กฎเกณฑ์กองทุนที่ผู้ประกอบธุรกิจควรรู้!!



สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ได้มีการออกกฎเกณฑ์ของการจัดการกองทุนให้กับผู้ที่จะประกอบธุรกิจจัดการกองทุน ดังนี้

1. คุณสมบัติผู้ประกอบการที่ให้บริการด้านจัดการกองทุน

ต้องได้รับใบอนุญาตหรือได้รับการจดทะเบียนจาก กลต. ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ มีความมั่นคงด้านการเงิน ระบบงานต้องมีประสิทธิภาพ และต้องมีบุคลากรที่มีคุณภาพ

2. มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้าง และการให้บริการ

บริษัทต้องจัดการให้มีระบบงานที่แสดงให้เห็นถึงการมีความรับผิดชอบและการแบ่งหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน การปฏิบัติงาน การบริหารความเสี่ยง และการดูแลบุคลากรให้มีคุณสมบัติที่เป็นไปตามลักษณะงาน

3. การดำรงเงินกองทุน

บริษัทต้องมีการจัดการเงินทุนให้เพียงพอต่อการรองรับการประกอบธุรกิจ และสภาพคล่องครอบคลุมไปถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในการทำธุรกิจ ดังนั้น กลต. จึงออกกฎเกณฑ์นี้มาเพื่อให้มั่นใจบริษัทมีมาตราการในการจัดการความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้ไม่สามารถคงอัตราส่วนสภาพคล่องได้

4. วิธีการจัดการกองทุน

เป็นวิธีที่ใช้เป็นการคุ้มครองผู้ลงทุนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และเพื่อให้มีมาตรฐานการดำเนินงานแบบเดียวกัน บริษัทต้องปฏิบัติตามที่ กลต. กำหนดไว้

5. ป้องกันและจัดการความขัดแย้งด้านผลประโยชน์

ต้องจัดการระบบงานให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งด้านผลประโยชน์กับลูกค้า โดยบริษัทต้องคำนึงและรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า

6. ขาย / ให้บริการลูกค้า และการโฆษณา

เพื่อให้การโฆษณาที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนตลอดจนการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุน มีความเหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหาและรูปแบบ บริษัทต้องไม่ใช้ข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจซื้อ และต้องแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมให้ครบถ้วน โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนที่มีลักษณะเฉพาะ

7. เงินลงทุนต่างประเทศ

การให้บริการการลงทุนในสกุลเงินต่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 75,000ล้านเหรียญสหรัฐ โดยให้สำนักงานเป็นผู้พิจารณาจัดสรรวงเงินลงทุนและ การโอนเงินออกต่างประเทศของกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้เป็นไปตามนโยบายที่สำนักงานกำหนด

8. การทำธุรกิจอื่นของบริษัทการจัดการ

เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์มีความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจและปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว จึงอนุญาตให้บริษัทสามารถทำธุรกิจอื่นๆประกอบไปด้วยได้ โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ตั้งนี้

8.1 ต้องไม่มีความเสี่ยงต่อทรัพย์สินของลูกค้าและฐานะของบริษัท

8.2 ต้องไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์

8.3 เป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่องและช่วยสนับสนุนการให้บริการในธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้มีความสมบูรณ์และครบวงจรยิ่งขึ้น หรือเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่

9. คุณสมบัติและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน

เพื่อให้มั่นใจว่า เงินลงทุนของประชาชนได้รับการบริหารจัดการโดยผู้จัดการกองทุนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ความสามารถและปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ ผู้จัดการกองทุนจึงต้องมีคุณสมบัติ ปฏิบัติตนและปฏิบัติงานให้ได้มาตรฐานตามที่หลักเกณฑ์กำหนด

หมายเลขบันทึก: 625862เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2017 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2017 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท