ต้นกล้าอาสา พาน้องพอเพียง ครั้งที่ 2 ณ โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม


กิจกรรมต้นกล้าอาสา พาน้องพอเพียง ครั้งที่ 2 วันที่ 28 มีนาคม 2560 ณ โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม วิทยากรโดยพี่ๆกลุ่มนิสิตชมรมต้นกล้าพันธุ์ดี จุดประสงค์ของกิจกรรมในครั้งนี้ คือ สร้างความเข้าใจเเละเชื่อมโยงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการทำงานของกลุ่มเด็กฮักนะเชียงยืน โดยวางขอตเขตกิจกรรมไว้ คือ ช่วงเช้าเป็นการถอดบทเรียนการทำงานตั้งเเต่ต้นน้ำ กลางน้ำ เเละปลายน้ำ โดยใช้คำถามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวนำ เเละช่วงบ่ายอภิปรายกลุ่ม เติมเต็มความเข้าใจ โดยสะท้อนผลกิจกรรม ดังนี้

กิจกรรม Check in
กิจกรรมแนะนำตัว “ตั้งวงคุยกันแบบสุนทรียสนทนา” ให้บอกปศพพ ในความเข้าใจของตนเอง เเละCheck in โดยเล่าความคาดหวังในการ่วมกิจกรรม โดยจุดปประสงค์ของกิจกรรม คือ การตรวจสอบความเข้าใจเรื่อง ปศพพ ของเด็กๆ โดยใช้กระบวนการสุนทรียสนทนา จากกิจกรรมนี้เด็กมองความพอเพียงต่างกันออกไป โดยส่วนหนึ่งนิยามว่า พอเพียงคือหลักการที่ในหลวงทรงงาน เป็นหลักในการช่วยประหยัดเงิน เป็นหลักที่พอประมาณ มีเหตุผล ภูมิคุ้มกัน เป็นหลักคิดที่นำไปสู่การพึ่งพาตนเอง เป็นต้น ความคาดหวังของกิจกรรมในวันนี้ ส่วนใหญ่อยากรู้เรื่อง ความหมายของพอเพียง เเละการนำไปใช้ เป็นต้น จากนั้น อ.ฤทธิไกร ชวนคิดชวนเข้าใจเรื่องพอเพียงแบบคร่าวๆว่า พอเพียงเป็นหลักการใช้ชีวิตที่พึ่งตนเอง เป็นหลักคิด หลักปฎิบัติ ทำให้มีความสุข โดยหากเราจะคิดอะไรหรืจะทำอะไร สำคัญคือ ต้องคำนึงถึง 4 มิติ เป็นสำคัญ

กิจกรรม 324 จับงานใส่กล่อง
กิจกรรม 3 2 4 จับงานใส่กล่อง มีจุดประสงค์ คือ การเเยก ปศพพ ออกให้เข้าใจย่างชัดเจนเป็นด้านๆ เเละเชื่อมโยง ปศพพ กับงานเข้ากันในเวลาเดียวกัน ภายใต้เครื่องมือ "สายน้ำแห่งความรู้" โดยเน้นให้เน้นต้นน้ำ(เหตุผลที่เข้ามา) กลางน้ำ(พอประมาณ-ภูมิคุ้มกัน) เเละปลายน้ำ (ความรู้ คุณธรรม เเละ 4 มิติ) ให้ทำเดี่ยว โดยก่อนเขียนตอบทุกคำถาม ให้วาดภาพสัญลักษณ์ของเรื่องนั้นๆที่อยากสื่อแล้วจึงเขียนอธิบาย โดยคำถาม คือ

- จุดประสงค์การทำงาน ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม(เหตุผล)
- ในการทำงานเราพบปัญหาอะไรบ้าง บริหารจัดการปัญหา การเรียน กิจกรรม จิตใจ และหน้าที่อื่นๆอย่างไร (พอประมาณ และการใช้ 3 ห่วง 2 เงื่อน)
- ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ทำให้เราเกิดทักษะ อะไรบ้างที่จำเป็นต่อการเรียน การใช้ชีวิต และจัดกิจกรรม (ภูมิคุ้มกัน)
- ในการบริหารจัดการเรื่องเหล่านั้น เราใช้ความรู้เรื่องอะไรบ้าง มาช่วยจัดการ (ความรู้)
- ตลอดระยะเวลาการลงมือทำงานกับเด็กและชุมชน เราใช้หลักคุณธรรมข้อไหนบ้าง เข้าจัดการปัญหางาน และปัญหาส่วนตัว (คุณธรรม)
- ผลของงานที่เราทำ มันส่งผลอย่างไรต่อ มิติเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ (4 มิติ)

กิจกรรมสายน้ำแห่งความรู้
ทุกคนได้จับประเด็น รวมภาพและข้อมูลจากทุกคนที่วาดและเขียน มาสร้างเส้นทางการเรียนรู้สู่ความพอเพียง เป็น Landmark ตามสายน้ำที่กำหนด เป็นเรื่องนิทาน โดยเล่าทีละขั้นๆ โดยภาพรวมเเล้ว เหตุผลที่เข้ามา คือ ทำเพื่อชุมชนเเละส่วนรวมตลอดจนอยากพัฒนาศักยภาพของตนเอง ปัญหาที่เกิดขึ้น(พอประมาณ) ตัวอย่างเช่น การประสานงานที่ไม่ทั่วถึง แก้โดยการหาวิธีการที่สามารถเข้าถึงได้ ภูมิคุ้มกัน เช่น ได้ทักษะการทำงาน การใช้ชีวิต ความรู้ที่ได้รับ เช่น ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เเละเชิงสังคม คุณธรรมสำคัญ คือ การร่วมมือเเละช่วยเหลือกัน ผลสู่มิติ เช่น ชุมชนเกิดการขับเคลื่อน เกิดวัฒนธรรมพลเมืองขึ้นในสังคม เป็นต้น เเละพี่แยกให้เห็นว่า จุดประสงค์(เหตุผล) การบริหารจัดการ(พอประมาณ) ภูมิคุ้มกัน(ทักษะ) ตั้งเเต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำใช้การรับฟัง จากนั้นพี่ๆเติมเต็มน้องๆ ตามประสบการณ์เเละเสริมความเข้าใจในด้านต่างๆที่สำคัญ "ขั้นนี้เป็นขั้นแยกส่วนก่อนปรับความเข้าใจอย่างองค์รวม" เชื่อว่ากิจกรรมนี้เด็กได้เห็นหลักกรชัดขึ้นเป็นส่วนๆที่แยกออกจากกันชัดเจน

กิจกรรมเติมเต็ม 234
สุนทรียสนทนาพี่กับน้อง เรื่อง 2 3 4 กับการทำงาน โดยประเด็นการคุย คือ วิพากษ์กระบวนการทำงานของตน โดยพี่ๆเสริม 2 คือ การตั้งประเด็นโดยใช้ความรู้และคุณธรรม 3 คือ กระบวนการคิด หลักการทำงานให้ประสบความสำเร็จ หรือ 3 ห่วง 4 คือ ผลของงานใน 4 มิติ พี่ๆสะท้อนว่าจริงๆเเล้ว 3 ห่วง 2 เงื่อน เเละ 4 มิติ มันไม่ได้เเยกส่วน เเต่มันคล้องอยู่ด้วยกัน เพียงเรามองคนละมุมเท่านั้นเอง หลักปศพพ เป็นเรื่องที่เราคุ้นชินกันทุกวันอยู่เเล้วเพียงเเต่เราไม่ได้คลี่ออกมามองเท่านั้นเอง จากกิจกรรมนี้พบว่าเด็กคิดและทำงานอย่างพอเพียงอยู่เเล้ว เเต่ไม่ค่อยได้คลี่ความหมาย เเละการอธิบายเเบบหลักพอเพียงเท่านั้นเอง

กิจกรรมเล่าเรื่องตนเอง(Story Telling)
ให้เล่าเรื่องของตัวเอง อะไรก็ได้ที่คิดว่าเรื่องนั้นพอเพียง ด้วยหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อน เเละ 4 มิติ เด็กๆก็เล่าเรื่องต่างกันเเละคล้ายกันออกไป เช่น มิวสิค เล่าเรื่องตนเองที่ต้องไปเเข่งขันทักษะคอมพิวเตอร์ ที่มีเวลาเรียนน้อยมาก ต้องขยัน เหตุผลที่ไปทำมิวสิคเล่าว่าเพราะชอบ ถนัด ทำเพื่อโรเรียน ฉะนั้นเเล้วเมื่อมีเวลาน้อยกว่าเพื่อนต้องบริหารจัดการเวลาให้ดี ไม่ว่าจะเเบ่งเวลาให้ครอบครัว การเรียน กิจกรรม เเละการเเข่งขันทักษะดังกล่าว (พอประมาณ) เเละมิวสิคได้รางวัล การยอมรับ เเละทักษะที่คนทำเป็นน้อยมาก(ภูมิคุ้มกัน) ต้องรอบรู้ด้านคอมพ์เเละเรื่องเรียนด้วย(ความรู้) ปัจจัยสำคัญ คือ ต้องขยัน มุ่งมั่น อดทน คิดบวก (คุณธรรม) ในมิติภายนอกน้องอธิบายว่า เเม้ว่าจะไม่ค่อยมีเวลาอย่างใครเขา เเต่เราก็พยายามแบ่งเวลาให้ครอบครัวเเละการเรียน(พอประมาณ-มิติสังคม) สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน(เหตุผล-มิติวัฒนธรรม,มิติวัตถุ) เเต่ในขณะเดียวกัน งานซัมซุงก็ต้องช่วยกันอนุรักษ์(เหตุผล-มิติสิ่งเเวดล้อม) เเละมีคนอื่นๆ เช่น แฟนเล่าเรื่องตนเองไปหารายได้ช่วงปิดเทอมโดยไปขายของที่บ้าน เเม๊กเล่าเรื่องการใช้โทรศัพท์ของตนเอง เเละธาร์เล่าเรื่องตนเองกับการฝึกงานบ้าน เป็นต้น
จากการฟังเด็กๆเเต่ละคนเล่าภายใต้ หลักพอเพียงเป็นโจทย์ ทำให้เรารู้สึกว่า เด็กๆเข้าใจเรื่อง ปศพพ เเละสามารถเล่าได้ ชัดเจน เเละเชื่อว่าความเข้าใจเหล่านี้จะคงทนเมื่อได้ฝึกให้คิด ทบทวนบ่อยๆ จากที่ได้ฟังน้องๆ พี่ป๋อง สุชาวดี สรุปได้ว่า จะทำอะไรก็เเล้วเเต่ หากสิ่งนั้นเป็น "ความดี เหมาะสม เเละคิดบวก" สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่พอเพียงทั้งหมด

กิจกรรมเต็มน้ำก่อนจาก
พี่เติมเต็มน้องด้วย โมเดลเครื่องฉายหนัง และ KPA กับ ปศพพ ในการจัดกิจกรรม โดยเครื่องฉายหนัง(ได้มาจาก อ.ฤทธิไกร ไชยงาม) อธิบายว่า เวลาเราจะทำอะไร จะสื่อสารอะไร สิ่งสำคัญ คือ ต้องฉายด้วยหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อน ให้สารออกไปสู่ 4 มิติ ในขณะเดียวกันคนกรองสารก็ต้องใช้เครื่องกรองที่มี 3 ห่วง 2 เงื่อน เช่นเดียวกัน เเละ KPA กับการจัดกิจกรรม (ได้มาจาก อ.ทิศนา แขมมณี) อธิบายว่า K;Knowledge คือ ความรู้ P;Process คือ กระบวนการ 3 ห่วง เเละ A;Attitude คือ คุณธรรม ทัศนคติ หลักเหล่านี้มีความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมบนฐานพอเพียงเเละทำงานบนฐานพอเพียงเป็นอย่างยิ่ง

ก่อนจากกันพี่ๆให้กำลังใจน้องๆว่า "สู้ต่อไป ทำต่อไป ครับ เชื่อว่าทุกคนทำได้"


หมายเลขบันทึก: 626653เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2017 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2017 10:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมว่า ต้องหาทางให้ฮักนะเชียงยืน เริ่มเขียนบันทึก ฝึกเขียนทุกคน ... ทางนี้จะนำมาสู่การ "ถก" ต่อไป

โมเดลเครื่องฉายหนังและเครื่องกรอง ... เป็นแนวคิดของ รศ.ไพโรจน์ คีรีรัตน์ครับ (อยู่ที่บันทึกนี้) ผมเอามาวาดใหม่อีกทีครับ อยู่ที่นี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท