"การที่ผมมาเจอกับอาจารย์ครั้งนี้อาจจะเป็นโชคชะตา" ... (คำตอบจากข้อสอบประมวลความรู้ ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๙)


จากคำตอบของข้อสอบประมวลความรู้ ครั้งที่ ๒ ของนักศึกษาเอกฟิสิกส์ ชั้นปีที่ ๓
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙


"... ผมเคยได้ยินชื่อเสียงของอาจารย์มาอยู่ตั้งแต่ผมได้มาเรียนตอนปี ๑ ผมก็ไม่รู้หรอกว่า กลุ่มคนเหล่านั้นรู้สึกยังไงกับอาจารย์ ประมาณว่าอาจารย์สั่งงานเยอะ เดี๋ยวจะไม่มีเวลาว่าง เหมือนประมาณว่าแทบไม่มีเวลาว่าง นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้เรียนกับอาจารย์ แต่ผมไม่ได้จะกลัว หรือ เชื่อว่าจะเป็นอย่างที่คนอื่นเขาพูดกัน เพราะอาจารย์ทุกคนมีแนวการสอนและวิธีการสอนที่แตกต่างกันไป

การที่ผมมาเจอกับอาจารย์ครั้งนี้อาจจะเป็นโชคชะตาที่ผมได้มาเจออาจารย์ มันทำให้ผมรู้จักกับตนเองมากขึ้น เข้าใจครอบครัวมากขึ้น เข้าใจถึงความหวังดีของพ่อแม่ ทำให้ผมรู้ว่ายังมีคนที่ด้อยกว่าเราที่เขายังไม่ยอมแพ้ในชีวิตที่เขาเป็นอยู่ ทำให้รู้ว่าการทำความดีมีมากมาย วิธีการสอนของอาจารย์เป็นระบบแบบแผนที่ดี คอยปลูกฝังจิตสำนึกของการเป็นครูที่ดี เข้าใจความหมายของการเป็นคุณครู ผมคิดว่าอาจารย์สอนดีมาก ทุกครั้งที่อาจารย์สอนจะสรูปความรู้ทุกครั้ง ทุกครั้งที่ผมเรียนกับอาจารย์ ทำให้ผมคิดอะไรได้หลายอย่างเกี่ยวกับอนาคตและปัจจุบันของผม

ผมอยากจะขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างมาก ผมจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ผมได้รับ นำไปปรับใช้ในการสอนของผมในอนาคต เหมือนกับที่อาจารย์เคยบอกว่า การสอนของเราจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับเราละ การเป็นครูเป็นไปตลอดชีวิต ตั้งแต่ที่เราได้สอน ได้ไปสังเกต ตั้งแต่ที่เด็กเรียกเราว่า ครู เราก็คือครูของเด็กไปตลอดชีวิต

ในตอนนี้ความรู้สึกของอาจารย์ ผมรับรู้แล้ว ผมก็จะเป็นส่วนหนึ่งของอาจารย์ที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่ผมได้รับส่งต่อให้กับลูกศิษย์ของผมในอนาคตให้สมกับที่อาจารย์ได้ทุ่มเทสั่งสอนผมมา ..."



ในรายวิชาศึกษาสังเกตฯ ๒ ผมได้พยายามปรับกระบวนการสอนใหม่ โดยเรียงลำดับสิ่งที่ผมอยากให้เด็กได้รับ ว่าอะไรควรมาก่อน อะไรควรมาหลัง ซึ่งก็วางแผนได้แค่ช่วง ๒ เดือนแรก แต่พอ ๒ เดือนหลังก็มีการเปลี่ยนกระบวนการใหม่อีก เรียกว่า เป็นรายวิชาที่ไม่ลงตัวสักที จนกระทั่งถึงการสอบประมวลความรู้ ครั้งที่ ๒

นักศึกษาฟิสิกส์คนนี้เป็นคนเก่งเอามาก ๆ จนอดสงสัยไม่ได้ว่า หลงมาเรียนในมหาวิทยาลัยผลิตครูเล็ก ๆ นี้ได้ยังไง เพราะศึกษาสิ่งที่เขาเขียนมาเรื่อย ๆ พบว่า เขาเป็นนักเรียนชั้นหัวกะทิของโรงเรียน ฝันอยากเป็นวิศวกร แต่พ่อแม่อยากให้เป็นครูมากกว่า เขาจึงต้องเรียนตามใจพ่อแม่ แต่มีความคับข้องใจอยู่มาตลอด จนกระทั่งได้เข้ามาเรียนในรายวิชาที่ผมสอนวิชานี้ เขาเข้าใจพ่อแม่เขามากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากสำหรับครูอย่างผม

อย่างน้อยสิ่งที่ผมสอนเขาไว้ในห้อง เป็นสิ่งที่เขาได้ยิน และจะนำไปใช้ต่อ

แค่นี้ก็ภูมิใจสุด ๆ แล้ว


เก็บความภาคภูมิใจไว้ในบันทึกนี้

บุญรักษา ทุกท่าน ;)...


หมายเลขบันทึก: 626752เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2017 00:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2017 00:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)


น้ำทิพย์ชะโลมใจ ยินดีด้วยค่ะ

ค่าจ้างของครูคือความกตัญญูของศิษย์ค่ะ ศิษย์ระลึกถึง มีครูเป็น idol แค่นี้ก็ต่อชีวิตครูให้ยืนยาวต่อไป

เรื่อย ๆ ได้อีกค่ะ แบบนี้ที่เรียกว่า ปฏิบัติบูชา

สาธุค่ะ

ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์ศิลา Sila Phu-Chaya ;)...

ผมก็เคยได้ยินชื่อเสียงของอาจารย์วัสประมาณว่า เหี้ยม เสือยิ้มยาก สั่งงานเยอะ ฯลฯ

สรุป เป็นตามนั้น

แต่เป็นคนน่ารักในแบบของอาจารย์ และสำคัญก็คือ นั่นคือกระบวนการสร้างการเรียนรู้ที่ครู หรือโค้ช พึงกระทำอยู่แล้วครับ ส่วนหนึ่งเชื่อมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

แหม มีการเคยได้ยินด้วยนะครับเนี่ย คุณ แผ่นดิน 555

สรุปแล้วอ่านทีไรก็มีความสุข

อันนี้ผมเคยได้ยินว่า เสือยิ้มยาก

ผมเพิ่มกระดาษทรายเบอร์ศูนย์

555

"กระดาษทรายเบอร์ศูนย์" เป็นสมญานามจากอาจารย์ ขจิต ฝอยทอง คนเดียวเลยครับ 555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท