เครื่องฉาย กับ เครื่องกรอง ของ รศ.ไพโรจน์ คีรีรัตน์


วิธีการในการทำให้เยาชนเข้าใจ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ได้อย่างถูกต้อง เทคนิคที่ทำให้พวกสามารถพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ได้ฝึกจิตจนติดเป็น “อุปนิสัยพอเพียง” สำคัญคือต้องได้คิดและได้ทำบ่อย ๆ และต่อเนื่อง วิธีหนึ่งที่ลัดสั้นและแม่นตรงมาก ๆ คือวิธีของท่านอาจารย์ไพโรจน์ คีรีรัตน์ …

ฝึกคิดแบบเครื่องฉาย ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ๔ มิติ

วิธีฝึกคิดด้วยการเล่าเรื่อง ถ่ายทอดเรื่องราว โดยเฉพาะตอนที่มอบหมายให้ผู้เรียนนำเสนอสิ่งต่าง ๆ หน้าชั้นเรียน ให้นึกถึงเครื่องฉายหนัง ดังรูป ความรู้/ประสบการณ์ เปรียบเหมือนม้วนฟิล์ม เมื่อจะฉาย ให้ฉายผ่านเครื่องฉาย ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข หากทำได้อยากถูกต้อง จะได้เรื่องราวที่เป็นความจริง ครบถ้วน และถูกต้อง ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน



ฝึกฟังแบบเครื่องกรอง ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข

ทุกครั้งที่ได้ฟังเรื่องราวที่เพื่อนนำเสนอ ให้ทุกคนกรั่นกรองบนหลักคิด ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข สิ่งที่ได้ คือ ความจริง ได้ความจริงอย่างครบถ้วน




วิธีทั้งสองนี้ แตกต่างจากการนำเสนอและถอดบทเรียนบนหลัก ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ๔ มิติ ตรงที่ไม่จำเป็นต้องไปยึดติดว่า เชื่อมโยงให้ผู้ฟังได้รับรู้ว่า ห่วงใดเงื่อนไขใดเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พูดอย่างไร หากแต่เป็นการพูดหรือฟังในชีวิตธรรมดา … ความยากอยู่ที่เราต้องฝึกให้ผู้เรียนถอดบทเรียนบนหลัก ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข จนเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถูกต้องและคล่องแคล่วเสียก่อน …. ดังนั้น ผมตีความว่า การถอดบทเรียน เปรียบเหมือน “เลนส์ฉาย” และ “ใส้กรอง” ของเครื่องฉายและเครื่องกรอง นั่นเอง


ท่านผู้อ่านว่าไงครับ …..

หมายเลขบันทึก: 621780เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2017 01:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มกราคม 2017 08:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กำลังจะจบบทความ ‘ธุรกิจพอเพียง’ ฉบับ สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพิ่งเห็นโพสต์ในไลน์กลุ่ม ขออนุญาตกดไลค์ให้เป็นคนแรก และนำไปแบ่งปันใน Facebook นะครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท