ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก : กรณีศึกษาแนวทางการศึกษาเกษตรอินทรีย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ครั้งที่4)


วันนี้กลุ่มของพวกเราได้ไปติดตามผลของการปลูกต้นหอม และศึกษากรรมวิธีการทำข้าวโพดฝักอ่อน เมื่อครั้งก่อนกลุ่มของพวกเราได้มาปลูกต้นหอมกันเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 จนถึงวันนี้ วันที่ 23 มีนาคม 2560 เป็นเวลา 23 วัน การเจริญเติบโตของต้นหอมมีการเจริญเติบโตในระดับแรก แต่ยังเติบโตไม่เต็มที่จึงยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้


ต้นหอมที่เติบโตแล้ว : ภาพโดย ปราโมทย์ บัวน้อย

ต้นหอมที่เติบโตแล้ว : ภาพโดย ปราโมทย์ บัวน้อย

แล้วอีกประมาณ 1 เดือนครึ่งต้นหอมก็จะสามารถทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้


ต้นหอมที่เติบโตแล้ว: ภาพโดย ปราโมทย์ บัวน้อย

หลังจากติดตามผลของการปลุูกต้นหอมแล้ว กลุ่มของพวกเราก็ได้มาดูวิธีการทำเข้าโพดฝักอ่อนที่บ้านป้าสุนีย์ เป็นผู้ประสานงานและรวบรวมผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนจากผู้ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนส่งผลผลิตข้าวดพดฝักอ่อนส่งเข้าโรงงานบรรจุกระป๋อง สืบเนื่องมาจากเดิมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนต้องพึ่งพาอาศัยพ่อค้าคนกลางเป็นคนรับซื้อผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนและต่อมาเกิดปัญหาพ่อค้าคนกลางไม่จ่ายเงินค่าข้าวโพด ป้าสุนีย์ จึงพยายามรวมเกษตรกรและเป็นผู้นำรวบรวมผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนส่งเข้าโรงงานเองโดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยพ่อค้าคนกลางอีกต่อไป ผลสำเร็จจึงทำให้เกษตรกรในพื้นที่ได้รับการจ่ายเงินตามราคาและกำหนดของการส่งผลิต การปลอกเปลือกข้าวโพดเพื่อที่จะนำไปจำหน่ายและส่งออกไปในประเทศทางทวีปยุโรป โดยรับซื้อในราคา 27 บาท จากสมาชิกในเครือข่าย และส่งจำหน่ายให้กับโรงงานในราคา 30 บาท ส่งต่างประเทศ ในราคา 40 บาท เราก็ต้องมานั่งคัดเลือกฝักที่เสียออก

คณะผู้วิจัยช่วยกันแกะเปลือกข้าวโพดฝักอ่อน : ภาพโดย ปราโมทย์ บัวน้อย


คณะผู้วิจัยช่วยกันแกะเปลือกข้าวโพดฝักอ่อน : ภาพโดย ปราโมทย์ บัวน้อย

ที่เราส่งไปแพ็กละ 3 กิโลกรัม ถ้าแพ็กแล้วต้องไม่ให้เข้าเนื้อต้องไม่ให้ยอดหัก ขั้นตอนของข้าวโพดฝักอ่อนก็คือ ปลูกข้าวโพดในไร่ก่อน

ไร่ข้าวโพด : ภาพโดย รภัทภร อดิเรกลาภ

และเราก็เก็บฝักข้าวโพดมาวางที่โต๊ะแสตนเลส แล้วเราก็กรีดด้วยมีดแสตนเลสจากนั้นก็นำไปแพ็กได้เลย อุปกรณ์ทุกอย่างต้องเป็นแสตนเลสเท่านั้น อุปกรณ์ต้องต้องสะอาด ถ้าเป็นฝักข้าวโพดดิบต้องสะอาด แต่ถ้าส่งในโรงงานประเทศไทยก็ต้องนำไปต้มด้วย โรงงานทั่วไปเค้าจะต้มแล้วใส่กระป๋อง


นำข้าวโพดมาชั่งกิโล : ภาพโดย รภัทภร อดิเรกลาภ

นำข้าวโพดมาชั่งกิโล : ภาพโดย ภาสกร วิเวกวรรณ


เปลือกที่เหลือเราก็จะนำไปให้วัวกินเป็นอาหาร โดยขายกิโลกรัมละ 1 บาท

เปลือกข้าวโพดฝักอ่อน : ภาพโดย ปราโมทย์ บัวน้อย


เสร็จแล้วลุงก็พาไปเลี้ยงปลา ซึ่งในบ่อปลาของลุงก็จะมีปลานิล ปลาดุกและปลาแรด


คณะผู้วิจัยและกลุ่มเพื่อนมาเรียนรู้ร่วมกัน : ภาพโดยฐาปนีย์

วิดีโอการให้อาหารปลา

บ่อปลาอินทรีย์ : ภาพโดย รภัทภร อดิเรกลาภ

อาหารปลา : ภาพโดย รภัทภร อดิเรกลาภ

หลังจากนั้นลุงจันทร์ดีก็พาไปเดินชมสวนผลไม้ ซึ่งในสวนของลุงก็จะมี มะม่วง ส้ม ละมุด ลำไย มะเขือเทศ ฯลฯ บรรยากาศที่นั่นน่าอยู่มากค่ะ มีความร่มรื่น มีผักและผลไม้อยู่ในบ้านบางทีก็ไม่ต้องออกไปหาซื้อข้างนอกและยังไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอีกด้วย


ระหว่างทางเดินไปสวนผักและผลไม้ : ภาพโดยฐาปนีย์

ระหว่างทางเดินไปสวนผักและผลไม้ : ภาพโดยฐาปนีย์

มะม่วงสายพันธุ์อกร่องทอง ภาพถ่ายโดย : ฐาปนีย์ สุววรณเจริญ


สวนลำไย : ภาพโดยฐาปนีย์

ลำไยสายพันธุ์อีดอ ภาพถ่ายโดย : ฐาปนีย์ สุวรรณเจริญ

ส้มสายพันธุ์เขียวหวาน ภาพถ่ายโดย : ฐาปนีย์ สุวรรณเจริญ


บ้านพอเพียง : ภาพโดย ภาสกร วิเวกวรรณ

บ้านพอเพียง : ภาพโดย ภาสกร วิเวกวรรณ

หมายเลขบันทึก: 626304เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2017 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2017 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท