต่ค้นพบสิ่งที่มีอยู่แล้วเท่านั้น
- สิ่งสำคัญที่สุดเพียงประการเดียวก็คือ ประสบการณ์ของความตื่นเท่านั้น เพราะไม่มีอะไรมากในคำสอนทางพุทธศาสนา สิ่งที่เรียกว่าแนวความคิด ลัทธิและคำสอนนั้นไม่มีความหมายที่แท้จริงแต่อย่างใด
- การตรัสรู้มิได้จำกัดอยู่ในรูปแบบใดๆ ในขณะที่ดำรงชีวิตประจำวันนั่นแหละเป็นขณะแห่งการสัมผัสชีวิตทางธรรมเพราะในขณะแห่งการทำงานในชีวิตประจำวันก็อาจเป็นขณะแห่งการตรัสรู้ได้ ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธเป็นสิ่งสากล เราอาจพบมันได้ในทุกหนทุกแห่ง
(2) แนวคิดเรื่องจิตเดิมแท้
- นิกายเซนเน้นสอนเรื่องจิต มีเป้าหมายเพื่อความตระหนักรู้จิตอย่างสมบูรณ์ การรู้แจ้งคือการเปิดเผยธรรมชาติภายในซึ่งได้แก่จิตนั่นเอง เพราะเป้าหมายหลักของเซนคือการทำให้บุคคลเข้าใจตระหนักรู้และทำจิตของตนให้สมบูรณ์
(3) แนวคิดเรื่องซาโตริ (Satori) หรือการรู้แจ้งแบบเซน
นิกายเซนไม่มีการนิยามสิ่งที่เรียกว่าซาโตริอย่างชัดเจน เพราะนิกายเซนเชื่อว่าซาโตริเป็นภาวะที่เร้นลับ ไม่อาจนิยามได้ด้วยคำพูดลักษณะของซาโตริ
- วิถีชีวิตของคน คือ จิตสำนึกแบบแบ่งแยกโลกออกเป็นสองส่วน เป็นชีวิตที่เร่าร้อน
- เซนสอนว่า เพียงแต่เราเลิกมองสิ่งต่าง ๆ ด้วยทัศนะเดิมเสียเท่านั้น โลกธรรมก็ไม่อาจก่อทุกข์ให้เกิดแก่เราได้ คนที่ไม่มองโลกด้วยทัศนะแบบแบ่งแยกสรรพสิ่งเป็นสองจะไม่เป็นทุกข์เพราะโลกธรรม
- เมื่อเกิดซาโตริ จะเปลี่ยนทัศนะที่มีต่อสิ่งต่างๆ อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ
- ซาโตริคือจุดเปลี่ยนจากการมองสิ่งต่างๆ แบบแบ่งเป็นคู่ตรงกันข้ามมาเป็นการมองแบบไม่แบ่งแยกเช่นนั้น
ไม่มีความเห็น