Outside the box 2 : ทำไมสังคมศึกษาจึงเป็นวิชาที่น่าเบื่อ


สืบเนื่องจากกระทู้ในเฟซบุ๊ค เรื่อง "ทำไมวิชาสังคมศึกษา ในช่วงมัธยม จึงเป็นวิชาที่น่าเบื่อ" ?? ที่ทำให้หลายๆคนเบื่อ เเละไม่อยากเรียนวิชาสังคมศึกษา เด็กๆเราก็เหมือนกัน เมื่อเอ่ยถึงวิชาสังคมศึกษาส่วนนึงไม่ชอบเเละ "เบนหน้าหนีเลยก็มี" เมื่อวันวานผมได้ตั้งคำถามนี้ เเล้วมีคนมาเเสดงความคิดเห็นหลายความเห็นหลายประเด็น ดังนี้

  • ด้านสื่อการสอน ; ไม่ค่อยมีสื่อการสอน เพราะมีมายาคติทางข้อจำกัดว่า "สังคมศึกษาเป็นนามธรรม"
  • ด้านกระบวนการสอน ; จะสอนแบบบรรยาย เล่าไปเรื่อยๆตาหนังสือ เล่าเรื่องตัวเองบ้าง หรือ ครูเล่าเฉพาะเรื่องที่ตนสนใจ ไม่ก็ทำรายงานเเล้วจบได้คะเเนน เเละที่สำคัญสอนเเบบให้จำ ไม่ได้สอนแบบให้คิด
  • ด้านเนื้อหา ; สังคมศึกษามีขอบข่ายเนื้อหากว้างจนเกินไป มี 5 สาระเเละเเต่ละสาระนั้น ก็อาจแยกเป็นอีกวิชาได้เลย เเละที่สอนๆกันทุกวันนี้เราเรียนสังคมแบบแยกส่วน ไม่มีเเนวคิดองค์รวมแบบ STEM ศึกษา
  • ด้านครูผู้สอน ; ครูไม่บูรณาการเชื่อมโยงให้เห็นความเป็นองค์รวม(ต้นสังคมศึกษา) ขาดเทคนิคการสอนที่สนุกให้เด็กสนใจ เเละสอนแบบบรรยายไม่ค่อยมีกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสังคมศึกษา
  • ด้านนโยบาย ; ภาครัฐมีการสอบวัดผล เช่น Onet ทำให้สังคมศึกษาถูกเปลี่ยนจุดหมายจากสอนให้เด็กคิดแบบอัตนัย กลายเป็นคิดแบบปรนัย ทั้งๆที่สังคมศึกษา ว่าด้วยเรื่องของเหตุผลเชิงสังคม ทำให้ครูต้องเร่งบีบอัดเนื้อหา รีบสอนให้ได้ความรู้ เเล้วไปสอบเพื่อยกระดับฐานะของโรงเรียนเเละขั้นเงินเดือนก็มีส่วน

ปัจจัยเหล่านี้ มองว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้เด็กเบื่อวิชาสังคมศึกษา เพราะรากเหง้าของความน่าเบื่อเริ่มตั้งเเต่เชิงปัจเจกถึงโครงสร้างนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการเลยก็ว่าได้ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นปัญหาเเละข้อจำกัดของการสอนวิชาสังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ เเต่ถึงกระนั้นเองรูปแบบการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ยังคงเคลื่อนต่อไป ด้วยพลังของนักการศึกษาเเละครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ ไม่นานมานี้มีข่าวดีเชิงนโยบายเรื่องกระแส Education 4.0 กำลังมาเเรงควบคู่กับยุทธิศาสตร์ชาติ โดย

  1. การศึกษารูปแบบ 1.0 คือ การศึกษาที่ผู้สอนเป็นผู้ป้อนความรู้
  2. การศึกษารูปแบบ 2.0 คือ การศึกษาที่ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ผ่านสื่อออนไลน์ได้
  3. การศึกษารูปแบบ 3.0 คือ การศึกษาที่ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้
  4. การศึกษารูปแบบ 4.0 คือ การศึกษาที่ผู้เรียนสามารถสร้างนวัตกรรมได้ (วิรัช ปัณฑ์ศิริโรจน์ : 2560)

เมื่อมี Education 4.0 ก็ต้องมี สังคมศึกษา 4.0 ด้วยเช่นเดียวกัน โดยสังคมศึกษา 4.0 ย่อมมีทิศทางการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างนวัตกรรมของตนเองได้ โดยนวัตกรรมเชิงสังคมอาจมีหลายรูปแบบ เช่น นวัตกรรมเชิงกระบวนการ(Process Innovation) หรือ นวัตกรรมเชิงวิจัย (Research Innovation) หรือ นวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) หรืออื่นๆ เป็นต้น เพราะสังคมศึกศึกษามี 5 สาระวิชา เมื่อมีตัวนวัตกรรมเป็น Based Practices ในการสอนเเล้ว ย่อมมีกระบวนการที่จะได้มาซึ่งนวัตกรรมนี้โดยตัวเด็ก กระบวนการเหล่านี้ที่แนวคิดการศึกษาแบบศตวรรษที่ 21 จะมาเสริมเพื่อให้ได้ตัวนวัตกรรม เเละเป็นกุญแจสำคัญในการเสริมจุดด้อยการสอนวิชาสังคมให้ไม่น่าเบื่อ จากเดิมที่ครูไม่มีสื่อก็ให้ครูมันวัตกรรมเป็นของตัวเอง จากเดิมที่ครูเอาเนื้อหาเป็นตัวตั้ง ก็เปลี่ยนเป็นเอาเด็กเป็นตัวตั้งเเล้วพัฒนาที่ทักษะของเด็กโดยตรง เป็นต้น โดยทั้ง 5 สาระอาจใช้เครื่องมือ วิธีการสอน ดังตัวอย่าง เช่น

  • วิชาภูมิศาสตร์ ; ใช้หลักคิด 5 themes of geography หลัก 5W1H เป็นหลักคิดสำคัญ ทั้งนี้อาจให้นักเรียนลงพื้นที่สำรวจ หรือ ทำแผนที่อะไรที่ได้ที่ตนสนใจ หรือ การสร้างแบบจำลองทางภูมิศาสตร์ตามแนวคิดของเขาเอง หรือเปรียบเทียบเส้นศูนย์สูตร เส้น Topic of cancer หรือศึกษาเรื่องวัฒนธรรมเเล้วเอาภูมิศาสตร์เป็นหลักในการวิพากษ์ เป็นต้น
  • วิชาประวัติศาสตร์ ; ใช้หลักคิดการตั้งคำถามว่า "ประเด็นคืออะไร สาเหตุของเรื่องคืออะไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เเละเกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง เชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่นๆเรื่องไหนบ้าง" อาจให้เด็กทำโครงงานประวัติศาสตร์สืบความเป็นมาของหมู่บ้านเขาเอง โดยใช้เครื่องมือในการศึกษาทางประวัติศาสตร์ต่างๆ เเละครูเป็นผู้โค้ช(Coach) นั่นเอง
  • วิชาศาสนาและปรัชญา ; ใช้หลักคิดด้านมนุษยวิทยา คือ การประเมินคุณค่า ความดีงาม ประโยชน์ต่อสังคม เเละการเกื้อกูลกันในสังคม สอนศาสนาเชิงปรัชญาให้เด็กตั้งคำถามเพื่อเเสวงหาคำตอบด้านปรัชญา(ครูสอนได้)เเละจิตวิญญาณ(เด็กต้องเข้าใจด้วยตนเอง) เนื้อหานี้เป็นเรื่องนามธรรม ครูอาจใช้ละครให้เด็กเล่าเรื่องเเล้วมาสะท้อนกันเเละกัน ด้วยเหตุผลเเละการรับฟังอย่างเข้าใจ
  • วิชาเศรษฐศาสตร์ ; ใช้หลักคิดเรื่องประโยชน์นิยม ความคุ้มค่า เอานามธรรมมาคิดแบบเป็นเลขเเล้วอธิบาย เเละหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักคิด โดยอาจสอนให้เด็กอธิบายเรื่องของตนเอง การใช้จ่าย การซื้อ การขาย การแลกเปลี่ยน มาเชื่อมโยงกับเนื้อหาวิชา หรือ อาจให้เด็กทำโปรเจคด้านการตลาดเเล้วถอดบทเรียน เป็นต้น
  • วิชาหน้าที่พลเมือง ; ใช้แนวคิดแบบประชาธิปไตย กฎหมาย บรรทัดฐานทางสังคม มาเป็นหลักคิดในการวิพากษ์ ส่วนเรื่องฝ่ายซ้ายหรือขวานั้น ขึ้นอยู่กับเด็กจะเลือกอุดมการณ์ของเขา ครูไม่สามารถไปบังคับให้เขาคิดเหมือนตนเองได้ อาจใช้กิจกรรมการสอน เช่น ให้เด็กแสดงบทบาทสมมติเเล้วสร้างนโยบายใหม่ๆในการพัฒนาพื้นที่ตนเอง ครูให้วิพากษ์การเมืองแบบมีหลักการ(จริงๆเเล้วสอนได้เเต่จัดบรรยากาศแบบประชาธิปไตย) หรือ ครูอาจให้เด็กจับกลุ่มทำโปรเจคเพื่อพัฒนาสังคมตามหน้าที่พลเมืองด้วยนวัตกรรมเชิงกระบวนการของเขาเอง

สังคมศึกษา 4.0 เน้นที่ตัวนวัตกรรมทางการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก "ให้นักเรียนคิดเอง" เเละในขณะเดียวกันครูผู้สอนก็ควรมีนวัตกรรมทางการสอนเช่นเดียวกัน ซึ่งในด้านวัตกรรมของผู้เรียนของวิชาสังคมศึกษาอาจเป็นนวัตกรรมเชิงกระบวนการหรือเชิงประดิษฐ์หรืออื่นๆก็ดี ผู้เรียนต้องคิดเองเเละทำเอง เรียนรู้ด้วยตนเอง "ทำให้ผมนึกถึง Constructivism ขึ้นมาพลางๆ" เเละมันมีสัญญะว่า จริงๆเเลว้เราพูดเรื่องนี้กันมานานเเล้ว เเต่ทว่าเราไม่ค่อยได้มีนโยบายของรัฐที่ออกมาอย่างเด่นชัดเท่านั้นเอง "เเละผมมองว่า Education 4.0 ก็คือ ทักษะด้านการเรียนรู้เเละนวัตกรรม ของรูปแบบการศึกษาในศตวรรษที่ 21 นั่นเอง"

สังคมศึกษา 4.0 เน้นการอธิบายเชิงเหตุผล ซึ่งเรื่องๆเดียว สามารถอธิบายได้ทั้ง 5 สาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภูมิศาสตร์มองด้านพื้นที่ ประวัติศาสตร์มองด้านความเป็นมาท่ามกลางมิติเวลา ศาสนามองด้านคุณค่า เศรษฐศาสตร์มองด้านตัวเลข เเละหน้าที่พลเมืองมองด้านการเมืองเเละวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ ผศ.ไพบูลย์ บุญชัย อธิบายว่า มันเป็นต้นสังคมศึกษา หมายถึง ทั้ง 5 ราก(5 สาระ)ของลำต้นนี้มันเกิดจากต้นเดียวกัน เเละผลผลิตออกมามันไม่ได้บอกว่าออกมาจากรากไหน เเต่ทุกรากเกื้อกูลให้เกิดผลลูกเดียวกัน

หากมองอย่างนี้เเล้ว เเนวคิดเรื่องต้นสังคมศึกษา กระบวนทัศน์ใหม่(องค์รวม) การศึกษาศตวรรษที่21 เเละ Education 4.0 ดูเหมือนว่าจะกล่าวถึงเรื่องเดียวกัน อย่างไรก็ดี สังคมศึกษา 4.0 ต้องเน้นที่นวัตกรรมเเละความเป็นต้นสังคมศึกษา เพื่อให้สังคมเป็นวิชาที่น่าเรียน เรียนอย่างสนุก ท้าทาย เเละมีความสุข


หมายเลขบันทึก: 626067เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2017 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2017 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ลองนึกทบทวนกิจกรรมที่ครูพาทำตอนที่อยู่ ม.3

ในภาวะที่ครูพาทำกิจกรรมActive learning

ทำไมพวกเราบางคนไม่ชอบ

มันต้องมีปัจจัยหลายอย่าง ลองนึกถึงปัจจัยนั้นๆ สิ

นั้นแหละควรแก้ไข

อย่าลืมธรรมชาติของรายวิชา

และกรอบเวลาเรียนด้วย

แม้ไม่ได้จบเอกสังคม แต่เมื่อได้สอนวิชานี้ รู้สึกชอบมาก เขามีเสน่ห์ในตัว ใครสอนวิชานี้ได้ สุดยอดมาก เพราะมีตั้ง 5 สาระ ทำให้คิดถึงครูสอนสมัยเรียนมัธยม ครูเก่งมาก สอนได้ทุกสาระ องค์ความรู้เยอะมาก ตอนนี้เข้าใจดี มีความสุขที่ได้สอน ช่วยให้เราเป็นผู้ใฝ่เรียนใฝ่รู้มากขึ้นด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท