การศึกษาดูงาน มุกดาหาร - นครพนม


บันทึกการเดินทาง มุกดาหาร - นครพนม

จุดที่ 1 บ้านลุงโฮจิมินห์ นายกรัฐมนตรีแห่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม


ประวัติของลุงโฮจิมินห์


บ้านหลังน้อยของลูงโฮในจังหวัดนครพนม ซุกตัวอยู่เงียบๆท่ามกลางแมกไม้ร่มครึ้ม ดูดดึงให้เราจินตนาการไปต่างๆนาๆเมื่อครั้งที่ลุงโฮเข้ามาเคลื่อนไหวทำการปฏิวัติสู้กับมหาอำนาจฝรั่งเศษราวปี1928-1929 สิ่งของทุกอย่างแม้ไม่ใช่ของเดิมที่ลุงโฮเคยใช้(ส่งมอบคืนให้เวียดนาม) แต่สิ่งของที่จำลองไว้ก็ถูกจัดวางไว้ที่เดิมไม่เปลี่ยนแปลง ชึ่งเราสามารถสัมผัสได้ถึงความรมรื่นของบรรยากาศที่เติมไปด้วยพืชพันธุ์ไม้ โดยเฉพาะปัจจุบันมีการปลูกใบชาและมีน้ำชาให้จิบด้วย

ท่านโฮจิมินห์เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2433 ที่หมู่บ้านฮองตรู จังหวัดเงอัน ตอนบนของประเทศเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2454 โฮได้ยายจากเวียดนามไปเป็นพ่อครัวในประเทศฝรั่งเศล ประเทศซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมของเวียดนามในขณนั้น และได้ศึกษาเรียนต่อที่นั่น ต่อมาโฮก็ได้ย้ายจากฝรั่งเศสไปสหรัฐอเมริกาและอังกฤษตามลำดับ หลังจากนั้นโฮได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเมื่อรัฐบาลก๊กมินตั๋ง ของเจียงไคเช็ค เริ่มการปราบปรามคอมมิวนิสต์นั้น ลุงโฮก็ได้หลบหนีจากจีนมายังจังหวัดนครพนม ประเทศไทย โดยได้บวชเป็นพระภิกษุทำการสอนลัทธิคอมมิวนิสต์ให้ชาวไทย

โฮจิมินห์เดินทางกลับมาเวียดนามอีกครั้งในปี พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) ด้วยการที่รวบรวมชาวเวียดนามส่วนใหญ่แล้วตั้งเป็นฝ่ายเวียดมินห์ เตรียมแผนที่จะประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสให้ประชาชนชาวเวียดนาม

โฮจิมินห์ประกาศจัดตั้งคอมมิวนิสต์เวียดนามหลังจากจักรพรรดิบ๋าวได๋ จักรพรรดิเวียดนามพระองค์สุดท้ายประกาศสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2488 (ค.ศ. 1945) ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2497 เวียดนามก็ได้ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในสมรภูมิเดียนเบียนฟู

ในปี พ.ศ. 2502 สงครามเวียดนามได้อุบัติขึ้น สหรัฐอเมริกาและชาติสหพันธมิตรอื่นๆก็ได้เข้าร่วมสงครามด้วย แต่ผลสุดท้ายเวียดนามเหนือเป็นฝ่ายชนะในปี พ.ศ. 2518 แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่โฮจิมินห์มิได้อยู่ถึงการชื่นชมชัยชนะในปี พ.ศ. 2518 ด้วยเหตุที่ว่าเขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512 ที่บ้านพักในกรุงฮานอย

โฮจิมินห์ซิตี้ หรือ ชื่อเดิม ไซ่ง่อน เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศเวียดนาม ตั้งอยู่บริเวณสามเหลียมปากแม่น้ำโขงไซ่ง่อน ในอดีตเคยเป็นเมืองในการปกครองของเขมรมาก่อน ต่อมาเมื่อแยกเป็นประเทศเวียดนาม ไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวงของเวียดนามใต้ เมื่อเวียดนามเหนือยึดได้จึงเปลี่ยนชื่อเป็น โฮจิมินห์ซิตี ตามชื่อผู้นำเวียดมินห์ คือ โฮจิมินห์

จุดที่ 2 ประดิษฐาน องค์พญานาค 7 เศียร แลนด์มาร์คศักดิ์สิทธิ์ ริมโขง นครพนม

สำหรับการสร้างแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของ จ.นครพนม ซึ่งถือเป็นสิริมงคลแก่ชาว จ.นครพนม รวมถึงเป็นการสร้างสัญลักษณ์เมืองการค้าเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ภายใต้ความเชื่อเกี่ยวกับ องค์พญานาค ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ที่ดูแลปกปักษ์รักษาแถบลุ่มน้ำโขง รวมถึงองค์พระธาตุพนม ภายหลังมีการวางแผนออกแบบก่อสร้างมานานเกือบ 5 ปีในครั้งนี้มีประชาชน นักท่องเที่ยว ต่างทยอยมาชื่นชม และสักการบูชา ตามความเชื่อ ความศรัทธา ถือเป็นแลนด์มาร์คศักดิ์สิทธิ์แห่งใหม่ ที่สร้างความสนใจ ให้กับประชาชน นักท่องเที่ยว เป็นอย่างมาก บางคนแห่ขอโชคลาภตามความเชื่อ


จุดที่ 3 วัดโอกาส ( วัดพระติ้ว )


ตำนานบอกว่า พระติ้ว องค์พระพุทธรูปปางมารวิชัยสูงประมาณสองไม้บรรทัด เดิมประดิษฐานอยู่วัดธาตุ บ้านสำราญ มีอายุมากกว่า 1,300 ปี สร้างขึ้นในห้วงเวลาอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์จากท่อนไม้ติ้วศักดิ์สิทธิ์ นานมาแล้วเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าองค์พระติ้วถูกเพลิงไหม้จึงมีการสร้างพระติ้วองค์จำลองขึ้นมา ภายหลังกลับพบพระติ้วลอยขึ้นมาจากแม่น้ำโขงอย่างน่าอัศจรรย์จึงกลายเป็นมีพระพุทธรูปคู่แฝดคือ พระติ้ว และพระเทียม ที่ชาวนครพนมให้ความเคารพอย่างยิ่ง พระพุทธรูปสององค์นี้ย้ายจากวัดธาตุมาประดิษฐาน ณ วัดโอกาส หรือ โอกาสวัดศรีบัวบาน ที่ชาวบ้านเรียกกันติดปาก เมื่อกว่า 250 ปีมาแล้ว วัดโอกาสเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครพนม วัดแห่งนี้อยู่ริมแม่น้ำโขงกลางตัวเมือง มาเที่ยวนครพนมยังไงต้องผ่านไปผ่านมาที่นี่ ก็ไม่ควรพลาด ที่จะแวะเข้าไปสักการะ พระติ้วและ พระเทียม พระคู่แฝดทั้งสององค์ ณ วัดโอกาส (วัดโอกาสศรีบัวบาน) ภายในโบสถ์ ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม ให้ชมอีกด้วย


พระติ้ว - พระเทียม

พระพุทฦธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองนครพนม


พุทธลักษณะ

พระติ้วพระ - พระเทียม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยส้างด้วยไม้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร

ความเป็นมา

ในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรกำลังรุ่งเรือง เจ้าผู้ครองนครมีนามว่า "พระเจ้าศรีโคตบูรหลวง" ประสงค์ให้จัดหาพาหนะทางน้ำสำหรับพระองค์ โดยให้นายช่างพร้อมด้วยชาวบ้านกองลอและกำลังพลล้มไม้แคน ( ตะเคียน ) และลงมือขุดเรือที่ดงเชกาเสร็จแล้วจึงเตรียมการชักลากลงแม่น้ำชึ้งต้องใช้ไม้หมอนวางหนุนรองท้องเรือไว้เป็นระยะๆปรากฎว่าได้มีท่อนไม้ติ้วปะปนอยู่ด้วย ครั้นพอว่างเรือทับและลงมือชักลากไปบนไม็ท่อนอื่นๆ เรือก็ไหลไปได้โดยสะดวก แต่ไม้หมอนท่อนไม้ติ้วไม่ยอมให้เรือเลื่อนทับ ครั้นนำมาเป็นหมอนรองทองเรือและลงมือชักลากครั้งใด หมอนไม้ติ้วท่อนนั้นก็กระเด็นออกมาถูกชาวบ้านและกำลังพลที่กำลังลากเรือได้รับบาดเจ็บไปตามๆกัน แต่สุดท้ายก็ลากลงแม่น้ำได้สำเร็จ เมื่อความทราบถึงเจ้าเมืองจึงนำไม้หมอนเรือมาแกะสลักพระ



วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุพนมประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุ พนม จังหวัดนครพนม ตามตำนานกล่าวว่าสร้างมานานไม่น้อยกว่า ๒,๓๐๐ ปี ผู้ที่สร้าง คือ พระ มหากัสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้นำพระอุรังคธาตุหรือกระดูกหน้าอก ของสมเด็จพระสัมมนาพุทธเจ้ามาเพื่อบรรจุไว้ในพระธาตุผู้ที่ร่วมช่วยในการสร้างพระ ธาตุนี้คือ ท้ายพระยาเมืองต่าง ๆ พญานันทเสน เมืองศรีโคตรบูรณ์ (เมืองนครพนม เดิม) พญาจุลนีพรหมทัด พระยาอินทรปัตนคร และพญาดำแดง เมืองหนองหารน้อย พากันยกโยธามาช่วยสร้างพระธาตุพนมจนเสร็จและบรรจุอุรังคธาตุพร้อมของมีค่าไว้ ภายในเป็นจำนวนมาก พระธาตุพนมนี้เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดย เฉพาะอย่างยิ่งชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงประชาชนลาวด้วย ในฤดูเทศกาล เพ็ญเดือน ๓ ของทุกปี พุทธศาสนิกชนหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ มาสมโภชและนมัสการพระธาตุพนม

วัดพระธาตุพนมเป็นวัดวรมหาวิหาร พระอารามหลวง ถือเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ถึงคราวพระราชพิธีราชาภิเษกทุกรัชกาลมา จะต้องนำน้ำจากสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ไปร่วมพิธีด้วยเพื่อประกอบพิธีมุรธาภิเษก และเมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งถือ ว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีเดิม จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานต้นไม้ ทอง เงิน น้ำอบและผ้าคลุมส่งไปนมัสการพระธาตุพนมทุกปี และเมื่อถึงเทศกาลเข้าปุ ริมพรรษา ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนพรรษาเป็นพุทธบูชาทุกปีมา งานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี ถือเอาวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ ของ ทุกปีเป็นวันแรกของงานไปสิ้นสุดเอาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๓

“..พระเจดีย์ธาตุพนมอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง สร้างเป็นสถูปทางพระพุทธ ศาสนาจะสร้างตามลัทธิมหายานหรือหินยาน ไม่มีที่สังเกตเหมือนอย่างที่พิมาย แต่ไม่ มีเค้าศาสนาพราหมณ์เจือปนอยู่เลย บรรดาเจดีย์สถานในพระพุทธศาสนาซึ่งสร้าง ใน สมัยของเขมรที่พบในเมืองไทย ที่สร้างสถูปเป็นประธานมีแต่พระธาตุพนมแห่งเดียว ทั้ง รูปสันฐานลวดลายก็เป็นอย่างอื่นต่างจากแบบช่างขอม ชวนให้เห็นว่าจะสร้างสมัยขอม คือ สร้างในสมัย เมื่อประเทศอันหนึ่งซึ่งเรียกในจดหมายจีนว่า “ฟูนัน” คล้าย “พนม “ เป็นใหญ่อยู่ต่างหาก รูปทรงพระเจดีย์ธาตุพนมเป็นสี่เหลี่ยมเหมือนมณฑป มีซุ้มต้น สามซุ้มซ้อนกันเป็นสามชั้น เล็กเป็นหลั่นกันขึ้นไป แล้วถึงองค์พระสถูปอยู่เบื้องบน มณฑปทั้ง ๓ ชั้น ยอดสถูปหุ้มแผ่นทองคำ เช่นเดียวกับพระธาตุเมืองมหาธาตุเมือง นครศรีธรรมราช ขนาดพระสถูปดูจะเท่า ๆ กัน

เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก [ญาคูขี้หอม] พระอริยสงฆ์แห่งล้านช้าง พระมหาเถราจารย์ผู้บรรลุคุณธรรมวิเศษ ผู้นำในการบูรณะองค์พระธาตุพนมในยุคโบราณ

ตามจารึกโบราณจารจดบทบันทึกไว้ในคัมภีร์ใบลาน เป็นตัวหนังสือธรรม ได้กล่าวไว้ว่า มีเมืองๆหนึ่ง ชื่อ "เมืองโพพันลำ" และ"เมืองพาน" เป็นบ้านเมืองที่เคยเจริญรุ่งเรือง และมีเจ้าปกครองสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน สำหรับ "เมืองโพพันลำ" นั้น มีประวัติช่วงหนึ่งได้ขาดตอนไป เพราะเจ้าผู้ครองเมืองไม่มีพระราชโอรสสืบสกุล อำมาตย์ผู้ใหญ่จึงมอบเมืองให้ "ญาคูจำปา" หรือ "ญาคูลืมบอง" พระสังฆาธิการผู้ใหญ่ ขึ้นปกครองบ้านเมืองสืบต่อมา

ญาคูลืมบอง เป็นพระภิกษุที่มีความแกร่งกล้าสามารถ เมื่อขึ้นปกครองบ้านเมือง ก็สอนให้ชาวเมืองประพฤติปฎิบัติธรรม ให้ดำรงมั่นอยู่ในธรรม ท่านจึงเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของชาวเมือง "โพพันลำ"เป็นอย่างยิ่ง

กาลสมัยต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองจาก "เมืองญาคูลืมบอง" มาเป็น "บ้านกาลืม" ซึ่งเป็นบ้านหนึ่งในเขตปกครองของ ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ญาคูลืมบอง มีสามเณรรูปหนึ่งเป็นลูกศิษย์ชื่อว่า "สามเณรโพนสะเม็ก" เป็นผู้มีพละกำลังมหาศาล ตามตำนานเล่าว่า วันหนึ่งสามเณรได้นึ่งข้าวด้วยฟืนไม้งิ้วดำ เมื่อสุกแล้วข้าวจึงเป็นสีดำ "คณะสงฆ์" จึงติเตียนสามเณรว่า "นึ่งข้าวอย่างไรจึงทำให้ข้าวเป็นสีดำอย่างงี้" แล้วก็บังคับให้ "สามเณรโพนสะเม็ก" ฉันข้าวดำรูปเดียวจนหมด ปรากฎว่าเมื่อสามเณรฉันอิ่มแล้ว ก็เกิดเป็นผู้มีพละกำลังอันมหาศาล เหนือบุคคลธรรมดา

สามเณรโพนสะเม็ก เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมากสามารถเรียนอักษรสมัยและพระไตรปิฎกได้รวดเร็วและแตกฉาน ท่านญาคูลืมบอง จึงนำสามเณรไปฝากเรียนหนังสือต่อที่ เมืองศรีสัตตนาคนหุต หรือ นครเวียงจันทน์ เมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านช้างของลาว

ค่ำคืนหนึ่งก่อนที่ ญาคูลืมบอง จะพาสามเณรเดินทางไปถึง "สมเด็จพระสังฆราชแห่งนครเวียงจันทน์" ได้นิมิตว่า "มีช้างเผือกเชือกหนึ่งวิ่งเข้าไปในวัด พุ่งเข้าชนหอไตรที่บรรจุพระไตรปิฎกพังทลายลงมา หนังสือเก่าแก่คัมภีร์ทางพุทธศาสนาถูกทำลายจนหมดสิ้น" เมื่อตื่นจากฝันท่านได้กำหนดจิตก็รู้ในทันทีว่า "จะมีนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นในไม่ช้านี้อย่างแน่นอน"

แล้ววันต่อมา ญาคูลืมบอง ก็นำ สามเณรโพนสะเม็ก ไปฝากให้เรียนหนังสือ สมเด็จพระสังฆราช ท่านก็รับไว้ และเป็นที่ประหลาดใจยิ่งนัก แม้ "สามเณรโพนสะเม็กแห่งเมืองญาคูลืมบอง" จะเป็นสามเณรหน้าใหม่ของ "วัดยอดแก้ว" ของ "สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงศรีสัตตนาคนหุต" ก็ตาม แต่ท่านก็เรียนหนังสือได้อย่างรวดเร็วและแตกฉานมาก ไม่นานนักก็เรียนจบชั้นสูงสุดในสมัยนั้น

สามเณรโพนสะเม็ก มีกิจวัตรเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาของชาวศรีสัตตนาคนหุตเป็นอย่างมาก เจ้ามหาชีวิต หรือพระเจ้าแผ่นดินก็ทรงเลื่อมใสศรัทธา ทรงรับท่านไว้เป็น "นาคหลวง"

ในพระราชพิธีอุปสมบทตามตำนานกล่าวว่า เวลาจัดราชพิธีอุปสมบทพระภิกษุนั้น ทรงจัดอย่างใหญ่หลวง มีพระภิกษุเข้านั่งหัถบาตจำนวน ๕๐๐ รูป และใช้แพไม้ไผ่เป็นสีมาน้ำ สถานที่ประกอบพระราชพิธีอุปสมบท และเมื่ออุปสมบทเสร็จแล้วปรากฎว่า แพที่ใช้เป็นสีมาน้ำเกิดจมลง ทำให้พระภิกษุที่เข้านั่งหัถบาตต่างพากันว่ายน้ำเข้าฝั่งอย่างอุตลุตจีวรเปียกน้ำหมดทุกรูป ยกเว้น พระภิกษุบวชใหม่ คือ สามเณรโพนสะเม็ก จีวรไม่เปียกน้ำเลย

เมื่ออุปสมบทแล้ว พระคุณเจ้าหนุ่ม โพนสะเม็ก ก็ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดล้านช้าง และต่อมาได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดโพนสะเม็ก จนได้รับการสถาปนาจาก "เจ้ามหาชีวิต" ให้เป็น "เจ้าราชครูหลวง" หรือ "สมเด็จพระสังฆราชล้านช้าง" ปกครองฝ่ายพุทธจักรแห่งนครล้านช้างในกาลต่อมา...

เจ้าราชครูหลวง หลวงพ่อโพนสะเม็ก เป็นผู้มีบารมีสูงส่งยิ่งกว่าฝ่ายราชอาณาจักร เพราะเป็นพระอาจารย์สอนอรรถสอนธรรมนำปฎิบัติ สมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่ชาวเมือง และเจ้านายในราชตระกูล มีคนเคารพนับถือมาก แม้เจ้านายในราชตระกูล ก็ให้การเคารพยำเกรงเป็นอย่างยิ่ง

ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๘๗-๒๒๕๔ เจ้ามหาชีวิต มีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า "พระเจ้าองค์หล่อ" และมีพระมเหสีพระนามว่า "เจ้าชมพู"ซึ่งกำลังตั้งพระครรภ์แก่ใกล้คลอด เจ้ามหาชีวิตก็สิ้นพระชนม์ลง จึงทำให้เกิด "กบฎล้านช้าง" มีการแย่งชิงสมบัติ บ้านเมืองมีการจราจลเกิดขึ้นจนในที่สุด "พระยาแสง"หรือ "พระเจ้าสุริยวงศา"พระราชโอรสของ "พระเจ้าต่อนคำ" ได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็น "เจ้ามหาชีวิตแห่งมหานครเวียงจันทน์ล้านช้าง" แต่หตุการณ์บ้านเมืองไม่ค่อยสงบนัก

"เจ้าชมพู" พระชายาและ "พระเจ้าองค์หล่อ"ราชโอรสได้หลบหนีไปพึ่งบุญญาบารมีของ"เจ้าราชครูโพนสะเม็ก"ไปพำนักที่เมืองแกวตาเปียก ส่วนพระชายา "เจ้าชมพู"ให้พาไปพำนักที่"ภูสะง้อหอคำ"หลังเวียงจันทน์ ครั้นพระชายา"เจ้าชมพู"ประสูติพระราชโอรสแล้ว "เจ้าราชครูโพนสะเม็ก"จึงขนานพระนามให้ว่า"เจ้าหน่อกษัตริย์"แล้วอัญเชิญไปประทับที่เมือง "โพพันลำงิ้วสมสนุก"พร้อมทั้งพระมารดา

ครั้นต่อมา พ.ศ.๒๒๓๓ "ท่านราชครู"ก็เป็นที่ระแวงของ"เจ้ามหาชีวิต"แห่งนครเวียงจันทน์เกี่ยวกับความมั่นคงของราชบัลลังก์ "ท่านราชครู"จึงออกอุบายให้คณะศิษย์ประมาณ ๓,๐๐๐ คน จากนครเวียงจันทน์ไปอัญเชิญ"เจ้าหน่อกษัตริย์"และพระมารดาออกเดินธุดงค์โดยทางเรือไปตามลำน้ำโขง มุ่งไปยัง"เมืองมรุกขนคร"เพื่อบูรณะองค์พระธาตุพนม

ท่านราชครูโพนสะเม็ก ได้บูรณะองค์พระธาตุพนมตั้งแต่ชั้นที่ ๒ ขึ้นไปจนถึงยอดพระธาตุ ท่านให้หล่อเหล็กเปียก เหล็กไหลขึ้นสวมยอดพร้อมด้วยฉัตรยอดองค์พระธาตุด้วย ทำให้องค์พระธาตุสง่างามและมั่นคงยิ่งขึ้น ท่านราชครูใช้เวลาบูรณะองค์พระธาตุพนมเป็นเวลา ๓ ปีและได้แบ่งครอบครัวชาวเวียงจันทน์ เพื่ออยู่เฝ้ารักษาองค์พระธาตุพนมจำนวนหนึ่ง ท่านกับญาติโยมอีกจำนวนหนึ่งออกเดินธุดงค์ปฎิบัติกัมฐานไปตามลำน้ำโขง สลับฝั่งโขงซ้ายและขวา ออกลำน้ำมูล ถึงแม่น้ำโขง ออกไปทลุเมืองบรรทายเพชร เมืองหลวงกัมพูชา ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "พนมเป็ญ" คือตั้งชื่อตามพระธาตุเจดีย์ที่ท่านก่อไว้บนยอดเขาและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แล้วตั้งชื่อไว้ว่า "พระธาตนางเปม"

ท่านราชครูโพนสะเม็ก จะไปอยู่ที่ไหนท่านมักจะมีบริวารมาก เป็นคณะใหญ่คือสามารถตั้งเป็นชุมชนแน่นหนาได้ เพราะเหตุนี้เองท่านจึงเป็นที่ระแวงของกษัตริย์กัมพูชาในเวลานั้น ท่านจึงอพยพบริวารทวนขึ้นไปทางลำน้ำโขง แล้วตั้งชุมชนขึ้นที่ปลายเขตแดนเขมรตับดำ ทางการเขมรก็ตามไปจะเรียกเก็บภาษีชุมชน แต่ท่านไม่ยอมจ่ายให้ จึงอพยพบริวารกลับคืนสู่เขตล้านช้าง มาตั้งพักอยู่ที่เมือง "เซียงแตง" ตั้งวัดและชุมชนอยู่ปลายเขตแดน รวบรวมทองคำและเต้าปูนหล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งชื่อว่า "พระองค์แสน"ไว้เป็นที่ระลึก แล้วย้ายมาอยู่ที่ดอนโขงและนครจำปาศักดิ์ตามลำดับ


"ในราว พ.ศ.๗๐๐ ประเทศพนม เป็นประเทศรุ่งเรืองขึ้นมาใหม่ในอินโดจีน ทางทิศตะวันตกของพนมมีประเทศเจนละ(เขมร) ถัดจากประเทศเจนละคือประเทศกิมหลินทางเหนือประเทศกิมหลินคือประเทศบูหลุน พระมหาราชกรุงพนมได้ยกกองทัพเรือไปปราบประเทศในคาบมหาสมุทรมลายาได้กว่า ๑๐ ประเทศ ภายหลังให้รัชทายาทนามว่ากิมแซ ไปปราบประเทศกิมหลินได้(ราวพ.ศ.๗๗๓)

ประเทศสุวรรณภูมิและประเทศเล็กๆในสุวรรณภูมิทวีป(คาบมหาสมุทรมลายา)เป็นอิสระตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกอยู่ได้ ๕๐๐ ปี ก็เป็นประเทศราชของประเทศพนม พระพุทธศาสนายังคงรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิทวีปตลอดมา เพราะปรากฏตามหนังสือของภิกษุจาริกจีนว่า ดินแดนแถบนี้ยังคงมีพุทธศาสนารุ่งเรืองดีอยู่ ภิกษุอี้จิงจึงเรียกแถบนี้ว่า ดินแดนกิมหลิน ตามชื่อเก่า"

(จากนิตยสารพุทธศาสนา เดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๐)

แต่ในตำนานพระธาตุพนมเล่าว่า"ในราว พ.ศ.๘ ศรีโคตรบูรตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ อยู่เหนือสุวรรณเขตประเทศลาว ครั้นต่อมาได้ย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่เหนือธาตุพนม ในดงไม้รวกจึงมีนามว่า" มรุกขนคร"มีกษัตริย์ครองเมือง ๕ องค์ องค์สุดท้ายชื่อ พระยานิรุฏฐราช บ้านเมืองเลยเกิดวิบัติล่มร้างเป็นบึงและป่า ต่อมาในราวพ.ศ.๑๘๐๐ ปรากฏว่าได้ไปตั้งเมืองขึ้นใหม่อยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แต่เหนือที่เดิมมาก ได้แก่เมืองเก่าใต้ท่าแขกประเทศลาวเดี๋ยวนี้"

การที่อาณาจักรศรีโคตรบูรตั้งเมืองหลวงในพ.ศ.๘ นั้นน่าจะผิดพลาดเนื่องจากเวลาห่างจากปีที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระสมณฑูตออกไปประกาศพระศาสนาในปี พ.ศ.๒๓๖ ถึง ๒๒๘ ปี (หากเป็นพุทธศตวรรษที่ ๘ คือ พ.ศ.๘๐๐ ก็น่าจะพอเชื่อถือได้บ้าง) แต่มีข้อสนับสนุนตามตำนานว่า การสร้างพระธาตุพนมนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จไปประกาศพระศาสนาด้วยพระองค์เอง และในพ.ศ.๘ พระมหากัสสปะและท้าวพญาทั้งห้าพระองค์ได้สร้างพระธาตุโดยอัญเชิญพระอุรังคธาตุบรรจุไว้ในพระเจดีย์สูง ประมาณ ๘ เมตร สำหรับ ท้าวพญา ๕ พระองค์ที่ร่วมสร้างพระธาตุพนมเมื่อพ.ศ.๘นั้น คือ พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตรบูร พญาจุลณีพรหมทัต ครองแคว้นจุลณี พญาอินทปัตถ์ ครองอินทปัตนคร พญาคำแดง ครองเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหารหลวง ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ครองเมืองในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณเมื่อครั้งที่ตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ ฝั่งสุวรรณเขตประเทศลาว

จากตำนานพระธาตุพนมนั้น อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณได้ตั้งขึ้นก่อนแล้วเมื่อพ.ศ.๘ ต่อมาได้มีการย้ายเมืองหลวงมาอยู่เหนือพระธาตุพนมฝั่งอาณาจักรสยาม ดังนั้นเรื่องของอาณาจักรแห่งนี้จึงมีความแตกต่างกัน ดังนี้

ในพุทธศตวรรษที่ ๑๔–๑๕ ครั้งสมัยอาณาจักรทวารวดีมีอำนาจอยู่นั้น บริเวณสองฟากแม่น้ำโขงได้มีการตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่เรียกว่าอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ หรือ โคตรปุระ แปลว่า เมืองตะวันออก โดยมีพระยาโคตรบอง เป็นผู้ครองนคร ดินแดนแห่งนี้มีเมืองสำคัญคือ เวียงจันท์ หรือเวียงจันทน์ หนองหานหลวง(สกลนคร) มรุกขนคร(นครพนม) เมืองจันทบุรี ศรีสัตนาคนหต ล้านช้างร่มขาว(หลวงพระบาง) เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ้ง เป็นต้น

พ.ศ.๑๘๙๖ สมัยอยุธยาตอนต้น พระเจ้าฟ้างุ้มทรงสถาปนานครเวียงจันท์ขึ้นเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรลาว

พ.ศ. ๑๙๙๑ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรล้านนา ภายหลังได้อภิเษกพระธิดาของกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรล้านช้างและได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง ร่วมกันสร้างพระเจดีย์ศรีสองรักษ์ เพื่อเป็นสัญญลักษณ์แห่งมิตรภาพ (ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย)

อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นี้ได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมา และภายหลังได้เป็นอาณาจักรล้านช้าง(ปัจจุบันคือพระราชอาณาจักรลาว) ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นอาณาจักรลานช้างได้ตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้นอาณาจักรสยามต้องเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสจึงทำให้อาณาจักรแห่งนี้ตกอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเศสต่อมา

โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นั้นคือ พระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นปูชนีย์สถานพุทธศาสนาสำคัญ โดยสร้างทับบนปราสาทขอมสมัยโบราณ มีตำนานพระธาตุพนมว่า พระธาตุนี้ได้สร้างขึ้นในพ.ศ.๘ สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณฅโดยก่ออุโมงค์เป็นรูปเตามีประตูปิดเปิด๔ด้านสูง ๕เมตรสำหรับบรรจุพระอุรังคธาตุโดยมีผ้ากัมพลห่อไว้ภายในอุโมงค์ ต่อมาพ.ศ.๕๐๐ พระอรหันต์ทั้ง ๕ องค์คือ พระสังขวิชาเถระ พระมหารัตนเถระ พระจุลรัตนเถระ พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ และพระจุลสุวรรณปราสาทเถระ พร้อมด้วยพระยาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร ได้ร่วมกันบูรณะพระธาตุพนมสูงประมาณ ๒๔ เมตรและอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกมาประดิษฐานบนพานทองคำ อมรฤาษีและโยธิกฤาษีไปเอาอุโมงศิลาบนยอดเขาภูเพ็กมาตั้งไว้ชั้นบนของพระธาตุชั้นที่ ๒ซึ่งอยู่สูง ๑๔ เมตรแล้วพระสุมิตธรรมวงศาได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุฐาปนาไว้บนเจดีย์ศิลานั้น ต่อมาพระโพธิศาล ซึ่งครองเมืองหลวงพระบางเมื่อพ.ศ.๒๐๗๓-๒๑๐๓ นั้นได้ตำนานอุรังคธาตุ(ที่พระธาตุพนม)มาจากกัมพูชา จึงเกิดความศรัทธาและได้มาสร้างบริเวณภูกำพร้าขึ้นเป็นวัด อุทิศข้าทาสให้แก่พระธาตุ พระไชยเชษฐาธิราช โอรสของพระโพธิศาล ซึ่งสร้างเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนมเมื่อพ.ศ.๒๑๕๗ ต่อมาพ.ศ.๒๒๓๓-๒๒๓๕ เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์ได้นำช่างมาจากเวียงจันทน์มาทำการบูรณะพระธาตุพนมต่อเติมจนสูง ๔๗ เมตรโดยพ่อออกพระขนานโคตพร้อมด้วยบุตรภริยาได้"นำเอาอูบพระชินธาตุเจ้าที่จันทรปุระ(เวียงจันทน์)มาฐาปนาที่ธาตุปะนม"และบรรจุพระพุทธรุปเงิน-ทอง แก้วมรกต อัญมณีมีค่าไว้มากมาย และพ.ศ.๒๔๘๓-๘๔ กรมศิลปากรได้ทำบูรณะพระธาตุให้สูงขึ้นเป็น ๕๗ เมตร หลังจากนั้นก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่เสมอ ครั้นเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๐ น. เศษ องค์พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์ ยอดพระธาตุฟาดมาทางทิศตะวันออก กรมศิลปากรได้บูรณะตามแบบเดิมเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๒๒





คำสำคัญ (Tags): #นครพนม
หมายเลขบันทึก: 625376เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2017 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2017 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท