เปิดบ้านอ่านเมืองปฐมนครเส้นทางประวัติศาสตร์ยุคทองแห่งทวาราวดี


สวัสดีคะทุกท่านที่กำลังอ่านบอร์ดนี้อยู่ ดิฉันมีโอกาสอ่านหนังสือเล่มหนึ่งเป็นหนังสือที่มีความหมายประวัติศาสตร์ที่หน้าอ่านมาก ดิฉันจึงอยากมาเล่าต่อให้ผู้อ่านได้เป็นความรู้เล็กๆน้อยๆคะ

# เปิดบ้านอ่านเมืองปฐมนคร

" ครั้นถึงวัดพระประถมบรมมาธาตุ

สูงทายาทอยู่สันโดษบนโขดเขิ

แลทะมึนทึนเทิงดังเชิงเทิน

เป็นโขดสูงเสริมเขาเพิ่มพูน

สาธุสะพระประธมบรมธาตุ

จงทรงศาสนาอยู่อย่ารู้สูญ

ข้าทำบุญคุณพระช่วยอนุกุล

ให้เพิ่มพูนสมประโยชน์โพธิญาน "

นครรัฐแห่งทวารวดี

<img src="//cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/217/895/large_IMG_1131.JPG" "="">

พุทธศักราช 300

พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระโสณะและพระอตระเป็นสมณทูตมาเผยแผ่พุทธศาสนา ณ " ปฐมนคร" นครแรกแห่งการสถิตสถาพรพระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ

พุทธศักราช 350

สร้างพระธมเจดีย์เป็นศิลปะรูปทรงสาญจิเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สู่... กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา

พุทธศักราช 1800


พุทธศักราช 1897

ผู้คนอพยพย้ายบ้านร่วมสร้างศรีอยุธยาเมืองใหม่ ด้วยมุ่งมั่นศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีการย้ายพระใหญ่ไปบูชา สร้างวัดพระยากง ณ บ้านโคกยายหอม

ประวัติศาสตร์สะดุดหยุดลงใน นครปฐม... เมืองเก่าร้างล่มจมอยู่ในป่า

พุทธศักราช 2105

นครไชยศรีกลายเป็นหัวเมืองจัตวาของอยุธยา

แล้วแสงทองก็เรืองรอง... อีกครา

พลิกฟื้นพระพุทธศาสนา

พุทธศักราช 2374

เมื่อครั้งที่ส่งผนวช ระหว่าง การธรรมจาริล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ได้พบพระเจดีย์องค์ใหญ่องค์หนึ่งตั้งอยู่กลางป่าลึก

งั้นเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงได้โปรดฯ ให้บูรณะ " องค์พระผงเจดีย์ " ขึ้นใหม่โดยสร้างครอบองค์เดิมไว้

ทั้งให้สร้าง " พระราชวังปฐมนคร " ขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับในยามเสด็จมาสักการะ

นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพลิกฟื้นพระพุทธศาสนาให้สาดแสงทองผ่องอำไพในปฐมนครอีกครั้ง

พุทธศักราช 2377

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มานมัสการ พระพุทธไสยาสน์ และทรงประพันธ์ " นิราศพระประธม "

พุทธศักราช 2385

สุนทรภู่ ประพันธ์ " นิราศพระประธม " ระหว่างเดินทางไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์

พุทธศักราช 2396

รัชกาลที่ 4 โปรดให้บูรณะสถาปนามหาเจดีย์ครอบองค์พระเจดีย์ องค์เดิม...ทั้งยังโปรดให้ขุด " คลองเจดีย์บูชา " จากท้ายบ้านท่านาไปถึงพระปฐมเจดีย์เพื่อให้เป็นเส้นทางคมนาคม


แผนที่เส้นทางน้ำจากพระนครถึงพระปฐมเจดีย์

พุทธศักราช 2396

พระราชวังปฐมนคร

อาคารสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและจีนที่ผสมผสานกันอย่างวิจิตร

มีทั้งที่ประทับหลังใหญ่ หลังเลิก ท้องพระโรง พลับพลา เพิงพล โรงละคร โรงช้า และ โรงม้า

ปัจจุบันวังโบราณแห่งนี้สูญหายไปจากแผนที่นครปฐมแล้ว เหลือเพียงเศษซากที่จมปรัก เป็นประจักษพยานว่า...กาลครั้งหนึ่ง ยังมีพระเจ้ากรุงสยามพระองค์หนึ่งซึ่งศรัทธามั่นอมรในบวรพระพุทธศาสนา...



เรือค้าขายในคลองเจดีย์บูชา

พุทธศักราช 2398

ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ขุด " คลองลัด " ตัดตรงจากนครไชยศรีถึงองค์พระปฐมเจดีย์ ความยาว18 กิโลเมตร ปากคลองอยู่ที่ " ตลาดต้นสน " บ้านท่านา ปลายคลองอยู่ที่ชุมชนชาวจีน " กั๋งบ้วย " ซึ่ง หมายถึง " ปลายคลอง " ราช

คลองประวัติศาสตร์แห่งนี้ มีชื่อว่า " เจดีย์บูชา " จุดมุ่งหมายหลัก คือการใช้เป็นเส้นทางคมนาคม การค้า เดินทางไปสักการะองค์พระปฐมเจดีย์ซึ่งในขณะนั้นมีเพียง ทางช้าง ทางเกวียน และทางเท้า


<img src="//cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/217/900/large_IMG_1137.JPG" "="">

พุทธศักราช 2438

เมืองนครไชยศรี สุพรรณบุรี และ สมุทรสาคร ได้ถูกรวมเข้าด้วยกัน จัดตั้งเป็น " มณฑลนครไชยศรี " ศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลท่านา อำเภอนครไชยศรีในปัจจุบัน

ต่อมาได้มีการย้ายศูนย์กลางมาอยู่ที่ตำบลพระปฐมเจดีย์ มีการจัดวางผังเมืองใหม่สร้าง " ตาราง " ไว้ใกล้ๆ องค์พระปฐมเจดีย์ พระพุทธเกษตรานุรักษ์ พระทำมะรงคุม " คนโทษ " สร้างเมือง



ริมแม่น้ำหน้าที่ว่าการมณฑลนครไชยศรี

พุทธศักราช 2441

มณฑลนครไชยศรีถูกย้ายจากบ้านท่านา ไปที่ตำบลพระปฐมเจดีย์ มีการจัดวางผังเมืองนครปฐม สร้างเมืองใหม่ทั้งเมือง สร้าง " คุก " ไว้ใกล้พระปฐมเจดีย์และได้ย้ายวัตถุโบราณไว้ที่ระเบียงคด องค์พระปฐมเจดีย์


สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

"...ถ้าจะทำอนุเสาวรีย์ในการสร้างเมืองนครปฐม

ข้าพเจ้าเห็นว่าควรทำเป็นรูปนักโทษเพราะสร้างเมือง

นครปฐมสำเร็จได้ด้วยแรงงานนักโทษ..."


พระพุทธเกษตรานุรักษ์ พระทำมะรงคุม " นักโทษ " เมืองสุพรรณ สมุทรสาคร และเมืองนครไชยศรี มาเป็น " แรงงาน " สร้างเมือง

พุทธศักราช 2450

ป่า...กลายเป็นบ้าน

ด้วยกำลังแรงงานของ " คนโทษ " ป่าจึงกลายเป็น " บ้าน " และ " เมือง " อย่างรวดเร็ว

ผู้คนอพยพเข้ามาอยู่อย่างหนาตาลูกเด็กเล็กแดงวิ่งเล่นตามประสา

พระพุทธเกษตรานุรักษ์ จึงสร้าง " ห้องเรียน " ไว้หน้าเรือนจำ ให้เด็กๆ ได้มีการศึกษาต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า " โรงเรียนวิชาชำนะโฉด " อันหมายถึง " ความรู้ ชนะ ความโง่เขลา " จวบจนสองปีผ่าน รัฐบาลจึงรับเข้าเป็นโรงเรียนหลวงและย้ายไปตั้งในสถานที่ใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็น " โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย " รับเฉพาะนักเรียนชายมาแต่คราวนั้น



โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย

พุทธศักราช 2450

พระราชวังสนามจันทร์

ที่ประทับส่วนพระองค์ในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ยามแปร พระราชฐานมานมัสการ องค์พระปฐมเจดีย์ บนเนื้อที่โล่งกว่า 800 ไร่ ประกอบด้วย อาคารน้อยใหญ่ ทั้งพระที่นั่ง พระตำหนัก ศาลา และเทวาลัย สวยงามตระการตา...ด้วยสถาปัตยกรรมตะวันตกที่ดัดแปลงให้เข้ากับเมืองร้อน

ตอกย้ำความหวาน...ด้วยการสลักเสลา ลวดลายไม้ฉลุ สนามจันทร์งานล้น...จนเกินพรรณนา

พุทธศักราช 2452

เส้นทางรถไฟ " ตัด " ผ่านนครปฐมมุ่งหน้าหัวเมืองภาคใต้

พุทธศักราช 2457

สร้าง "โรงเรียนราชินีบูรณะ " เป็นโรงเรียนสตรีประจำมณฑล

พุทธศักราช 2461

สะพานเจริญศรัทธา สะพานข้ามคลองเจดีย์บูชา แต่เดิมเป็นเพียงสะพานไม้ต่อมาล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ออกแบบและสร้างใหม่เป็น " สะพานคอนกรีต " ประดับด้วยรูปปั้นยักษ์เชื่อมเส้นทางจากสถานีรถไฟ มายังองค์พระปฐมเจดีย์ ชาวบ้านเรียกันว่า

" สะพานยักษ์ " ชวนให้สะกิดใจนักว่า... แม้เหล่ายักษ์ มาร และ อมนุษย์ ท้ายที่สุดแล้วก็ยังพ่ายแพ้ต่อ " ธรรมะ " และ " ความดี "

พุทธศักราช 2464

ข้าวหลาม อาหารพื้นถิ่นทางลาวโซ่งบางเลน...ถูกนำมาค้าขาย ณ. ชุมชนวัดพระราม เป็น " เสบียงกรัง " ที่เติบโตมาพร้อมกับขบวนรถไฟ


พุทธศักราช 2557

เรือนจำกลางย้ายไปอยู่ ตำบลวังตะกู เนื่องจากสถานที่เดิมคับแคบ

พุทธศักราช 2558

ชาวนครปฐมร่วมคัดค้านการย้ายโบราณวัตถุจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ ไปอยู่ที่ จังหวัดสุพรรณบุรี

<img src="//cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/217/910/large_IMG_1145.JPG" "="">




<img src="//cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/217/919/large_IMG_1150.JPG" "="">


หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่สนใจนะคะ ขอบคุณคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : คณะผู้ประสานงานอุทยานทวารวดี

หมายเลขบันทึก: 627376เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2017 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2017 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท