มาตรการQE ในยุโรป


ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ประกาศมาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงิน (Quantitative Easing : QE) ตามที่ตลาดคาดในการประชุมวันที่ 8 ธันวาคม 2016 เพื่อสนับสนุนให้ระบบการเงินมีสภาพคล่องต่อเนื่อง และผลักดันอัตราเงินเฟ้อให้เข้าสู่เป้าหมายที่ 2% ซึ่งมาตรการที่ประกาศ มีรายละเอียดสำคัญประกอบด้วย

1. ขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม 9 เดือน โดยจากเดิมที่มาตรการจะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2017 เป็นสิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2017 ทั้งนี้ อาจมีการขยายระยะเวลาเพิ่มเติมได้หากอัตราเงินเฟ้อ และการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามที่ ECB คาด
2. ลดขนาดวงเงินที่จะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล และปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์บางส่วน โดยจะยังคงวงเงินปริมาณการอัดฉีดต่อเดือนที่ 8 หมื่นล้านยูโร จนถึงเดือนมีนาคม 2017 และลดการอัดฉีดปริมาณเงินต่อเดือนลงเหลือ 6 หมื่นล้านยูโร ซึ่งจะเริ่มต้นในเดือนเมษายน 2017 จนถึงเดือนธันวาคม 2017 ทั้งนี้ เพื่อให้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินดำเนินไปอย่างราบรื่น ECB ได้มีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ในมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2017 ดังนี้
2.1) ขยายอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ (bond duration) ที่จะเข้าซื้อจากที่กำหนดอายุของตราสารหนี้ขั้นต่ำไว้ที่ 2 ปี เปลี่ยนเป็น 1 ปี เพื่อขยายขอบข่ายของตราสารที่ ECB จะเข้าซื้อได้
2.2) อนุญาตให้เข้าซื้อตราสารหนี้ที่มีผลตอบแทน (yield) ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากส่วนเกินที่ธนาคารพาณิชย์มาฝากไว้กับ ECB (deposit facility rate) ที่ -0.4% ได้หากมีความจำเป็น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นโยบายQE ยุโรป

ที่มาภาพ : http://thaipublica.org/2016/03/eic-ecb-10-3-2559/

รายงานการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 19 ม.ค. ระบุว่า กรรมการ ECB มีความเห็นว่าการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในขณะนั้นสู่ระดับ 1.8% เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทำให้ ECB ตัดสินใจดำเนินการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้ เพื่อให้เศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งขึ้น
ECB ระบุว่า เงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเข้าใกล้ระดับเป้าหมายของ ECB ที่ต่ำกว่า 2% นั้น เกิดจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น แต่ไม่ได้เกิดจากปัจจัยพื้นฐาน เช่น การเพิ่มขึ้นของค่าแรงสำหรับคนงาน
ทั้งนี้ ECB จัดการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 19 ม.ค. โดยที่ประชุมมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และยังได้คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.4% ซึ่งหมายความว่าธนาคารพาณิชย์จะต้องจ่ายค่าฝากแก่ ECB หากมีการนำเงินส่วนเกินมาพักไว้ที่ ECB ซึ่งมาตรการดังกล่าวของ ECB มีขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์นำเงินไปปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจ แทนที่จะนำมาพักไว้ที่ ECB นอกจากนี้ ECB ยังได้คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% ขณะเดียวกันได้ประกาศคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการ QE ที่ระดับ 8 หมื่นล้านยูโร/เดือน สำหรับเดือนม.ค.-มี.ค. ขณะที่เดือนเม.ย.-ธ.ค.จะอยู่ที่ระดับ 6 หมื่นล้านยูโร/เดือน
อย่างไรก็ดี ECB ระบุว่า อาจมีการปรับเพิ่มวงเงิน QE หรือขยายเวลาออกไปเกินกว่าเดือนธ.ค. 2017 หากแนวโน้มเศรษฐกิจย่ำแย่ลง

ซึ่งในเวลาต่อมาสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือยูโรสแตท เปิดเผยว่า เงินเฟ้อในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรปรับตัวขึ้นแตะ 2% ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีที่ตัวเลขเงินเฟ้อปรับตัวสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งกำหนดให้เงินเฟ้ออยู่ที่ใกล้ระดับ 2% อัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ. เพิ่มขึ้นจากระดับ 1.8% ในเดือนม.ค. เนื่องจากราคาพลังงานที่ทะยานขึ้น หลังราคาน้ำมันดิบดีดตัว

ผลกระทบมาตรการQE ของยุโรปที่มีต่อไทย

ขณะที่ค่าเงินยูโรมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง โดยการขยายระยะเวลาการดำเนินนโยบาย ส่งผลให้ค่าเงินยูโรมีแนวโน้มอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น อีกทั้งการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น และธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นในเดือนนี้ก็จะยิ่งส่งผลให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงได้อีก เนื่องจากคาดว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะยังไม่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงินใดๆ ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ น่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันที่ 13-14 ธันวาคมนี้ ทำให้ ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับยูโรในช่วงปี 2017 อีไอซีมองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย จะยังคงไม่มีการปรับเปลี่ยนทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% ตลอดปี 2017 ขณะที่การดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินของ ECB จะมีต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2017 ซึ่งจะมีผลทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่า


แหล่งที่มา

http://www.ryt9.com/s/iq28/2610877

http://www.ryt9.com/s/iq27/2602384

http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx...

หมายเลขบันทึก: 625378เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2017 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2017 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท