ทัศนศึกษา อุบลราชธานี - มุกดาหาร - นครพนม


ทัศนศึกษา อุบลราชธานี - มุกดาหาร - นครพนม

จัดทำโดยสามเณรสมพงษ์ พงษ์ศรียา

ทัศนศึกษาจุดที่ ๑

ณ พุทธอุทยาน อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ


รูปแบบการสร้างพระมงคลมิ่งเมือง ช่างได้ไปถ่ายแบบจากพระพุทธชินราช ซึ่งสร้างในสมัยกรุงสุโขทัย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารหลวง
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก และได้มากำหนดให้องค์พระมีขนาดหน้าตักกว้าง ๙ เมตร (๔ วา ๒ ศอก)
สูงจากฐานหรือแท่นประทับนั่งจรดยอดพระเกตุมาลา ๑๑ เมตร ๔ เซนติเมตร (๕ วา ๒ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว) ฐานแท่นประทับกว้าง ๕ เมตร สูง ๕ เมตร

อุปกรณ์ที่ใช้สร้างพระมงคลมิ่งเมือง ประกอบด้วย หิน กรวด ทราย ปูนซีเมนต์ เหล็กขนาด ๓-๖ หุน กระเบื้องเคลือบสีเหลือง (สีทอง) ขนาดกลักไม้ขีดไฟ ใช้ปิดทองที่องค์พระ งบประมาณที่ใช้ในการสร้างประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีนายคำเม้า ภักดีปัญญา ชาวจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นช่างฝีมือควบคุมการสร้าง

สถานที่จัดสร้างตั้งอยู่กลางสันภูดานพระบาท เป็นลานหินขนานกัน ๒ ข้าง มีเนื้อที่กว้างประมาณ ๓๖ ไร่ สภาพแวดล้อมเป็นภูเขาลูกเตี้ยๆ
ความสูงจากระดับพื้นดินประมาณ ๑๓ เมตร มีต้นไม้ขนาดใหญ่ปกคลุม มีความสงบร่มเย็น มีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของ ต.บุ่ง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ และติดกับทางหลวงแผ่นดินสายจังหวัดอุบลราชธานี-มุกดาหาร

การกราบขอพรจากองค์พระมงคลมิ่งเมือง ส่วนมากนิยมขอพรให้คลายความทุกข์โศกร้อนใจ และบนบานให้ประสบความสำเร็จในเรื่องต่างๆ

ทั้งนี้ ทุกวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาของทุกปี ชาวอำนาจเจริญจะพร้อมใจจัดงานกราบนมัสการเป็นเวลา ๕ วัน ๕ คืน
ดังนั้น ผู้คนที่เคยเดินทางมากราบไหว้ขอพรหรือบนบานไว้ จะพากันเดินทางมากราบนมัสการและแก้บนในช่วงวันดังกล่าวจำนวนมาก

การกราบไหว้บูชา "พระมงคลมิ่งเมือง” หรือ "พระใหญ่” เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ตัวและครอบครัว เป็นมงคลชีวิตดีนักแ
พุทธอุทยาน และ พระมงคลมิ่งเมือง ตั้งอยู่ที่เขาด้านพระบาทห่างจากตัวเมืองไปทางด้านเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณวัดประกอบด้วย หินด้านธรรมชาติร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ซึ่งได้รับการปรับแต่งให้เป็น พุทธอุทยาน สวนพระมงคลมิ่งเมือง หรือพระให้ ป่างมารวิชัย องค์พระหน้าตักกว้าง 11 เมตร ความสูงจากระดับพื้นดินถึงยอดเปลวรัศมี 20เมตรเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลสกุลศิลปอินเดียเหนือ (ป่าละ) ที่แผ่อิทธิพลมายังภาคอีสานของไทย เมื่อพันปีเศษออกแบบโดยจิตรบัวบุศย์

โดยการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กครอบพระองค์เดิมซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นมีฐานกว้าง 8.4 เมตร ยาว 12.6 เมตร สูง 5.2 เมตร แล้วแต่งองค์พระด้านนอกด้วยกระเบื้องโมเสคสีทองสร้างเมื่อปี พ.ศ.2508 เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของ ชาวจังหวัดอํานาจเจริญและจังหวัดอุบลราชธานี

พระมงคลมิ่งเมือง เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามประจําภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางด้านหลังของพระมงคลมิ่งเมืองมีพระพุทธรูปลักษณะแปลกอีก 2 องค์ ห่มจีวรเหลืองลออตา มีนามว่า พระละฮาย หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า พระขี่ลาย หมายถึง ไม้สวย ไม้งาม โดยเรียกตามรูปลักษณ์ขององค์พระพุทธรูปโบราณ พบในหนองน้ำเมื่อปี พ.ศ. 2505 ครั้งที่มีการปรับปรุงบริเวณโดยรอบเพื่อทําฝายกั้นน้ำ ถือกันว่าเป็นพระที่ให้โชคลาภ ชาวบ้านมักมาบนบานขอพรอยู่เสมอ

<p “=””>ทัศนศึกษาจุดที่ ๒ </p> <p “=””>บ้านนาจอกหรือบ้านลุงโฮหรือที่มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่าบ้านท่านโฮจิมินห์ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ที่ได้มีการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ซึ่งสถานที่แห่งนี้นั้นเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่ครั้งหนึ่งอดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นายโฮจิมินห์ได้เคยเข้ามาอาศัยพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แห่ งราชอาณาจักรไทย เพื่อกอบกู้เอกราชของเวียดนามในช่วงระหว่างการทำสงคราม ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2467–2474 ลุงโฮได้ย้านมาอยู่ที่จังหวัดนครพนมโดยมาอาศัยอยู่เป็นเพื่อนที่มาจากเวียดนามเช่นเดียวกันที่ถือได้ว่าเป็นเพื่อนสนิทร่วมอุดมการณ์ แต่ในครานั้นเนื่องจากอยู่ในช่วงระหว่างสงครามที่ต้องหนีออกมาจากเวียดนาม ต่างคนจึงได้ต่างหลบหนีแยกย้ายกันไปหลบภัยต่างถิ่นกัน
ลุงโฮเองก็ได้เดินทางโดยเปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยมารวมทั้งได้เปลี่ยนชื่อเรียกไปตามนั้นด้วยเพื่อเป็นการซ่อนตัวและไม่ให้ผู้ใดจำตนเองได้ สำหรับเพื่อนสนิทของลุงโฮนั้นเองก็ได้เดินทางเข้ามาพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยและมีครอบครัวที่ประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันบ้านหลังนี้ได้มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาและเป็นสถานที่แสดงประวัติเกี่ยวกับลุงโฮรวมถึงบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และเรื่องราวการใช้ชีวิตของลุงโฮที่ประเทศไทย ในส่วนของบริเวณภายในบ้านนั้นเองจะมีต้นไม้นานาชนิดที่ลุงโฮได้ปลูกไว้ ได้แก่ ต้นมะพร้าว หมาก พลู กล้วย และชา ซึ่งมีบรรยากาศอันร่มรื่น รวมไปถึงเครื่องมือเครื่องใช้ของลุงโฮ อาทิเช่นโต๊ะทำงาน และเครื่องตำข้าวที่ลุงโฮใช้ในการตำข้าว
หมู่บ้านนาจอกแห่งนี้ได้รับการจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนาม โดยได้มีการจัดนิทรรศการแสดงประวัติการทำงานและเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆของท่านโฮจิมินห์ นอกจากนี้แล้ว บริเวณริมถนนหมู่บ้านยังมีร้านก๋วยเตี๋ยวและอาหารเวียดนามเปิดให้บริการแก่ผู้มา

</p> <p “=””>
</p> <p “=””>บ้านหลังน้อยของลูงโฮในจังหวัดน</wbr>ครพนม ซุกตัวอยู่เงียบๆท่ามกลางแมกไม้</wbr>ร่มครึ้ม ดูดดึงให้เราจินตนาการไปต่างๆนาๆเมื่</wbr>อครั้งที่ลุงโฮเข้ามาเคลื่อนไหว</wbr>ทำการปฏิวัติสู้กับมหาอำนาจฝรั่</wbr>งเศษราวปี1928-1929 สิ่งของทุกอย่างแม้ไม่ใช่ของเดิ</wbr>มที่ลุงโฮเคยใช้(ส่งมอบคืนให้เว</wbr>ียดนาม) แต่สิ่งของที่จำลองไว้ก็ถูกจัดว</wbr>างไว้ที่เดิมไม่เปลี่ยนแปลง </p> <p “=””>ทุกครั้งที่ผมมาเยี่ยมบ้านลุงโฮ</wbr> สิ่งหนึ่งที่ผมทำทุกครั้งหากไม่</wbr>ถูกรบกวนจากนักท่องเที่ยว(ผู้ขา</wbr>ดจิตสำนึกในการเคารพสถานที่อันเ</wbr>ป็นประวิติศาสตร์ที่สำคัญ) คือ..ผมจะมายืนสงบนิ่ง สบตากับลุงโฮในภาพถ่ายที่ห้อยไว</wbr>้ข้างฝา แววตาอันแกร่งกล้ามุ่งมั่นและรอ</wbr>ยยิ้มน้อยๆหากแต่มองแล้วอบอุ่น เหมือนกับท่านกำลังจะบอกกับผมว่</wbr>า..”หากเชื่อและศรัทธาในสิ่งที่</wbr>กำลังทำอยู่ว่าเป็นความถูกต้อง เราได้ประโยชน์ สังคมได้ประโยชน์ ก็จงลงมือทำอย่าย่อท้อ สักวันหนึ่งเราจะมีชัย”
</p> <p “=””>ทัศนศึกษาจุดที่ ๓.วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
</p> <p “=””>
</p> <p “=””>
</p> <p “=””>
</p>

งานนมัสการพระธาตุพนม

ไม่ว่าเวลาจะเนิ่นนานเท่าใด แต่ความเชื่อว่าหากได้นมัสการ และได้ถวายเครื่องสักการะบูชาพระธาตุพนม จะทำให้จิตใจเกิดความสงบเยือกเย็น ถ้ายังไม่บรรลุนิพพานในชาตินี้ เมื่อตายแล้ววิญญาณก็จะได้ไปสู่สวรรค์ เนื่องจากองค์พระธาตุพนมไม่เพียงแต่จะเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่ซึ่งครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงเสด็จมาประทับแรมอยู่หนึ่งราตรี

ที่ผ่านมาจึงได้มีประเพณีนมัสการพระธาตุพนม เพื่อสมโภชองค์พระธาตุพนมปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของประชาชนไทย-ลาวสองฟากฝั่งโขง ในงานประกอบด้วยพิธีกรรม งานมหรสพสมโภชเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน สำหรับงานนมัสการพระธาตุพนมปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 8 กุมภาพันธ์ 2555 ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จังหวัดนครพนม

โดยในปีนี้จะมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะในวันเปิดงานวันที่ 31 มกราคม 2555 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. จะมีพิธีอัญเชิญพระอุปคุตจากริมแม่น้ำโขงแห่ไปวัดพระธาตุพนม พิธีคารวะองค์พระธาตุพนม ถวายข้าวพืชภาค การแห่กองบุญ (ผ้าป่า) รอบองค์พระธาตุพนมจากนั้นจะนำไปถวายวัด การเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุพนม นอกจากนั้นยังมีการรำบูชาพระธาตุพนม การละเล่นพื้นเมือง การแสดงมหรสพสมโภช การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและสินค้านานาชนิด ผู้เข้าร่วมงานหลังนมัสการองค์พระธาตุพนมแล้ว สามารถเที่ยวชมและเลือกซื้อสินค้าได้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน

ที่สำคัญหากใครที่เกิดปีวอก หรือเกิดวันอาทิตย์ การได้ไหว้พระธาตุพนมจะยิ่งเป็นสิ่งมงคลแก่ชีวิต มีอานิสงส์ทำให้ผู้คนเคารพนับถือ เนื่องจากพระธาตุพนมเป็นพระธาตุประจำปีของผู้ที่เกิดปีวอก และเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์

พิพิธภัณฑ์รัตนโมลีศรีโคตรบูรณ์ วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร

เมื่อไปถึงวัดพระธาตุพนมแล้วเราต้องเข้าไปดูพิพิธภัณฑ์รัตนโมลีศรีโคตรบูรณ์ เพราะเป็นที่จัดแสดงของเก่าโบราณที่บรรพบุรุษแถบนี้ใช้ในการครองชีพและพิธีกรรมทางศาสนา พร้อมทั้งยังมีพระเก่าแก่โบราณแต่สมัยศรีโคตรบูรและประวัติเจ้อาวาสวัดนครพนมด้วนจะมีการจัดแสดงที่นั้นพร้อมทั้งยอดพระธาตุองค์เดิมก็อยู่ที่นั้น

ทัศนศึกษาจุดที่ ๔. พระติ้ว - พระเทียมพระคู่แฝดแห่งนครพนม

นครพนมอีกหนึ่งเมืองริมฝั่งแม่น้ำโขงที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน เป็นที่ตั้งของอดีตอาณาจักรอันเคยรุ่งเรืองคืออาณาจักรศรีโคตรบูร มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายให้ศึกษาที่คนทั่วไปรู้จักกันดีก็คือ "พระธาตุพนม" พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวนครพนม

แต่ใช่ว่าที่นครมพนมจะมีของดีเพิ่งแค่พระธาตุพนมเท่านั้นอย่างที่ "วัดโอกาส"(เดิมชื่อว่าวัดศรีบัวบาน) ตั้งอยู่ริมฝั่งโขงเขตเทศบาลเมืองนครพนม ก็เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ ที่นี่เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งสันนิษฐานกันว่าสร้างในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรกำลังรุ่งเรือง ภายในวัดมีปูชนียวัตถุและโบราณสถานที่สำคัญอันเป็นที่บูชาสักการะของชาวนครพนมมากมายอาทิ หลวงพ่อศิลา ศาลเจ้าพ่อหมื่น ภาพผนังปูนปั้นนูนต่ำสามก๊ก เป็นต้น


<p “=””>
</p> <p “=””>
</p> <p “=””>
</p> <p “=””>
</p>

ปัจจุบัน วัดโอกาส มีพื้นที่ 3ไร่ 2งาน 28 ตารางวา โดยมีประวัติที่เล่าขานกันสืบมาถึงการสร้างวัดว่า “จมื่นรักษาราษฎร์” ซึ่งเป็นแม่ทัพนายกองของพระเจ้าศรีโคตรบูร ได้นำกำลังทหารมาตั้งค่ายระวังข้าศึกที่บ้านโพธิ์ค้ำ และได้สร้างวัดขึ้นเพื่อบำรุงขวัญทหารที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณบ้านโพธิ์ค้ำ

ต่อมาเมื่อจุลศักราชราชาได้ 1,100 ตัวปี ตรงกับ พ.ศ.2281 ราชบุตรพรหมา (พรหมมาบุตรเจ้ากู่แก้ว)เป็นผู้ครองนครศรีโคตรบูร ปรากฏนามว่า พระบรมราชาพรหมา ได้มีศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์วัดศรีบัวบาน โดยได้สร้างอุโบสถและสร้างพระประธานแล้วประดิษฐานไว้ในอุโบสถซึ่งมีขนาดหน้าตักกว้าง46ซ.ม สูง220ซ.ม พุทธลักษณะปางวิชัยแล้วลงรักปิดทองทั่วทั้งองค์และได้ทำการฉลองสมโภชและถวายสมัญญานามว่า “หลวงพ่อพระบรมราชาพรหมา” นอกจากนี้ยังยังได้อัญเชิญไว้ที่วัดศรีบัวบาน และได้เปลี่ยนชื่อจากวัดศรีบัวบาน เป็นวัดโอกาสแล้วมีสร้อยท้ายตามหลังว่า ศรีบัวบาน

นอกจากนี้ที่บริเวณกลางวัดจะมีหอประดิษฐาน "พระติ้ว พระเทียม"พระคู่แฝดแห่งเมืองนครพนมอยู่คู่กัน โดยพระติ้วจะประทับอยู่ด้านขวาของพระเทียม สำหรับประวัติของ พระติ้ว พระเทียม นั้นเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองนครพนมมาแต่โบราณกาล

ในตำนานการสร้างพระติ้ว พระเทียม ในตอนแรก จะมีเพียงองค์พระติ้ว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลักปางมารวิชัยขนาดหน้าตักกว้าง 39 ซ.ม. สูง 60 ซ.ม.สันนิษฐานว่าสร้างโดยพระเจ้าศรีโคตรบูร ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครอาณาจักรศรีโคตรบูรประมาณปีพ.ศ.1238 โดยพระองค์ได้โปรดให้นายช่างสร้างจากไม้หมอนรองท้องเรือท่อนที่ทำจากไม้ติ้วซึ่งกระเด็น ออกในขณะที่ทำการชักลากเรือลงสู่แม่น้ำโขง

ครั้นได้ทำการสมโภชเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแล้วเมื่อเกิดเหตุร้ายภัยร้าย ณ บ้านเมืองใด จึงได้อัญเชิญองค์พระติ้วไปประดิษฐาน ณ บ้านเมืองนั้น ครั้นพอเหตุร้ายภัยร้ายระงับดับหายไปก็อัญเชิญประดิษฐานภายในเมืองตามปกติ

ครั้งหนึ่งเกิดเพลิงไหม้หอพระวัดธาตุ บ้านสำราญ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์พระติ้ว พระเจ้าขัตติยะวงศาฯ จึงมีบัญชาให้ชาวบ้านหาไม้มาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปเหมือนองค์พระติ้วทุกประการ แล้วจัดให้มีการสมโภชเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองแทนองค์พระติ้วที่เข้าใจว่าถูกไฟไหม้แล้ว

ต่อมาได้มีชาวบ้านสำราญไปหาปลากลางแม่น้ำโขง ในขณะนั้นเองได้เกิดลมบ้าหมู(พายุหมุน)ขึ้นและชาวบ้านได้เห็นองค์พระติ้วลอยขึ้นมาจากแม่น้ำโขง จึงได้นำไปถวายคืนพระเจ้าขัตติยะวงศาฯ พระองค์ศรัทธาเป็นอย่างยิ่งจึงได้สละทองคำหนัก30 บาท ให้ช่างบุทั่งทั้งองค์พระและจารึกอักษรที่แท่นฐานลานเงิน เพื่อบอกวันเดือนปีและนามผู้สร้าง พร้อมทั้งได้ถวายสมัญญานามพระพุทธรูปองค์เดิมว่า "พระติ้ว" และพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อใช้แทนพระติ้วนั้นว่า "พระเทียม"

ซึ่งในกาลต่อมาราชบุตรพรหมา (พรหมาบุตรเจ้ากู่แก้ว)เจ้าครองเมืองนครบุรีศรีโคตรบูรได้อัญเชิญ พระติ้ว พระเทียม มาประดิษฐานที่วัดศรีบัวบานในปีพ.ศ.2281 ชาวนครพนมจะจัดงานสรงน้ำ พระติ้ว พระเทียม ในวันขึ้น15 ค่ำ เดือน6 เป็นประเพณีสืบมาทุกๆปี

การสังเกตความแตกต่างของพระติ้วพระเทียม นั้นนอกจากจะทราบว่าพระติ้วจะอยู่ด้านขวาของพระเทียมแล้วยังสามารถสังเกตได้จากองค์พระติ้วทำด้วยไม้ติ้วบุทองคำ ส่วนพระเทียมนั้นไม่ได้บุทองคำแต่ลงรักปิดทองคำเปลวแทน

<p “=””> </p>

หมายเลขบันทึก: 625380เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2017 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2017 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท