มาตราการ QE ของสหรัฐอเมริกา


มาตราการ QE ของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา
ที่ผ่านมา เมื่อปี 2555 เป็นการอัดฉีดเงินราว 85,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สู่ตลาดการเงินทุกๆ เดือนโดยการเข้าซื้อตราสารหนี้ภายในประเทศ เพื่อกดดันให้ อัตราดอกเบี้ยลดลง เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ก็จะส่งผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะจะทำให้การกู้ยืมเงิน ทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมการขยายธุรกิจ การจ้างงาน อัตราเงินเฟ้อ โดยมีเป้าหมายหลักคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยการกระตุ้นตลาดแรงงาน ด้วยการกดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำลง เพื่อจูงใจให้สถาบันการเงินปล่อยกู้มากขึ้น ภาคธุรกิจสามารถนำเงินออกมาลงทุนขยายกิจการ และภาคครัวเรือนสามารถนำเงินออกมาจับจ่ายใช้สอยแทนที่จะเก็บเงินไว้ ก่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย
เมื่อสหรัฐฯมีการพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมาก จะส่งผลดังนี้
1.ทำให้เงินเหล่านั้นทะลักเข้าไปลงทุนเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ น้ำมันและอาหาร ทำให้สินค้าปรับตัวขึ้น กำลังซื้อของประชาชนลดลง
2. ทำให้มีการไหลเข้าของเงินทุนของต่างชาติอย่างมาก จะส่งผลต่อค่าเงินของประเทศแข็งค่าขึ้น และส่งผลกระทบต่อการส่งออกจากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น
3.ทำให้รายได้ลดลงทันทีเมื่อแลกเปลี่ยนเงินที่ได้กลับมาเป็นเงินบาท


แหล่งที่มา : http://www.isstep.com/quantitative-easing-qe/
: http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom6/04-03.html

คำสำคัญ (Tags): #​มาตราการ QE
หมายเลขบันทึก: 625367เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2017 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2017 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท