​ภาคส่วนที่สามทางการศึกษา



หนังสือ ปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จ บทเรียนแนวใหม่จากฟินแลนด์` หน้า ๑๙๔ - ๑๙๔ กล่าวภาคส่วนที่สาม (Third Sector) ทางการศึกษา ที่ช่วยให้คุณภาพการศึกษาของประเทศฟินแลนด์สูง


เขาบอกว่า ฟินแลนด์เป็นประเทศที่นักเรียนมีเวลาเรียนในชั้นเรียนน้อย ตกบ่ายก็ไม่มีชั้นเรียนแล้ว


แต่โรงเรียนจัดกิจกรรมหลังเลิกเรียนสำหรับเด็กเล็ก และมีชมรมทางวิชาการหรือสันทนาการสำหรับเด็กโต นี่คือการจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างอิสระของเด็ก


นอกจากนั้น “สมาคมเยาวชน และสมาคมกีฬาหลายแห่งของฟินแลนด์มีบทบาทสำคัญมากในการช่วยหยิบยื่นโอกาสให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการในองค์รวม สองในสามของนักเรียนอายุ ๑๐ - ๑๔ ปี และนักเรียนอายุ ๑๕ - ๑๙ ปี เกินกว่าครึ่ง สังกัดอยู่กับสมาคมเยาวชน หรือสมาคมกีฬาอย่างน้อยหนึ่งสมาคม เครือข่ายสมาคมที่ไม่ใช้ภาครัฐเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ภาคส่วนที่สาม (Third Sector) พวกเขามีส่วนอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม และพัฒนาการเฉพาะบุคคลของเยาวชนฟินน์ และนับว่ามีคุณูปการอย่างสูงต่อผลงานด้านการศึกษาของโรงเรียนฟินแลนด์ด้วย”


พอจะเห็นไหมครับว่า คุณภาพการศึกษาของฟินแลนด์ ไม่ได้มาจากโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังมาจาก “ภาคส่วนที่สาม” ที่ทำหน้าที่เอื้อโอกาสเรียนรู้อย่างอิสระของเด็กและเยาวชน



วิจารณ์ พานิช

๕ มี.ค. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 627377เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2017 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2017 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การศึกษาของเราสนใจน้อยมากในส่วนนี้


บรรยากาศที่เอืัอต่อการเรียนรู้ ย่อมถูกสร้างสรรค์ขึันโดยสังคม..สอดคล้องกับการจัดการศึกษา..ซึ่งขณะนี้สังคมไทยมีแต่สิ่งที่ไม่อาจเรียกได้เช่นนั้น..เว้นแต่เราจะมีครูที่สามารถใช้วิกฤตเป็นโอกาส..ซึ่งผมคิดว่า..เรามีครูแบบนั้นไม่ถึง.1%..ครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท