มาตรการ QE ของสวีเดน


โรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ปรารถนาให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนใกล้ชิด เพราะมันอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก หากเป็นไข้หวัดตัวร้อนธรรมดาก็ไม่ส่งผลมากกินยาแก้หวัดก็หายได้ แต่หากเป็นโรคร้ายก็ตองรักษากันขนานใหญ่อาจส่งผลทั้งต่อตัวเองและคนรอบตัวเป็นจำนวนมาก ไม่ใช่เพียงบุคคลหรือสิ่งมีชีวิตเท่านั้นที่จะมีโรคภัยไข้เจ็บ แต่ระบบเศรษฐกิจของเราหรือระบบการเงินนั้นก็มีโรคร้ายเหมือนกัน ซึ่งการที่จะรักษาโรคร้ายทางการเงินของระบบเศรษฐกิจนั้นมีวิธีรักษาหลายอย่างแต่ยาแรงที่สุดที่จะนำมาแก้ไขนั้น ก็ คือ " มาตรการผ่อนคลายเชิงเศรษฐกิจ " หรือเรียกสั้นๆว่า มาตรการ QE นั้นเอง

" QE มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน ย่อมาจากคำว่า Quantitative Easing เป็นนโยบายด้านการเงินที่ไม่เป็นแบบแผน ที่ดำเนินการโดยธนาคารกลางในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเมื่อเกิดเหตุการณ์ในกรณีที่นโยบายทางการเงินที่เป็นแบบแผนตามปกตินั้นเริ่มไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถขับเคลื่อนในระบบเศรษฐกิจได้ โดยการเข้าไปซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ ฯลฯ " ปัจจุบันมาตรการนี้ถือเป็นที่นิยมนำมาใช้เป็นอย่างมาก โดยประเทศแรกที่นำมตรการนี้มาใช้คือประเทศญี่ปุ่น แต่วันนี้เราจะนำเสนอวิธีการใช้มาตรการ QE ของประเทศสวีเดนกันเลย

ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ธนาคารกลางของสวีเดน ( RiksBank ) ซึ่งถือว่าเป็นธนาคารที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ได้มีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นครั้งแรก ให้เหลือร้อยละ -0.1 หลังจากประสบปัญหาความผันผวนทางการเงินโดยการตัดสินใจนี้ เกิดขึ้นภายหลังการประชุมสุดยอดผู้นาว่าด้วยการหยุดยิงระหว่างรัสเซีย – ยูเครน และการตัดสินใจเข้าร่วมการต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจในกรีซ โดยสวีเดนเป็นประเทศล่าสุดในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียที่เข้าร่วมต่อสู้กับสงครามการเงินในขณะนี้ หลังจากที่ธนาคารกลางเดนมาร์กประกาศลดอัตราดอกเบี้ยถึง 4 ครั้งในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางสวีเดนพยายามไม่ให้ประเทศตกอยู่ในภาวะเงินฝืด โดยปัจจุบัน ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสวีเดนขยับตัวเพิ่มสูงขึ้น และประเทศมีหนี้สินกว่าร้อยละ 81 ของจีดีพี ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่สูงที่สุดในโลก โดยธนาคารกลางยืนยันว่า มาตรการนี้ประกาศขึ้น เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ และภาคการส่งออก

โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นกับไทยนั้น เกิดใน พ.ศ. 2557 ซึ่งมาจากที่อัตราเงินเฟ้อในช่วงนั้น ปรับลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2 ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ ของสวีเดนในช่วงนั้น แต่ในทางกลับกันค่าเงินบาทของไทยแข็งกว่าค่าเงินโครนของสวีเดนมากเป็นผลให้ทางด้านการส่งออกของไทยไปยังสวีเดนนั้นลดลง

อย่างที่ได้ทราบมาแล้วว่าการใช้มาตราการ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นเป็นทางออกสุดท้ายในการทำให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหนึ่ง ในระยะแรกเศรษฐกิจก็อาจจะดีขึ้นอย่างที่ทุกคนคาดหวังไว่แต่หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องเมื่อประสบปัญหามาตรการนี้อาจจะไม่ส่งผลดีอย่างที่เป็นตอนแรก เนื่องด้วยว่าเสรษฐกิจที่ฝืดตัวนั้นอาจจะไม่ได้มาจากสภาวะเศรษฐกิจภายใประเทศเพียงอย่างเดียวอาจจะมีผลมาจากเศรษฐกิจโลกในช่วงนั้นด้วย ซึ่งมาตรการ QE ไม่สามารถที่จะแก้ไขสถานณการณ์อะไรได้มากนัก ตัวอย่าง เช่นมหาอำนาจทางการเงินแห่วหนึ่งของประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่ง ใช้มาตรการนี้หลายระยะมากจนเศรษฐกิจนั้นดื้อยาไปแล้ว

แหล่งที่มา

http://www.isstep.com/quantitative-easing-qe/

http://www.euronews.com/2015/02/12/sweden-moves-to...

หมายเลขบันทึก: 625362เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2017 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2017 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท