ผู้นำกับการคิดนอกกรอบ 18 มี.ค.60


วันที่ 18 มีนาคม 2560 สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาได้เชิญศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศเป็นวิทยากรหัวข้อ ผู้นำกับการคิดนอกกรอบ ณ ห้องพุทธรักษา อาคารเอนกประสงค์ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และและบุคลากรทางการศึกษา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

สรุปการบรรยายหัวข้อ ผู้นำกับการคิดนอกกรอบ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Outside the box ไม่ใช่ความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น

บางคนในองค์กรอาจทำลายความคิดสร้างสรรค์

โครงการนี้ควรมีการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษแล้วมาแลกเปลี่ยนกัน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ยุค Thailand 4.0 ต้องมีนวัตกรรมใหม่ อาจมีนวัตกรรมการศึกษาก็ได้

กระบวนการคิดนอกกรอบ แต่ละคนคิดคนเดียวได้แต่ไปถึงเป้าหมายมาก ควรคิดเป็นองค์คณะจะได้มีพลังไปสู่เป้าหมาย

นักการศึกษามี based box ที่แหวกยากเช่น ศีลธรรม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ก่อนคิดนอกกรอบต้องมีคุณธรรม จริยธรรมก่อน

มีอาจารย์ท่านหนึ่งสอนว่า ควรคิดคร่อมกรอบ ไม่จำเป็นต้องออกนอกกรอบทั้งหมดก็ได้

ศศินทร์ออกนอกกรอบไปตั้งองค์กร กระทรวงศึกษาธิการอาจตั้งองค์กรใหม่แต่ไม่ใช้ระบบจัดซื้อจัดจ้างเดิม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ต้องมีรากฐานแน่น

จากการที่ไปการเคหะ มีการเสนอโครงการนวัตกรรม

เดิมมีปัญหาแฟลตดินแดง การเคหะแก้ระเบียบ ไล่จากแฟลตเก่าไปขึ้นตึกสูงแบบลุมพินีเพลส ราคาเท่าเดิม มีแบ่งให้คนรุ่นใหม่เช่า ตึกที่เหลือนำไปทำสวน การเคหะจึงใส่ชุมชนการเรียนรู้เศรษฐกิจ 4.0 ทำท่องเที่ยว มีการดูแลผู้สูงอายุ นำคนเข้ามาทำงาน เป็น Thinking outside the box แต่ใช้ base เดิม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คิดนอกกรอบไม่พอ ต้องทำให้สำเร็จด้วย Creativity ต้องไปบวกกับ Innovation

ในชีวิตต้องมี buddy ทางความคิด อย่าทำงานคนเดียว

Chira Way คือ Process

4L’s

Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี คือกระตุ้นให้คิด

Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ Happy Learning

Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้ คือ มีโอกาสปะทะกันทางปัญญา แลกเปลี่ยนความเห็นกัน ต้องลงลึกแบบ Deep Dive

Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ แม้ไม่ได้เรียนในห้องแล้วก็ต้องใฝ่รู้ แต่ทำยากในสังคมไทยเพราะอ่านน้อย บางครั้งก็อ่านไม่สนุก

2R’s

Reality ต้องนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริง เช่น ในองค์กร

Relevance การคิดนอกกรอบต้องเฉียบคม มีประโยชน์

3V’s

Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม

Value Creation สร้างคุณค่าใหม่ คือ มีความคิดใหม่เกิดขึ้น บางครั้งเจ้านายก็ไม่ให้ออกความเห็น

Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย นำไซโลทุกหน่วยงานมาร่วม มีหน่วยงานภายนอกมาร่วมด้วย อเมริกาเจริญเพราะมีคนหลากหลายเผ่าพันธุ์ ที่ซิลิคอนแวลเลย์มีคนเก่งจากประเทศต่างๆมาทำงานร่วมกัน ต้อง Turn Diversity into Harmony บริหารความหลากหลาย

หลักสูตรนี้ต้องเปิดโลกทัศน์ให้กว้าง

3 L’s

Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด

Learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์ ต้องมีความรู้ที่สด

Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง ผู้นำต้องฟังลูกน้องบ้าง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ต้องเริ่มจากมองสภาพความเป็นจริงก่อน แล้วรู้จักเลือก

อาจเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ร่วมงานและประสบการณ์ก็ได้

Learning Environment มีส่วนสำคัญทำให้ไม่ตึงเครียด ตอนนี้ มีการไปเรียนในร้านกาแฟด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า นิเวศวิทยาทางการเรียน คือเรียนที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่ต้องทำให้คน Happy at Learning ควรไปดูงานโรงเรียนนานาชาติ หาผู้เชี่ยวชาญมาช่วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

หนังสือเล่มหนึ่งกล่าวว่า ขอให้เราเป็น Best Version ของเราเอง หาจุดเด่นของตัวเอง คือ แบรนด์ของตนเอง เช่น บางคนมีทักษะการสอน และคุณธรรมสูงมาก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรร่วมมือกันสร้างคุณธรรม จริยธรรมและมีความกล้าหาญทางจริยธรรม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

3V’s คือ Thailand 4.0 แต่คนไทยไม่ได้สร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีได้ ถ้าใช้ 3V’s ก็ตอบสนอง Thailand 4.0 ได้

เวลาทำงานคนเดียว อาจไม่สำเร็จ ต้องมี Value Diversity ด้วย

โรงเรียนประชารัฐคือเครื่องมือ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่อง Thinking in New Boxes เขียนโดยคุณ Luc De Brabandere และ Alan Iny ซึ่งเป็นอดีตที่ปรึกษา Boston Consulting

หนังสือเล่มนี้จึงเป็นที่มา ของแนวคิด 3 แนว

1.อยู่ใน Box เดิม แต่ทำให้ดีที่สุด

2.ออกนอกกล่อง คือเปิดกล่องเดิมและออกมา

เช่นแต่ทฤษฎี Think outside the box ไม่ได้บอกว่า ออกไปแล้วไปไหน เพียงแต่บอกว่าต้องออกจากกล่องเพื่อทำงานที่ท้าทายมากขึ้น

ซึ่งอาจมีอะไรคล้ายๆกัน แต่บางอย่างอาจจะไม่เหมือนกัน คือ มี Boxใหม่ ก็หมายถึง สร้างวิธีการทำงานใหม่เลย อาจะเลิกใน Box เก่า แต่อย่าลืม Box เก่า ก็มีอะไรที่น่าสนใจอยู่ คล้ายๆ มีหนังสือเล่มหนึ่งบอกว่า ถ้าจะออกจาก Box เก่า ต้องรู้ว่า Box เก่ามีอะไรดี และไม่ดี ทิ้งไม่ดีแต่เก็บของดีๆ ไว้

หนังสือ Thinking inside the box กล่าวว่า สำรวจสิ่งที่มีก่อน ก่อนจะออกไปข้างนอกต้องทำเรื่องภายในให้สำเร็จ

Thinking outside the box มีบางอย่างเท่านั้นที่จำเป็นต้องทำ

ควรเตรียมตัวเป็นผู้นำสำหรับอนาคต ไม่ใช่ผู้นำสำหรับอดีต เพราะการเปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่แน่นอนและทายไม่ออก ควรจะปะทะกันทางปัญญาจะได้แก้ปัญหาได้

ถ้ามีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ก็จะมี Thinking outside the box

การพัฒนาทุนทางความคิดสร้างสรรค์ทำได้โดย การอ่านหนังสือดี ๆ ใช้ Internet การพูดคุยกับคนเก่ง ปะทะกับคนเก่ง

ครูแนะแนวบางครั้งก็แนะแนวแบบเดิมๆว่า คนเก่งเลขต้องเป็นหมอ

จุดอ่อนของด้าน Creativity Capital ก็คือ..
(1) เรายังไม่ได้สร้างบรรยากาศในการ Share ความรู้ร่วมกันในองค์กร

(2) การบริหารส่วนใหญ่ยังเป็นแบบ Top down อยู่ ซึ่งจะเน้น Command and Control หรือเป็นการทำงานแบบแนวดิ่ง Vertical
**Power มีไว้สำหรับ Participate ในทุกระดับ

(3) ส่วนใหญ่ทำงานเยอะ Working แต่ Think Strategies (คิดเป็นยุทธศาสตร์ไม่มาก)

(4) การทำงานเป็นทีมมีแต่ในระดับ Function ได้ดีแต่ไม่ Cross Function

อุปสรรคความคิดสร้างสรรค์

1.สภาพแวดล้อมไม่เปิดโอกาสให้ถกเถียง

2.เจ้านายชอบสั่งการ

3.ไม่มีการถามคำถามที่ดี

4.ไม่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้

5.ไม่อยากรู้อยากเห็น

6.ขาดการเรียนรู้ในเชิงหลากหลาย

7.ขาดแรงจูงใจ

8.กลัวความคิดสร้างสรรค์

Leadership กับThinking outside the box ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญในวันนี้ ผมจึงขอให้ความเห็นดังต่อไปนี้

(1) Thinking outside the box แปลว่า ผู้นำทำงานแบบเดิม ๆ ในขีดจำกัด ภายใน BOX ไม่สำเร็จ

(2) Inside the box อาจจะหมายถึงงานประจำ จำเจ มีกฎระเบียบจนทำไม่ได้

(3) Thinking outside the box คือ พยายามหลุดจากพันธนาการที่มีอยู่ แต่คิดอย่างเดียวไม่พอ ต้องคิดแล้วไปทำด้วย คือ ต้อง Realistic และ Practical

วิธีการทำให้เกิดขึ้น ก็คือ

1.ผู้นำต้องเป็นผู้ฟังที่ดี

2.สนับสนุนให้เกิดความคิดใหม่ ๆ เสมอ และยกย่องให้เกียรติ

3.เน้นคุณค่าของความคิดใหม่ ๆ ที่หลุดจากแนวเดิม ๆ และนำไปปฏิบัติ

4.มีแนวทางใหม่ ๆ หรือ New Perspective ที่ไม่ใช่งานประจำ หรือ day to day หรือทำงานแบบเสมียน

5.พร้อมจะนำเอาความคิดไปทำให้เกิดมูลค่าแบบ 3 V

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

โรงพยาบาลศิริราชคือกล่องเดิม รักษาผู้ยากไร้ รายได้เท่าเดิม มีงานหนักมาก จึงคิดในกล่องใหม่เป็นโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์รักษาคนรวย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ มีมาตรฐานเดียวกับศิริราช แต่ต่างที่เครื่องมือและยา

ทำแล้ว รายได้เพิ่มขึ้นนำเงินไปจุนเจือศิริราช เช่น นำเครื่องมือไปให้ เพิ่มรายได้ให้หมอและพยาบาล

ถือว่ามีการคิดคร่อมกล่องอยู่

มีโรงเรียนที่ทำ Community Mall หน้าโรงเรียนให้เด็กอยู่ในสายตา โรงเรียนก็มีรายได้ด้วย ถือเป็น New Boxes ต่อมาก็มีทำ Learning Community

การรถไฟมีโบกี้ใหม่ เดิมมีหนี้มาก ล่าสุดนำที่ให้กรมธนารักษ์เช่า 100 ปี ตัดหนี้หมื่นล้าน เป็น New Boxes ที่เอื้อระบบเดิม

หนังสือ Who Killed Creativity? บอกว่า คนที่ฆ่าความคิดสร้างสรรค์คือคนที่ถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้อง ต้องดึงประเด็นที่ดีกลับมา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิธีการทำงานต้องเน้น Outcome ไม่ใช่ Supply Side

WORKSHOP

1.Inside the box, New boxes and outside the box แตกต่างกันอย่างไร อธิบาย

Inside the box

New boxes

outside the box

ทำอะไรตามกฎระเบียบ เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง

นวัตกรรมใหม่ คิดจากพื้นฐานปัจจุบันเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดประโยชน์

กระทรวงศึกษาสร้างศึกษาธิการภาคและจังหวัด ทำงานบูรณาการภายใต้มาตราพิเศษ

ตอนนี้กระทรวงศึกษาเป็นองค์กรใหญ่มาก หน่วยงานภายในทำงานแยกกัน ขาดการเชื่อมโยง

แก้ปัญหาโดยบูรณาการ 5 หน่วยงานภายใน โดยใช้คณะทำงานร่วม

ความเสี่ยงน้อย

ต้องสร้างบรรยากาศเรียนรู้ร่วมกัน

อาจไม่คุ้มค่า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิเคราะห์ได้ดี

เน้น New boxes and outside the box มากไปหน่อย

Box ใหม่เป็นไปได้ แต่ตอนนี้ยังไม่มีกฎหมายรองรับ

ประโยชน์ที่แท้จริงคือ Informal Network รู้จักกันข้ามไซโลและควรทำต่อไป

outside the box ออกมาแล้วไม่รู้ไปไหน ควรวิเคราะห์ว่า ออกมาแล้วก็มีความเสี่ยง บางเรื่องไม่สำเร็จ

New box ใหม่ทำให้งานสำเร็จ

High Risk, High Return

คนไม่ชอบทำ outside the box เพราะมีความเสี่ยง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กลุ่มนี้นำความจริงมาวิเคราะห์

เป็นการนำกล่องเดิม 5 หน่วยงานมาใส่กล่องใหม่ ถือเป็นการคิดคร่อมกรอบ

เป็น New box ที่ box เดิมใส่เข้าไป

2.ในบริบทของกระทรวงศึกษาฯ จำเป็นไหมที่ผู้นำจะต้องมี think outside the box และประโยชน์คืออะไร

การบริหารจัดการ เน้น single command

ประโยชน์

2.1 การจัดการศึกษาในพื้นที่ตอบสนองชุมชน เพราะคณะกรรมการมาจากหลายหน่วยงาน มีการนำศาสนา วัฒนธรรมเข้ามา เป็นการขัดเกลาจิตใจของนักศึกษา

2.2 เป็นการศึกษาแบบเชื่อมโยงบูรณาการ อาชีวศึกษาต้องเชื่อมโยงทุกระดับ

2.3 ลดขั้นตอนปฏิบัติงาน

2.4 ทำให้การทำงานทันต่อความเปลี่ยนแปลง

2.5 มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ระบบบังคับบัญชาสั้นขึ้น

2.6 ประชากรทุกระดับได้รับการศึกษาทั่วถึง

2.7 เกิดนวัตกรรมใหม่ๆทำงานร่วมกันทุกหน่วยงาน

2.8 แก้ปัญหาทันเหตุการณ์สอดคล้องกับความจริงของพื้นที่ ไม่ต้องรอส่วนกลาง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทั้งสองกลุ่มเริ่มใช้ Inside the box, New boxes and outside the box

ที่อธิบายมาเป็นกิจกรรมใหม่

ควรตอบโจทย์ Outside the box

ควรแยก Inside the box, New boxes and outside the box

กลุ่ม 2

ประโยชน์ outside the box คือความมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา เกิดการสร้างคุณค่าใหม่ให้วงการการศึกษา ตาม 3V’s

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าจะนำอาชีวศึกษาเป็นเป้าหมาย ก็ต้องเริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก มัธยม ถือเป็น Outside the box

สองกลุ่มนำเสนอเน้นความจริง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

คนแรกที่นำเสนอมีความเป็นครู ทำให้เข้าใจบริบททั้งหมด มีคนรุ่นใหม่มาเติมช่วงหลัง

คนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ต้องทำงานร่วมกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Value Diversity และ Outside the box เป็นการมีส่วนร่วมข้ามไซโล ปัญหาคือ KPIs ไม่ส่งเสริมการทำงานข้ามไซโล

Outside the box ไม่ใช่แค่มีความคิดสร้างสรรค์

วันนี้เรียนทฤษฎีฝรั่งแต่ใช้ 2R’s ของคนไทย

3.สรุป 5 เรื่องที่คิดว่าคือวิธีการสำคัญ Outside the box

3.1 การสร้างองค์ความรู้ใหม่ เกิดจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ เกิดแนวคิดใหม่

3.2 ยอมรับปรัชญาใหม่ เช่น ความเปลี่ยนแปลงใหม่

3.3 วิสัยทัศน์พยากรณ์อนาคตแม่นยำ ตรงประเด็น

3.4 เรียนรู้ต่อเนื่อง เป็นพลวัตร

3.5 สร้างมูลค่าเพิ่มอาจเป็น diversity and innovation

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องสนใจ S-Curve

ที่เสนอมาดีมาก

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

นำทฤษฎีมาประกอบการอธิบายให้เข้าใจ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้านำการนำเสนอทั้ง 6 กลุ่มมาเชื่อมโยงกันจะออกมาดีมาก

4.ถ้าจะฝึกให้มีศักยภาพในการ Think outside the box ควรทำอย่างไร 5 เรื่อง

4.1 หยุดพูดคำว่า เป็นไปไม่ได้ เพียงแต่ยังไม่ลงมือทำ

4.2 มองตามแนวอริยสัจ 4 มองต้นตอปัญหา

4.3 มองความเสี่ยงให้เป็นปัจจัยบวก แจ๊คหม่าเคยตกงาน แต่คิดขาย E-commerce

4.4 โลกนี้ไม่มี good ideas ที่แท้จริง พระพุทธเจ้าให้หลักกาลามสูตร อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ ต้องคิดว่ามีความคิดใหม่ที่ดีกว่า

4.5 1+1 ไม่ใช่ 2 ทุกคำตอบถูกหมด ขึ้นอยู่กับเหตุผล

ทุกความคิดนอกกรอบต้องมองความจริง ตรงประเด็น ต้องมีการแตกต่าง ติดตาม ต่อเนื่อง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เจ้านาย Google บอกว่า โครงการที่เสนอมาก็ควรจะเป็นโครงการที่เป็นไม่ได้ก่อนทุกโครงการ การนำเสนอเป็นการเทียบกับ Google

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ กล่าวว่า ยุค 4.0 ต้องมีความคิดเป็นผู้ประกอบการ เสี่ยงแต่มีความเป็นไปได้ ข้าราชการต้องบริหารความเสี่ยงเหมาะสมกับบริบทองค์กร กล้าทำงานเชิงรุก

ขอชมเชยกลุ่มนี้ อ่านหนังสือมาก

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กลุ่มนี้คิดเป็น Intangible

ก่อนไปนอกกรอบต้อง Inside the box ดูต้นตอก่อน

บริบทเปลี่ยน ต้องคิดอะไรใหม่ๆ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ฝรั่งมีระบบความคิดต่อเนื่อง แต่ไทยยกมาเป็นเรื่องๆ คนมีความคิดสร้างสรรค์ต้องมีพื้นฐานความคิดที่เป็นระบบก่อน คนที่เรียนสังคมศาสตร์ก็ต้องมีวิทยาศาสตร์ในใจด้วย นักวิทยาศาสตร์ก็ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ด้วย ควรจะมีความคิดคร่อมกรอบ โดยดู Purpose กำกับ

5. ความสำเร็จของ Outside the box ไม่ใช่ง่าย บางครั้งมีอุปสรรคเสมอ อธิบายอุปสรรค แต่ละข้อ

อุปสรรค

คำอธิบาย

1.วัฒนธรรมองค์กร

ประเพณี สังคมไทย การทำงานขั้นตอนต่างๆไม่เป็นระบบ ผู้นำไม่เปิดโอกาส

2.โครงสร้างองค์กร

เวลาเปลี่ยนแปลงก็ถอยหลังไปอีก 30 ปี

3.ขาดองค์ความรู้

ไม่รู้แจ้ง บางครั้งก็ทำตามนายสั่งโดยขาดความเข้าใจ

4.ผู้บังคับบัญชาไม่สร้างโอกาสที่เอื้อต่อ outside the box

ไม่เป็นสังคมการเรียนรู้

5.ขาดการทำงานเป็นทีม

ไม่สามารถบูรณาการทรัพยากรให้เกิดคุณค่าอย่างเหมาะสม

6.ขาดเพื่อนคู่คิด ขาดที่ปรึกษา

7.ขาดความกล้า ไม่มีเวทีให้แสดง

การเรียนรู้ไม่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์

8.ขาดความไว้วางใจในการมอบงานต่างๆ ให้ลูกน้อง

ทำให้ลูกน้องไม่กล้าคิดนอกกรอบ

อุปสรรคจากปัจจัยภายใน ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ

อุปสรรคจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ วัฒนธรรม โครงสร้าง สายการบังคับบัญชาที่ยืดยาวเกินไป

สามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้ 2R’s ความจริง เมื่อทราบความจริงแล้ว ก็จะแก้ปัญหาได้ตรงประเด็น

นอกจากนี้ ใช้ 4L’s สร้างการเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนสร้างโอกาสในการเรียนรู้ และเป็นสังคมการเรียนรู้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้คนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชย คุณภาพการนำเสนอของทุกกลุ่มไม่ต่างจาก Harvard

กลุ่มนี้ surprise นำความคิดดีๆและแนวคิดหนังสือมาเป็นส่วนประกอบ

ทุกกลุ่มตอบคำถามได้ดีมาก

เมื่อขึ้นไปเป็นผู้นำ ต้องปฏิบัติ มีการกระจายอำนาจ ไม่เป็น Command and control แต่มันเป็นวัฒนธรรมที่สะสมมานาน ต้องใช้ HRDS แบ่งปันความสุข เคารพยกย่องให้เกียรติ ส่งเสริมศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ไปสู่ความยั่งยืน

หลักสูตรนี้ปรับ Mindset

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

นำเสนอเก่ง มีการเปรียบเทียบ การให้วิธีการ

วัฒนธรรมองค์กรคือ Mindset แล้วต้องมีการปรับใจด้วย

6. ยกตัวอย่างความสำเร็จเรื่อง Outside the box มา 3 เรื่อง และอธิบายว่าเพราะอะไร?

ความสำเร็จ

เหตุผล

กรณีศึกษาวัดไร่ขิง

เจ้าอาวาสมีวิสัยทัศน์ ไม่คิดแค่ทำกิจกรรมศาสนา มองว่าพื้นที่วัดน่าจะเป็นประโยชน์ด้านอื่นด้วย

การให้ที่เกิดขึ้น เป็นการนำพื้นที่มาจัดกิจกรรมต่างๆ มีหน่วยงานต่างๆ ครบวงจร เป็นการคิดนอกกรอบที่แสดงให้เห็นว่า จะตรงกับสภาพความเป็นจริงแล้ว ประโยชน์ที่จะได้รับคือทำให้ชุมชนมีการพัฒนาเป็นชุมชนการเรียนรู้เท่ากับทฤษฎี 2R’s มีการทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานแล้วประสบความสำเร็จ

ศูนย์บ่มเพาะวิทยาลัยผู้ประกอบการอาชีวศึกษา

เป็นการสร้างโรงงานในโรงเรียน อาชีวศึกษาเป็นการเรียนการสอนที่ฝึกให้นักเรียนมีงานทำ โดยมีการฝึกปฏิบัติจริง เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผู้เรียนและองค์กร เข้ากับ 3V’s เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างคุณค่าเพิ่มจากความคิดที่หลากหลายของอาชีวศึกษา เป็นการจุดประกายสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นไปสู่เป้าหมาย

โรงสีข้าวในโรงเรียนรัตนบุรี

ทำโรงสีในโรงเรียน ชุมชนมาช่วยดูแล นักเรียนได้ฝึกการผลิตข้าว เกิดการเรียนรู้และมีรายได้

4L’s ,ผู้รู้ในชุมชนเป็นวิทยากร นักเรียนได้ฝึก

เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ 2R’s

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ข้อนี้ surprise เป็น outside the box แล้วสรุปเป็นทฤษฎี

มนุษย์เกิดมาต้องได้รับการพัฒนา มาจากพ่อแม่ การศึกษา

ที่เวียดนาม รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาเคยเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัย

แต่การศึกษาไทยถูกการเมืองแทรกแซงมาก

ขอชมเชย

สิ่งที่นำเสนอมีคุณค่ามหาศาล อย่าให้หายไป

ต้องมี unlearn ทิ้งความรู้ที่ไม่จำเป็น แล้ว relearn ความรู้ใหม่

ควรใช้แก่นเดิมแล้วเติมสิ่งใหม่แล้วเด็กจะบ้าความรู้เอง ต้องสร้าง platform ให้เด็กเล่น

Outside the box ที่ใหญ่ที่สุดคือ สมเด็จพระเทพฯ ทรงตั้งโรงเรียนที่กัมพูชา โรงเรียนนี้มาร่วมค่ายเทพศิรินทร์ รัฐมนตรีกัมพูชาขอพระองค์ท่านตั้งอีกโรงเรียนในกัมพูชาด้วย ควรไปดูงานโรงเรียนอาชีวศึกษาที่กัมพูชาแล้วร่วมมืออาชีวะไทย เป็นการ Outside the box นอกประเทศ

ดร.สมโภชน์ นพคุณ

การที่จะเป็น Box ใหม่ต้องทำให้ได้ เราเป็นข้าราชการ แต่สามารถคิดใหม่ ทำใหม่ใน box เดิมได้

Reflection คือ Thinking of the box การคิดที่อยู่ในกรอบ

แนวคิดเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

Old box คือสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จะสร้างได้อย่างไร ความคิดริเริ่ม

Thinking inside the same old box คิดอยู่ในกรอบความคิดเดิมๆ ทำให้อยู่เหมือนเดิม

ในการที่จะมี New box ต้องพัฒนามันขึ้นมา

Thinking in the new box คือการปรับกระบวนทัศน์ใหม่อยู่ภายใต้บริบทใหม่

จากกรณี Thinking outside the box ไม่อยู่ใน box ใด แต่อยู่ระหว่าง box ไม่มีกรอบอะไร จะไปไหนก็ได้เรียก Mission Possible

ถ้าจะพัฒนาแนวความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆใน the same old box ถือเป็นความท้าทาย

Breaking out of the box เป็นการปรับกระบวนทัศน์ ย้ายจากกล่องเดิมมาอยู่กล่องใหม่

ราชการคิดใหม่ใน the same old box ได้

Thailand 4.0 ต้องการคนที่จบอาชีวศึกษาแต่ไม่มีเงินกู้ยืมเรียน

ควรเสนองบ Start-up ธุรกิจสำหรับคนจบอาชีวศึกษา

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ดร.สมโภชน์สรุปดีมาก

ควรนำ Value Diversity ไปใช้

ควรฝึกกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน learn

ร่วมแบ่งปันความเห็น share

Care เลือกเนื้อหา กลุ่มอื่นได้ประโยชน์ไหม

การนำเสนอ ตรงประเด็น

นำไปสู่ชุมชนการเรียนรู้ นำความเด่นของคนอื่นมาร่วม

ถ้ามีความสุข ทุกคนอยากทำงาน ต้องรับฟัง เคารพศักดิ์ศรี พัฒนาต่อเนื่องไปสู่ความยั่งยืน

Lifelong learning ต้องเรียนตลอด อย่าละทิ้ง

บทกลอนจากผู้แทนคณะผู้เข้าร่วมโครงการ

ขอบพระคุณท่านจีระ หงส์ลดารมภ์ ให้สั่งสมความคิดจิตสร้างสรรค์

Chira Way เป็นแนวทางสร้างพร้อมกัน ให้เลือกสรรเป็นความรู้สู่ผู้นำ

ขอบพระคุณคุณจ้ามาเสริมมอบ ร่วมให้คิดนอกกรอบมอบให้ทำ

ทุกความรู้นำใฝ่ให้เสริมกัน ทุกถ้อยคำที่ท่านมอบขอขอบพระคุณ

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/posts/1789459094412872?pnref=story

หมายเลขบันทึก: 626059เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2017 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มีนาคม 2017 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพืออ่านข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/29022

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม 2560 หน้า 5

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท