​การจัดการเรียนรู้ด้วย DLTV (สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม)


การจัดการเรียนรู้ด้วย DLTV

ดร. ถวิล อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต
4

ระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (http://edltv.net/) การจัดการศึกษาในประเทศไทยในหลายส่วนยังประสบปัญหาในเรื่องของความทั่วถึง เท่าเทียม และคุณภาพ โรงเรียนในชนบทส่วนใหญ่ขาดแคลนครูผู้สอน ครูไม่ครบชั้นเรียน ครูคนเดียวต้องสอนหลายวิชา หลายชั้นเรียน ครูจบการศึกษาไม่ตรงกับวิชาที่ต้องสอน ไม่มีความชานาญในวิชาที่สอน จึงยากที่จะทาให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ แต่ประเทศไทยโชคดีที่มีโครงการที่ดีคือ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning TV : DLTV) จากโรงเรียนวังไกลกังวล ที่ช่วยประเทศไทยมาหลายปีแล้ว จากการสารวจโรงเรียนพบว่า นักเรียนเรียนไม่ทัน ครูต้องการบทเรียนมาทบทวน ครูต้องการสื่อมาใช้ในห้องเรียนสอนคละชั้น จึงมาวิเคราะห์จะแก้ปัญหาอย่างไรดี

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยสานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ได้ร่วมมือกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดทาระบบ อีดีแอลทีวี (eDLTV : Electronic Distance Learning Television) ขึ้น เพื่อลดปัญหาดังกล่าว

ระบบ eDLTV เป็นสื่อการเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ เนื้อหาตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ไปจนถึง ปวช. และ ปวส. โดยเนื้อหาวิชาสามัญมาจากโรงเรียนวังไกลกังวล และเนื้อหาวิชาชีพจากวิทยาลัยการอาชีพไกลกังวล ซึ่งประกอบด้วย (1) วิดีโอคลิปการสอน (2) สไลด์บรรยายรูปแบบพาวเวอร์พอยต์ (PowerPoint) ที่ครูใช้ในการเรียนการสอน (3) ใบความรู้ และใบงาน (4) แบบฝึกหัด ฯลฯ

ระบบ eDLTV ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปสามารถเรียกใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ที่ http://edltv.net/ และสามารถนามาใช้งานภายในสถานศึกษา โดยไม่ต้องเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบ off-line ได้

1. ระบบ eDLTV ระดับประถมศึกษา -ระดับมัธยมศึกษา

เนื่องด้วยโรงเรียนในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ส่วนใหญ่อยู่ในชนบทห่างไกล และประสบปัญหาขาดแคลนครู หรือ ครูสอนไม่ตรงวิชาเอก หลายโรงเรียนได้แก้ปัญหาโดยจัดการเรียนการสอนด้วยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม คู่มือการติดตั้งและใช้งานระบบ eDLTV ระดับประถมศึกษา 2

ในปี พ.ศ. 2550 โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้จัดทาระบบ e-Learning ของ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 (ระบบ eDLTV ระดับมัธยมศึกษา) และในปี พ.ศ. 2554 สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้เป็นเจ้าภาพ ร่วมกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดาริฯ จัดทาระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่าน ดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 (ระบบ eDLTV ระดับประถมศึกษา) โดยเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ http://edltv.net/

เป้าหมายของโครงการเพื่อเผยแพร่ระบบ eDLTV ระดับประถมศึกษา -ระดับมัธยมศึกษาให้แก่ครู นักเรียน และผู้สนใจทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนหรือศึกษาเพิ่มเติม ทั้งนี้ โรงเรียนทั่วประเทศ สามารถใช้ระบบ eDLTV เพื่อลดปัญหาจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนได้ เช่น ปัญหาขาดแคลนครูที่มี วุฒิการศึกษาตรงสาขาวิชา ปัญหาขาดแคลนครูทาให้ครูต้องสอนหลายวิชา ปัญหาขาดแคลนสื่อการสอน ปัญหาการฝึกทักษะ เป็นต้น

2. ระบบ eDLTV เพื่อพัฒนาอาชีพ

ในปี พ.ศ. 2553 สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้สนองพระราชดาริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นเจ้าภาพ ร่วมกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดทา ระบบ e-Learning เพื่อพัฒนาอาชีพตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี (ระบบ eDLTV เพื่อพัฒนาอาชีพ) ขึ้น โดยระบบที่จัดทาขึ้นในโครงการฯ ประกอบด้วยเนื้อหาสอน วิชาชีพจากวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล จานวน 1,365 เรื่อง (ประมาณ 70 อาชีพ) อาทิ ครัวการอาชีพ วังไกลกังวล, เสื้อสมัยนิยม, ปักสวยด้วยมือ, การนวดแผนไทย ฯลฯ ผู้ใช้สามารถใช้งานในรูปแบบ on-line ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ที่ http://edltv.vec.go.th/ หรือใช้งานในรูปแบบ off-line ภายในโรงเรียน โดยบรรจุในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (server) หรือ external harddisk โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ไม่อนุญาต ให้นาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ คู่มือการติดตั้งและใช้งานระบบ eDLTV ระดับประถมศึกษา

จุดเด่นของระบบ eDLTV

ระบบ eDLTV มีความสะดวกในการเผยแพร่วงกว้างด้วย extrernal harddisk ที่มีราคาถูกลงเรื่อยๆ หน่วยงานสามารถให้บริการสาเนาได้ง่าย และไม่มีค่าใช้จ่ายของลิขสิทธิ์ระบบ eDLTV ผู้เรียนเลือกชมวิดีโอคลิปการสอน หรือหยุดภาพ หรือเล่นซ้า ได้ตลอดเวลา ตามความต้องการ ผู้ใช้สามารถค้นหาบทเรียนที่ต้องการเรียนได้ง่ายด้วยการค้นหา (search) และสำคัญ (keyword) เนื้อหาใน eDLTV ที่เป็นวิดีโอคลิปการสอน ความยาว 50 นาที หรือ 1 คาบนั้น จะถูกแบ่ง ออกเป็น 3-4 ตอน มีคำอธิบายเนื้อหาของวิดีโอคลิปการสอน เพื่อให้ง่ายต่อการเรียกดู และดาวน์ โหลดได้ไว เพราะไฟล์วิดีโอมีขนาดเล็กใช้งานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ท โฟน (Smart Phone) หรือแท็บเล็ต (Tablet) ได้ โรงเรียนสามารถเลือกใช้ระบบ eDLTV ในแบบออฟไลน์ (ไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต) โดยเลือกใช้ ระบบ eDLTV บนฮาร์ดดิสก์ โดยนามาใช้ในห้องเรียนได้ โดยการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับ โปรเจ็คเตอร์หรือจอโทรทัศน์

ปัจจุบันสื่อการเรียนการสอน มีหลากหลาย สุดแท้แต่ครูผู้สอน หรือโรงเรียนจะเลือกนำไปใช้ตามสภาพบริบทของโรงเรียน

สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (อังกฤษ: Distance Learning Television ชื่อย่อ: DLTV) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี บริหารงานโดย มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (อังกฤษ: Distance Learning Foundation ชื่อย่อ: DLF) โดยจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ถ่ายทอดสดตามหลักสูตร ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และ สายวิชาชีพ ให้แก่โรงเรียนในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 15 ช่อง (ในชื่อ DLTV 1-15) รวมทั้ง การออกอากาศรายการภาคภาษาอังกฤษ จำนวน 15 ช่อง (ในชื่อ DSTV Network 186-200)

1. ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band ที่เป็นระบบเดียวกับ ทรูวิชั่นส์ ซึ่งสามารถซื้อชุดรับสัญญาณดาวเทียม กับตัวแทนจำหน่ายของทรูวิชั่นส์ ได้ทั่วไป ไม่เสียค่าบริการรายเดือน มีราคาประมาณชุดละ 12,000 บาท หรือหากมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมที่สามารถรับย่าน KU-Band ได้ก็สามารถรับชมได้ เพราะระบบออกอากาศของสถานีฯ มิได้มีการเข้ารหัสไว้ จึงไม่ต้องใช้ Smart Card ในการรับชมรายการ

2. ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซึ่งสามารถรับชมได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง และต้องเสียค่าบริการรายเดือน กับบริษัทเคเบิลทีวีที่ให้บริการ

3. สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-of-charge Web-based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง(On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมารรับชม

สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ดำเนินการออกอากาศ รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ใน 2 ลักษณะ ดังนี้

1. การศึกษาในระบบโรงเรียน เป็นการจัดการศึกษา ตาม หลักสูตรการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนต่างๆ ในรายวิชาที่ขาดแคลนครูผู้สอน หรือเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาค่อนข้างยาก โรงเรียนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการฯ สามารถทำได้ โดยจัดหาเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ตามตารางเวลาที่ออกอากาศ

2. การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษา เพื่อให้ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และทักษะที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป (Informal Education) การจัดการศึกษาผ่านดาวเทียม เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัยนี้ กำหนดเนื้อหารายการ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน และ ความต้องการของประชาชน ในการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนเริ่มออกอากาศ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เจ้าของมูลนิธิการศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียม ระบบภาพ 576ไอ (4:3 คมชัดมาตรฐาน) บุคลากรหลัก ขวัญแก้ว วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหาร ประเทศไทย พื้นที่แพร่ภาพประเทศไทย

การดำเนินงานตามนโยบายการจัดการเรียนการสอนทางไกล DLTV

1. การวางแผน (Plan) ) มีวิธีการดำเนินการดังนี้

1.1 ประชุมชี้แจง ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาและชุมชนได้รับทราบและให้ความสำคัญ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในรูปแบบทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV ปรับโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล

1.2 ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการโรงเรียน เพื่อทบทวนหลักสูตรสถานศึกษา ปรับโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล

1.3 ชี้แจงให้ครูทุกคนทราบบทบาทหน้าที่ของครูผู้สอนในรูปแบบ DLTV บทบาทของครูต้นทางและครูปลายทางจะต้องทำอย่างไรในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน

1.4 ครูเตรียมการสอน โดยศึกษาคู่มือครูพระราชทาน เตรียมใบความรู้ ใบงานให้สอดคล้องกับแนวการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม

2. การดำเนินงาน (DO) ) โรงเรียนดำเนินการดังนี้

2.1 ครูจัดการเร่ียนรู้โดยคู่มือพระราชทานตามตารางการจัดการเรียนรู้

2.2 ดำเนินการสอนเสริมเติมเต็มในวิชาต่างๆ หลังจบบทเรียนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนทันบทเรียนวิทยุโทรทัศน์องค์ความรู้ตามตัวชี้วัดในแต่ละวิชา

2.3 สอบถาม ซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน และหาข้อสรุปองค์ความรู้ตามตัวชี้วัดในแต่ละวิชา

2.4 ปฏิบัติงานตามใบงาน ใบความรู้ตามคู่มือพระราชทาน

3. ขั้นตรวจสอบและประเมินผล C ( Check) ) โรงเรียนดำเนินการดังนี้

3.1 นิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนโดยครูผู้สอนในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการสอนที่ประสบผลสำเร็จ

3.2 นิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนโดย หัวหน้างานวิชาการของโรงเรียนเพื่อช่วยให้คำปรึกษาด้านวิชาการ

3.3 นิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนโดยผู้บริหารโรงเรียนเพื่อเยี่ยมชั้นเรียน ห้องเรียน ให้กำลังใจและรับทราบ

ปัญหาในการปฏิบัติงานของครู

4. ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Action) โรงเรียนดำเนินการดังนี้

4.1 เก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสียทุกคน เช่น ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน

4.2 นำผลการดำเนินงาน ผลการทดสอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มาวิเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

4.3 พัฒนาครูสู่มาตรฐานการเรียนการสอน โดยเพิ่มบทบาทจากผู้ให้ความรู้ และต้องเป็นผู้ส่งเสริมอำนวยความสะดวก ร่วมคิด ร่วมทำ แก้ไขปัญหา และชี้แนะ และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังจากการเรียนผ่านสื่อทางไกลผ่านดาวเทียมเสร็จสิ้นในท้ายชั่วโมงทุกครั้งไปเป็นผู้ที่ความกระตือรือร้น แสวงหาความรู้ ฝึกปฏิบัติเพิ่มพูนความรู้ ความคิด และสร้างทักษะด้านต่างๆ ตามศักยภาพ ตามความถนัด และตามความสนใจ มีกฎ กติกา และมีวินัยในการเรียนโดยใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียม

4.4 พัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้เพียงฝ่ายเดียวไปเป็นผู้ที่มี
ความกระตือรือร้น แสวงหาความรู้ ฝึกปฏิบัติ เพิ่มพูนความรู้ ความคิด และสร้างทักษะด้านต่างๆ ตามศักยภาพ
ตามความถนัด และตามความสนใจ มีกฎ กติกา และมีวินัยในการเรียนโดยใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียม

-----------------









หมายเลขบันทึก: 626678เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2017 03:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2017 00:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท