โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1(ช่วงที่ 2: ระหว่างวันที่ 9 - 11 มีนาคม 2560)


สวัสดีครับชาวบล็อก,

ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1(ช่วงที่ 2: ระหว่างวันที่ 9 - 11 มีนาคม 2560) ผมรู้สึกดีใจที่ได้กลับมาทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อีกครั้งหนึ่ง โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 7 คณะ ประกอบด้วย ประกอบด้วยผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. และคณะพันธมิตรที่เป็นเครือข่าย 6 คณะ ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

การทำงานครั้งนี้ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายผมอีกครั้งหนึ่งในปีนี้ ผมและทีมงานต้องขอขอบคุณผู้บริหารและคณะทำงานของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. ที่ไว้วางใจพวกเรา และทุกท่านสามารถติดตามบรรยากาศและความรู้ต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ผมขอฝาก Blog นี้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้พวกเราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 1

กุมภาพันธ์ – มิถุนายน2560

สรุปการบรรยายโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 9 มีนาคม 2560

สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy

วิชาที่ 15

นำเสนองานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ (2) : Humanise why Human-Centred Leadership is the Key to the 21st Century โดย Anthony Howard

กลุ่มที่ 1

Chapter 1 The future and the future ofleadership

2 models เรื่องการเปลี่ยนแปลง

1. Sigmoid Curve

รูปแบบจะเป็นการสร้าง Product รูปแบบทั่วไป ที่มีช่วงวงจร Productขึ้นแบบสูงสุดแล้ว แต่ต่อมาถ้ายังทำแบบเดิมอาจเป็นจุดที่วงจร Product ตกลง แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงวงจร Productก็จะต่อเติมพัฒนาได้

ผู้นำที่เป็นลักษณะนี้คือ

1. ต้องมี Vision ก้าวไกล

2. ต้องทบทวนสิ่งที่ประสบความสำเร็จและต้องต่อยอดอยู่เรื่อย ๆ ให้กับโลกที่เปลี่ยนแปลง

3. วิเคราะห์ทฤษฎี 8K’s5K’s & 3V & 3 วงกลม

2. The game changer curve

รูปแบบจะเป็นการเปลี่ยนรูปแบบ Product เลย

ผู้นำที่เป็นลักษณะนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำที่ชี้แล้วสั่งให้ทำ เป็นลักษณะนักผจญภัย กล้าตัดสินใจ เข้มแข็ง มุ่งมุ่น ชอบการแข่งขัน เป็นอิสระ มั่นใจในตัวเอง ดุดัน ผ่าซาก เอาตัวเองเป็นหลัก ใช้อำนาจ แต่ไม่ค่อยยึด Moral

3. The future of unbounded possibility

รูปแบบเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบหลุดโลกไปเลย เปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เราต้องการผู้นำแบบไหนอยู่ที่ตัวเราในการตัดสินใจ

ผู้นำที่เป็นลักษณะนี้เป็นผู้นำในอนาคตที่โลกเปลี่ยนใหม่หมดเลยเป็นเรื่องของเทคโนโลยี และ Moral เข้ามา

ดร.จีระ เสริมว่า

เรื่องการมีข้อมูลที่ดีจะสามารถช่วยในการตัดสินใจให้ดีมากขึ้น

Leader เป็นส่วนของผู้นำที่จะต้อง Overcome Difficulty, การมีวัฒนธรรมองค์กร , มี Strategic Partner

ได้ยกตัวอย่างคณะพยาบาลศาสตร์ที่ผลักไปสู่ความเป็นเลิศ แม้ว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แต่สำคัญ Small but Important ดังนั้น ในเรื่อง Human Leadership จะไปสู่ความสำเร็จแน่นอน แต่ถ้าปีแรกไม่สำเร็จอย่าท้อใจ ต้องมีการต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

อย่ามองแค่ Micro อย่างเดียวให้มองที่ Macro ด้วย

ทุกคนในห้องนี้คือ Leader ที่ไม่ได้มาจากตำแหน่ง แต่ต้องทำให้องค์กรอยู่รอดได้ด้วย

ผู้นำทางจริยธรรม นอกจากเป็นคนดีแล้วต้องเป็นคนกล้าหาญด้วย ความดีต้องไปสู้กับค่านิยมที่ผิด ๆ ด้วย

Chapter 2 : Shifts 1-3 Technology

ผู้เขียนเขียนถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก Advanced Technology ซึ่งส่งผลกระทบต่อมุมมองในเรื่อง

1. Fragmented and Connected

เป็นการแยกส่วนในสังคมปัจจุบัน และมีการเชื่อมกันได้ ยกตัวอย่างในสังคม มีการแยกเป็นส่วน ๆ คือ ถูก Isolated มากขึ้น จะสนใจในประเด็นแคบลง และที่สนใจเล็กลงเรื่อย ๆ และใน Social Media มีการแยกย่อยเป็นหลายชนิดมากขึ้น ใช้ Line Facebook มากขึ้น มี Connect กับคนที่อยู่รอบตัวเรา กับชุมชน หมู่บ้าน ญาติพี่น้อง เพื่อนร่วมงาน โรงเรียน ครู แต่ตอนนี้ขยายไปข้ามทวีป ประเทศ สังเกตได้ว่าสัมพันธภาพกับคนรอบข้างลดลง แต่ไปมีสัมพันธภาพกับโลกที่กว้างขึ้น

2. Overwhelmed and underprepared

ด้วยเทคโนโลยีที่เยอะมาก เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จำนวนมาก จะรู้สึกว่าข้อมูล Overwhelmed ไม่รู้จะเลือกใช้ข้อมูลไหนดี ใช้เวลาในการค้นหาข้อมูล มีการเตรียมและนำเสนอข้อมูลไม่ดีเท่าที่ควร

3. Always on and never off

ทุกคนเปิดมือถือตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยประหยัดเรื่องเวลา สะดวกรวดเร็ว แต่เราใช้อย่างไม่เหมาะสมทำให้การสื่อสารติดต่อกันตลอดเวลา ไม่มีเวลาพัก กลายเป็นทำงานตลอด 24 ชั่วโมง

จากการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 แบบนี้ แล้วผู้นำแบบไหนที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีที่มีความซ้ำซ้อนมากขึ้น เช่น ภาระงานที่เยอะและต้องทำงานตลอดเวลา ผู้นำที่หาเวลาว่างให้คนในองค์กรคิดอย่างมีวิจารณญาณ ไม่ใช่คิดแบบเร็ว ๆ แล้วงานจะไม่ออก

เรื่องการบริหาร HRDS Theory และทฤษฎี 3 วงกลมเข้ามา อนาคตอาจมีการ Mass เกิดขึ้น คนต้องมีการปรับเปลี่ยน แต่จะเปลี่ยนในลักษณะไหนที่เกิดขึ้นในอนาคต

ดร.จีระ เสริมว่า

ถ้าเราไม่มี Moral หรือ Human Leadership ก็ทำให้เราหลงได้

เวลาของเราจำกัด แต่ข้อมูลที่เข้ามาทาง Digital ไม่จำกัด คือ Overwhelmed

ผู้นำต้องมี HRDS (Happiness Respect Dignity และ Sustainability) และ Human Leadership ต้องไปสู่ความยั่งยืน บางครั้งเราจะไม่ค่อยยกย่องคนอื่น คิดว่าตัวเองเก่ง เขาจะไม่ยกย่องเราเช่นกัน และ Dignity คือไม่ว่าจะมีตำแหน่งอะไรในองค์กร ก็ต้องยกย่องให้เกียรติเขาเราไม่ควรดูถูกคน อย่าวัดคนด้วยเงิน ด้วยตำแหน่ง

อาจารย์พิชญ์ภูรีที่อยากฝากคือ จะกลับไปสู่ภาวะผู้นำแบบที่ 1 แบบที่ 2 แบบที่ 3 ทำไมถึงเกิดผู้นำในแบบที่ 1 แบบที่ 2 แบบที่ 3 จะพบผู้นำที่ไม่ต้องรอสะสมประสบการณ์ การดูในหนังสือเล่มนึงจะมีการเชื่อมโยงทั้งหมด ถึงมีผู้นำแบบที่ 3 คือไม่ได้ทิ้ง Curve เดิม แต่เป็นการ Shift ขึ้นมา มีไอเดียใหม่ ๆ ขึ้นมา

Chapter 3 : Moral Leadership

1. Adrif on a wide, wide sea

เป็นเรือในทะเล เป็นเรือที่มีเทคโนโลยีแล่นอยู่ในทะเล และเมื่อวันหนึ่งเจอพายุหรืออะไรที่ซัดเข้ามากระทำกับเรือ มีองค์กรธุรกิจที่ต้องทำงาน ซึ่งถ้าไม่มีอะไรเหนี่ยวรั้งให้เราไปที่เป้าหมายอยู่เราก็อาจจะเคว้งคว้างในทะเล

จะสามารถบริหารจัดการให้เรือเข้าฝั่งสามารถสำเร็จตามเป้าหมายได้

2. Moral Drift and the separation of markets and morals

เป็นการคิดในตลาด การก้าวหน้า มองเรื่องที่ตั้ง และ Marketing เป็นส่วนใหญ่ แต่พอถึงองค์กรเอง สิ่งที่ทำนั้นเกินพอดีหรือไม่ มีความอยู่รอดหรือไม่ซึ่งถ้าเขาไม่รอดจะมีผลมาที่เรา และจะไปไม่ได้เหมือนกัน เป็นการมองเรื่องความโลภและผลประโยชน์ กับการมุ่งไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง

3. Moral drift and a trust deficit

เป็นเรื่องความเชื่อถือและศรัทธาที่จะทำให้เราไปถึงฝั่งได้อย่างไร ถ้าเราทำอย่างไรจะเป็นการสะท้อนให้เห็นอย่างนั้น

ถ้าผู้นำขาดความน่าเชื่อถือ ความโปร่งใส คุณธรรม ยุติธรรม

4. Moral drift and the abdication of personal responsibility

หมายถึง ถ้าเราเจอในสถานการณ์หนึ่งที่มีผลประโยชน์ ให้ย้อนกลับไปดูเส้นทางที่มาว่าตรงไปตรงมาหรือไม่ เป็นประเด็นที่จะทำว่าผู้นำจะทำอะไรก็ตามจะกระทบกับส่วนข้างนอก มีทั้งรับได้และรับไม่ได้ และจะทำให้รู้ว่าเราอยู่ตรงไหนและมีภาวะผู้นำกันอย่างไร

ดร.จีระเสริมว่า

ถ้าเรามีความสามารถโดยมีคุณธรรมจริยธรรมแล้ว แต่ถ้าตบะแตกและคุมอารมณ์ไม่ได้จะเกิดปัญหา ดังนั้น Emotional Capital คือตัวแปรที่จะไปเหนี่ยวรั้ง ไปอยู่ในทิศทางที่เป็นไปได้ ต้องมีให้พอดี ถ้าเกินหรือควบคุมไม่ได้ ไม่มีใครให้เป็นผู้นำเด็ดขาด ถ้าเปรียบเทียบกับศาสนาพุทธคือสติ

อยากให้ในห้องนี้ระมัดระวังเรื่องศรัทธา และระมัดระวังเรื่องตัวละครที่ต้องรู้จริง และต่อเนื่อง อย่าส่งใครก็ได้ไป

ทำงานด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ เน้นต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ลด Deficit ลง และใช้ความไว้เนื้อเชื่อใจ

ให้กลับมาดูที่ KPI ของมหาวิทยาลัยว่าจะทำตรงไหนให้เกิดประโยชน์

บรรยากาศที่เราสร้างขึ้นมา ถ้าเราทำไปที่ตัวละครทั้ง 4 ตัว และให้ทำอย่างต่อเนื่อง และให้ทุกคนเป็นผู้ประสานให้ทุกคนมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี

Health ในอนาคตต้อง Preventive Care

คำถามคือ วัฒนธรรมองค์กรของ ม.อ.พร้อมที่จะให้ทำสิ่งเหล่านี้หรือไม่

ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากในเรื่อง Health Care

อาจารย์พิชญ์ภูรี กล่าวถึงตัวละคร 4 กลุ่ม

1. ภาครัฐคือนโยบาย

2. ชุมชนหรือประชาชน

3. เอกชน ถ้าเราร่วมมือกับเขาเป็นจะช่วยงานได้

4. นักวิชาการ

ในทุกกลุ่มอาจไม่ได้เป็นทั้ง 4 กลุ่ม แต่สามารถช่วยได้ในการทำงานด้านวิชาการ เพราะนักวิชาการจะเป็นผู้ที่เติมเต็มให้เขา ข้อมูลจะลึกกว่าเอกชน

Chapter 4 : The convergence and crossover of “man” & “machine”

Shift 5 : The Convergence andcrossover of “man” & “machine”

ทิศทางในอนาคต

1. Humanization of Machine คือทำให้ Machine เป็นเหมือนมนุษย์ เหมือนปัญญาประดิษฐ์ ใช้เครื่องจักรช่วยในการคำนวณ ที่ใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่นเครื่องจักรเหยียบคันเร่ง

2. Mechanization of humanity dehumanization of humanity คือการทำให้คนเหมือนเครื่องจักร

ผู้เขียนพยายามบอกว่า คนคือสินทรัพย์ การมองคนว่าสร้างกำไร เป็นเรื่องการกอบโกย เรื่อง Moral ลดลง อย่างเรื่องเครื่องจักรก็พัฒนาเพิ่มขึ้นให้สามารถเรียนรู้ได้ ในอนาคตอาจพัฒนาไปถึงการมีสติ ตัดสินใจคิดถูกผิดได้

ผลในอนาคต จะเป็นเรื่อง Machine มองเรื่อง Vision และ Save Target ไว้ มองเรื่องการทำงานให้สำเร็จ อะไรเป็นเหตุและผลที่จะไปพัฒนาสู่ Consciousness ได้ เรื่องของ Moral และสิ่งเหล่านี้เราอาจไม่ได้จากส่วนนั้น บางคนอาจมองในมุมลบ แต่อย่ามองไปอย่างนั้น เราควรเน้นเรื่อง Excellent เรื่องการกระตุ้น และเร่งเรื่องการพัฒนาขึ้นมา เราต้อง Upgrade Moral Capacity เนื่องจากมีความซับซ้อนกว่าในอดีตมากต้องอาศัย Human Centred Leadership เราจะเลือกใช้ และ Balance อย่างไร

การมองมนุษย์เป็น Liabilityหรือมองมนุษย์เป็น asset เป็นเงิน

อย่าง Finance มองมนุษย์เป็น Liability เป็นความรับผิดชอบ คือเป็นภาระ แต่ในเล่มนี้เราจะมองว่าคน 1 คนจะสามารถสร้างงานได้เท่าไหร่ มองในเรื่อง Asset ที่ 1 คนสร้างได้ 1,000 ล้านเหรียญ

บางครั้งอาจมองแค่ Tangible แต่ Intangible มองข้ามไป

การมองคนเป็นเรื่องทุนนิยม แต่ไม่ได้มองเรื่องการสร้าง Hope Dream แรงบันดาลใจ เลยทำให้วัฒนธรรมองค์กรมีปัญหา เน้นเรื่องตัวเลข Output Outcome แต่ไม่ได้เน้นคุณค่าความเป็นมนุษย์เราจะทำอย่างไรให้เขามาร่วมพัฒนาองค์กรร่วมกัน

มองงานทุกอย่างให้ได้ผลกำไร เป็นตัวเลข

การสร้าง Human Centred Leadership ให้ Shift ขึ้นมา ให้ Leader สามารถสร้าง Trust ความมั่นใจ ดูแล (Service) ใจกว้าง จะช่วยให้การพัฒนาองค์กรสำเร็จ

ดร.จีระ เสริมว่า

มนุษย์ต้องปรับตัวให้ทัน และต้อง Fair ต้อง Slow ถ้ายังไม่พร้อม ก็ยังไม่ต้องไป เดินสายกลาง

อะไรที่เสี่ยงไม่แน่ใจเราต้อง Slow ไว้ก่อนถ้ามีตัวเร่งทำตาม เราจะเกิด Greed เช่นปัญหาเรื่อง Subprime

กลุ่มที 2 แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ทำให้เห็นภาพพจน์ และ Challenge ให้เห็นทั้งเทคโนโลยี Moral Brand Machine มีประเด็นที่มองเห็นคือการมองเชื่อมโยงมาที่การพยาบาล อย่างเรื่อง Moral ถือเป็นหัวใจ โดยเฉพาะมา อยู่ที่ ม.อ. ก็ยิ่งตอกย้ำความสำคัญ

ประเด็นที่น่าสนใจคือเรื่องคน คือ Man กับ Machine มีความพยายามสร้างหุ่นมาแทนพยาบาล เพราะพบเรื่องการขาดแคลนพยาบาลอยู่เสมอ รัฐบาลจะมาสนับสนุนให้เพิ่มให้เพียงพอ แต่ก็ยังไม่สำเร็จ เนื่องจากมีการรั่ว สูญหาย ไป อายุของพยาบาลส่วนใหญ่จะอยู่แค่ 40 ปี จึงมีความท้าทายของนักประดิษฐ์ที่สร้างเครื่องมือทดแทนเอามาใช้อย่างไรให้พอดีโดยไม่ได้ทำลายหัวใจของพยาบาล เพราะคนเป็นสัตว์สังคมMachine คนขาดมิติของจิตวิญญาณ ขาดลักษณะ Caring มีเรื่อง Direct Interaction การปฏิสัมพันธ์มีเรื่องความรัก ความใส่ใจ ความหวังดี ที่จะเป็นตัวเยียวยาที่ดี แค่กอด ให้ความรักก็สามารถทำให้คนไข้ดีขึ้น แต่ก็ไม่ปฏิเสธเทคโนโลยี เพราะช่วยได้มาก แต่ไม่ทอดทิ้งการพยาบาล แต่เราจะนำมาใช้อย่างไรให้พอดี

Leader ที่อยู่ท่ามกลาง Challenge จะเป็นอย่างไร องค์กรในอนาคตของ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.จะเป็นในทิศทางใดและอย่างไร

ตอบ อยากให้วิเคราะห์กลุ่ม 3 และ 4 ว่าคณะเราควรจะเป็นอย่างไร คิดว่าน่าจะเป็นแบบที่ 1 คือเก็บสิ่งที่ดีไว้ และปรับให้ดีขึ้นผู้นำแบบที่ 3 ก็อยากเป็น แต่ไม่คิดว่าน่าจะ Change ขนาดนั้น โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็นแบบที่ 1

กลุ่ม 2 คิดว่าน่าจะมีผู้นำส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 มาอยู่ด้วย องค์กรถึงจะอยู่รอด เป็นแบบค่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไป

ดร.จีระ เสริมว่า

บางครั้งเอา Concept 3 V โดยเอาคนใหม่กับคนเก่ามาผสมกันบ้างก็จะพอดี และ Diversity ไม่ได้เฉพาะความหลากหลายด้านอื่น เพราะหลายครั้งที่คนรุ่นใหม่กับเก่าก็อยากทำงานร่วมกัน

อาจารย์พิชญ์ภูรี เสริมว่า เราต้องหาตัวช่วยมาช่วย ผู้นำจะต้องเลือกให้ถูก อย่างเรือที่เคว้งคว้างในทะเล อะไรสำคัญที่สุดในเวลาที่เรือเสียอยู่ในทะเล คือเข็มทิศ ดังนั้นผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ว่าจะเดินไปทางไหน เพื่อไม่ให้องค์กรเคว้งคว้าง ใช้เทคโนโลยีช่วย อย่างเอาคนไปตอบโจทย์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้นำของพยาบาลหรือคณะที่มีพันธมิตรขอให้มีวิสัยทัศน์เข้าใจ เอาคนเป็นอันดับหนึ่ง แล้วเสริมการบูรณาการ เทคโนโลยีเข้าไปกับคุณธรรม จริยธรรม ผู้นำต้องใช้คนให้เป็น

ยกตัวอย่าง ทฤษฎีผู้นำของ ดร.จีระ ที่ชอบคือ Rhythm & Speed และการสร้าง Platform ให้คนเล่น ให้เอาคนที่เชี่ยวชาญมา บริหารจัดการให้เป็น แล้ว Integrate กัน

ดีที่สุดอย่ายึดติด ต้องมีเข็มทิศว่าจะเดินไปทางไหน อย่างคณะพยาบาลศาสตร์โชคดี และเข็มทิศคือคณะแพทยศาสตร์ ทำอย่างไรเอาตัวเหล่านี้มาใช้ให้ได้และให้สามารถเดินไปใช้ประโยชน์ได้ เอาเทคโนโลยีมาตอบโจทย์ให้คนมีความสุขแล้วจะเกิดความยั่งยืน

กลุ่มที่ 2

Chapter 5: Becoming the best version of yourself

การเป็นผู้นำในโลกมนุษย์

1. ต้องเข้าใจปัจจุบัน

2. เข้าใจเป้าหมายว่าจะเป็นอย่างไร

3. การนำตัวเราไปสู่เป้าหมายมี 2 สิ่งที่ต้องคำนึงถึง

1. Doing ต้องทำอะไร

2. Being เป็น หมายถึงอะไร

Being เป็น หมายถึงอะไร เป็นการอยู่เป็น เป็นอะไรที่มากกว่าการกระทำ เป็นการอยู่กับมันเป็นกับมัน เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะ เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม และตัวตนของเรา

เป็นเรื่องความงาม ความดี ความจริงเป็นปัจจัยสำคัญไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

- คุณธรรมมีความสำคัญอย่างไร

- การอยู่กับคุณธรรมและความดีคืออะไร

- เราจะพัฒนาไปสู่เป้าหมายอย่างไร

Here อยู่กับปัจจุบัน

There เป้าหมาย

Beingเป็นอย่างไร

Doing มี List สิ่งที่ต้องทำ

การรู้จักตัวตนของเราเป็นจุดเริ่มต้นของปัญญาที่มีอยู่พอสมควร

Best Person

1. Best

- คนส่วนใหญ่จะมองในแง่ของการปฏิบัติงานคือการปฏิบัติได้ดี มี Performance ที่สูง เน้น Maximum Outcome

- การมองการหยั่งรู้ข้างใน คนเก่งจะมอง High Performance ส่วนดีคือการมองคุณธรรมจริยธรรม

จะทำอย่างไรให้เป็น Best Person ในนิยามนี้

2. Person

- พวกค้าทาสจะมองคนเป็นวัตถุ ซื้อขายได้ ทางธุรกิจจะมองเป็น Unit of Economic Production ทางด้านมานุษยวิทยา จะมองว่าความเป็นมนุษย์

- คนกับมนุษย์ต่างกันตรงไหน

- คนจะมีความรู้สึก ความคิด ชั่ว ดี ใช้เหตุผล

- คนที่เป็นมนุษย์ได้ต้องควบคุมอารมณ์ได้

- ผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ต้อง Being a human

การพัฒนาสัมพันธภาพ

ถ้าเอาเด็กออกจากสังคม เด็กที่ถูกพัฒนาจะเป็นลักษณะที่ถดถอยไม่เจริญงอกงาม เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ดังนั้นพื้นฐานของมนุษย์จึงอยู่ที่สัมพันธภาพ และที่สำคัญคือสัมพันธภาพระหว่างคน ทำให้เกิดความเข้าใจ เรียนรู้ เกิดความรู้สึกถึงความงาม ความดี ความจริง

ทางวิทยาศาสตร์มองความจริงเป็น Single Reality แต่มนุษย์เป็น Subjective Reality

การปฏิเสธความเป็นสัมพันธภาพจะทำให้ความเป็นมนุษย์ลดน้อยหายไป

วงกลม 4 วงในการสร้างสัมพันธภาพ

1. เข้าใจตัวเอง ตระหนักรู้ สามารถสร้างคุณค่า และเป้าหมายของตนเองชัดเจน

2. คนที่แวดล้อมเราพ่อแม่ เพื่อน ครอบครัว

3. ทางด้านสังคม และโลก

4. จิตวิญญาณ

เราจะนำสัมพันธภาพไปสู่ความดี ความงาม ความจริง พัฒนาสัมพันธภาพทียึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง มีการเรียนรู้จากคุณธรรม และความดี เรียนรู้จากผู้คน

สัมพันธภาพเป็น Key อย่างหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่เป็นระบบเป็น Systematic Challenge คนจะช่วยแก้ปัญหาข้อบกพร่อง อาทิ Climate Change อาศัยการทำงานของคนหลายระดับ เรียนรู้เพื่อหาข้อขัดแย้ง ทำความเข้าใจดีกว่าค้นหาข้อบกพร่องแต่ละคน

ความจริงเกิดจากการเรียนรู้ของคนที่เกี่ยวข้องแล้วมา Define ว่าเกิดจากอะไร มีจุดร่วมแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

Chapter 6 Foundations of leadership รากฐานของการเป็นผู้นำ

1. สิ่งสำคัญที่อยู่ในตัวเราเป็นอย่างไร

2. วิเคราะห์ตัวเองด้วย ความมีคุณธรรม ความดี ความถูกต้อง

Give me a firm place on which to stand and I will move the world

หากให้พื้นที่ยืนที่มั่นคงกับฉัน ฉันก็สามารถจะขับเคลื่อนโลกนี้จากคำกล่าวของ Archimedes ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญของคุณลักษณะที่เป็นรากฐานในตัวคน และสะท้อนออกมาในการกระทำของคนที่มีภาวะผู้นำ

เราจะขับเคลื่อนได้ต้องมีรากฐาน มีคุณธรรมที่สำคัญ

อิทธิผลของการอบรมเลี้ยงดู ต่อภาวะผู้นำ

ในสถานการณ์ที่คุณต้องตัดสินใจ คุณจะค้นพบตัวคุณ เช่น คุณเลือกตัดสินใจที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ และคุณเลือกตัดสินใจบนความถูกต้องและมีคุณธรรม มีอะไรที่หล่อหลอมให้เกิดสิ่งนี้

ความเป็นผู้นำ เกิดได้อย่างไร

  • เริ่มต้นจากการหล่อหลอมสร้างภายใน (being) แล้วแสดงออกเป็นการกระทำ (doing or action)
  • ภาวะผู้นำสร้างจากคุณลักษณะภายในตน เกิดมาจากวิสัยทัศน์ คุณค่าและจุดหมายของชีวิต
  • จากการให้ความหมายต่อการมีชีวิต ซึ่งเป็นผลมาจากพื้นฐานของตัวคุณและนำไปสู่สิ่งที่คุณปฏิบัติต่อไป

พื้นฐานของตัวตนมาจากที่ไหน

1. อาร์คิมิดีส ใช้คำว่ายูเรก้า

เมื่อพบวิธีการวัดน้ำหนักของทองบนมงกุฎ

2. คำนี้จึงเปรียบเสมือนความรู้สึกหยั่งรู้ ความหยั่งรู้นี้เป็นพลังที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อน เป็นรากฐานของการผลักดันเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ

3. “หากให้พื้นที่ยืนที่มั่นคงกับฉัน ฉันก็สามารถจะเคลื่อนโลกนี้”

Give me a firm place on which to stand and I will move the world

4. การจะเปลี่ยนแปลงโลกนี้ จะไม่เริ่มต้นที่เสาะหาความท้าทาย แต่จะเริ่มจากพื้นฐานในตัวเรา ต้องมีรากฐานที่มั่นคงที่เป็นคุณสมบัติในตัวตนของเรา เป็นจุดยืนของเรา ไม่ใช่สิ่งที่เราถูก ผลักให้เป็น

รากฐานในตัวเรา

  • เหมือนรากที่หยั่งลึกต้านทานพายุที่เข้ามากระทบชีวิต เป็นพลังชีวิต ความเข้มแข็ง ที่ทำให้ยืนหยัดท่ามกลางความไม่แน่นอนของชีวิต
  • เป็นกุญแจสำคัญของชีวิตที่สร้างภาวะผู้นำของบุคคล
    • Neurotics (โรคประสาท) are biased against learning about their problem – มองเห็นแต่ปัญหาคนอื่น
    • Egotists (คนคุยโว, คนอวดดี, คนทะนงตัว) are biased against learning about what benefits other persons – เห็นแต่ประโยชน์ของตนเอง
    • Loyalists (ผู้จงรักภักดี) are biased against learning what might benefit other groups – เห็นแต่องค์กรตนเอง
    • Common sense (การใช้ความคิดตัดสินแบบตื้น/พื้นๆ) itself tends to be biased against deep analysis [and] historical study – คิดอะไรง่าย ๆ ไม่วิเคราะห์

ดังนั้น คุณสามารถมองหาจุดยืนของตัวเอง โดยการวิเคราะห์ค้นหาตนเอง

หรือเมื่อจุดยืน/คุณค่าที่ยึดเหนี่ยวถูกกระทบ

Chapter 7 : In search of Beauty, Goodness and Truth

คำถามถัดไปที่ต้องถามตัวเอง คือ คำถามเกี่ยวกับทิศทางที่จะก้าวเดินไป เสมือนการปลูกต้น “คุณจะเป็นผู้นำแบบไหน” “ผู้นำที่ยึดความเป็นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (a human-centered leader)”? จะต้องทำอย่างไร ในองค์กรของเรา มีผู้นำแบบนี้หรือยัง

สิ่งที่ยอดเยี่ยม 3 สิ่งคือ

1. Beauty

2. Goodness

3. Truth

ไห้หา3 สิ่งของตนเองก่อน แล้วค่อยค้นหาคนอื่น

ตัวอย่าง รัชกาลที่ 9

1. Beauty ความงาม สิ่งที่ดีงาม = รูปงาม ทำในสิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

2. Goodness ความดีงาม คุณงามความดี ความมีคุณธรรม = กระทำกุศลกรรม กระทำความดีต่อส่วนรวม ดังกับคำสอนของพระราชบิดา

3. Truth ความจริง ข้อเท็จจริง = เป็นความจริงที่พระองค์มีทั้ง beauty and goodness

ผู้นำที่ดีต้องคำนึงถึงความรู้สึกของลูกน้อง องค์กรก่อนตัวเอง

Conversion and Change: To becoming more human

ดีพร้อมทั้งกาย ใจ คิดถึงใจเขา ใจเรา

ต้อง change ทั้ง new perspectives (มุมมอง), new insights (หยั่งรู้ตนเอง), new friendships, new approaches, new … everything

เป็นการ conversion จาก สิ่งหนึ่ง ไปเป็น อีกสิ่งหนึ่ง จากมุมมองที่เคยมี/เชื่อ ไปเป็น มุมมอง/ความเชื่อใหม่ ที่ดีกว่าเดิม

Intellectual conversion การเปลี่ยนความเชื่อทางปัญญา เช่น

จาก โลกแบน เป็น โลกกลม

Intellectual conversion

As human beings we are permanently vulnerable to bias:

Moral conversion การเปลี่ยนความเชื่อทางศีลธรรม รู้ผิดชอบชั่วดี

  • เริ่มต้นจากการใช้หลักการและมุมมองทางศีลธรรมที่คุณมีอยู่ เช่น
  • เปลี่ยนจากต้องการได้รับโบนัสที่มากและสูงค่า มาเป็น ได้รับการยกย่องจากสังคม
  • จากการทำงานพิเศษที่ไม่ต้องหักภาษีเพื่อหาเงิน เป็น ทำงานและจ่ายภาษีเพื่อคนส่วนมาก
  • จากการสั่งและควบคุมลูกน้อง กระทำกับลูกน้องเหมือนวัตถุ/เครื่องจักร เป็น ให้การดูแล กระทำกับลูกน้องโดยใช้ people-centered management approach คือการลงไปทำด้วยกัน

Leadership and the search for Beauty, Goodness and Truth

  • เปลี่ยนแปลงความเชื่อ: from “who you are” to “who you can become”

2.การค้นหา Transcendentals 3 สิ่งนี้ ต้องทำให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ที่ต้องเปลี่ยนแปลง นั่นคือ

- การค้นพบความงามที่ถูกซ่อนไว้

- การให้การยอมรับในความดี

- การเปิดเผยความจริง

3.การค้นหานี้ มีความสำคัญกับ

- ชีวิตส่วนตัวของคุณ

- การเป็นผู้นำที่ยึดความเป็นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง

สรุปคือ ในองค์กรของเรา มีผู้นำแบบ a human-centered leader หรือยัง ถ้ายัง ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง ให้มี Transcendentals

Chapter 8 : Discover your purpose

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ต่อสู้กับเรื่องการเหยียดสีผิว เขาบอกว่าอยากเดินไปทุกที่ได้อย่างสง่าผ่าเผย

สิ่งที่คนอื่นพูดถึงคือมีความต้องการที่ชัดและรู้ว่าต้องการทำอะไร

I am not I พูดถึงตัวฉันกับสิ่งที่ฉันเป็น ทุกคนจะจำได้ในสิ่งที่เราได้สร้างไว้กับโลกนี้ สิ่งนี้คือ Purpose ในการค้นหาที่ควรจะเป็น

การค้นหาตัวเอง

เราอยู่ตรงไหน จะทำอะไร ค้นหาแล้วจะทำให้ตัวเองชัดว่าเราเกิดมาทำไมและจะทำอะไรให้ในโลกนี้

การเปิดรับทุกอย่างจะทำให้เราสะเปะสะปะ ไม่สามารถ โฟกัสได้ ดังนั้นเราต้องเลือกที่จะโฟกัสจริง ๆ

คำถามคือ

คุณจะเป็นอะไรในชีวิตนี้ หมายถึงว่าคุณเกิดมาเพื่ออะไร

เราจะเลือกสิ่งไหนเพื่อจะทำให้ดีที่สุดและจะเหลือให้บุคคลในโลกนี้ต่อไป ภายใต้โลกหน้าให้ทุกคนจดจำเราว่าอย่างไร

ถ้ารู้ว่าจุดมุ่งหมายคืออะไร เราจะรู้ว่าเราเกิดมาทำไม และจะรู้ว่าเมื่อมีโอกาสมากเราจะรู้ว่าเราจะเลือกสิ่งไหน

เราจะเดินเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้น จะเจอคนแบบเดียวกับเรา เข้าใกล้เป้าหมายของเรา แล้วเราจะเดินเข้าใกล้ได้มากขึ้น

และเมื่อคุณรู้เป้าหมายและทำตามเป้าหมายของคุณแล้วคุณจะมีความสุข เป็นการทำโดยความมุ่งมั่น สิ่งที่ทำสิ่งนั้นสำเร็จ

ความสำเร็จจะสำเร็จ 2 ครั้ง 1.ฝันแล้วว่าเขาทำได้ 2. เขาได้ลงมือทำตามความฝันนั้น

ดังนั้นให้ฝันให้สูงและฝันให้ใหญ่ อย่าบดบังความฝันคุณ ทุกสิ่งสามารถเป็นไปได้ถ้าทำตามความฝันคุณ แล้วกระจายความฝันไปเรื่อย ๆ ให้คนรอบตัวคุณแล้วจะรู้ว่าเกิดมาทำไม

สรุปคือ ฝันให้ไกล ฝันให้ใหญ่ เท่าที่ใหญ่ได้ แล้วเดินให้ใกล้มากที่สุด

A Poem : I am not I

สิ่งที่หลงเหลือในโลกนี้คือตัวตนเรา ดังนั้นเป้าหมายคือสิ่งที่เพื่อนคุณจะพูดเมื่อคุณอยู่ในหลุมศพแล้ว

ท้าทายว่าเมื่อคุณตายแล้วคนรอบข้าง และเพื่อนคุณจะพูดถึงคน ๆ นั้นอย่างไรสร้าง Set ที่หลงเหลือไว้ในโลกนี้

สรุปคือ ฝันให้ใหญ่ เดินใกล้สิ่งที่ฝันให้มากที่สุดแล้วเดินใกล้ขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุกคนทำได้และมีพลังกับมัน

Chapter 9: A life of virtue

เราจะทำอย่างไรในการมีชีวิตที่มีคุณธรรม

เป็นพฤติกรรมที่ดีที่เกิดจากการปฏิบัติซ้ำ ๆ จนเป็นนิสัยที่ดี

คุณธรรมหลัก 4 ประการ

1. สุขุม รอบคอบ ใช้สติ ปัญญาในการคิดว่าสิ่งไหนควรปฏิบัติไม่ปฏิบัติ

2. ยุติธรรม ให้ใครอย่างสมเหตุ สมผล สิ่งไหนควรให้ ไม่ควรให้ ต้องดูแลตัวเองให้ดีก่อน

3. กล้าหาญ ต้องยืนยันในสิ่งที่ถูกต้องยืนหยัดในความเป็นจริง กล้าหาญ

4. รู้จักความพอประมาณ ควบคุมตนเองให้เหมาะสมกับสภาพและฐานะของเราให้ดำรงอยู่

ทำอย่างไรให้เป็นคนมีคุณธรรม

1. ฝึกทำเรื่อย ๆ จนเป็นนิสัย เช่นถ้าอยากเป็นคนที่อดทน ต้องฝึกความอดทน ถ้าอยากเป็นคนฉลาด ก็ฝึกให้เป็นคนฉลาด ฝึกอย่างไรได้อย่างนั้น

2. คุณธรรมเป็นจุดเฉลี่ยของความพอดีที่จะต้องดู เช่น

- ความกล้าหาญ อยู่ระหว่างบ้าบิ่นกับความขลาด

- ความสุภาพ อยู่ระหว่างความกล้า กับความอาย

เราต้องใช้ Wisdom หรือปัญญาในเลือกความพอดีว่าควรอยู่ตรงไหนเช่น การไม่ตอบโต้ทุกครั้ง หรือเงียบในบางครั้งในการแก้ปัญหาในขนาดนั้น ซึ่งความพอดีของแต่ละคนไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และใช้เหตุผลในการเลือก

3. Act as if คือให้ทำเสมือนว่า

- เช่นบางครั้งอยากใจกว้าง ความเอื้อเฟื้อ เราต้องสติและระลึกก่อน และเมื่อรู้สึกว่าอยากช่วยเหลือ ถ้าเราเจอสถานการณ์อะไรให้เราช่วยเหลือเลย ให้เลย และเมื่อเราทำบ่อย ๆ เรื่อย ๆ จะกลายเป็นนิสัยที่อยู่ในตัวเราได้

Virtues and Human-Centred Leadership

1.ผู้นำที่มีคุณธรรมจะเป็น Leader ที่ Attractive จะดูแลคนอื่นได้ น่าเชื่อถือ ยึดถือตัวเองน้อย เห็นประโยชน์ของมนุษย์

2. การมีคุณธรรมจะทำให้เราเติบโตทางด้านจิตวิญญาณ มีชีวิตที่ดีขึ้น

3. เป็นคุณธรรมที่สำคัญของ

ดร.จีระ เสริมว่า

Leadership แบบ Human Center นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่จะช่วยให้เราค้นหาตัวเราเอง

8K’s 5K’s มีเรื่องทุนทางจริยธรรม มีคนถามมาว่าจะมีได้อย่างไร

- ได้จากพ่อแม่ เรียน การทำงาน คือสถาบันครอบครัว การศึกษา และการทำงานหล่อหลอม ทำให้อายที่เป็นคนไม่ดี

- ทำให้ลูกศิษย์ในคณะพยาบาลศาสตร์ เห็น Journey ของเขาว่าเส้นทางของเขาจะเป็นอย่างไร

คำถามคือ ถ้าบางคนโชคไม่ดีซึ่งได้รับการปลูกฝังจากครอบครัวไม่พอ และจากข้างนอกเช่น สื่อ ถูกอิทธิพลของสื่อประกอบกับความอ่อนแอของครอบครัว คนที่จะช่วยเหลือเราในวันนี้จะเป็นใคร

การเดินทางไปข้างหน้าให้เกิด Human Center Leadership จะมีวิธีการอย่างไร และหลังจากวันนี้จะมี Project ให้เยาวชนและนักศึกษาได้อย่างไร

ใน ม.อ. น่าจะมีสถาบันที่ปลูกฝังเรื่องความดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 อย่างต่อเนื่อง

อยากให้ Human Center Leadership กระเด้งไปที่สังคมมากขึ้นด้วย

การทำงานต้องมี Purpose มี Meaning ทำให้เกิด Creativity และ Innovationปัญหาคือหลังจากนี้จะทำอะไรต่อ ต้องทำตัวให้รู้จัก Networking ข้างนอกมากขึ้น

กลุ่มที 3 แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

เราจะช่วยสร้างให้สังคมเป็นคนดี และคนเก่งได้อย่างไร

1. เริ่มตั้งแต่ครอบครัว ปลูกฝังพ่อแม่ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ไปจนถึงผู้สูงอายุที่จะมีคุณภาพในอนาคตคือมีคุณธรรม ความดี

2. เปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้ว่าการเป็นคนดีเป็นอย่างไร มีเวทีปฏิบัติให้เป็นคนดีอย่างต่อเนื่อง

3. การกล่อมเกลาจิตใจคิดว่าศาสนายังคงช่วยได้ จะนำตรงไหนมาใช้ เช่น Beauty มองด้านดีของศาสนามาสอนเรา

4. สร้าง Role Model ให้คนยอมรับและเห็นเป็นแบบอย่าง แล้วคิดว่าจะมีตัวต้นแบบให้คนเป็นแบบนี้แล้วให้มีการยกย่องเชิดชู

อาจารย์พิชญ์ภูรี

อย่างหนึ่งที่ผู้นำจะเป็น Human Center Leadership

1. รู้จักตัวเอง

2. ค้นหา Best Version คือเก่งและดีในแบบที่ท่านเป็นคือ Best Version

3. เสริมรากฐานความเป็นผู้นำ ซึ่งความมั่นใจและกล้าหาญต้องมาจากความดี และความเก่ง ดีอย่างเดียวบางทีก็ไม่กล้า

4. เมื่อคนเก่งแล้วก็เสริมรากฐานความเป็นผู้นำคือความกล้า

5. มีเหตุผลที่สนับสนุนในความกล้าและความเก่ง เลือกอะไรที่แตกต่าง

6. ความงามและความแตกต่าง Beauty is different

7. ค้นพบจุดมุ่งหมายที่จะร่วมทำอะไรฝากไว้กับโลก

8. ทำความดีไว้อย่างไรก็มีเกียรติ ก็มีกิน

Chapter 10 Five virtues for effective leadership

คุณธรรม 5 ประการของผู้นำ

1. Humility ความอ่อนน้อมถ่อมตน

คุณสมบัติคือเฉียบขาด ฉับไว

“Team first,buddy second and Self last”

เมื่อเกิดการผิดพลาดให้เรียนรู้แล้วพัฒนา

Humility

คือการสร้างความสมดุลระหว่างมากเกินไปกับน้อยเกินไป

การเป็นผู้นำแบบ Humility

คือพร้อมที่จะ Service อย่างเหมาะสม

ข้อดีของความอ่อนน้อมถ่อมตน

1. การฟังคนอื่น เมื่อคนรู้ว่าเราฟัง จะทำอย่างดีที่สุดเพราะทุกคนจะทำเต็มที่ภายใต้ความพอใจ ทุกคนรู้และเข้าใจ

2. คุณสมบัตินี้เป็นหัวใจของ Human center leadership

2. Practical Wisdom สุขุม รอบคอบ

คือการค่อย ๆ คิดทีละนิด ทำแล้วจะมีสิ่งใดเกิดขึ้นตามมา ต้องทำด้วยความรอบคอบ

การได้มาซึ่ง ปัญญา

1. จะเป็นข้อมูลลึก ๆ ข้างในหรือเหตุผลที่มา

2. การอ่านประวัติศาสตร์

3. ทบทวนการตัดสินใจว่าถูกหรือไม่

4. แตกย่อย และซักถามเพื่อให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น

การนำไปใช้

สามารถวางทิศทางในการแก้ปัญหา รู้ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้

3. Courage ความกล้าหาญ

กล้าตัดสินใจ กล้าทำอะไรใหม่ ๆ

4. Justice ความยุติธรรม

ความแตกต่างของแต่ละบุคคลเป็นประเด็น เราจะทำอย่างไรให้เกิดความยุติธรรมเหมาะสมกับแต่ละตำแหน่ง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่ายุติธรรมหรือไม่

1. สวมบทบาทว่าเราเป็นเขา จะรู้ว่าเขาต้องการอะไรแล้วจะพิจารณาได้ว่าสิ่งไหนเหมาะสมและยุติธรรม

2. ความยุติธรรมสามารถทำได้ทันที เหมือน สุขุม รอบคอบ และระวัง

5. Self –Control

เราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยาก ต้องดูกิเลสเราว่าจะไปทางไหนแล้ว อยากเพื่ออะไร อยากเพื่อตนเอง องค์กร หรืออะไร มากเกินไปหรือไม่

สรุปคนจะเป็น Human Center Leader ต้องมีทั้ง 5 ข้อนี้

Chapter 11 Making wise decisions : thinking well

เป็นการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด ตัดสินใจแล้วผู้คนจะยอมรับการตัดสินใจของเรา

การคิดดี

1. มี Model สำหรับคิด

2. มีคำถามที่ดี

3. การเชื่อมโยงการคิดกับความเป็นผู้นำ

ขั้นตอนการคิดดี

1. Data - ข้อมูลต้องรู้ข้อมูลนั้น ๆ ก่อนตัดสินใจ ต้องหาข้อมูลให้ครบ ถามจากคนที่มีประสบการณ์ คนที่มีข้อมูลเพียงพอ ในการทำให้เราตัดสินใจให้ถูกต้อง

2. Understand - ความพยายามที่จะทำความเข้าใจเขา ให้คิดว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น และถ้าเป็นเขาเราจะคาดหวังและคาดการณ์อย่างไร

3. Judgment - การประเมินหรือตรวจสอบความเข้าใจของเราถูกต้องหรือไม่ บางครั้งเราเข้าใจผิดแล้วทำให้เราตัดสินใจผิดพลาด

4. Decision -การตัดสินใจคือเราจะทำอะไรต่อจากข้อมูลที่มี ความเข้าใจของเรา และการตรวจสอบแล้ว

สรุปคือการคิดดีได้ต้องมี 4 ขั้นตอนในการที่เราต้องทำ

คำถามที่เหมาะสม

1. ควรเป็นคำถามเปิดจะทำให้ได้ข้อมูลตรงทันที ให้เขาสามารถอธิบายข้อมูลได้มากที่สุด แล้วจะได้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง

2. แล้วข้อมูลนี้คืออะไร ทำไมถึงเป็นอย่างนี้

3. การ Confirm ความเข้าใจเราว่าใช่หรือไม่

4. แล้วเราจะทำอะไรต่อ คือคิดไปด้วยกัน แล้วจะทให้ทำงานนั้นได้ดี

ผู้นำที่ดี

1. ต้องเข้าใจว่าเรามีความรู้จำกัด เราไม่ได้รู้เยอะกว่า

2. เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของทุกคน เพราะมีบางคนที่มีความคิดที่แตกต่างกันไป ความคิดเห็นหนึ่งไปสู่ความคิดเห็นหนึ่ง จะทำให้เกิดความหลากหลาย และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

3. ทำงานกับคนหลายด้านจะทำให้เรามีความรู้ที่กว้างขึ้น

สรุปคือ 4 ขั้นตอนนี้จะทำให้เกิด Innovation ต่อไป และให้นำสิ่งนี้ไปให้คนรอบข้างคิดเหมือนกัน

Chapter 12 Making wise decisions: choosing well

การตัดสินใจที่ชาญฉลาดจะอาศัยความรู้สึกผิดชอบชั่วดี อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เราจะสร้างและปลูกฝังมโนธรรมได้อย่างไร

Conscience

จะเป็นสิ่งที่บอกว่าอะไรดี อะไรไม่ดี โดยเฉพาะสิ่งที่ทำกับคนอื่น จะรู้ว่าสิ่งไหนดี ไม่ดี กระทบกับคนอื่นอย่างไร

เป็นสิ่งที่บอกว่าเราควรทำอย่างไรเพื่อให้สิ่งนั้นดีต่อคนอื่น

1. เราควรฟัง Inner voice มาก ๆ เพื่อทำให้ Wisdom ดีขึ้นเพื่อให้เกิดการพัฒนา

วิธีการ

1. ทำให้บ่อย และเป็นนิสัย

- ใช้บ่อย ๆ ให้ฟังเสียง Inner side

- เราดูแลเอาใจใส่ ฟูมฟัก รับเรื่องดี ๆ แล้วมโนธรรมเราจะดี

- การตัดสินใจแต่ละครั้งที่ทำลงไป ถ้าคิดว่าไม่ดีเราจะ Reshape ใหม่เป็น Reform เพื่อให้ได้มโนธรรมที่ดี

- เลือก Best Guide ที่สามารถเป็น Role Model เลือกปฏิบัติตามเขา

เมื่อ Form Conscience บ่อยจะไปสู่ Best Decision และไปสู่ Best Journal แล้วเราจะรู้ว่าสิ่งนี้เป็นมโนธรรมที่ถูกต้อง

แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราจะต้องเลือก Doubtful คือสิ่งที่เราจะทำไม่มั่นใจว่าถูกไว้ ให้คอยจนสิ่งที่เราจะทำชัดเจนขึ้น ไม่เช่นนั้นถ้าเราทำแล้วสิ่งที่เราทำจะไปทำให้ผลกระทบกับคนอื่นมีได้ การรอคอยอาจทำให้ผลกระทบน้อยลงก็ได้

สิ่งที่เราเลือกปฏิบัติ เราไม่สามารถตัดสินได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง ทางแก้คือดูที่ Principle ถึงทราบว่าการกระทำที่ถูกต้อง เป็นความจริงแท้ที่ชัดแจ้งในตนเอง อาทิไม่เอาของคนอื่นที่ไม่ใช่ของเราไม่ Cheat คนอื่น หลีกเลี่ยงสิ่งไม่ดี อะไรที่คุณไม่ชอบหรือเกลียดไม่ทำสิ่งนั้นกับคนอื่น

Conscience and Relationship

การตัดสินใจจะทำอะไร มีผลต่อการตัดสินใจของเรา ให้ดูความเหมาะสม แล้วจะทำให้สังคมปัจจุบันดีขึ้น

สรุปคือ ทักษะของมโนธรรม เป็นทักษะของภาวะผู้นำอย่างหนึ่งที่ช่วย Human Center Leadership


Chapter 13 Navigating life with a moral compass

เพราะธรรมชาติของมนุษย์ไม่สมบูรณ์แบบ แต่จะมีวิถีทางที่ทำให้มนุษย์เดินไปสู่ความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น คือเข็มทิศคุณธรรม

เข็มทิศคุณธรรมจะชี้ไปที่ Beauty and Goodness

อาทิ เช่นอยู่บนเรือที่มีเมฆหมอก เราจะไม่รู้ว่าไปไหน แต่ถ้ามีเข็มทิศจะเป็นตัวช่วยได้ แต่เข็มทิศจะชี้ไปในทิศไหน เช่นถ้ามี Moral Compass ที่ดี จะเป็น Guide นำทางตลอดชีวิต สามารถใช้ได้ตลอดชีวิตเพื่อความยั่งยืน

แม่เหล็กที่อยู่ในเรือต่าง ๆ จะปรับทิศไปตามสนามแม่เหล็กโลกและจะชี้ไปทางทิศเหนือของแม่เหล็ก หมายถึงถ้าอยู่บนเรือแล้วไม่เข้าใจว่าทิศของเข็มทิศชี้อย่างไร เราอาจหลงทิศได้ ซึ่งในเรือจะมีตารางเทียบการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เพื่อให้เราไปในทิศทางที่ถูกต้องได้

เข็มทิศที่อยู่ในเรือจะสามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับสภาพแวดล้อม สิ่งเหล่านี้จะทำให้สิ่งที่เราเลือกผิดไปด้วย ถ้าเราไม่มีวิธีปรับเข็มทิศไปในทิศทางที่ถูกต้อง เช่นเดียวกับเข็มทิศคุณธรรม

สิ่งที่ทำให้ Compass ไม่เที่ยงตรงคือ

1. วัฒนธรรมองค์กร ทำให้เราไม่กล้าคิดต่าง ทำให้เข็มทิศคุณธรรมเปลี่ยนแปลงไป

2. เพื่อนร่วมงานหรือสถานที่ที่เราทำงาน พูดเหตุผลต่าง ๆ Induse เราก็ทำให้ Moral Compass เปลี่ยนทิศ

การทำให้เข็มทิศคุณธรรมของเรามีความน่าเชื่อถือและเที่ยงตรง

1. กำหนด Framework ที่ดี แล้วสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวสนับสนุน กรอบ หรือ Framework ที่ดี มีเป้าหมายที่ชัดเจน คือยังคงเชื่อมั่นในตนเอง

- ยังคงเล็งไปที่ความงาม ความดี ความจริงหรือไม่

- เรามีมโนธรรมที่ดีอยู่หรือไม่

2. สิ่งแวดล้อม ช่วยในการฝึกให้เราแม่นยำ ใช้ง่าย และมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น

3 สิ่งที่ทำให้เข็มทิศเราไม่หลงทาง

1. เจตนา เช่นทุกครั้งที่ ดาราจะแสดง จะศึกษาบทนั้น ให้เข้าใจบทบาทสิ่งที่เราจะแสดง ให้นึกถึงบทบาทนั้น ๆ และทุกครั้งที่แสดง จะทำให้เราเชื่อว่าเขารับบทบาทนั้นได้สมบทบาทจริง ๆ

2. เรารู้ว่าเรายืนอยู่ ณ จุดไหน เรามีบทบาทอะไร เราเล่นบทบาทนั้นให้สมบูรณ์แบบ หมายถึงที่เรายืนอยู่ตรงนั้น เราสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งใดได้บ้างในจุดที่เรายืนอยู่ เราสามารถนำสู่ ความงาม ความดี ความจริงได้หรือไม่ มีเป้าหมายไปสู่ Moral Compass ที่ถึงพร้อม

3. สถานที่ที่เราอยู่นั้น มีความมั่นคงพอที่เราจะยืนอยู่หรือไม่มีการสะท้อนหรือทบทวนในแต่ละวันหรือไม่ ทุกครั้งหรือทุกวัน มีโอกาสได้ทบทวนหรือไม่ สิ่งที่ทบทวนให้เราดำเนินไปด้วยความเที่ยงตรง

ตัวอย่าง กลุ่มที่ทำการคัดเลือกทีมฟุตบอลระหว่างที่รถขับเคลื่อนไป รถเปิดหนังโป๊ ทุกคนมีความสุข แต่นิครู้สึกไม่พอใจ ในที่สุด นิคก็ลุกไปข้างหน้า และเหลือบไปเห็นเด็กอายุ 17 ปี เลยพูดว่าสิ่งที่คุณทำนั้นผิด เพราะมีเด็กอายุไม่ถึง 17 ปีและในที่สุดนิคก็ได้รับจดหมายเชิญมาเป็นผู้นำทีมฟุตบอล เพราะเขามีความแตกต่าง และเข้าใจถึงความสำเร็จ

ดร.จีระ เสริม กลุ่มนี้ได้ลงไปที่ทักษะของการเป็น Human Center Leadership และเรื่อง Decision making มีประโยชน์มาก ดังนั้นการเป็นผู้นำต้องตัดสินใจให้ดี ต้องฝึก

1. ตัดสินใจว่าเรียนสาขาอะไร

2. ทำงานอะไร

3. มีความรักจะแต่งงานกับใคร

4. บริหารทรัพย์สินและรายได้ บริหารเป็นหรือไม่

โมเดลนี้เป็นโมเดลฝรั่ง และเราต้องตัดสินใจด้วย บางครั้ง Data ไม่ครบ แล้วมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และเรื่อง Bias มา เพราะ Culture ไม่ได้เขียนไว้ในกฎระเบียบ อาจเกิดจากการรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง อยากให้ไปดูวัฒนธรรมองค์กรของทุกคณะที่มาที่นี่ วัฒนธรรมทำให้องค์กรไม่ไปตามที่เราต้องการ เพราะเป็นอะไรที่จับต้องไม่ได้ แต่มีผลกระทบต่อเรา เพราะไม่ใช่กฎระเบียบ

Trend ของ Leadership ของ ม.อ. เข้าสู่ Humility เป็นสิ่งที่ถูกต้อง มีคนไม่มากที่ประสบความสำเร็จในการเป็น Leader แบบพลิกปิระมิดคือเอาลูกน้องมาก่อนแล้วตัวเองอยู่ข้างล่าง เรียกอีกอย่างว่า Servant Leadership ยิ่งเราใหญ่มากคือการ Serve ลูกน้องเรา ยิ่งเรายกเขา เรายิ่งเป็นเลิศแต่คนเก่งจะถ่อมตัวได้ต้องผ่านความล้มเหลวมาก่อน

Leadership ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ

1.บุคลิกภาพของคน ๆ นั้นหรือ Charecter

2. Skill ต้องฝึกทักษะ เช่น Decision making , การเจรจาต่อรอง , Networking

3. Process คือการ Set Goal ต้องมี Macro and Global Perspective อย่ามองแค่ภาคใต้ ให้มองภาพกว้างไว้ เพราะมีทั้งโอกาสและคุกคาม คนที่มีภาพใหญ่ มีวิสัยทัศน์ เป็นสิ่งที่จำเป็น และแต่ละคณะควรทำ Vision ของตัวเองอีกครั้งหนึ่ง

ในอนาคตข้างหน้าต้องมีการ Share Vision เกิดขึ้น และ Vision ต้อง Turn into Action

4. Leadership Value คือ ศรัทธา (Trust)

สรุปคือ Human Center Leadership โดยตัวเองต้องมีความเก่ง

กลุ่ม 4 ร่วมแสดงความคิดเห็น

จากที่ฟังมีการพูดถึงกระบวนการ สร้างเป้าหมายและมโนธรรมในใจ จะนำไปสู่การตัดสินใจที่สำเร็จและถูกต้อง

หนังสือเล่มนี้ทำให้เราเกิดการสะท้อนตัวเองอีกครั้ง

1. ตนเอง เคยได้ยินคำว่า Caring คือการนอบน้อมถ่อมตน คนที่นอบน้อมได้ต้องมี Care ซึ่งตรงกับคณะพยาบาลศาสตร์

2. Wisdom

3. Moral Compass

- ไม่กล้าไม่รู้นั้นแก้ง่าย

- ถ้าอยู่ใน comfort zone จะมีปัญหา

4. Judgetice คือต้องทำอย่างบ่อย ๆ ต่อเนื่อง อย่างเรื่อง Care นั้นจริงหรือไม่

5. ความซื่อสัตย์ ความมีวินัยเราต้องเข้าใจว่าเข้าใจพอหรือยัง ประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง เราต้องสร้างให้นักศึกษาเป็นอย่างที่ควรจะเป็น

อาจารย์พิชญ์ภูรี

เราต้องมีทั้งประสบการณ์ ทักษะ ต้องเป็นทั้งคนเก่ง และคนดี ต้องสร้าง Trust จะบอกเขาอย่างไร

ฝึกคิด เพิ่มความสุขุมรอบคอบ จะทำให้เราคิดดี และเราจะเลือกได้ดี

ให้คิดดี และหาตัวตนที่แตกต่าง

มี Navigating และใช้เข็มทิศคุณธรรม มีสิ่งแวดล้อมอยู่

มีข้อมูลดี คิดดี ตัดสินใจดี เอาชนะอุปสรรค และที่สำคัญคือความกล้า และสุดท้ายคือ Trust ซึ่ง Best ของเราจะทำให้เกิดความเชื่อมั่น ขอให้ฝึกทักษะให้ลึก และตราบใดที่มีเข็มทิศนำทางที่ดี และมี Framework จะได้ทั้ง ทำอย่างไรถึงจะรวบรวมไว้ได้

กลุ่มที่ 4 PART IIIHuman-Centred Leadership in Action

Life Journey Map

1. เราอยู่ตรงไหน

2. เราจะไปที่ไหน

3. ทิศทางที่เราจะไป

Doing- Strategy

Being –Culture

Chapter 14 Human- Centred Leadership

Put people first

1. กลุ่มที่1 เป็นการดึงศักยภาพมนุษย์เข้ามา

2. ทำอย่างไรจะพุ่งทยานความเจริญเติบโต

3. ไม่มองแค่ระยะสั้น

4. มองระยะยาว

5. ดูแล Customer ทุก ๆจุดเป็นการมองเป็น Unit

Integrates the technical and moral

Results-centered leader

1) Technical capability

2) Command & control to keep everything & every moving in the right direction

3) Obtain results by using people as a means to an end

Human-Centered leader

1) Moral & technical competence(build a technical edifice on a moral foundation) ใช้ความดีมาก่อนความเก่ง

2)Create environment that people can flourish, trust them to head in

the right direction in accord with purpose & principleสร้างสิ่งแวดล้อมในการหล่อหลอมคนไปเพื่อบรรลุเป้าหมายที่เราคาดไว้

3) Obtain results by helping people grow & flourish, so they can freely choose to deliver exceptional results

Human-centered leaders

เน้นคนเป็นจุดศูนย์กลางในการสร้าง Connection ในการสร้างคนเป็นส่วนหนึ่งของ People ทำอย่างไรให้เอา Version ที่ดีที่สุดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สร้างพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้นเพื่อ Generation รุ่นต่อไป เป็นลักษณะการมองระยะยาว ทำอย่างไรให้ยั่งยืน

Chapter 15 Leadfrom where you are

Frame ของ Leader

1. ต้องรู้ตนเอง

2. มีปัญญา มีความกล้าหาญ

3. ให้ความสำคัญกับผู้อื่นก่อนเสมอ

4. แสดงให้คนอื่นเห็นว่าเราทำงานร่วมกับเขาในฐานะผู้ร่วมงาน

- เรื่องการแต่งตัว ภาษา การ Active

Chapter 16 You organizational purpose

การทำงานต้องดูวัตถุประสงค์ขององค์กรดูเป้าหมายเป็นสำคัญ นำไปสู่ความสำเร็จได้ การบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

Chapter 17Leadership at the speed of relationship ภาวะผู้นำขึ้นอยู่กับคุณภาพความสัมพันธ์

ภาวะผู้นำ คือ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลเพื่อสอดประสานความสามารถของคนทำงานแต่ละคนเข้าด้วยกัน

- มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องมีความสัมพันธ์ต่อกันภาวะผู้นำจึงต้องเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ที่ดี หากไม่มีความสัมพันธ์อันดี แต่ใช้การสั่ง การบังคับ หรือการใช้เงินจูงใจจะไม่เกิดผลดีระยะยาว เพราะทำให้การทำงานเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนช่วงสั้น ๆ ไม่เกิดการทุ่มเทต่อเนื่อง

ความสัมพันธ์ 4 ระดับของภาวะผู้นำ

1) ความสัมพันธ์วงใน (การรู้จักตัวตนของตนเอง)

-ที่ปรึกษาอิสระทำให้ผู้นำรู้จักตนเอง ให้คำปรึกษาต่อความคิดของผู้นำ และกระตุ้นความคิด

-การรู้จักตนเองและการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับที่ปรึกษาถือเป็นความสัมพันธ์ในระดับแรกในเรื่องภาวะผู้นำ

2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(พนักงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า ธุรกิจคู่ค้า ฯลฯ)

-หากผู้นำไม่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีพอกับพนักงาน เขาจะไม่ทุ่มเท ไม่ร่วมมือ ไม่พยายาม

-ความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกองค์กร เช่น ลูกค้า ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ และผู้ถือหุ้นก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน

3) ความสัมพันธ์กับชุมชนซึ่งองค์กรตั้งอยู่

-ธุรกิจอยู่ไม่รอด ถ้าชุมชนอยู่ไม่ได้--จึงต้องมีความสัมพันธ์อันดี

บริษัทต้องจัดวางสมดุลระหว่างกำไรและประโยชน์ของสังคม

ความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลในชุมชนนำมาซึ่งความคิดใหม่ ๆ หนทางใหม่ ๆ ทำให้ผู้นำเปิดมุมมองให้กว้างขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาขององค์กร

4) ความสัมพันธ์กับบุคคลในอนาคต

-การไม่ยอมให้บุคคลในอนาคตต้องมาคอยแก้ไขสิ่งที่เราทำได้ไม่ดี

-ผู้นำที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางต้องถามตัวเองว่า การตัดสินใจเช่นนี้จะสร้างปัญหาให้ผู้นำคนต่อไปหรือไม่ (รวมทั้งบุคคลอื่น ๆ ด้วย)

สรุปคือ เราได้มีการประเมินผู้นำที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางมีการประเมินความสัมพันธ์กับบุคคลมากน้อยเพียงใด

Chapter 18 Developing human-centred leaders

เมื่อไรที่เรา Integrate ระหว่าง Technical กับ Moral ได้จะเป็นตัวนำเทคนิคและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นมีน้อยลงความผิดด้านคุณธรรม จริยธรรมจะน้อย

Role Model

1. ค้นหาสิ่งที่ดีและจุดเด่นของตนเอง

2. มีเข็มทิศในการนำทาง

3. ช่วยคนรอบข้างให้ไปด้วยกันกับเราในยุคใหม่ เพื่อสอดรับกับจุดประสงค์ของแต่ละคนและแต่ละองค์กร

4. ความท้าทาย ตัวอย่างทหาร เมื่อเกิดเหตุการณ์กดดันอาจแสดงความสำเร็จได้ดี

ความท้าทาย

1. มีความท้าทายอะไรบ้างที่พัฒนาความเป็นผู้นำที่ไม่เหมือนก่อน อะไรที่เปลี่ยนไป และท้าทายความเป็นผู้นำเรา

2. อย่างในกลุ่มธุรกิจอาจพัฒนาผู้นำที่สร้างกำไรให้องค์กรได้ แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม จริยธรรม องค์กรจะไม่สามารถอยู่ได้อย่างระยะยาว

3. เน้นความงาม ความดี ความจริง

4. การ Training ปัจจุบันมี Training Ethics ในเรื่อง Well known เป็นลักษณะดูผลลัพธ์ว่าเป็นอย่างไร มี Situation อะไร

- เลือก Situation ที่เป็น Complex Scenario

- หน้าที่กับผลลัพธ์ จะมี Virtue Based Ethics มาด้วย

- ความรู้ทางวิชาการจะเป็นจุดที่พัฒนา Leader เช่นกันอาทิหลักสูตรการศึกษา IRD Academic Leader มีการตรวจจับองค์กรต่าง ๆ

Chapter 19Moral reasoning การให้เหตุผลทางจริยธรรม

การทำงานต่าง ๆ มีปัญหากับจริยธรรมได้การให้เหตุผลมี 6 ระยะ สรุปเป็น 3 ระดับ มีระยะก่อนพัฒนา

1. ทำตามกฎหมาย กฎกติกาต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ

2.การให้ความสำคัญและเหตุผลทางจริยธรรม

การพัฒนาเหตุผลทางจริยธรรม

Level 1: Pre-conventional

บุคคลมองว่าคุณธรรมเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกตนเองเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติ

Stage 1: Obedience and punishment การทำตามกฎ และการลงโทษ

บุคคลเชื่อว่ากฎต่างๆไม่ควรเปลี่ยนแปลง และควรปฏิบัติตามเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ

มีการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากขึ้น มีการปฏิสันฐานมากขึ้น เช่นปฏิบัติตามกฎจราจรต่าง ๆ

Stage 2: Individualism and exchange ความเป็นปัจเจกบุคคล และการแลกเปลี่ยน

บุคคลเริ่มตระหนักถึงมุมมองของตนเอง และมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง

การให้ความสำคัญ/ความสนใจในตนเองมีผลต่อการตัดสินใจ

Level 2: Conventional

เชื่อว่ามุมมองหรือทัศนคติที่แสดงออกมานั้นต้องแลกเปลี่ยนกับชุมชน/สังคมนั้นๆ

Stage 3: Interpersonalบุคคลตระหนักถึงความคาดหวังของสังคมและบรรทัดฐานของสังคมมากขึ้น

Stage 4: Maintaining social order บุคคลเริ่มที่จะคำนึงถึงวงกว้างของชุมชน/สังคมมากขึ้นเมื่อตัดสินใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมต่างๆ

Level 3 : Post-conventional

บุคคลถามหาชนิด/ประเภทของหลักการทางจริยธรรมที่จำเป็น/เป็นความต้องการสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพในสังคมที่ดี

Stage 5: Social contract and individual right บุคคลยอมรับมุมมองความเชื่อที่แตกต่างจากตนเอง

Stage 6: Universal ethical principles บุคคลยอมรับและปฏิบัติตามจริยธรรมสากล ซึ่งการประยุกต์ใช้

Chapter 20 Moral decision making

การตัดสินใจบนพื้นฐานของศีลธรรมและคุณธรรม

เป็นการเลือกโดยขึ้นอยู่กับคุณธรรมจริยธรรมและสิ่งที่สังคมว่าถูกต้อง

บางคนเวลามีทางเลือกแต่ละคนจะเลือกไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะปฏิเสธการเลือก หรือบางคนจะพัฒนาทักษะทางเลือก

The moral Continuum (Spectrum)

1. กฎหมายเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับ

2. ในแง่ศีลธรรมอาจมีมากกว่ากฎหมายซึ่งถือว่าถูกกฎหมายอยู่แล้ว

The Swingers

การตัดสินใจขึ้นอยู่กับ Role Model ไม่ได้ตัดสินจากกฎหมายหรือ ศีลธรรม

องค์กรไหนมีผู้นำที่รู้คุณธรรม รู้กฎหมายและเลือกไปในทางด้านดีจะยิ่งนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จ

Preparing people to face moral dilemmas

ยกตัวอย่างUlysses ที่ขับเรือ เจอทางแยกว่าจะไปทางไหน แล้วในที่สุดก็เลือกไปทางสัตว์ร้ายที่อาจมีคนรอดบ้าง แต่น้ำวนอาจตายหมดเลย

สรุปคือ ผู้นำมีส่วนนำในการที่ตัดสินใจ ไปรอดหรือไม่

เทคนิคการตัดสินใจ

1. การตัดสินใจที่มีถูกและผิด ให้ใช้ Sense ว่าเรื่องนี้มีกลิ่นประหลาดหรือไม่ อาจลองประกาศไปใน Social Media หรือลองเล่าให้คนที่เป็น Role Model แล้วคนนั้นจะตอบกลับมาอย่างไร และสิ่งนี้มี Impact อะไรบ้าง

2. การตัดสินใจที่ถูกทั้งสองอย่าง ให้เลือกทางที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายมากที่สุด

วิธีการ

1. มีเป้าหมายที่แน่นอน

2. ยึดเป้าหมายด้วยปัญญา และคุณธรรม

3. มี Dilemma อยู่ต้องแก้ไข ไม่ปกปิด ต้องจัดการมัน

4. ขอความเห็นจากผู้รู้

5. ตัดสินใจ

6. ประเมินผล

เมื่อมี Moral Dilemma ต้องให้ผู้นำได้การพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ เพราะสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

Leader การมีภาวะผู้นำ

1. ทำอย่างไรให้ I กับ You กลายเป็น We เพราะทุกคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน

2.ต้องเข้าใจ เข้าถึงและรับฟัง การ Respect คือการให้คุณค่าและต้องใช้เวลา

3. สร้างจุดประสานที่ Share Vision

4. สร้าง Leadership Process ผู้นำต้องมีศิลปะ และมีศาสตร์ในการนำพา

กลุ่มที่ 1 ร่วมแสดงความคิดเห็น

การจะนำพาผู้นำให้ยึดคนเป็นศูนย์กลางและพาไปสู่เป้าหมายไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องเจอ Dilemma และสิ่งต่าง ๆ มากมาย มองเรื่องเราจะต้องทำเรื่อง Ethical Training อย่างจริงจัง

ดร.จีระ เสริมว่า

ยกตัวอย่าง มหาตมะ คานธีบอกว่าถ้าประชาธิปไตยถ้าไม่มี Principle จะไม่เกิดขึ้น

แม่ชีเทเลซ่า ที่เห็นใจคนเจ็บป่วยหรือ Nelson Mandera ที่อยู่ในคุกแต่ออกมาก็ไม่คิดแก้แค้น

1. Speed of Relationship สำคัญ

HRDS (Happiness ,Respect ,Dignity ,Sustainability) ถ้ามีความสัมพันธ์มี 4 ตัวนี้จะสำเร็จ โดยส่วนตัว ดร.จีระใช้เกือบทุกเรื่องดังนั้น Relationship ต้องไม่มีช่องว่างเกิดขึ้น

2. Ethical Training

ถ้าจะปลูกทุนทางคุณธรรมจริยธรรมจะทำอย่างไร การลงทุนในเรื่องการฝึกอบรม ยังไม่ได้ทำจริง เราไปเน้นเรื่อง Role Model บอกว่าคนนี้เป็นตัวอย่างที่ดีอย่างนู้นอย่างนี้

3. Decision Making Based on Morality เพราะว่าการตัดสินใจมีผลประโยชน์ทับซ้อน

4. การมองภาพใหญ่ที่ไม่ใช่แค่องค์กรอย่างเดียว

5. พัฒนาคนไม่ต้องลงทุนเยอะ แต่ให้ทำต่อเนื่อง ให้มีความไว้ใจซึ่งกันและกัน เป็นลักษณะ Mutual Trust , Mutual Benefit

เรื่อง Ethical Training ที่ควรเริ่มที่คณะพยาบาลศาสตร์ก่อน แล้วเชิญคนอื่น ๆ เข้ามา มีตัวอย่าง Code of conduct ที่ผ่านมายังทำไม่ได้ดีอาจให้ลองทำเป็น Phase เชิญท่าน ว.วชิรเมธี มาร่วม และเชิญสื่อเข้ามา

ถ้าเราไม่กลัวแรงกดดัน เราต้องสู้ และต้องหาผู้นำที่ดีและเก่งมาแก้ปัญหา ระบบการบริหารจัดการบางครั้งอาจไม่ต้องเข้าที่ประชุม อะไรที่พึ่งตัวเองได้ และองค์กรอยู่รอดต้องทำ

อาจารย์พิชญ์ภูรี เสริมว่า

ตัวอย่างของผู้นำในวงดนตรี ที่มีการผสมผสาน ผู้นำแบบทหาร ผู้นำแบบธุรกิจ

ถ้าเราต้องการให้ Human Centred Leadership เปลี่ยนโลก เราต้องทั้งดีและเก่ง


โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 1

กุมภาพันธ์ – มิถุนายน2560

สรุปการบรรยายโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 10 มีนาคม 2560

สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy

วิชาที่ 11

Learning Forum & Workshop หัวข้อ “การคิดเชิงกลยุทธ์ และการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ”

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ความคิดในเชิงระบบและความคิดในเชิงกลยุทธ์ (Systems and Strategic Thinking)

ความคิดเชิงระบบ

1. ให้คนในห้องลองคิดเรื่องความสัมพันธ์ของหัวข้อวิชา ตอนเช้ากับตอนบ่าย

1. การมองเป็นคนละเรื่องกับเป็นเรื่องเดียวกัน

2. คนที่เป็นระบบจะทำอะไรเป็นระบบ คนที่ฉลาดจะมองว่าวิชานี้เป็นเรื่องอะไร เราต้องเป็นส่วนหนึ่งของวิชานี้ และเห็นอะไรที่เป็นระบบ

3. การมองเป็นระบบจะทำให้เรามีความเข้าใจลึกซึ้งหมด ตัวอย่างประเทศไทยเป็นปัญหาทางด้านการศึกษาเนื่องจากเรียนแบบท่องจำไม่ได้เรียนด้วยความเข้าใจ

4. เนื้อหามีความสัมพันธ์กันทั้งเช้าเย็น และคนสอนเป็นระบบจึงทำให้มีความสัมพันธ์กัน

ความคิดในเชิงระบบและความคิดในเชิงกลยุทธ์

1. ทั้งสองกรณีนี้เป็นคำคุณศัพท์ทั้งคู่

Strategy Thinking ต่างกับ Strategic Thinking อย่างไร

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategy Thinking) เป็นเรื่องวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ Action Plan KPI เพียงแค่รู้ว่าจะทำอย่างไร แต่ความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) จะมีมากกว่านั้นเป็นเรื่องความคิดที่นำไปสู่ทิศทางในอนาคต จะประกอบด้วยการวางแผนและการดำเนินการ

คนที่เป็น Strategic Thinker จะใช้สมองก่อนจะทำอะไรล่วงหน้า กลุ่มนี้เป็นกลุ่ม Forward จะดูกลุ่มคนฟัง และระยะเวลาเลือกสิ่งที่สำคัญ จะตัดสิ่งที่ไม่สำคัญออก เพราะสมองจะรับเฉพาะสิ่งที่สำคัญ เพราะสมองเราเล็ก แต่คนทั่วไปรับทั้งสิ่งสำคัญและไม่สำคัญ

Strategic Move ยกตัวอย่าง เช่น ถ้ามีคนเชิญมาพูด

- จะต้องรู้ว่าพูดกี่ชั่วโมง ถ้า 6 ชั่วโมง กับ 1 ชั่วโมงต่างกันอย่างไร

- กลุ่มคนที่มาฟัง เช่น ปริญญาตรี โท เอก หรือ... ต่างกันอย่างไร

การวางแผนกับการจัดการสิ่งไหนใหญ่กว่า

Strategicคือ Strategic Planning + Implementation

การจัดการคือ Management+ Implementation

สิ่งที่ถูกต้องคือ การวางแผนและการดำเนินการ

การมองอย่างลึกซึ้งจะเห็นทั้งระบบ สังเกตได้ว่าภาษาอะไรที่ไม่ลึกซึ้งจะไม่เป็นระบบ

ประเทศที่ลึกซึ้งจะมีภาษาเป็นระบบ ความคิดเชิงกลยุทธ์ ไม่ใช่แค่ System Thinking แต่ครอบคลุม Systematic Thinkingถ้าไม่เห็นทั้งระบบจะไม่สามารถเป็น Strategic Thinker คนกลุ่มนี้ต้องมองทั้งระบบ เชื่อมทั้งระบบ รู้เขา รู้เรา เชื่อมเป็นหนึ่งเดียว สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม รู้ว่าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนอย่างไร การไปสู่ระบบต้องรู้เรา

ระบบเหล่านี้ต้องรู้เขา รู้เรา

สรุป คือ

1. ในโลกนี้ทุกอย่างเป็นระบบเพียงแค่จะเชื่อมโยงเป็นหรือไม่ ถ้าเชื่อมโยงไม่เป็นจะเกิดปัญหา

2. การรู้เขา รู้เรา

- ถ้าไม่รู้เขา ไม่รู้เรา จะไม่รู้ว่าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนจะตกรถไฟ

- ถ้ารู้เขาไม่รู้เราคือเห็นเขารอดแต่เราไม่รอด

- ถ้ารู้เขา รู้เรา คือเราสามารถอยู่ที่ไหนก็ได้

ประเทศไหนยิ่งระบบซับซ้อน แสดงว่าประเทศนั้นพัฒนา ประเทศไหนไม่ซับซ้อนแสดงว่าประเทศนั้นเป็นประเทศกำลังพัฒนา

สรุป

1. Strategic Thinking คือการพัฒนาให้รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง คนประเภทนี้จะต้องมี Visionary คือมีความสามารถในการเห็นอนาคต

2. System Thinking กับ Systematic Thinking เป็นเรื่องเดียวกันถ้าแปลเป็นไทย System Thinking คือ คิดในเชิงระบบ กับ Systematic คือการคิดเป็นระบบ ความจริงการคิดเป็นระบบจะเหนือชั้นกว่าคิดในเชิงระบบ ดังนั้นเรื่องการปรับ Mindset จะเหนือชั้นมาก

3. ความคิดเชิงกลยุทธ์ จะหมายถึงVisionary รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ต้องผ่านความคิดเชิงระบบ เพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา

การแก้ไขปัญหากับการตัดสินใจ เป็นระบบเดียวกันหรือไม่

เราต้องตัดสินใจ ถ้าไม่คิดเป็นระบบจะเกิดอะไรขึ้น แต่ละคนมีปัญหาไม่เหมือนกันท่ามกลางความแตกต่างให้อธิบายภาพรวมให้ได้ สาเหตุของปัญหาเหมือนกันหมด แต่ถ้ารู้ถึงระบบจะสามารถอธิบายได้เลย

การตัดสินใจมี 2 อย่างคือตัดสินใจถูกกับผิด ถ้าผิดจะเป็นปัญหา ก็ต้องตัดสินใจใหม่ เป็นความสัมพันธ์กัน

เมล็ดพันธุ์คือระบบ สาเหตุของปัญหาคืออะไร ปัญหาของบ้านเมือง ปัญหาขององค์กร ปัญหาของคน

ความขัดแย้งเป็นเรื่องของผลประโยชน์ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอาจเอาผลประโยชน์ไว้หน้าสุด หรือท้ายสุด แต่สิ่งที่เราจะคำนึงถึงจริง ๆ แล้วคือ Subset

Miss Match SWOT

1. Miss Match SWOT เป็นการวิเคราะห์ SWOT ผิด คือการปรับตัวไม่ทำกับสภาพแวดล้อม

2. เป็นความขัดแย้งระหว่างเป้าหมายกับแนวทางคือ

1) Over Estimate หรือ Under Estimate

2) ไม่เข้าใจตนเอง

ดังนั้นแนวทางแก้ไขปัญหาคือ รู้เขา รู้เรา และการคิดแบบ System Thinking หรือ Systematic Thinking

ยกตัวอย่างการวิเคราะห์อนาคตผิด ทำให้ฆ่าตัวตาย อาทิ ผู้ชายไม่หล่อ รวยมาก นิสัยดี จีบผู้หญิงสวยมากไม่ได้ ฆ่าตัวตาย สิ่งนี้เป็นปัญหาเพราะอะไร

คำตอบคือ คน ๆ นี้พลาดเพราะวิเคราะห์สถานการณ์ผิด ผิดเพราะข้อมูลไม่พอ ถ้าคน ๆ นี้จะวิเคราะห์ให้ลึกกว่านี้คือ ผู้หญิงที่เราชอบนี้ ชอบคนแบบไหน ถ้าผู้หญิงที่เราชอบนี้ ชอบ Dark tall and Handsome แล้วมีคนมาจีบ 10 คน ดังนั้นโอกาสที่เขาจะได้จะต่ำกว่า 10 % เขาก็จะตัดทิ้งไม่จีบผู้หญิงคนนี้ ไปจีบผู้หญิงคนใหม่ Self Esteem แบบ Maslow ก็ไม่ถูกทำลาย เป็นการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบและทางออกที่เหมาะสม

สิ่งที่ควรระวัง คนที่มีความอ่อนไหว อย่าไปอยู่ในสถานการณ์ที่กระตุ้นความอ่อนไหว เป็นการลดความถี่ของเหตุการณ์ที่จะเกิดการฆ่าตัวตายเป็นต้น

System Thinking ,Systemic Thinking, Systematic Thinking

การเข้าสู่ระบบ Input Process Output

กระบวนการยังไม่ครบ ยกตัวอย่าง ปากกาคือ Output แต่ไม่สิ้นสุดแค่นั้น ปากกาเอาไปขายได้คือ Outcome ถ้าขายได้คือ Outcome ดี ถ้าขายไม่ได้คือ Outcome ไม่ดี Outcome ไม่ดีเพราะขาด Feedback

สรุป คือสิ่งที่ควรดูคือ Outcome คือ ขายสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า กระบวนการจึงควรเริ่มต้นด้วย Outcome แล้วค่อยกลับไปที่ Input

1. การขายได้ต้องรู้ว่า Customer คือใคร และจะใส่อะไร แล้วใส่ Outcome ตรงนั้น

2. การวิเคราะห์ลูกค้า ต้องหาข้อมูลเพื่อล่วงรู้ความต้องการของลูกค้า

ลูกค้าเปลี่ยนเพราะคู่แข่งทำให้เกิดการเปลี่ยน การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงลูกค้าได้ จุดเริ่มต้นคือการวิเคราะห์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม การเมือง คือการวิเคราะห์คู่แข่ง และเล็งเห็นว่าสามารถทำนายลูกค้าได้

ระบบในที่นี้เป็น 2 ระบบคือ

1. ระบบในเชิงแนวนอน (Horizontal) คือ การมองอะไรให้ครบ เช่น ต้องดูที่ Outcome แต่ถ้าพลาดเพราะขาดการดูถึง Outcome เป็นต้น

2. ระบบในเชิงแนวตั้ง คือ การมองแบบเชื่อมโยงระหว่างอดีต ปัจจุบัน อนาคต ต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงลูกค้า ให้ตรงกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

คนที่รู้ปัจจุบัน รู้อดีต จะทำนายอนาคตได้ ดังนั้นระบบที่ดีต้องเชี่อมโยงกาลเวลาระหว่าง อดีต ปัจจุบัน อนาคต

ยกตัวอย่างที่เราพลาดในการทำ SWOT คือมีกับดัก ได้แก่

1. ประสบการณ์ จะทำให้มองอดีตและปัจจุบันแต่ไม่มองถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ยกตัวอย่าง Paradigm Shift , Rethinking the future, The world is flat , Change before to you’re forced to change

2. เชื่อคนง่าย ๆ ไม่ได้ใช้สมองในการวิเคราะห์ เช่นเรื่องของรัฐบาล
3. เคยชินอะไรก็ทำแบบนั้น แล้วไปว่าคนฉลาด

4. ตรงกับที่ลูกค้าต้องการปัญหาคือไม่ตรงกับลูกค้าเป้าหมาย มองจากมุมตัวเอง

ยกตัวอย่าง การวิเคราะห์ระบบคิดของคน 4 ประเภท

คนที่ 1 เห็นต้นไม้ทุกอย่างเรียบร้อยแล้วชี้เลย

เป็นลักษณะของการมีกับดักจากประสบการณ์

คนที่ 2 ชี้ไปที่ลำต้นแล้วกิ่ง แล้วบอกว่าอีกหน่อยใบจะเป็นแบบนี้ ต้นจะเป็นแบบใด

รู้จักแยกแยะว่ามีขาวกับดำ รู้จักแยกแยะว่าสิ่งไหนสำคัญ สิ่งไหนไม่สำคัญ

คนที่ 3 ชี้ไปที่ลำต้นแล้วสามารถบอกได้ว่าอีกหน่อยต้นจะมีลักษณะแบบใด

รู้จักแยกแยะว่ามีขาวกับดำและมีดำมาก รู้ว่าสิ่งไหนสำคัญ สิ่งไหนไม่สำคัญ สิ่งไหนสำคัญมาก สำคัญน้อย

คนที่ 4 มองไปที่เมล็ดพันธ์แล้วสามารถวิเคราะห์ได้ว่าต้นไม้นี้จะเป็นแบบใด

คำถามว่า คนที่ 1 หรือคนที่ 2 ป้อมปรามปัญหาได้

คำตอบคือ คนที่ 2 เป็นคนที่ป้องกันอนาคตได้ดีกว่าคนที่ 1

คำถามว่า ทั้ง 4 คน ใครมองอนาคตและมีวิสัยทัศน์ดีที่สุด

คำตอบคือ ใน 4 คนนี้ คนที่ 4 จะเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ดีที่สุด สามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสั้น กลาง ยาวได้

คนที่ฉลาดจะรู้จักแยกแยะ เรื่องที่สำคัญและไม่สำคัญ

บางคนทำทุกเรื่องยกเว้นเรื่องที่เจ้านายอยากให้ทำ บางคนทำทุกเรื่องยกเว้นลูกค้าอยากให้ทำ คนประเภทนี้จะไม่สามารถป้อมปรามปัญหาได้

คนที่บริหารเพียงแค่ 5% จะเอาเฉพาะประเด็นสำคัญ คือแยกแยะเป็น บางเรื่องสำคัญ บางเรื่องโคตรสำคัญ เป็นหนึ่งในลักษณะการคิดเชิงกลยุทธ์

การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค

เราจะสามารถทำนายพฤติกรรมของคนได้ ตัวอย่างเช่น เคี้ยงเอ็มไพร์ มาตั้งสาขาในห้าง กลางคืนขาย กลางวันขาย เสาร์อาทิตย์ขาย แสดงว่าลูกค้าต้องการความสะดวกสบาย ธุรกิจแบงค์สามารถเลียนแบบระบบนี้ได้ การเป็นเจ้าของแบงค์สามารถเรียนรู้กลยุทธ์นี้สามารถใช้กับแบงค์ทั่วไปคือมาเปิดตามห้าง กลางคืนขาย อนาคตทำ คนพวกนี้เห็นอนาคตการเปลี่ยนแปลง สามารถเปลี่ยนข้อมูลเป็นความรู้

ลูกค้าต้องการ One Stop Service ไม่ว่าจะทำอะไรเราจะต้องการ One Stop Service ถ้าลูกค้าต้องการ One Stop Service แสดงว่าลูกค้าต้องการ Buffet คือ อยู่ที่หนึ่งกินได้หลายแบบ แสดงว่าลูกค้าต้องการความหลากหลาย เช่น วิทยาลัยครู มีคณะหลากหลาย

System Thinking และ Systematic Thinking

System Thinking เป็นระบบแนวตั้งและแนวนอน

Systematic Thinking ต่างกับ System Thinking คือไปตรงไหนจะสามารถสร้างระบบได้เลย ซึ่งระบบจะมาจากการตั้งคำถาม เช่น แอปเปิ้ลตก ปากกาตก ทุกอย่างตก เหมือนกัน วิเคราะห์ต่อเรื่องกฎแห่งแรงดึงดูด เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

เหนือกว่า Systematic คือ Visionary

วิชาที่ 12

Learning Forum & Workshop หัวข้อ “การบริหารการเปลี่ยนแปลงและกลยุทธ์ของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.”

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

คนที่เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ต้องสามารถเห็นอนาคตสั้น กลาง ยาวได้ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่าเปลี่ยนโลกทั้งใบ

ครั้งแรกเมื่อมนุษย์ค้นพบเมล็ดพันธุ์ทางการเกษตร ครั้งที่ 2 เมื่อมนุษย์พบกับเมล็ดพันธุ์อุตสาหกรรม ครั้งที่ 3 มนุษย์ค้นพบเมล็ดพันธุ์ดิจิตอล และกำลังไปสู่เมล็ดพันธุ์ที่ 4 คือ Organic System

ทุกอย่างในโลกสัมพันธ์กันหมดเลย เป็นสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง ทุกอย่างคือ System อย่าเชื่อในสิ่งที่เราได้ยิน

จาก 1 ไป 2 แปลงการเร่ร่อนเป็น Settlement เกิดการขยายตัวของชุมชน หมู่บ้าน

มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐเป็น โฮโมเซเปี้ยนส์ มาจากสัญชาตญาณสัตว์ดูได้จากเด็กที่มีสัญชาตญาณสัตว์โดยธรรมชาติและเมื่อได้รับการสั่งสอนเรียนรู้จะเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ

Ego เกิดจากการผสมผสานระหว่าง Id (สัญชาติญาณสัตว์) กับ Super Ego

Id – ทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองตน

Super Ego – ยับยั้งสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

ยุคต่าง ๆ

1. เมล็ดพันธุ์เกษตร

ยุคเกษตร เป็นยุคศักดินา (ศตวรรษที่ 16) พระมหากษัตริย์มีที่ดินและมอบให้ประชาชน มีระบบทาส ชนชั้นกลาง ได้มาซึ่งปัจจัยการแข่งขัน คนกลุ่มนี้ได้ย้อนกลับไปอ่านหนังสือไบเบิ้ล ภาษากรีกโบราณ มนุษย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล เรียกปรัชญานี้ว่า Humanism เมื่อมนุษย์ฉลาด มนุษย์ควรมีเสรีภาพ เสรีภาพที่จะนับถือศาสนา เสรีภาพที่จะติดต่อกับพระเจ้าโดยไม่ผ่านโป๊ป เกิดเป็นคริสเตียน กับคริสตัง และเมื่อมนุษย์มีเสรีภาพ ก็จะทำให้ประเทศเจริญ เกิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์โดยอดัม สมิทธิ์ และเกิดการค้าเสรีต่อมา และต่อมาก็เกิดการต่อต้านศักดินา แล้วเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส เปลี่ยนจากศักดินาไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม

2. เมล็ดพันธุ์อุตสาหกรรม

ยุคอุตสาหกรรม แบ่งเป็น มนุษย์จะใช้สมอง ไม่ใช้ตา กับมนุษย์ที่ใช้ตา

เกิดการแข่งขันระหว่างมนุษย์ 2 กลุ่มคือมนุษย์แบบเก่า เห็นของตก มนุษย์พวกนี้จะมองเป็นเรื่องธรรมดา มนุษย์กลุ่มที่ 2 จะคิดว่าทำไมเกิดกฎแรงดึงดูด เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม

เมื่อมนุษย์ฉลาดจะเห็นถึงความยิ่งใหญ่ของมนุษย์ตัวอย่าง เห็นหน้าโมนาลิซ่าที่สวย ที่เป็นภาพวาดสามมิติ ที่สะท้อนความสวยงามของมนุษย์ เชคสเปียร์เป็นเจ้าแรกที่เอาความเป็นมนุษย์กับมาเป็นตัวละคร อย่างไรก็ตามมนุษย์ยังมีปมแห่งสัตว์อยู่ ถ้าไม่ปิดปมนี้จะทำให้เกิดความย่อยยับ และในที่สุดคนจึงพยายามแก้ในจุดที่เป็นจุดอ่อนคือความเป็นสัตว์

สรุปคือ ทุกอย่างจะสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว

ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

มีปืนกลไฟ ไฟฟ้าเกิดการเชื่อมโยง เกิดการล่าอาณานิคม การล่าอาณานิคมส่งผลต่อการขยายตัวของค่านิยม และอาณานิคมตะวันตก

สรุปคือ เมล็ดพันธุ์การเปลี่ยนแปลงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เยอะมาก

3. เมล็ดพันธุ์ IT หรือ ดิจิตอล

หนังสือเล่ม 1 แบ่งสังคมเป็น 3 ยุคสังคมเกษตร สังคมอุตสาหกรรม และสังคมปัจจุบันคลื่นลูกที่ 3

หนังสือเล่ม 2 เขียนเรื่องการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4 ยุค

1.พบเครื่องจักรไอน้ำ

2.ไฟฟ้า

3. ประดิษฐ์คอมพิวเตอร์

4. การพบกันระหว่างระบบดิจิทัล + ไบโอเทค + นาโน + ฟิสิกส์ เรียกว่าเป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ 4 เป็นยุคสังคมความรู้ สังคมสื่อสาร เป็นยุคดิจิทัล

ยุคปัจจุบันพบว่ามีการแตกยอดของเมล็ดพันธุ์ดิจิตอล อาทิ อาหารฟิวชั่น

Knowledge Creation

เป็นรูปแบบของการศึกษาที่ดีที่สร้างความรู้ ไม่ใช่แค่รับความรู้อย่างเดียว ยกตัวอย่างเมืองนอกมีการเรียนประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์

เป็นคอมพิวเตอร์บวกกับเทเลคอม มีการเชื่อมโยงกัน

วันนี้ความได้เปรียบชนะด้วยเวลา มีความลึก มีความเร็ว กว้างมีความเชื่อมโยง ได้ก่อให้เกิดอินเทอร์เน็ต ที่เกิดการขยายตัวของโลกาภิวัตน์ของข้อมูล ดังนั้น 20-30 ปีนี้จึงได้ยินคำว่า Globalization เป็นการแผ่ข้อมูล

Cold War System (Old Paradigm)

การล่มสลายของยุโรปตะวันออก ยูโกสลาเวียแตกเป็น7 ประเทศเป็นไปได้หรือไม่ที่ระบบ IT ทำให้ระบบขวาระบบล่มสลาย

USA

USSR

EC

Czeeh

CENTO

Poland

SEATO

Etc.

ANSUS


Etc.


ทำไมด้านซ้ายฉลาดกว่าด้านขวา

1. ด้านขวา รัฐควบคุมทุกเรื่อง ไม่มีระบบนวัตกรรม

2. โดยธรรมชาติด้านซ้ายจึงทำลายด้านขวา

จุดจบคอมมิวนิสต์ โลกเปลี่ยนจากระบบคอมมานโดเป็นการแข่งขันทางการค้า ทุกประเทศมีนายกฯ เป็นพลเรือน

โลกาภิวัตน์เกิดการแผ่ค่านิยมทางการเมืองประเทศคอมมิวนิสต์เหลือแค่ 2 ประเภท คือ คิวบาและเกาหลีเหนือ

Human Right สิทธิมนุษยชน

โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจจะเกิดคนมาลงทุนเยอะมากและเมื่อคนมาลงทุนจำนวนมาก ได้มีการวิเคราะห์ จะป้องกันอัตราความเสี่ยงหรือไม่

โลกาภิวัตน์นำมาซึ่งค่านิยมในการกิน เช่นร้านอาหารญี่ปุ่น อาหารไทย อาหารเกาหลี อาหารฝรั่งเศส อาหารอิตาลี อาหารแขกเป็นต้น

ทำไมอาหารอิตาลีขายดีที่สุด

เป็นอาหารฟิวชั่นที่ง่าย และขายดีที่สุดในโลก เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

ยุคที่3.5

สินค้าเข้าสู่โลกนวัตกรรม เกิดสิทธิทางปัญญา เกิดการค้าการบริการทางการเงิน เกิดการค้าขายของเงิน เกิดร้านค้าปลีก ผลที่เกิดขึ้นจากการเปิดเสรีในปี ค.ศ. 1993 ประเทศแต่ละประเทศตกลงกันรอบอุรุกวัย เพื่อเปิดประเทศสิทธิทางปัญญาจากการเจรจารอบอุรุกวัย เปิดเสรีด้านสินค้าบริการ และสิทธิทางปัญญา เมื่อเปิดเสรีประเทศไทยมีปัญหา เพราะเป็นแบบ Reactive แต่ที่อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ได้เปรียบเนื่องจากเป็นแบบ Proactive ได้มีการแก้ไขกฎหมายคือ กำหนดว่าทุก ๆ 200 เมตร มีร้านค้า 7-Eleven ได้ร้านเดียว แต่ของไทยไม่ได้เป็นอย่างนั้น

AEC 2015 คือเปิดเสรีการค้า การบริการ แรงงานฝีมือ แต่ในการประชุมที่กัวลาลัมเปอร์พูดถึง AEC 2025 แต่ไทยยังพูดถึง AEC 2015 อยู่เลย

Competitiveness Enhancement

Cooperation

e-ASEAN

Competition Policy

Infrastructure

Tax

Intellectual Property

Consumers’ Protection

ถ้ากลุ่มประเทศไหนมีการค้าเสรี จะต้องมีการร่วมมือกันทาง Infrastructure

ระเบียงเศรษฐกิจ มี 3 ระเบียง

การขนส่งทำให้เกิด 3 ระเบียง

ปัจจุบัน แนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridor) ใน GMS แบ่งออกเป็น 3 แนว ได้แก่

1.แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก (East West Economic Corridor: EWEC)

เชื่อมโยงเวียดนาม-ลาว-ไทย-พม่า

แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East West Economic Corridor: EWEC) เป็นการเชื่อมโยงพื้นที่ด้านตะวันออกจากเวียดนาม ผ่านสปป.ลาว บนเส้นทาง R 9 ข้ามสะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 เข้าสู่ไทย และไปสู่สหภาพพม่า หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างทะเลจีนใต้กับทะเลอันดามัน โดยมีระยะทางรวมประมาณ 1,450 กิโลเมตร

เส้นทาง R9 มีจุดเชื่อมโยงเมืองสำคัญต่างๆ ดังนี้

เมาะละแหม่ง - เมียวะดี (พม่า) – แม่สอด – พิษณุโลก – ขอนแก่น – กาฬสินธุ์ - มุกดาหาร

(ไทย) – สะหวันนะเขต - แดนสะหวัน (ลาว)- ลาวบาว – เว้ – ดองฮา - ดานัง (เวียดนาม)

2.แนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ – ใต้ (North South Economic Corridor: NSEC)

เชื่อมโยงไทย-พม่า/ลาว-จีน

NSEC ประกอบด้วยเส้นทางหลัก 3 เส้นทาง ได้แก่

(1) เส้นทาง R3E : คุนหมิง – ยูซี – หยวนเจียง – โมเฮย – ซิเมา – เฉียวเมิงหยาง – บ่อหาน (จีน) - บ่อเต็น – ห้วยทราย (ลาว) – เชียงของ – เชียงราย – ตาก – กรุงเทพฯ (ไทย)

(i) จุดข้ามแดน: บ่อหาน (จีน) – บ่อเต็น (ลาว)

(ii) จุดข้ามแดน: ห้วยทราย (ลาว) – เชียงของ (ไทย)

เส้นทาง R3W : เชียงตุง – ท่าขี้เหล็ก (พม่า) – แม่สาย – เชียงราย – ตาก – กรุงเทพฯ (ไทย)

(i) จุดข้ามแดน: ท่าขี้เหล็ก (พม่า) – แม่สาย (ไทย)

(2) เส้นทาง R5 : คุนหมิง – หมี่เหลอ – หยินซ่อ – ไคหยวน – เม่งซือ – เฮียโค่ว (จีน) – ลาวไค– ฮานอย – ไฮฟอง (เวียดนาม)

(i) จุดข้ามแดน: เฮียโค่ว (จีน) – ลาวไค (เวียดนาม)

(3) เส้นทางสายตะวันออก (Eastern Subcorridor)

เริ่มจากเมืองหนานหนิง ในมณฑลกว่างสี (Guangxi) ของประเทศจีนมายังเมืองฮานอย

3.แนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor)

เชื่อมโยงไทย-กัมพูชา-เวียดนาม

แนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) เป็นการพัฒนาแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างไทย-กัมพูชา-เวียดนาม มีเส้นทางทั้งหมด 4 เส้นทาง

1. เส้นทาง R1 มีจุดเชื่อมโยงเมืองสำคัญต่างๆ ดังนี้

กรุงเทพฯ – กบินทร์บุรี – สระแก้ว - อรัญประเทศ หรือ กรุงเทพฯ – แหลมฉบัง – พนมสารคาม – กบินทร์บุรี – สระแก้ว – อรัญประเทศ (ไทย) - ปอยเปต – ศรีโสภณ – เปอสาด - พนมเปญ – นาคหลวง – บาเวด (กัมพูชา) – มอคไบ - โฮจิมินต์ซิตี้ – วังเตา (เวียดนาม)

(i) จุดข้ามแดน : อรัญประเทศ (ไทย) – ปอยเปต (กัมพูชา)

(ii) จุดข้ามแดน : บาเวด (กัมพูชา) – มอคไบ (เวียดนาม)

2. เส้นทาง R10 มีจุดเชื่อมโยงเมืองสำคัญต่างๆ ดังนี้

กรุงเทพฯ - ตราด – หาดเล็ก (ไทย) – แชมแยม - เกาะกง – สะแรอัมเปิล – กำพต – ลอก (กัมพูชา) – ฮาเตียน – คาเมา – นามคาน (เวียดนาม)

(i) จุดข้ามแดนแดน : หาดเล็ก (ไทย) – แชมแยม (กัมพูชา)

FTA :ASEAN & OTHERS

European Union (EU)

Gulf Cooperation Councils (GCC)

Mercado Comun del Sur (MERCOSUR)

Russia

Asean + 3

Free trade area: Asean + China (Asean+1), Asean + Japan (Asean+1), Asean + South Korea (Asean+1)

Asean + 6

Free trade area: Asean + 3, Asean + Australia (Asean+1), Asean + New Zealand (Asean+1), Asean + India (Asean+1)

RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership)

เกิดขึ้นแล้วเพียงแต่คนยังไม่เข้าใจว่าเกิด

More than Asean+3, Asean+6

Liberalization: Service and Capital

Free Flow of Services

การเปิดเสรีบริการจำกัดเฉพาะบริการ 5 ประเทศ หมายความว่า 10 ประเทศสามารถถือครองความเป็นเจ้าของ 70% ด้าน IT ท่องเที่ยว เรื่องสุขภาพ และการบิน

จากนี้ไป 2025 จะมีการเปิดอีกหลายบริการ โดย 1 ในนั้นคือประกันชีวิตและประกันภัย การศึกษา การค้า การค้าปลีก

โลกกำลังจะเปลี่ยนมากและจะมีการเปิดเสรีแรงงานไม่มีฝีมือ ในอนาคตจะเปิดมากกว่านี้มากเพราะโครงสร้างประชากรจะเป็นลักษณะปิรามิดหัวคว่ำ ประเทศไทยจะอยู่ยากมากขึ้นถ้าไม่มีแรงงานจากต่างด้าว

จากนี้อีก 15 ปี RCEP จะกลายมาเป็นเอเชียตะวันออก

ตั้งไว้ตั้งแต่ปี 2003 ที่จะให้ AEC เปิดปี 2020 แต่ล่นมาปี 2015 แต่ประเทศไทยมาบอกเมื่อ 2010 ดังนั้น RCEP เกิดแล้ว อีก 10 ปีข้างหน้า RCEP จะกลายเป็นเอเชียตะวันออก

APEC

APEC has 21 members.

Australia

Brunei Darussalam

Canada

Chile

People's Republic of China

Hong Kong, China

Indonesia

Japan

Republic of Korea

Malaysia

Mexico

New Zealand

Papua New Guinea

Peru

The Philippines

Russia

Singapore

Chinese Taipei

Thailand

The United States

Viet Nam

Internet of Think

Internet of Think มีการเชื่อมโยงกับสิ่งของ รถไม่มีคนขับ เครื่องบินมีคนขับ เรือมีคนขับ ผลคือคนขับแท๊กซี่ตกงานเป็นแถว

IOT นำไปสู่ Robotic ตัวอย่างในต่างประเทศเริ่มใช้ Robot แล้ว ผลคือคนเสริฟ จะตกงาน

ต่อไปจะใช้พลังแสงแดดและส่งเข้า IT

Quantum Computer

Digital Banging ภายใน 3-4 ปีจะลดคน Bank จะมาใช้ IT มากFintechได้รางวัลอินโดนีเซีย จะทำให้พวกที่ปรึกษาทางการเงิน เอาคน IT มาเรียนเรื่องการเงิน จะง่ายกว่าการเงินมาเรียน IT สามารถทำ Application แต่ไม่ได้จบที่ Fintech แต่จบที่ระบบบัญชีสาธารณะ เป็นแบบ Blog chain เรามีเปิด Blog

มี Crown Funding ชุมชน จำเป็นที่รัฐบาลต้องปรับโครงสร้างการแข่งขัน

การปฏิรูปต้องมีองค์รวม

การมองเป็นระบบ วิสัยทัศน์ ต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

Thailand 4.0

1. เป้าหมายของการปฏิรูปของรัฐบาลนั้นเพื่อให้หลุดจาก “middle-Income trap” หรือ “กับดักรายได้ปานกลาง” ให้กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว

2. รวมถึงลดกับดักความเหลื่อมล้ำ (Inequality Trap) และ

3. กับดักความไม่สมดุลของการพัฒนา (Imbalance Trap)

วิชาที 8/2

ติดตามผลงานความคืบหน้าของงานออกแบบโครงการเชิงนวัตกรมฯ ครั้งที่ 1

โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทกมล

ผศ.กิตติ ชยางคกุล


ผศ.กิตติ ชยางคกุล




1. Project คือสิ่งที่ต้องการให้ทุกกลุ่มนำเสนอคือ โครงการฯของคณะพยาบาลศาสตร์

หลักคือ 2R คือ Reality and Relevance อะไรที่เป็นจริงกับคณะพยาบาลศาสตร์ เป้าหมายให้คือ โครงการเป็นจริงหรือไม่ และจะไปถึงเป้าหมายได้จริง

1. การพิจารณาโครงการที่น่าสนใจ (Where are we?)

- Problem Based Approach องค์กรมีปัญหาอะไรอยู่แล้วมองปัญหาเป็นที่ตั้ง

- Opportunities Based Approachโอกาสของคณะฯ

2. การแก้ปัญหาและโอกาสนั้นจะเกิด Impact อะไร (Where do we want to go?)

- การจะดูว่าทำได้หรือไม่ได้ให้ดูว่าทำได้หรือไม่ และวัดได้จริงหรือไม่

3. Execution (How to do it?) สามารถวัดได้

- เมื่อเจอปัญหาแล้วจะแก้อย่างไร

- ทำอะไรที่ให้งานเรามีความน่าสนใจ ลดขยะให้น้อยลงและมีความน่าสนใจมากขึ้น

4. How to do it successfully ?

- ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จและไม่สำเร็จ มีอะไรบ้าง ต้องพิจารณาว่าโครงการฯ มีอุปสรรคหรือความซับซ้อนอยู่ตรงไหน

2. Innovation คืออะไร

- 3Vs ได้แก่ Value Added , Value Creation , Value Diversity

3. Partners

- Stakeholders

ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอความคืบหน้าโครงการฯที่จะนำเสนอ ใน 2 หัวข้อคือ

1. โครงการฯ

2. หลักการและเหตุผล

หัวข้อโครงการฯ เดิม

กลุ่ม 1 ศูนย์รวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาตะวันออก (เก็บ และแบ่งปัน)

กลุ่ม 2 Thai Central Knowledge Center for Age Population(สร้าง และขาย)

กลุ่ม 3 การสร้างศูนย์สุขภาพผู้สูงวัยที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

กลุ่ม 4 Excellent Healing Training Center สร้างความเป็นเลิศของคณะ ฯ และ Rebrand

การนำเสนอความคืบหน้าโครงการฯ

กลุ่ม 2 Thai Central Knowledge Center for Age Population(สร้าง และขาย)

เปลี่ยนเป็น ศูนย์สุขภาพองค์รวมผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก

ได้มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับ Stakeholder ได้สัมภาษณ์คณบดี หัวหน้าผู้สูงอายุ ลูกค้าชาวต่างชาติ

ปรับที่ Age Population

หลักการและเหตุผล คือเป็นประเด็น Vision ของคณะฯ และทำมาตั้งแต่ 2542 และได้เคยเชิญวิทยากรหลายท่าน คิดว่าน่าจะเป็น Magnet ของคณะพยาบาลศาสตร์ และอยากให้ทำต่อเนื่อง ที่เสนอไปเรื่อง Age Population เอา 3 V มาดูคิดว่าจะสร้างอะไรที่เป็นมูลค่าเพิ่ม และ Focus

ศูนย์สุขภาพองค์รวมผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออกให้ครอบคลุมในทุก Population และคิดว่ามีจุดที่เราเคยให้บริการและเป็นจุดที่จะเริ่มได้ เช่น คนท้อง คนไข้ คนป่วยเรื้อรัง โดยท่านคณบดีให้เปิดเป็น Phase

Where are we? สอดคล้องกับ Mission และจะทำให้เป็นนวัตกรรมสอดรับกับทิศทางของทุน

การเรียนการสอน มีบุคลากรส่วนหนึ่ง มีความรู้ด้านนี้อยู่แล้ว ทำงานใกล้ชิดกับสถาบันโยคะวิชาการ มีการช่วยเหลือของเครือข่าย

การเริ่มต้น ได้มีการเจรจากับเครือข่ายที่ทำงานร่วมกันคือ เทศบาล และพบว่า อปท.เริ่มขยายเรื่องสุขภาพให้ครอบคลุม อย่างเทศบาลหาดใหญ่ มีการเปิดศูนย์ชีวาสุข เป็นศูนย์เปิดใหม่ และต้องการให้เราไปช่วยตรงนั้น โดยรูปแบบต้อง Sustainability และมองว่าเทศบาลเป็น Point of Service โดยทำงานร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นแหล่งทำ Training ที่ Serve กับรูปแบบใหม่ มีการทำโปรแกรมครูโยคะ เปิดโอกาสให้กับศูนย์ต่าง ๆ มี Service ในเรื่อง Training และโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถทำได้

พันธมิตรใหม่ เช่นคณะเภสัชศาสตร์ มี Herbal City Program และ มุ่งสู่ Thailand 4.0 และจะมีที่ศูนย์สาธารณะ จะเชิญคณะวิศวกรรมศาสตร์มาทำด้าน Innovation ร่วมกันมากขึ้น และมุ่งไปสู่การวิจัยเกิดขึ้น เพื่อสร้างให้เกิดต้นแบบและรูปแบบการบริการที่ร่วมกับเครือข่ายและสามารถขยาย Service ไปยังเครือข่ายของเขา โดยเน้นเขตเทศบาลก่อน

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

สิ่งที่จะทำคือสร้างรูปแบบที่เป็นการบูรณาการร่วมกัน ถ้าพูดถึงความพร้อมของคณะพยาบาลศาสตร์ อะไรคือจุดอ่อนของเรา

ตอบ สิ่งที่เราทำคือจะเป็นแหล่งบริการ จะไปช่วย Knowledge และ Service และทุกเรื่อง เกิดขึ้นที่คณะ และไปช่วยพัฒนาศูนย์ที่เกี่ยวข้องด้วย

1. ศูนย์มีการบริการตัวเองด้วย

2. ศูนย์สร้าง Train the Trainer

กลุ่ม 4 Excellent Healing Training Center สร้างความเป็นเลิศของคณะ ฯ และ Rebrand

หลักการและเหตุผล

กลับไปคุยเจอปัญหาคือบัณฑิตในระดับบัณฑิตศึกษาจาก 30 คน ลดเหลือ 6 คน จาก 2,000 คน เหลือ 600 คน ก็เป็นคำถามที่อยู่ในใจว่าเพราะอะไรดังนั้นการช่วยเสริมเรื่องการลดค่าใช้จ่าย เดินทาง น่าจะมีคอร์สออนไลน์ที่ตอบโจทย์กับบัณฑิตปริญญาโท

คนในกลุ่มภาคใต้ก็อยากจะเรียนเหมือนกันแต่อาจมีปัญหาเรื่องการเดินทาง เลยคิดเรื่อง Graduate Course Online ได้ตั้งทีมสัมภาษณ์ 2 ท่านคุยกับรองคณบดีบัณฑิตและรองมหาวิทยาลัย คุยกับอาจารย์เถกิง ผู้ช่วยฝ่ายเทคโนโลยีของประเทศ และอาจารย์ธีรพล เคยคิดจะทำเรื่องคอร์สออนไลน์ แต่เจอปัญหาเรื่องเทคโนโลยี เลยหยุดไป

ได้มีการคุยให้ ม.อ.เปิดเป็นออนไลน์คอร์ส มีความเข้มแข็งของ RC และ RU แต่ไม่เน้นในเรื่อง Practical แต่เน้นเรื่อง Critical Thinking ให้สร้าง Context ภายใต้ที่อยู่เอง

การทำจะทำเป็นลักษณะประชารัฐ คือเครือข่ายที่มาทำ MOU กับคณะพยาบาลศาสตร์ ที่จะเกิดเป็นคอร์สในการจัดการครั้งนี้

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

สำหรับประเทศไทย พูดง่าย แต่ทำยากเพราะผู้เรียนประสบความสำเร็จยากเนื่องด้วยพฤติกรรมการเรียนรู้ของคนไทย อาจทำเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ทำเป็นลักษณะ ยกตัวอย่าง Thailand MOOC (Massive Open Online Course) ไม่ได้เน้นเรื่องนั่งเรียน แต่เน้นเรื่อง Participation เลยพยายามคิดให้เป็น Active Participation มากที่สุด การทำออนไลน์ไม่มีปัญหา แต่จะทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

เราอาจทำเป็น Short Course ที่ไม่ใช่ Outline วิชา อาจคิดเป็นโมเดลค่อย ๆ พัฒนา เป็นโมเดลใหญ่

กลุ่ม 1 ศูนย์รวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาตะวันออก (เก็บ และแบ่งปัน)คิดว่าจะเปลี่ยนเป็นการพัฒนาศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาตะวันออก

มีการพัฒนาเรื่องวิสัยทัศน์ การเรียนการสอน การวิจัย องค์ความรู้ตอนนี้ยังไม่ค่อยมีมากนัก ไม่ชัดเจนเท่าไหร่ แต่ขาดการรวบรวมให้เกิดการขยายการเรียนรู้มากขึ้น เราจึงน่ามาพัฒนาให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้มากขึ้น ให้มีการสนับสนุนรัฐบาล และการใช้ภูมิปัญญา

ปัจจุบันการเรียนรู้มีหลายรูปแบบมากขึ้น ถ้ามีศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน บริการวิชาการ สื่อออนไลน์ และส่วนอื่น ๆ

ปัญหา คืออาจใช้ในเรื่อง IT มีการทำ Application ภูมิปัญญาตะวันออก

สิ่งที่ต้องการคือเรื่องพันธมิตร อย่างภูมิปัญญาตะวันออก อาจต้องการพันธมิตรแพทย์แผนไทย ปราชญ์ชาวบ้าน อุตสาหกรรมทั้งหลาย อย่างอาจารย์ที่มาจากอุตสาหกรรมเกษตรน่าจะแนะนำเรื่องอาหารสุขภาพ มีการทำสื่อแบ่งออกเป็นด้านวัฒนธรรมไทย อาหารสุขภาพ การละเล่น จัดเป็นศูนย์ข้อมูลรวบรวมความรู้ ทำเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ ทำชุดการเรียนรู้ มีการทำวิจัยเรื่องการสร้างองค์ความรู้ในการเป็นศูนย์สร้างและรวมรวมนวัตกรรม

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

ศูนย์คือเอาองค์ความรู้ที่มีทั้งหมดมาสร้างมูลค่าเพื่อเผยแพร่และไปใช้ประโยชน์ นวัตกรรมของศูนย์คือเอาองค์ความรู้ที่มีอยู่มาสร้างมูลค่าได้อย่างไร

ศูนย์นวัตกรรมคือการมีความรู้อยู่แล้วแล้วเอาความรู้มาเผยแพร่เพื่อให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เกิดเป็นรายได้เข้ามหาวิทยาลัย

กลุ่ม 3 การสร้างศูนย์สุขภาพผู้สูงวัยที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

หลักการและเหตุผล พบว่าในประเทศไทยบ้านพักคนชราที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีน้อย นำมาวิเคราะห์ดูว่าภาคใต้จำเป็นต้องมีบ้านพักคนชราหรือไม่ อย่างอาจารย์ ม.อ.ที่เกษียณ หรือคนไม่มีครอบครัวจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของเราหรือไม่ ดังนั้นจะสร้างชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ

พื้นฐานคณะพยาบาล คือมีศูนย์ส่งเสริมและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เราจะแก้ปัญหาอย่างไร หลังจากทำกับชุมชนแล้ว ได้คาดว่าจะไปนานาชาติ

ใช้วัยรุ่นไปดูแลผู้สูงอายุได้อย่างไร ยกตัวอย่างในญี่ปุ่น พบว่าผู้สูงอายุในชุมชนเมืองและชนบทมีความแตกต่างกัน ไปเช่าบ้านร้างในชุมชน รับดูแลผู้สูงอายุ มีรถรับส่ง ผู้ใช้บริการมีหลายระดับ และอยากมีเพื่อน ส่วนใหญ่ผู้ดูแลจะเป็นเด็กวัยรุ่น และเป็นผู้ชายที่เคยเกเรมาก่อนแต่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ ซึ่งเขาทำได้ดีและกำลังขยายกิจการ

ดังนั้นถ้าจะทำก็ต้องดูกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุเป็นหลัก แล้วถามตลาด

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

ต้องดูว่าสิ่งที่เราอยากทำคือสิ่งที่ผู้สูงอายุอยากได้หรือไม่เช่นกลุ่มภาคใต้ส่วนใหญ่มีฐานะ ลูกหลานดูแล หรืออยากให้เราลงทำสำรวจดูกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ เพราะถ้าโมเดลดีแต่ไม่มีคนตอบรับจะเป็นปัญหา

อยากให้ระวังเรื่องการลงทุนถ้ากลุ่มเป้าหมายไม่ชัด เพราะเราต้องสร้างที่พัก กรุงเทพฯอาจทำได้ แต่ที่นี่ทำได้หรือไม่

รูปแบบที่เราจะทำเป็นอย่างไร

ยกตัวอย่าง โปรเจค Healte ผู้สูงอายุมาเช้าเย็นกลับก็ได้ สิ่งที่โมเดลเขาทำก็คือสร้างออนไลน์ มีการล็อคอินนัดเวลาคุยกับผู้สูงอายุเพื่อคุยกับเรา แล้วมีแนวทางการพัฒนาคาราโอเกะ มีการ Sign MOU ให้เด็กที่พูดภาษาญี่ปุ่นเหล่านี้คุยกับผู้สูงอายุ จะทำให้จิตใจผู้สูงอายุไม่มีปัญหา

สรุปคือเราต้อง Focus กลุ่มของเราให้ได้ก่อนว่าต้องการอะไร ให้ออกแบบขึ้นมา หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้สอดคล้องกับผู้สูงอายุ ระวังปัญหาเรื่อง Digital Literacy ของผู้สูงอายุ

ต้อง Survey กลุ่มเป้าหมายของคณะฯ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

จาก กลุ่ม 2 Thai Central Knowledge Center for Age Population(สร้าง และขาย)เปลี่ยนเป็น ศูนย์สุขภาพองค์รวมผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก

ถ้าอยากทำเป็น Innovation บุคลากรไม่ค่อยต่อเนื่อง ดังนั้นการ Training ต้องมีสม่ำเสมอ ปัญหาคือต้องมีอะไรใหม่ก่อน การเริ่ม Phase แรกให้เป็น Innovative ก่อน เป็นยุทธศาสตร์ชาติที่ให้บูรณาการ

ความสำเร็จคือเอาเงินจากไหน เอาคนจากไหน และจะเดินไปทางไหน ดังนั้นการนำเสนอให้ฝากเรื่องงบประมาณด้วยว่าจะทำอย่างไรเป้นเรื่ององค์ความรู้เป็นหลัก บุคลากรมีอยู่แล้ว เครือข่ายมีอยู่แล้ว งบประมาณก็เห็น โครงการฯ คือการออกแบบ Framework โครงการฯนี้จะสำเร็จหรือไม่ในระยะเวลาอันสั้น เด็กจะทำอย่างไร มีโปรแกรมอะไร สำหรับคุณแม่หลังคลอดมีอะไร มี Pilot Project อย่างไร

ถ้าทำต้นแบบได้ อย่างคณะพยาบาลคณะหนี่งลงไปทำชุมชน ประเทศหนึ่ง แล้วกระเด้งต่อได้ หรืออาจให้ใส่มุสลิมเข้าไปด้วย เพื่อสร้างความเป็นจุดเด่นของพื้นที่ ให้หา Pilot Project ที่คม ๆ ทำขึ้นมาเป็นต้นแบบ และถ้าทำสำเร็จต้นแบบจะคือนวัตกรรม แล้วเมื่อเดินไปหาขุมชนจะเป็นพหุนวัตกรรม

เราต้องดึงสิ่งที่เล็กให้เด่นขึ้นมา หรืออาจไปทำกับการแพทย์แผนไทยที่ทำร่วมกับสปามุสลิมเป็นต้น

จาก กลุ่ม 4 Excellent Healing Training Center สร้างความเป็นเลิศของคณะ ฯ และ Rebrand

เริ่มจาก Problem Based ของคณะฯ มีการแพทย์ทางไกล สร้างให้เขามี Critical Thinking หา Innovation และสอนร่วมกัน ต้องมี Fresh Air ตั้งแต่วันแรก วิธีที่ดีมากคือ Live สด และปัญหาที่บอกว่าอาจไม่เกิด Participation อาจไม่เกิดปัญหาก็ได้ จะเลือกวิชาอะไรที่โดดเด่น ให้ดูตัวอย่างการแพทย์ทางไกลเป็นตัวอย่างก็ได้

งบประมาณไม่มีปัญหา

จาก กลุ่ม 1 ศูนย์รวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาตะวันออก (เก็บ และแบ่งปัน)คิดว่าจะเปลี่ยนเป็นการพัฒนาศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาตะวันออก

ถ้าเราเลือกจุดเด่นมาได้ต้องเป็นศูนย์เรียนรู้ เน้นเรื่องงานวิจัย การเรียนการสอนเอามาใส่ถ้าต้องการจะ Serve ก็เน้นที่การวิจัย แล้วองค์ความรู้จะใส่เข้ามาได้ ได้วิจัยก็จะมาเป็นการเรียนการสอน อาจเป็นการรวบรวมในเบื้องต้นก็ได้ อาจเอาโปรเจคภูมิปัญญาตะวันออก หรือทำมุสลิม หรือทำอะไรที่ไป Serve ระเบียงใต้ อินโดฯ มาเลเซีย บรูไน ก็สามารถเสริมให้เด่นได้ สร้างให้เกิดประโยชน์ต่อที่อื่นได้

ดึงใหญ่สักอันออกมาให้เด่น

นอกจากเรื่องรายได้ ให้ดูเรื่องความเหลื่อมล้ำเช่น องค์ความรู้ด้านพยาบาลในภูมิปัญญาตะวันออกเฉียงใต้

ถ้าความรู้ไม่มี งบประมาณไม่มีก็เน้นเรื่องการวิจัย

จาก กลุ่ม 3 การสร้างศูนย์สุขภาพผู้สูงวัยที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ถ้าเราจะเด่นต้องเป็นบ้านผู้สูงอายุที่เด่นเรื่องการพยาบาล ทำบ้านต้นแบบได้ ไม่จำเป็นต้องสร้างบ้านเป็นหลัง อาจเป็นลักษณะผู้สูงอายุในแบบใต้

ยกตัวอย่างโรงพยาบาลสารภี มีเทคโนโลยี มี IT ที่ดูแล 24 ชั่วโมง ให้ไปคิดเลยว่าเราจะเป็นแบบไหน อาจออกแบบในชุมชนแล้วเน้นเรื่องการรักษาพยาบาล

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

ฝากเรื่องการคิดชื่อโครงการฯ อย่างไรให้น่าสนใจ บางกลุ่มไปสอบถาม สัมภาษณ์มาแล้ว แต่บางกลุ่มยังไม่ทำ ให้หาเหตุผลสนับสนุนวิธีคิดว่าตอบโจทย์จริง ๆ การหา Stakeholder อื่นมาร่วมกับเราให้ไปถามจริง ๆว่าเขาเห็นด้วยหรือไม่ อาจลองไปพูดคุยและดูไอเดียที่หาจุดที่จะ Win-Win ว่าตรงไหน ฝากเรื่องการสัมภาษณ์คนที่เกี่ยวข้องด้วย


โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 1

กุมภาพันธ์ – มิถุนายน2560

วันที่ 11 มีนาคม 2560

สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy

วิชาที่ 13 Panel Discussion & Workshop

หัวข้อ ทิศทางการพยาบาลไทยในยุคโลกไร้พรมแดนกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.”

โดย ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

<p “=””>ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล </p>

ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

คำถามที่ 1 ให้ทุกคนตอบคำถามก่อนว่าความเป็นผู้นำในประเทศไทยกับคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. ให้แต่ละคนเลือกตัวเลขตัวเดียว แนวตั้งเป็นสภาพที่พึงเป็นหรือความคาดหวัง แนวนอนเป็นสภาพความเป็นจริง


คำถามที่ 2 ให้ทุกคนตอบคำถามก่อนว่าความเป็นผู้นำในASEANกับคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. ให้แต่ละคนเลือกตัวเลขตัวเดียว แนวตั้งเป็นสภาพที่พึงเป็นหรือความคาดหวัง แนวนอนเป็นสภาพความเป็นจริง


ใครตอบข้อ 1 คือ คาดหวังว่า คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. จะเป็นผู้นำในอาเซียน แต่ตอนนี้ยังไม่ได้เป็นเลย

ใครตอบข้อ 7 คือ ไม่คาดหวัง และไม่น่าจะเป็น

ใครตอบข้อ 9 คือ ไม่น่าจะเป็น แต่เป็นแล้ว ถ้าตอบข้อ 9 ให้ทอนลงมาเป็นข้อ 8 คือต้องทำมากขึ้น

ใครตอบข้อ 3 คือ น่าจะเป็น และเป็นแล้ว อยากให้ทอนลงมาที่ข้อ 2 เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น

ใครตอบข้อ 5 คือ คาดว่าจะเป็นแต่ไม่อยากจะเป็นเท่าไหร่ และเราเป็นแบบกลาง ๆ

คนเลือกข้อนี้ เป็นลักษณะความพึงพอใจในสภาพที่เป็นอยู่ ไม่ได้ทะเยอทะยานมากขึ้น ซึ่งคนโดยส่วนใหญ่จะเลือกข้อนี้เป็นส่วนใหญ่

ใครตอบข้อ 1 และ 2 คืออยากเป็นแต่ยังไม่ได้เป็นเลยต้องทำอีกเยอะถึงจะเป็น

สรุป ถ้าคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. ไม่เป็นผู้นำในอาเซียนแล้วใครจะเป็น ฝากเป็นการบ้าน

บทบาทเรื่อง อาเซียน AEC ที่เข้ามา คำตอบแรกสุดคือคำตอบในใจของเราเองว่าความรู้สึกเป็นอย่างนั้นหรือไม่ มีความมุ่งมั่นหรือไม่ หรือสบายดีแล้ว

1. พายุประเทศไทย

2. Transformative university

3. Focus & niche

4. Transformative healthcare & professional education

1. พายุประเทศไทย เราใช้ประโยชน์จากพายุได้อย่างไร

พายุลูกที่ 1 ความรู้ปรับเปลี่ยน

- การระเบิดของความรู้ ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้วเท่ากับความรู้ที่สร้างโลกมา แสดงว่าเวลาไม่ Linear แต่ความรู้ขึ้นอยู่กับว่าแล้วแต่ช่วงไหน

- พลังของความรู้ เป็นความสามารถพิเศษ และยิ่งเป็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมากมาย

- พลังการสื่อสาร กระทบกับกิจการงานขับเคลื่อนด้วยความรู้ เป็นสังคมความรู้

- มวลความรู้ในโลก (Global Knowledge Pool) ใช้ความสามารถในการเข้าถึง เลือกคุณค่า และปรับใช้ กระบวนการเหล่านี้คือความสามารถในการจัดการกับองค์ความรู้นั้น ถือเป็นความรับผิดชอบของมนุษย์ เป็นการพัฒนาที่ตั้งบนฐานความรู้ (Explicit Knowledge)

- Human Resources Capabilities การเข้าถึงความรู้

- ระวังช่องว่างของความรู้ เสมือนอยู่บนแผ่นดินแยก ทำอย่างไรถึงมีความรู้ต่อ บทบาทของคณะพยาบาลศาสตร์ไม่ได้จบลงที่รับปริญญา แต่ส่งที่เขาจะเป็น

- ความสามารถในการหาความรู้สำคัญมากกว่าความรู้ที่มี

- เนื้อหาสาระต้องเพียงพอต่อการมีวิจารณญาณ

- สิ่งที่จะต้องมี 1) ความรู้เฉพาะกรณี 2) รู้จากการกระทำ และเกิดความรู้มากขึ้น ใช้ความรู้จากประสบการณ์ Tacit Knowledge หรือ Implicit Knowledge ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาดั้งเดิม

- ความรู้จากการมีส่วนร่วม ต้องร่วมทำ

- สร้างสังคมความรู้ยุคที่ 2 ความรู้ที่ใช้เป็นความรู้ทั้งสองด้าน

พายุลูกที่ 2 ประชากร เปลี่ยนแปลง

- Life Long Learning

- การศึกษาตลอดชีวิต เป็นการศึกษาที่ไม่รู้จบ

พายุลูกที่ 3 กระแสทุนนิยม

- การศึกษาเป็นสินค้า เป็นอุตสาหกรรมบริการ

- มุ่งหากำไรสูงสุด การแข่งขัน กลไกตลาด การโฆษณา สร้างค่านิยมใหม่ หลากหลายรูปแบบ ดังนั้น คณะพยาบาลศาสตร์จะต้องไม่ทำให้เป็นโชวห่วย

- คุณภาพบริการที่ดี ปลอดภัย พอใจ มีค่าใช้จ่าย มีราคา

- สินค้าทางการศึกษารูปแบบใหม่ มีการปรับปริญญาตรี โท เอก มากมาย ต้องคิดว่าคณะพยาบาลศาสตร์จะไปทางไหน เราจะจัดการอย่างไร การศึกษานอกปริญญา ทำอย่างไรถึงจะปลอดภัยและเชื่อถือได้ การศึกษานอกระบบ เป็นโอกาสอย่างสูงทำอย่างไรถึงได้กำไร การศึกษาทางไกลแบบส่วนผสม วัสดุ ครุภัณฑ์การศึกษา การสอบเพื่อวุฒิบัตร บางครั้งการเรียนเองอาจดีกว่าที่เรามาสอนด้วยซ้ำ

พายุลูกที่ 4 โลกาภิวัตน์ บริการไร้พรมแดน

ความร่วมมือข้ามชาติ การแข่งขันข้ามชาติ มีทั้งข้อดี ความเป็นนานาชาติของคน/บัณฑิตไทย การเป็น “Medical hub” “Education hub”และข้อเสีย ข้อเสียเช่นเกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น

พายุลูกที่ 5 กระแสประชาธิปไตย

  • สิทธิได้รับการศึกษา/ บริการสุขภาพ
  • สิทธิได้รับการศึกษา/บริการสุขภาพที่มีคุณภาพ
  • ความเสมอภาค ความยุติธรรมในสังคม
  • โอกาสที่เท่าเทียมกัน ในการเข้าถึงและได้รับบริการที่ดี ความคาดหวังสูงขึ้น
  • ลดสาเหตุแห่งความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ
  • Health Equity and Education Equity นำไปสู่ คุณภาพ ความปลอดภัย ความพึงพอใจ
  • Inverse Equity Hypothesisความพยายามของเราในการลดความเหลื่อมล้ำ การเกิดประกันสุขภาพล่วงหน้าทำให้ระบบ Equity แย่ลง

พายุลูกที่ 6 ICT

- เป็นทั้งปัญหาและโอกาส

- ที่เป็นปัญหาหลักคือ Second Opinion มีความหมายอย่างมาก สำหรับประเทศไทยการบอกว่า ถ้ารู้ก็ไปหาคนอื่นสิ ควรปรับทัศนคติให้เปลี่ยน เพราะในความเป็นจริงสังคมเริ่มมีความรู้มากขึ้น ความรู้ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ให้เราเป็นเผด็จการ แต่ความรู้เป็นโอกาสในการข้ามกาลเวลาและลดความเหลื่อมล้ำ ตัวอย่างวิธีการดูว่ามหาวิทยาลัยทันสมัยแค่ไหน คือการดูว่ามีการใช้ ICT มากน้อยแค่ไหน

พายุลูกที่ 7 การบริหารจัดการสมัยใหม่ Modern Management

- ธรรมาภิบาล

- มาตรการคุณภาพ

- มาตรการประสิทธิภาพ

- การวางแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาและรักษากำลังคน การพัฒนาโครงสร้างพัฒนาพื้นฐานสิ่งแวดล้อม ระบบการเงินเพื่อการศึกษา ระบบการเงินเพื่อสุขภาพ รัฐ เอกชน ระบบการประเมินผลภายใน ภายนอก

เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ : มุมมองในเชิงระบบ

คุณภาพ : โครงร่างองค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และสภาวการณ์เชิงกลยุทธ์

1. ผู้นำองค์กร

2.การวางแผนเชิงกลยุทธ์

3. การมุ่งเน้นลูกค้า – การช่วยคนอื่นโดยไม่หวังผล เป็นความหมายที่กว้างคือตัวบุพการีที่เราให้เขา

4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

5. การมุ่งเน้นบุคลากร

6. การมุ่งเน้นการปฏิบัติ

7. ผลลัพธ์

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. จากบทความที่ ท่านศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา เคยเขียนว่า พยาบาลคือการด่านแรกของปฐมภูมิ บทบาทที่สำคัญคือการสื่อสารที่สามารถนำเอาความรู้ไปใช้ดูแลตนเองและประชาชนได้ จากตรงนั้นมาถึงตรงนี้ในการทำงานพยาบาลปฐมภูมิ ได้เข้าไปดูแลมากขึ้น ใช้ศาสตร์องค์รวมมองทั้งหมด และทำให้เราเห็นสถานการณ์วิเคราะห์จนเกิดเป็นบทบาท 2 ประเด็น การที่เราจะนำการพยาบาลไปสู่การให้บริการในชุมชนหรือครอบครัว คิดว่าเป็นจังหวะเวลาที่เหมาะ เน้นการพยาบาลเชิงรุกที่เพิ่มให้ประชาชนเรียนรู้และเท่าทันเรื่องสุขภาพ

การเรียนใน ม.อ. ถือว่า Moral เป็นตัวนำ แต่เมื่อ 35 ปีผ่านมา เห็นว่าสิ่งที่ได้รับการบ่มเพาะจาก ม.อ.คือความเมตตา ความเอื้ออาทร เป้าหมายคือการทำความดีร่วมกัน ใช้วิชาชีพทำประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์ ทรงธรรมะแห่งอาชีพให้บริสุทธิ์ เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

ธรรมะให้บริสุทธิ์เป็นเรื่องจิตวิญญาณของการเป็นพยาบาล เรียนวิชากรุณาช่วยปวงชน จากการเรียนความรู้ในมหาวิทยาลัยและกิจกรรมที่ทำร่วมกัน มาถึงวันนี้ ได้มุ่งความเป็นอัตลักษณ์ของ ม.อ. และภูมิปัญญาตะวันออก เป็นสิ่งที่เรารู้กันไปและเรียนไป สิ่งนี้จะเป็นเอกลักษณ์ที่จะนำสู่ Education Hub ของ Nursing ที่ทำตั้งแต่ปี 2543 และจะลดเวลาเรียน เวลาสอน เพิ่มเวลาเรียนรู้ร่วมกัน

ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

ทั้งหมดเป็นปัญหาของเรา แต่จะให้เราชี้นิ้วไปที่สภาการพยาบาลหรือ ฝากคณบดีไปต่อสู่กับสภาการพยาบาลให้ปรับวิธีการวัดให้ได้ ในโลกนี้สิ่งที่อยากให้เกิดและเป็นปรัชญา

ทำอย่างไรก็เป็นอีกตัวอย่าง ทำอย่างไรโดยใช้ศาสนาพุทธ ทำอย่างไรโดยใช้ศาสนาอิสลาม ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง หมายถึงทั้งหมดสามารถกระจายไปที่มุมอื่น ๆ ได้

2. ภาพของชุมชนผู้สูงอายุในอนาคตหรือการพยาบาลที่ไปเกี่ยวข้องในอนาคต ท่านอาจารย์จรัส มีความเห็นในการมองภาพในอนาคตอย่างไร

ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

ต้องเปลี่ยนคำว่าสูงอายุเป็นสูงวัย เพราะความจริงนั้นมีบางคนที่มีความแก่โดยอายุยังไม่ถึง หรือบางคนที่ไม่แก่แม้ว่าอายุมากแล้ว ดังนั้นอยากให้ปรับคำว่าผู้สูงอายุเป็นผู้สูงวัยน่าจะเหมาะสมมากกว่า

สิ่งที่ควรทำคือการทำให้ระบบสุขภาพดีขึ้นยาว และให้ลดความด้อยสมรรถภาพที่เกิดขึ้นจากความแก่

การแก้ปัญหาผู้สูงวัยไม่ใช่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ต้องไปที่ Healthy Aging ทำอย่างไรที่จะลดความด้อยสมรรถภาพที่เกิดขึ้นจากความแก่ ไปสู่การมีสุขภาพที่ดี


คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.ใน 10 ปีข้างหน้าจะต่างจากในปัจจุบันเพียงใด

มีการศึกษาว่า ถ้าจะถามอาจารย์มหาวิทยาลัยส่วนตอบจะ 4-5 ผู้บริหารจะตอบ 7-8 หมายถึงการเปลี่ยนแปลงจะมากกว่าเนื้อหาสาระวิชา แต่เมื่อไปถามอธิการบดีของมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ คำตอบคือ 20 หมายถึงมหาวิทยาลัยเป็นอะไรที่คาดการณ์ไม่ได้เลย

2. Transformative university

การตอบสนองปัจจัยภายนอก ผ่านพายุการเปลี่ยนแปลง และข้อจำกัด

แหล่งวิชาการปัญญา สติ

- สร้างสมความรู้ – นำเข้าวิจัย ประสบการณ์

- การศึกษา – ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

- การบริการทางวิชาการ – บริการทางวิชาการ บริการด้วยวิชาการ บริการวิชาชีพ

- ที่พึ่งของสังคม – ชี้นำ เตือนสติ ให้ข้อมูล รับผิดชอบต่อสังคม

- ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม – ศิลปวัฒนธรรม สุนทรียภาพ ความถูกต้อง จรรยาบรรณ

มหาวิทยาลัยในอนาคตอาจจะกลายเป็นโบราณสถาน มหาวิทยาลัยจะปรับเป็นแบบ Virsual University มีการเรียนการสอนที่ต่างไป นักเรียนต่างไป มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งของการสะสมความรู้ มีการนำเข้า การวิจัย การศึกษา บริการทางวิชาการ บริการทางวิชาชีพ ศิลปวัฒนธรรม แต่ความจริงเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทุกอาชีพมีวัฒนธรรม เป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ที่ตั้งบนฐานของเมตตา กรุณา ถูกกระทบกระเทือนด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีความสมดุลกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและพยาบาลอื่น ๆ

พยาบาลต้องปรับสภาพไปเป็นดูแลประชาชนที่ลดความเหลื่อมล้ำ ใครจะเป็นคนเตือนสังคมว่าจะทำอย่างไร เป็นแหล่งวิชาการคือแหล่งปัญญาและสติของสังคม และกระจายตรงนี้ไป สิ่งนี้คือมหาวิทยาลัยในรูปเดิม

มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเรื่องกิจกรรมทั้งหลาย แต่เดิมเป็นการศึกษา ต่อมาได้เกิดการวิจัยเกิดขึ้น ด้านบริการก็เริ่มมีเข้ามามากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อมเกิดขึ้น เราจะจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างไร

ม.อ.ต้องมีอนาคตที่สดใสกว่าปัจจุบัน

Cognitive Science

ในเชิง Cognitive Knowledge เอาความรู้ ไปพิจารณาในทางศาสนาพุทธ ปัญญามีจินตมยปัญญา และสูตมยปัญญา นำไปสู่การพิจารณาเหตุผลต่าง ๆ ความถูกต้องของความรู้ เป็นเรื่องพิจารณาความสัมพันธ์ของความรู้

1.Reflection ต่างประเทศเริ่มนำคำว่า Reflection มาแต่ในทางศาสนาพุทธมีมานานแล้วคือการภาวนา (ภาวนามยปัญญา)

2. Internalisation คือการนำความรู้มาในตัว

- Inquisitive mind knowledge hunger คือเมื่อเรียนแล้วเกิดความสงสัยหรือไม่ สิ่งที่เกิดคือต้องเกิดความสงสัย เกิดความอยากที่จะรู้

- Research เราจะปรับอย่างไรให้เด็กเกิดความรู้ที่ลึกซึ้ง และย่อยออกไปได้ สามารถกระจายความรู้ไปส่วนอื่น จนนำไปสู่การวิจัยได้

- Innovations Creativity จากงานวิจัยสู่การสร้างสรรค์งานนวัตกรรม

การจะปรับการศึกษานอกระบบต้องไปปรับที่การศึกษาแต่ละส่วน ๆ คือ Education Re-engineering

สร้างสมรรถนะความรู้พื้นฐานและความรู้คลินิก (information competence)

ฐานความรู้ความรู้พร้อมใช้การนำไปใช้ (Informative learning)

1. Basic/clinical Essential Professional Knowledge

2. Professional Knowledgepool consensus, controversial

ต้องสอนให้นักเรียนหาความรู้ที่ใช้ในกรณีนั้น ๆ สามารถใช้ได้ทั่วไป ความจริงคือควรสามารถให้เอาตำรา คอมพิวเตอร์เข้าไปในห้องสอบได้ แต่ประเด็นคือ สามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่

3. New Knowledge ต้องมี Critical Appraical คือวิจารณญาณ

4. Experiential Knowledge Glocalization Research

คำถามคือเราได้นำความรู้จากประสบการณ์มาใช้มากน้อยเพียงใด คือเอาความรู้ Globalization มาปรับ แต่ไม่ได้มีการศึกษาว่าของคนไทยเป็นอย่างไร หมายถึงเอาความรู้ใน Global มาทดสอบใน Local

5. Continuing education skillsความรู้สามารถไปเรียนต่อเพิ่มเติมได้

เราจัดการเรียนการสอนให้เกิด Competency แล้วหรือยัง

Competence-based Education

1. Professionalism เราสอนให้พยาบาลเป็นพยาบาลจริง ๆ หรือไม่

2. Education for “Evidence-based Services”

  • Scientifically proven evidences (research)
  • Evaluative evidences

-Situation specific evidences

Researchmethodology

นักเรียนต้องสามารถตัดสินใจโดยใช้หลักฐานจากการวิจัย และ กรณีเฉพาะ ต้องรู้ข้อมูลตรงนั้น เรื่องตรงนั้น และจากการประเมิน มีการศึกษาว่าจะให้ศึกษาได้ต้องเรียนรู้ Methodology คือนำวิจัยมาใช้ในการศึกษาและเป็นเครื่องมือ เพราะกระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยเป็นเครื่องมือของกระบวนการศึกษา จะสอนตรงไหนก็ได้

สร้างให้เกิด

  • Critical Thinking Skills /Decision making skills
  • Quality improvement Skills
  • Health Safety Skills
  • Teamwork & Collaborative Skills

3. Focus & niche

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2570

การปรับเปลี่ยนของสถาบันเพื่ออนาคตคืออะไร ต้องหา Focus & Niche

1. ความเป็นเลิศทางวิชาการ

2. คุณภาพการศึกษา ความเป็นเลิศทางการศึกษา

3. ความเสมอภาคในสุขภาพของประชาชน

4. ASEAN & Global Hub , Medical Hub, Academic Hub

คณะฯ ต้องหา Focus ว่ามีพลังอยู่ตรงไหน โอกาสเป็น Niche อยู่ตรงไหน จะเข้าไปได้ดีกว่าคนอื่นคือตรงไหน สิ่งนี้เรียกว่า Transformative การต่างกันเป็นของดี แต่ต้องไปสู่เป้าเดียวกัน ปรับตนเองเล็กน้อยเพื่อเป้าหมาย

ความเป็นผู้นำใน ASEAN กับ คณะพยาบาลศาสตร์ มอ.

- ปรับการศึกษา การวิจัยแลกเปลี่ยนนักศึกษาแลกเปลี่ยนอาจารย์

- Nursing Specialists

- Research Cluster

- Population-based care nursing Multicultural skills in nursing

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. เป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงนับเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ อยากสอบถามเรื่องบทบาทของมหาวิทยาลัยในอนาคตที่ต้องเป็น Transformative University ที่มุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงคน สิ่งแวดล้อม เกิดการสร้างสติในการชี้นำ อยากสอบถามความคิดเห็นว่า มหาวิทยาลัยที่สอนตอนนี้ได้มุ่งเน้นการให้ข้อมูล คิดว่าวิธีคิดและวิธีการสอนจะเป็นฐานของการเปลี่ยนแปลง และคิดว่าอาจารย์จะมองอย่างไรว่าบทบาทของมหาวิทยาลัย เน้นการสร้างความรู้มาใช้ด้านการบริการและเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้น อย่างในต่างประเทศ มีการร่วมมือกับภาคเอกชน กับภาคอุตสาหกรรม สร้างคน สร้างความรู้ และงานวิจัยเพื่อไปใช้ต่อ

เราน่าจะมีบทบาทที่นำเอาองค์ความรู้เหล่านั้นไปใช้ สร้างผลผลิต อุตสาหกรรม และก่อให้เกิดการสร้างรายได้ได้ด้วย ตัวอย่างมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเนื่องจากการมีหุ้นส่วนกับภาคเอกชน และยังเป็นแหล่งให้นักศึกษาฝึกงานด้วย และคิดว่ามีประโยชน์หลายอย่าง

เราต้องมีความร่วมมือกับภาคเอกชน และให้มีลักษณะ Internship เขาต้องการความเป็น Internalization ด้วย

ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

คิดว่าทุกคนก็น่าจะเห็นร่วมกัน ที่สามารถสร้างรายได้ และเห็นด้วยกับการทำ Internshipคำถามว่า ถ้ามหาวิทยาลัยไม่เปลี่ยน สภาการพยาบาลไม่เปลี่ยนจะทำอย่างไร ประเด็นก็คือเราต้องเปลี่ยนตัวเราเอง เราเองเป็นคนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คำถามแรกคือเราเป็นผู้นำหรือไม่ ถ้าเราคือผู้นำ เราจะนำการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ให้เกิดขึ้น เปลี่ยนจากปรัชญาและหลักคิดสู่ปฏิบัติจริงได้อย่างไร จะต่อสู้และมุ่งมั่นได้อย่างไรเลือกสิ่งที่จะทำ ทำให้ดีและสามารถอวดได้ เราต้องหาความมุ่งมั่นที่จะทำ เป็นเรื่องการพิจารณาร่วมกัน

2. การปรับการศึกษา เป็นเรื่องสอนให้น้อยและแลกเปลี่ยนความรู้ให้มาก ให้มีการมีส่วนร่วมมากขึ้น และเรื่อง Research Cluster

การจัดการเรียนการสอนที่เป็น Nursing Special กับ Popular based เป็น Health Care System ได้อย่างไร

ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

สิ่งที่พูดมาเป็นทฤษฎี เป็นสิ่งที่ต้องไปทำให้เกิดจริง ๆ ปฏิบัติจริง ๆ จนทำได้ อย่าเชื่อแต่ทฤษฎี สิ่งที่ยากที่สุดคือ อัตตา ทุกคนต้องช่วยลดอัตตาลง ต้องปรับความคิดว่าเป็นผู้ให้ ถ้ามองเป็นผู้รับอาจเกิดปัญหา

3. ถ้า ศ.นพ.จรัสอยากเปลี่ยน ม.อ. 2 ประเด็นจะเปลี่ยนอะไร

ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

อยากเห็น ม.อ.เป็นสิ่งที่ทุกคนอยากได้ทั้งคนใน และคนนอก

อยากได้บัณฑิตที่ดี ถ้า ม.อ.มีแบรนด์ของตนเอง และมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อวิชาชีพ ต่อผู้มาให้บริการความรู้กับเรา แล้วอย่างอื่นจะตามมาหมดเลย ได้ยกตัวอย่าง ที่ มหาวิทยาลัยสิงคโปร์เขาจะมี Signature

อย่าง Signature ความซื่อสัตย์ สุจริตทำให้การศึกษาแพทย์และพยาบาลเป็น Attitude เรามีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์สุจริต

ม.อ.ต้องมี Signature ของตัวเอง และไปไหนแล้วมีแต่คนอยากได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ทรงธรรมะแห่งวิชาชีพไว้ให้บริสุทธิ์ หมายถึงอะไร คำตอบคือ ซื่อสัตย์ สุจริต แล้วจะตอบโจทย์ ลาภ เกียรติยศแก่ตัวท่านเอง

ถ้าจะเป็นยุทธศาสตร์ที่ให้เราเป็นผู้นำใน 10 ปีข้างหน้าอาจไม่ใช่เลข 10 แต่อาจมีความรู้ใหม่ ๆ ที่เราสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งหมด ถ้าหา Best ได้จะพัฒนาไปได้ การสื่อสารเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะการสื่อสารสองทาง และศิลปะในการสื่อสาร ทุกอย่างมีอยู่แล้ว แต่จุดเด่นคือ Niche คือความรู้ในภาคใต้ การพยาบาลท้องถิ่น มองไปในอนาคตว่าใครจะมา ถ้าเราจะโดดเด่น เราจะทำในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้ และถ้าเราทำแบบนี้ได้ เราต้องเลือกเลือกแล้วเป็น Best Version ที่แตกต่าง เห็นแล้วจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงคือตัวเราเอง และคณะภายใน


วิชาที่ 14

Panel Discussion & Workshop

หัวข้อ “วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.

โดย ผศ.ดร.พงศ์ชัยอธิคมรัตนกุล

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ความรู้จะ Dynamic ต้องนำความรู้เดิมไป Exercise

การบริการทางวิชาการคือการทำวิจัยอย่างหนึ่งคือการทำงานวิจัยเชิงประยุกต์ ที่สามารถไปช่วยเอกชนในปัญหาต่าง ๆ ได้ ใช้ชีวิตให้เหมือนผีเสื้อ ทำงานไปอิ่มท้อง มีความสุขไปด้วย

เป็นผู้ใหญ่ต้องใจกว้าง การออกนอกระบบหรือไม่ออกนอกระบบประเด็นสุดท้ายอยู่ที่คน พระจอมเกล้าธนบุรีอาจโชคดีที่ผู้ใหญ่บางคนให้ความเคารพนับถือ

อย่างคณบดีสมัยใหม่ต้องเป็นพ่อบ้าน และแม่บ้าน อย่างในอเมริกาต้องเป็น Fund Raising ต้องเป็นพ่อนก ไปหาเหยื่อให้แม่นก ให้ลูก ๆ

การจะเป็น Global Universityการทำ Ranking เป็นเรื่องอุปโลกน์อย่างหนึ่ง ถ้าดีจริง อาจารย์ต้อง Well Recognize ในธุรกิจด้านนั้น ในเมืองนอกการเป็นศาสตราจารย์ต้อง Well Recognize ทั้งหมด แต่ถามว่า Contribution ให้กับมหาวิทยาลัย ให้กับทางวิชาการ มี Impact หรือยัง

ทุก Combination ต่าง ๆ Core ของคนบางมดส่วนใหญ่มาจากคณะวิศวะ ดังนั้น ม.อ.ต้องหา Partway ของตัวเอง ถ้าม.อ.ออกนอกระบบและหาตัวเองให้เจอจะสามารถไปได้ไกลมาก

ถ้าวันนี้เราเก่งจริงเรื่องในอนาคตต้องปล่อยให้คนที่เป็น Youngster คนจบใหม่ น่าจะเป็นกำลังสำคัญ ควรให้ทำในลักษณะ Think Tank ในลักษณะ New Agenda

รายการ Timeline ของคุณสุทธิชัย หยุ่น กับคุณธนินทร์ เจียรวนนท์ เขาบอกว่าเขามีลูกชายคนโตกับลูกชายคนรอง เขาเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารใหม่ คือเอาลูกชายคนรองดูธุรกิจ ลูกชายคนโตเหมาะกับธุรกิจเดิม ๆ ที่คุ้นเคย แต่เขาเอาเบอร์ 2 ขึ้น สิ่งนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่อาจผิดธรรมเนียมเดิม เขาให้เหตุผลว่าคุณศุภชัยอยู่ในโลกยุคใหม่

คนที่อายุ 40-50 ปี ขึ้นไปเขาอยากทำงานบริษัทแล้วได้รายได้ดี ๆ แต่เด็กรุ่นใหม่อยากเป็น Entrepreneur มา Start Up ธุรกิจ เราไม่สามารถให้คนธุรกิจ Mentality รุ่นหนึ่งมาอยู่ mentality อีกรุ่นหนึ่ง

ประเด็นสำคัญคือ

1.ถ้าวันนี้เราเป็นผู้ใหญ่ใจกว้าง ถ้าเรามีสิทธิ์เลือกและใจกว้างแล้วเด็กจะวิ่งมาหาเราหรือไม่ แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ใจแคบเด็กจะไม่วิ่งเข้าหาเราจะจบเลย ถ้าไม่เร่งทำอะไร แล้วจะเกิดสมองไหลแน่ๆ

2. วันนี้หมดยุคแล้วที่ผู้ใหญ่จะเข้ามากุมบังเหียนทั้งหมด ผู้ใหญ่ควรจะถอยไปเป็นที่ปรึกษา

3. เรื่องยาก ๆ ต้องให้เด็กทำ ให้ล้มลุกคลุกคลาน เช่นให้ทำไป เรียนไป

4. ในซี.พี.มีคนอายุเยอะและคนอายุน้อย ต้องให้เขาอยู่ด้วยกันได้ แต่ไม่ให้เขาอยู่ภายใต้ซึ่งกันและกัน บางคนที่เป็นผู้ใหญ่เขาปิด บางคนที่เป็นผู้ใหญ่เขาเปิด

มีบริษัทเยอะแยะ ไม่อยากอยู่ตรงนี้ก็ไปอยู่บริษัทใหม่ ไปทดลอง และอีกสักพักเมื่อเด็กทำได้ ผู้ใหญ่จะยอมแล้ว ทำไปแล้วจะเก่งเอง ทำแล้วชกบ่อย ๆ แล้วเก่งเอง

หมดยุคดูโหงวเฮ้งแล้ว ทำได้ก็เก่งเอง ดังนั้นให้ทดลองไปเถอะ อย่ากลัวว่าล้มเหลว การพัฒนาคนต้องให้เขาลองถูกลองผิด ทดลองเต็มไปหมด

ไม่มีสูตรสำเร็จ อยู่ที่ภาวะผู้นำที่อยู่ในคณะนั้นที่ทำให้สำเร็จ และหมดยุค Super Hero แล้วแต่ต้องเป็นยุค Collective Hero ที่เป็นทีมช่วยกันทำ

ถ้า ม.อ.ออกนอกระบบต้อง Recruit The Best and The Brightness

รูปที่ 1 ภาพโลโก้แบรนด์ สายการบิน Low Cost นึกถึงอะไรบ้าง

การแสดงความคิดเห็น

ติดดิน เข้าถึงง่าย สายการบินต้นทุนต่ำ มาจากรากเหง้าไม่เหมือนกัน

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

กล่าวว่าท่านพุทธทาส บอกว่าไม่จำเป็นต้องบวชเป็นพระถึงสำเร็จพระอรหันต์ ถ้าบวชเป็นพระหมดประเทศจะเจริญไหม

มุมมองวิเคราะห์สายการบิน low cost

สถานการณ์ปัจจุบัน

1. ระยะเวลาจากกรุงเทพฯ บินไปที่ต่าง ๆ และบินเข้ากรุงเทพฯ ใช้เวลาเพียงแค่ชั่วโมงกว่า ๆ

2. ชื่อเสียงในอดีตไม่เกี่ยวแล้ว

สมัยก่อนคนไม่อยากเดินทางไปกรุงเทพฯ เนื่องจากค่าใช้จ่ายแพง จะแก้ปัญหาอย่างไร

ในมุมมองจากการรู้จัก ม.อ.

พบว่าเด็กที่เข้าศึกษาที่ ม.อ.เป็นเด็กเก่งระดับกลาง ๆ ส่วนเด็กเก่ง ๆ เข้ากรุงเทพฯ ทั้งหมด

Input Process Output

ในกระบวนการต้องเลือกวัตถุดิบที่ดีที่สุดแล้วเข้าสู่กระบวนการปรับเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด แต่ถ้าเราไม่ได้วัตถุดิบที่ดีที่สุด กระบวนการอาจยากนิดนึง

ดังนั้นความท้าทายที่สุดคือ ทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์จากความท้าทายตรงนี้ ในที่สุดพบว่าสิ่งที่ ม.อ.ขาดคือคนเก่ง

- คนในพื้นที่คนเก่งไม่ควรเรียนที่อื่นควรเรียนที่เรา

- คนเก่งในประเทศไทยควรมาศึกษาที่นี่

- คนเก่งในอาเซียนต้องมาเรียนที่เรา

ถ้าไม่ใช่ทุก KPI ไม่จริงหมด จะกลายเป็นการเชิดชูกันเองเท่านั้น

สรุปคือ เราจะรักษาคนเก่งในพื้นที่ให้ได้อย่างไร ถ้าเราดังจริง เก่งจริง เขาต้องมาเรียน

คำตอบ ทำอย่างไรให้คนเก่งเลือกเรียนกับเรา ทำอย่างไรให้เด็กหัวกะทิ ใน ม.อ.วิทยานุสรณ์ มาอยู่กับเรา ให้เด็กมีวินัย

ถ้าให้ Keyword เขาจะเชื่อมากกว่า พอเจอค่ายก็มีโลกอีกโลกที่เขาแลกเปลี่ยน และพบว่า ม.อ.ไม่ท้าทายสำหรับเขา เขาจึงเขยิบไประดับกลาง ไปกรุงเทพฯ

2. มีเอ็นทรานส์ตรง แต่คนมองเป็นทางเลือก เราพยายามหามาตรการจูงใจเขา ให้เด่นพอ นอกจากนั้นยังมีภาวะคุกคามคือเห็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน อย่างกรณีความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

บอกว่ามหาวิทยาลัยเป็นที่อยู่ของ Scholar คือทั้งตัวเรา และคนที่เข้ามาด้วย ปล่อยไม่ได้ ต้องคิด และเป็นสิ่งที่ต้องทำให้ลำดับแรก ๆ

การทำ Profile เด็กระดับ Top เป็นสิ่งที่ต้องทำ หรือ Alumni ก็น่าจะมีประโยชน์ อาจทำการรณรงค์หรือ Open House ให้ศิษย์เก่า

ในเชิงธุรกิจต้องมี Influence อย่างหนึ่งให้เขาอยากอยู่ เป็นสิ่งที่ต้องทำ

มี Exit Plan อย่างดี ต้องเป็นลักษณะ Collective คือให้ช่วยกันคิด

รูปที่ 2 ท่านพุทธทาส กับบัว

การแสดงความคิดเห็น

เห็นบัวที่อยู่ลอยน้ำเห็นภาพท่านพุทธทาสนึกถึงความสงบนิ่ง และเวลาสงบนิ่งจะคิดอะไรที่มาจากข้างในและนั่งดูตัวเราเองมากที่สุด ในโลกมีการ Interaction ตลอดเวลา แต่ขาดการ Interaction กับตัวเอง การทำหน้าที่ที่รับผิดชอบให้ดีที่สุด

ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ท่านพุทธทาส สอน สะอาด สว่าง สงบ (ศีล ปัญญา สมาธิ)

ธรรมะคือหน้าที่ หมายถึงทุกคนทำหน้าที่ให้ดีที่สุดทั้งในทางธรรมและทางโลก

ทุกมหาวิทยาลัยก็ออกนอกระบบเหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่ใช่อยู่ที่ออกนอกระบบหรือไม่ ประเด็นคือจัดการบริหารจัดการแบบใหม่อย่างไร ทำลายกำแพงกรอบความคิดของคน ไม่ให้ยึดติดตัวกู ของกู เพราะมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่คนยึดถืออัตตาเยอะมาก ชอบติ มากกว่าก่อ คนเป็นอาจารย์มีอัตตาสูงมาก มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมากในระดับหนึ่ง บางคนหูดับ ตาบอด ใจดับ และปรับช่องสัญญาณในส่วนที่ตัวเองชอบใจ ถ้าไม่ใช่สมองก็จะสรรหาเหตุผลที่ไม่ฟัง หรือเสนอวิธีการอะไร สมองก็จะคัดค้านและหาตัวอย่างมาลบล้างหมด

ดังนั้นในวันนี้จะสร้างกลไกอย่างไร สิ่งแวดล้อมอย่างไร จะมีวิธีการอย่างไร

การบริหารมี Gap หรือไม่ ม.อ. Spirit คืออะไร ดังนั้น Team Spirit สำคัญ ทุกคณะต้องมี Spirit แล้วเราจะทำอย่างไรให้ทุกคนออกมาได้จากตัวเขา ทำอย่างไรให้เป็น Community ที่ทำงานด้วยกัน ไม่เปรียบเทียบ เพราะคนก็ไม่อยากเปรียบเทียบ

ท่านพุทธทาสบอกว่า คนไม่มีใครที่ไม่มีส่วนที่ไม่ดี ดังนั้นอย่ามองในสิ่งที่ไม่ดีของคนอื่น ให้มองสิ่งที่ดีของคนอื่น สังคมที่มองสิ่งไม่ดีของคนอื่นจะไม่มีทางเป็น Unity ได้ ดังนั้นผู้นำจะเป็นส่วนสำคัญ ผู้บริหารต้องเข้าใจว่าไม่มีใคร Perfect เรื่องนิด ๆ หน่อย ๆ มองข้ามไป มองในส่วนที่เป็นจุดดี จุดแข็งของเขา แล้วสังคมจะเป็น Unity ขึ้นมา ระวังเรื่องอัตตาที่มีมากเกินไป หรือคิดกฎเกณฑ์มากเกินไป อย่างเช่น การประเมินของต่างประเทศเขาไม่ได้ประเมินแบบไทย แต่คนไทยมีแต้ม ต่างประเทศใช้วิธีคุยกันแล้วดูว่ามีผลงาน Paper อย่างไร

ถ้าอยากประมวลความรู้เด็กจะใช้อัตนัย(เขียน) ถ้าประเมินความรู้เด็กจะใช้ปรนัย (Choice)ได้อย่างไร

การคิดออกนอกระบบ คนนึงคนเป็น Individual ของเขาเอง จึงต้องประเมินในสิ่งที่เขาทำ การประเมินแบบไขว้คณะก็ยังสามารถทำได้ ยกตัวอย่างเวลาสัมภาษณ์คน ดู Transcript ดู CV ก็เรียกมาคุย แต่บางระบบถ้าใช้แต้มประเมิน จะทำให้คนยิ่งเห็นแก่ตัว และยิ่งใจแคบ

เราต้องเลิกคิดว่าการทำให้คน 95% ไม่นอกรีด เกิดอารมณ์เดียวกับ 5% ที่เป็นคนนอกรีด

การแสดงความคิดเห็น

เนื่องจากมีระบบพวกพ้อง จึงมีระบบการประเมินเพื่อทำให้เกิดความยุติธรรม แต่พอนำมาใช้ก็เกิดปัญหาอีกแบบ

รูปที่ 3 ภาพโรตี สายใหม่

การแสดงความคิดเห็น

ไม่มีความแตกต่าง

ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

Over supply – We do too แปลว่าเกินความจำเป็น ทำเหมือนกันหมดก็ไม่มีทางเลือก ไม่มี Uniqueness ถ้าเรามี Uniqueness ของเราเองที่ไม่สามารถมีใครแย่งได้ จะช่วยทำให้เรามีจุดเด่นและมีจุดขาย

แต่ทางคณะพยาบาลศาสตร์ ยังคงเป็นความต้องการในวงการการแพทย์อยู่ แต่อย่างคณะอื่นอาจมีการเปิดเกินความต้องการของตลาด

ความเป็นอาจารย์ต้องเป็นปัญญาของสังคม มหาวิทยาลัยควรมีอัตลักษณ์ หรือนวัตกรรมทางความคิดที่เก่งเฉพาะทาง หรือเก่งแบบเป็ด

ม.อ.ต้องกลับมาคิดว่ามี Uniquness อะไรที่ต่างจากคนอื่น

การแสดงความคิดเห็น

1. Uniqueness ของเภสัช ม.อ.คือผลิตบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับร้านยาได้ดี เนื่องจากผลิตบุคลากรที่ Serve คนทำงานในร้านยา อย่างน้อย 50% ทำงานในร้านยาได้ดี น่าจะมาเรียนที่ ม.อ. ถือได้ว่าเป็นจุดขายที่ดีอย่างหนึ่ง จึงควรมี Strength ที่เป็นจุดแข็งของเรา จะสร้างจุดแข็งอย่างเป็นหน่วยคู่บริการสุขภาพได้หรือไม่ร่วมกับร้านขายยา เช่นคลินิกร่วมทำงานร่วมกับชุมชน สามารถทำงานร่วมกับโมเดิร์น เทรดได้

2. ในมุมข้างนอกมองเรื่อง Herbal Medicine ที่ทำร่วมกับการแพทย์แผนไทย มีคอสเมติกสมุนไพรที่สร้างความเป็น Uniqueness และสร้างเครือข่ายมาได้ สิ่งนี้น่าจะเป็นจุดขายที่น่าสนใจ

3. เปรียบเภสัชศาสตร์ เหมือนเป็ด เพราะสามารถผลิตยา และมีความรู้เรื่องเวชภัณฑ์ แต่จริง ๆ มีมากกว่านั้น เช่นคุ้มครองผู้บริโภค สมุนไพรในปัจจุบันเราพยายามปรับให้เฉพาะด้าน และสามารถเป็นการเชื่อมโยงกับต่างประเทศได้

4.คณะพยาบาลศาสตร์ มองลึก ๆ เราให้ความสำคัญกับ Care แต่คนข้างนอกมองเราเก่งและทำ อันดับแรกคือ Ethics 2.ภูมิปัญญาตะวันออก อย่างไรก็ตามอยู่ที่ Care คือความสำคัญของมนุษย์ มีนักศึกษาต่างชาติมากขึ้น มีการบรรจุในหลักสูตร ตรี โท เอก บูรณาการสู่การเรียน การสอน งานวิจัยและบูรณาการ

เราพยายามตอบสนองวิสัยทัศน์ของคณะพยาบาลศาสตร์มีความพยายามสร้าง Wellness Center โดยบูรณาการภูมิปัญญาตะวันออก

ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ความจำเป็นที่ โมเดิร์น เทรดให้ได้ สามารถผลิตยาได้

Hard way is the best way to go

การมองว่าเป็น Unique หมายถึงมีเราคนเดียวที่ไม่สามารถมีคนอื่นได้ มหาวิทยาลัยจะทำอย่างไรให้เกิด Culture นี้ให้ได้

มหาวิทยาลัยคือที่ทดลอง ถ้ามหาวิทยาลัยไม่ทดลองแล้วใครจะทดลอง

ทุกนวัตกรรมต้องเกิดจากงานวิจัย การลองถูกลองผิดในมหาวิทยาลัย Fail ก็เรียนรู้ Success ก็เรียนรู้

หน้าที่ของมหาวิทยาลัยคือผลิตองค์ความรู้

เราทำวิจัยเพื่อได้องค์ความรู้ องค์ความรู้อะไรหรือที่ผลิตมาใหม่ ดังนั้นองค์ความรู้วันนี้ในคณะเภสัชศาสตร์ คืออะไร จะเป็น

ถ้าเป็นเรื่องการผลิตยา ไม่ใช่ไปสอนเด็กเฉย ๆอาจมีการทดลองทำเป็น Economic Size เช่น ยาหม่องร้อนขายตามนวดสปา

Silver Economy เป็นเศรษฐกิจผู้สูงอายุที่ไม่ใช่เป็นภาระสังคม แล้วสามารถทำเป็น Health Center หรือ Wellness Center

สรุปคือประเด็นเรื่องความท้าทาย องค์ความรู้ไม่สามารถไกลจากคณะพยาบาลศาสตร์ แต่อยากให้จับให้ครบ ไปดู Facility ได้หรือไม่Humanity มีผลหรือไม่ และจะทำงานวิจัย ซึ่งสามารถจัดลำดับช่วงของผู้สูงอายุได้อีก

รูปที่ 4 ภาพติ่มซำที่หลากหลาย

การแสดงความคิดเห็น

ติ่มซำหลากหลาย มีสินค้าที่ทำหลายลักษณะให้ตอบสนองลูกค้า

มีโปรตีนเหมือนกัน แต่ทำให้หลากหลาย

ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ถ้า ม.อ.มี Issue เด่น ๆ เช่นอาหารติ่มซำ มีโปรตีนเป็นอย่างไร ดีอย่างไร ใช้งานวิจัย งานวิชาการแล้วเผยแพร่ข้อมูลทำฟรี

ติ่มซำ มาจากโชคดีติ่มซำ หมดยุคที่คนจะนั่งเครื่องบินมากินติ่มซำที่ภาคใต้ ที่ตรัง และพบว่าสไตล์ชีวิตคนได้ปรับไปกินที่แฟรนด์ไชส์ โชคดีติ่มซำที่ตรังสูญเสียขีดความสามารถทางการแข่งขัน เนื่องจากคนอื่นทำตาม และปรับไปตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ทุกร้านที่เปิดใหม่ยังได้รายได้อยู่ มีอะไรที่สร้างขึ้นใหม่หรือไม่

ดังนั้นให้นึกถึง S-Curve ช่วง Beginning ,Growth Stage , Matureและเมื่อมีปัญหาจะ Declining

คณะพยาบาลศาสตร์ มี S-Curve ตัวใหม่หรือไม่ เรา Rely on S-Curve หรือไม่

มหาวิทยาลัยค่อย ๆ สมองไหลออกไป และพบว่าคนเก่ง ๆ ค่อย ๆ เดินจากไปเงียบ ๆ และความท้าทายสิ่งนี้จะทำอย่างไร

ค่านิยมของคน 1 รุ่นย่อมต่างจากค่านิยมอีก 1 รุ่น เด็กเหล่านั้นจะไม่สามารถเรียนรู้ในรุ่นที่เขาเป็น เราไม่สามารถเอาค่านิยมไป Judgment กับคนอีก Generation หนึ่งที่ต่างชาติเรียกว่า Generation Gap

คนที่อยู่ต้องมานั่งเช็คสต็อคว่าทำให้เขา Happy อย่างไรอยู่อย่างถอดหัวโขน ทั้ง ๆ ที่อยู่ในครอบครัวเดียวกันทำไมต้องมีหัวโขน

รูปที่ 5 ภาพแผนที่ภาคใต้กลุ่มเสี่ยง 5 จังหวัด ภาพผู้หญิงมุสลิม น้ำพุ ทะเล

การแสดงความคิดเห็น

เป็นกลุ่มนับถือศาสนาอิสลาม มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย ผู้หญิงมุสลิม

พื้นที่กลุ่มเสี่ยงที่ทั่วโลกเตือน แต่ภายใต้ความเสี่ยง มีความสวยงามอยู่ มีจุดดี และจุดเด่นที่ต้องค้นหาให้เจอ แต่คนที่อยู่รอบนอกเขาจะคิดว่าอันตราย ก็ไม่มา ถ้ามองลึก ๆ จะมีจุดดี จุดเด่น จุดที่น่าค้นหา

ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

การสร้างแบรนด์ สร้างความเชื่อสำคัญมาก ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสร้างอะไร สิ่งที่ ม.อ.มองว่าเป็นมหาวิทยาลัยภูมิภาคในภาคใต้ ยังไม่ได้มองเป็น International ขนาดนั้น สิ่งที่เราต้องเร่งทำต้องสร้างแบรนด์ที่ให้คนเห็นเป็น Positive ไม่ใช่เป็น Negative ในสิ่งที่คนยัดเยียดให้เรา แทนที่จะได้เปรียบกับเสียเปรียบ เช่น ติดชายแดน มีท่องเที่ยว มีมุสลิม แต่สิ่งดี ๆ เหล่านั้นจบเพราะความไม่สงบ ความท้าทายนี้จะแก้ได้อย่างไร แก้ด้วยข่าวดี ทุกคนต้องช่วยกันในการสร้างแบรนด์ให้เห็น ไม่ใช่ปัญหาเรื่องความไม่สงบในภาคใต้ถูกครอบคลุมไปหมด เราในฐานะม.อ.จะทำอย่างไร แต่ละคณะจะต้องทำอะไร คนที่ดูแล PR ต้องทำอะไร เราจะต้อง Proactive มากกว่า Reactive ดังนั้นการสื่อสารต้องเช่นเดียวกัน ให้หา Issue ต่าง ๆ ให้เห็น ให้ทุกคณะช่วยกันสร้างข่าวดีว่ามีข่าวดีตรงไหน และมีศิษย์เก่าที่ทำด้านสื่อมวลชนหรือไม่ ให้มาช่วยและทำไป

การแสดงความคิดเห็น

เมื่อ 4 ปีที่แล้วโดยปกติจะมีนักศึกษามาดูงาน ได้รายได้ตรงนี้ แต่ปรากฏว่าประกันไม่รับจะทำอย่างไร

คำตอบคือ Proactive ให้เขารู้

รูปที่ 6 ภาพAging Society ภาพเด็ก และผู้สูงอายุ

การแสดงความคิดเห็น

เด็กเกิดน้อยลง ผู้สูงอายุมากขึ้น แล้วเด็กที่เกิดน้อยลงจะมีปัญหาหรือไม่ ประเทศจะก้าวหน้าช้า ม.อ.ก็มีสภาพแบบนี้เช่นกัน

ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ผู้สูงอายุมากขึ้น เราจะมี Opportunities อย่างไร มีทั้งงานวิจัย และหลายสิ่งหลายอย่างเต็มไปหมด แต่อาจารย์เข้ามาใหม่เงินเดือนน้อย อายุเยอะ มีภาควิชาที่เพิ่งตั้ง อาจารย์ไม่กี่คนภาควิชาที่มีอาจารย์เยอะก็จะมีคนเยอะต่อไป คณะคนเยอะก็คนเยอะต่อไป พอเกษียณก็ไปเติมที่เดิม ไม่เติมที่ใหม่ สิ่งที่พบมีข้อจำกัดในสุขภาพและจำนวน

Financial Revenue พบว่าปัจจุบันเกิดข้อจำกัด เงินงบประมาณแผ่นดินต่ำลง บางหลักสูตรไม่มีคนเรียน คนน้อยลง ปัญหาคือหากไม่สามารถสร้างรายได้ภายใน 5 ปีข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้น ดังนั้นในวันนี้ต้องกล้าที่จะพูดเรื่องเงิน ดังนั้นในวันนี้ต้องคิด Generate งานใหม่ ๆ ที่มีรายได้ขึ้นมา

รูปที่ 7 ภาพพยาบาลสาวสวย

การแสดงความคิดเห็น

เป็นกลุ่มพยาบาลที่ดูสวย ให้การต้อนรับอย่างดี

ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ประเทศไทยเป็น Medical Hub โรงพยาบาลกรุงเทพ ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นเจ้าของโรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลเปาโล ซื้อโรงแรมปาร์คนายเลิศ ปรับเป็น Wellness

ม.อ.ต้องมีพันธมิตร เป็นเครือโรงพยาบาลกรุงเทพที่สามารถแลกเปลี่ยนคนได้ Exchange Resource ได้ ขอเป็นพันธมิตรกับเรา

We need to seek out every opportunities เราต้องการเป็น Strategic Partner ต้องการเป็น Strategic Alliance เราสามารถทำอะไรได้บ้าง

รู้แล้วไม่ทำเป็นเรื่องน่าอาย ได้ยินแล้วไม่ทำเป็นเรื่องน่าอาย ทีมต้อง Dynamic พร้อมเปลี่ยนตลอดเวลา เรายังคงเป็นลูกพระบิดา Professional และมีโอกาสได้ด้วย หาวิธีการพัฒนาต่าง ๆ เป็น New Strategy เป็น New S-Curve ของประเทศไทย คนที่มาบุคลากรทางการแพทย์มีปัญหาเรื่องภาษา คนที่มามีทั้งญี่ปุ่น จีน อาหรับ ติดปัญหาเรื่องภาษา ตัวอย่างพยาบาลจากฟิลิปปินส์ ผลิตพยาบาลมาล้นตลาด ยินดีที่จะเข้ามาเป็นพยาบาลที่ไทย และอาจเป็นผู้ช่วยพยาบาลก็ได้ เพราะรายได้มากกว่าอยู่ประเทศเขา

สุดท้ายเอกชนกำลังไปทาง Wellness คือ Maintain ให้สุขภาพจิตและกายดีขึ้น ไม่ใช่ Healthcare ที่รอเสียแล้วซ่อม

การแสดงความคิดเห็น

เรื่อง AI กับการทำระบบ Online เป็นอย่างไร

ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

สิ่งที่ True ทำ องค์ความรู้ที่เป็น Explicit Knowledge สามารถแปลงเป็น AI ได้หมด บางอันเป็นความรู้ที่ฝังลึกเป็น Tacit Knowledge ไม่สามารถถ่ายทอดได้ต้องใช้ AI ไปประกบ การดูแลผู้ป่วยโดยใช้กล้องจับคนไข้ไว้แล้วมีเซนเซอร์ โดยไม่ต้องใช้พยาบาล แต่ในเรื่อง Online คิดว่าไม่น่าเหมาะเพราะว่าต้องลงปฏิบัติมากกว่า

ม.อ.น่าจะทำเรื่อง Logistic ที่มาไขว้จึงน่าจะเป็นประเด็นที่ดี


#โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

#PSUNurse1

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/28413

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 หน้า 5

http://www.gotoknow.org/posts/626196

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 20 มีนาคม – 3 เมษายน 2560

http://www.gotoknow.org/posts/628017

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 27 เมษายน – 11 พฤษภาคม 2560


https://youtu.be/g0dkhclgGpE

ที่มา: รายการ: คิดเป็นก้าวเป็นกับ ดร.จีระ. ตอน: กิจกรรมเพื่อสังคมสร้างสรรค์..จากห้องเรียนผู้นำที่คณะพยาบาลศาสตร์

ม.อ. ออกอากาศ: วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม 2560 เวลา 21.00 – 21.30 น. สถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks


http://www.naewna.com/politic/columnist/29979

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2560 หน้า 5

หมายเลขบันทึก: 625539เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2017 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2017 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ผศ.ดร.สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ

วันที่ 10 มี.ค. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ system thinking, systematic thinking and strategic planning ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวางแผน และการดำเนินงานต่างๆตามภาระกิจที่ต้องรับผิดชอบ วิทยากรท่านได้เปรียบเทียบว่าเมื่อเห็นเมล็ดพันธุ์ ผู้นำที่ดีต้องสามารถมองเห็นต้น ใบและผลผลิตได้ซึ่งเป็นการคาดการณ์อนาคตในระยะ 5 ปี 10 ปี 20 ปีได้ และเป็นข้อมูลที่นำมาใช้ในการตัดสินใจการทำงานต่างๆ

ผศ.ดร.สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ

วันที่ 12 มี.ค. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับทิศทางในอนาคตที่อาจารย์จะต้องร่วมกันทำงานเพื่อพัฒนาคณะพยาบาลศาสตร์และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยเน้นเกี่ยวกับแนวคิดของ transformative university, transformative healthcare and professional education โดยในการจัดการศึกษานั้นต้องมุ่งเน้น competency based-education และการสร้างอัตลักษณ์ ให้มี uniqueness แตกต่างจากสถาบันอื่นๆ ซึ่งอาจต้องทำงานร่วมกันกับคณะอื่นๆภายในมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน เช่น รพ.กรุงเทพ

ผศ.ดร.สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ

ในช่วงวันที่ 23-25 มี.ค. 60 ได้ทบทวนแนวทางการสร้างภาวะผู้นำและธรรมภิบาลในองค์กรซึ่งเป็นหลักคิดในการนำมายึดถือและปฏิบัติตามคะ และต้องยึดหลักของ 4R คือ Reality, Relevance, Reliable, and Responsibility ในตอนบ่ายก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ หลักการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรร่วมกันทำงานให้เกิดความสำเร็จโดยต้องมีการสื่อสารให้ทุกคนทราบเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่ความสำเร็จและเป้าหมาย พันธกิจ ต้องการเป็นอย่างไรในอนาคต และกลยุทธ์ ซึ่งประกอบด้วย แนวทาง วิธีการปฏิบัติ และกำหนด action plan ที่ชัดเจน ในการวางขั้นตอน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างๆ

ในวันที่ 25 มี.ค. 60. เป็นโอกาสดีที่ได้รู้จักและเรียนรู้ เกี่ยวกับ Life coaching เพื่อให้ทุกคน success & fulfilled และมีความสุขในชีวิตการทำงานคะ


ข้อเสนอแนะ ถ้ามีเวลาควรจัดให้มีการสะท้อนการเรียนรู้หลังการอบรมแต่ละหัวข้อหรือแต่ละวัน หรือภายหลังช่วงสุดท้ายของการอบรมแต่ละช่วงคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท