" นโยบาย QE สหรัฐอเมริกา"




มาตรการ QE คืออะไร

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า QE คือมาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน ย่อมาจากคำว่า Quantitative Easing เป็นนโยบายด้านการเงินที่ไม่เป็นแบบแผน ที่ดำเนินการโดยธนาคารกลางในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเมื่อเกิดเหตุการณ์ในกรณีที่นโยบายทางการเงินที่เป็นแบบแผนตามปกตินั้นเริ่มไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถขับเคลื่อนในระบบเศรษฐกิจได้ โดยการเข้าไปซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ ฯลฯ จากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินของเอกชนทั้งในและนอกประเทศ มาตรการ QE เป็นที่รู้จักว่าเป็นการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเติม (Printing Money) ซึ่งก็คือเม็ดเงินใหม่ๆ ที่อัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนั่นเอง สามารถใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจ รวมถึงสถาบันการเงินสามารถดำเนินการปล่อยสินเชื่อในการดำเนินธุรกิจได้มากขึ้นอีกด้วย QE ถ้าจะพูดแบบชาวบ้านก็คือการเพิ่มเพดานหนี้นั่นเอง

ทั้งนี้ในช่วงต้นปีที่แล้ว ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แถลงต่อคณะกรรมการธิการเศรษฐกิจร่วมของสภาคองเกรส เมื่อ 22 พฤษภาคม 2556 ได้ส่งผลต่อตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลก จากการคาดการณ์ว่าเฟดจะมีการชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งสรุปได้ว่า

1. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟดกำลังช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวขึ้น แต่จะชะลอมาตรการก็ต่อเมื่อเฟดได้เห็นสัญญาณบ่งชี้ถึงแรงหนุนมากกว่านี้

2. เฟดอาจตัดสินใจปรับลดวงเงินในมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ในอัตรา 85,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน ถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะรักษาแรงผลักดันได้ต่อไป

3. เฟดได้เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟดประจำวันที่ 30 เมษายน 2556 – 1 พฤษภาคม 2556 ระบุว่า “ผู้เข้าร่วมการประชุมหลายคนระบุว่า ความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องในตลาดแรงงาน,ความเชื่อมั่นที่เพิ่มสูงขึ้นต่อแนวโน้มในอนาคตหรือความเสี่ยงในช่วงขาลงที่เบาบางลงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นก่อนที่เฟดจะชะลออัตราการเข้าซื้อตราสารหนี้” แสดงให้เห็นว่าเฟดยังคงตั้งเงื่อนไขไว้สูงในการชะลอมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย

เมื่อมีการพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมาก จะทำให้เงินเหล่านั้นทะลักเข้าไปลงทุนเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ น้ำมันและอาหาร ทำให้สินค้าปรับตัวขึ้น กำลังซื้อของประชาชนลดลง อาจมีการไหลเข้าของเงินทุนของต่างชาติอย่างมหาศาล จะส่งผลต่อค่าเงินของประเทศที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ทำให้มีการเก็งกำไรค่าเงินที่ส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงิน การส่งออกได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น


ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/akom/2014/01/12/e...

หมายเลขบันทึก: 625366เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2017 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2017 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท