ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก : กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้บ้านบางหวายน้อย ต.หินมูล อ.บางเลน จ.นครปฐม ครั้งที่ 2


จากการลงพื้นที่ครั้งที่ 1 ทำให้เราได้รู้ถึงความเป็นมาของชุมชนและความเป็นมาของศูนย์กาเรียนรู้ว่ามีประวัติความเป็นมาเช่นไร ครั้งนี้เราเลยเดินสำรวจพื้นที่บริเวณรอบๆอบต.หินมูลเพื่อดูลักษณะความเป็นอยู่และสถานที่สำคัญของตำบลหินมูลอีกพวกเราได้รู้ถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของตำบลหินมูลว่าพื้นที่แถบไหนติดอำเภออะไร แถบไหนติดหมู่ไหน และติดแม่น้ำอะไร

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกัตำบลบางหลวง อำเภอ บางเลน จังหวัดนครปฐม

ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลไทรงาม อำเภอ บางเลน จังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบล บัวปากท่อ อำเภอ บางเลน จังหวัดนครปฐม

ทืศตะวันตก ติดต่อกับตำบลไผ่หูช้าง อำเภอ บางเลน จังหวัดนครปฐม

เนื้อที่

องค์การบริหารส่วนตำบลหินมูล มีพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งหมด 27,196 ไร่

คิดเป็น 43.51 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ในการทำการเกษตร จำนวน 18,550 ไร่

ภูมิประเทศ

องค์การบริหารส่วนตำบลหินมูลพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ราษฎรประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ในฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมพื้นที่เป็นบางส่วน

การคมนาคม

ลักษณะถนนและการคมนาคมโดยทั่วไป มีการคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำ สามารถติดต่อ กับอำเภอบางเลนและตำบลอื่น ๆ โดยมีเส้นทางใหญ่ ๆ 3 สาย คือ

1. สายบางหลวง – บางเลน ระยะทาง 12 กิโลเมตร

2. สายบางเลน – วัดไผ่โรงวัว ระยะทาง 20 กิโลเมตร

3. สายไผ่หลวง – ลานคา ระยะทาง 10 กิโลเมตร

สภาพประชากร

การปกครองแบ่งเป็น 12 หมู่บ้าน



ประชากร

• จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 1,540 ครัวเรือน

• มีประชากรทั้งหมด 5,969 คน แบ่งเป็น

สภาพเศรษฐกิจ

ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่นี้ประกอบอาชีพทำนา ทำไร ทำสวน

แผนที่เดินดินภายนอก

ภาพการเดินสำรวจพื้นที่บริเวณรอบนอก

บริเวณวัดสถานที่สำคัญของคนในชุมชนและตำบล วัดศิลามูล ลุงปัญญา ได้พาพวกเรามากราบไหว้ขอพรพระในอุโบสถ

ประวัติวัดศิลามูล

เดิมทีเป็นสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ปากคลองท่อฝั่งขวาปากคลองหมู่ที่ 6 ตำบล หินมูล อำเภอ บางเลน จังหวัด นครปฐม หลวงพ่อพรหมและชาวบ้านร่วมกันก่อตั้ง ชื่อสำนักสงฆ์หินมูล ต่อมาราวปี พ.ศ.ปี 5401 ได้มีชาวจีนสามพี่น้องเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอยากที่จะสร้างวัดจึงได้ปรึษากับหลวงพ่อพรหมและชักชวนชาวบ้านร่วมกันสร้างวัดขึ้นมาย้ายสำนักสงฆ์หินมูลมาจากจุเดิมไปที่ใหม่ก็คือที่ตั้งวัดในปัจจุบัน แล้วต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น"วัดหินมูล"แต่ชาวบ้านยังคงนิยมเรียกติดปากว่าวัดศิลามูล



ชาวบ้านกำลังช่วยกันทำบายสีพิธีไหว้พระจำปีของวัดหินศิลามูล มีทั้งชาวบ้านที่สูงอายุและชาวบ้านวัยกลางคนมาช่วยกันทำ



จากนั้นก้อเดินเข้าไปกราบพระในอุโบสถเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและการเริ่มทำงานวิจัย



บริเวณด้านหลังวัดหรือตำบลหินมูลติดกับแม่น้ำสายสำคัญของชาวบ้านคือ แม่น้ำท่าจีนที่เป็นหัวใจหลักในการล่อเลี้ยงชีวิตของชาวบ้านในการทำการเกษตร


จากนั้นเดินออกมาจากบริเวณวัดไม่มากหนักก็จะเดินมาเจอสินค้าประจำตำบลหรือสินค้า OTOP คือ กล้วยตาก มีรสชาติอร่อย ราคาไม่แพง

จากการลงพื้นที่ครั้งที่ 2 พวกเราได้เรียนรู้สิ่งต่างๆภายในบริเวณข้างนอกศูนย์รวมถึงเรียนรู้สถานที่สำคัญของตำบลหินมูลว่าที่นี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่พึ่งทางใจมีการร่วมมือกันในการช่วยกันทำกิจกรรมต่างๆมีสินค้าขึ้นชื่อของตำบล และยังได้เรียนรู้ภูมิทัศน์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของตำบลรวมถึงขนาดประชากรของแต่ละหมู่บ้าน เรื่องราวภาพความประทับใจที่ได้เห็นชาวบ้านช่วยกันทำบายสีเพื่อพิธีบูชาไหว้ครูที่วัดหินศิลามูลจะมีการจัดขึ้นปีละครั้ง มันเป็นการเรียนรู้ที่ได้มากกว่าความรู้แต่เป็นได้การรู้ถึงสภาพความเป็นอยู่และความร่วมมือร่วมด้วยช่วยกันของชาวบ้านโดยไม่ต้องบอกแต่ทุกคนพร้อมที่จะช่วยกันทำอย่างไม่รังเร

ขอบคุณการเรียนรู้ในครั้งนี้ที่ทำให้ได้รู้ถึงสิ่งต่างๆภายในตำบลหินมูลว่ามีสิ่งที่น่าสนใจและทุกคนที่เคารพนับถือวัดศิลามูลแห่งนี้มาช้านาน


หมายเลขบันทึก: 626656เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2017 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2017 12:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท