แลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุ


" เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2560 นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ได้มีโอกาสไปจัดกิจกรรมกับผู้สูงอายุ ณ บ้านพักผู้สูงอายุ คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ สามพราน "

จากการสังเกตและสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุเพศชาย ชื่อกุ๊ก (นามสมมุติ) อายุ 54 ปี รูปร่างท่วม สีหน้ายิ้มแย้ม ไม่ค่อยพูดแสดงความคิดเห็น ให้ความร่วมมือกับนักศึกษาเป็นอย่างดี สามารถเดินได้เองโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย มีลักษณะการเดิน คือ ช่วงก้าวสั้น ก้าวถี่ๆ และไม่ค่อยยกเท้า ผู้รับบริการเล่าว่าที่บ้านมีพี่น้อง 5 คน ตนเองเป็นน้องชายคนเล็ก ชอบฟังเพลง ทำกายบริหารตอนเช้า เมื่อก่อนช่วยที่บ้านส่งข้าวสาร ตนเองสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆได้เอง โดยไม่ต้องมีคนช่วย และรู้สึกมีความสุขดีที่อยู่ที่นี้

จากการประเมินผู้สูงอายุ

ประเมินสมองและอวัยวะข้างที่เด่น – พบว่า อวัยวะซีกขวาเด่นเป็นส่วนใหญ่ จากการทำงานของสมองซีกซ้ายที่เด่น

ประเมิน visual cues – เมื่อเล่าเรื่องราว สายตามองตรงไปข้างหน้า สบตากับนักศึกษา และมีเหลือบไปด้านข้างบ้าง

ประเมินความมั่นใจและประทับใจ – คุณลุงกุ๊กประทับใจในเรื่อง

1. ตอนได้ร้องเพลงในการทำกิจกรรม ให้คะแนน 7 คะแนน

2. ทำท่ากายบริหารต่างๆได้ ให้คะแนน 6 คะแนน

ประเมิน Leisure – พบว่าไม่มี leisure ส่วนใหญ่จะนั่งเฉยๆ


" เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ได้มีโอกาสไปจัดกิจกรรมกับผู้สูงอายุ ณ บ้านพักผู้สูงอายุ คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ สามพรานอีกครั้ง "


รูปแบบกิจกรรม โดยมีทั้งหมด 4 กิจกรรม

1. กิจกรรมออกกำลังกาย : เพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ช่วยส่งเสริมช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อและกำลังของกล้ามเนื้อ โดยคุณลุงกุ๊กให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และสามารถทำท่าทางออกกำลังกายได้ทันเพื่อนในกลุ่ม

2. กิจกรรมปรบมือตามคำบอก : เพื่อส่งเสริม การจดจ่อ คงความสนใจ โดยระหว่างทำกิจกรรม คุณลุงกุ๊กสามารถทำได้ แต่มีบ้างครั้งที่ปรบมือไม่ทันเพื่อน คุณลุงให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีอารมณ์สนุกสนาน

3. กิจกรรมเล่าสู่กันฟัง : เป็นการดูรูปสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ แล้วเล่าประสบการณ์จากภาพ ที่แต่ละคนได้พบเจอ หรือชื่นชอบ ซึ่งคุณลุงกุ๊กสามารถเล่าเรื่องได้ตรงกับสถานที่ โดยเล่าเรื่องที่เคยไปเที่ยวน้ำตกเอราวัณ แต่ต้องช่วยกระตุ้นคุณลุงเล็กน้อย

4. กิจกรรมทำผลไม้ลอยแก้ว : โดยให้กลุ่มผู้สูงอายุ ตักผลไม้และน้ำแข็ง ตามที่ชอบ และช่วยกันทำผลไม้ลอยแก้วให้แก่หัวหน้าที่ดูแลแผนก ซึ่งแต่ละคนได้แบ่งหน้าที่กันทำ ส่วนคุณลุงกุ๊กได้ช่วยเพื่อนในกลุ่มเก็บขยะและโต๊ะ คุณลุงสามารถทำได้ มีความส่วนร่วมภายในกลุ่ม แต่คุณลุงกุ๊กไม่ค่อยพูดออกความคิเห็น

การประเมินความสามารถของคุณลุงกุ๊กขณะทำกิจกรรม

ด้านร่างกาย(physical) : สามารถเคลื่อนไหวแขนขาได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว เดินได้เองโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย มีลักษณะการเดิน คือ ช่วงก้าวสั้น ก้าวถี่ๆ และไม่ค่อยยกเท้า

การรู้คิด (cognitive) : ระดับ Cognitive ระดับที่ 4 พฤติกรรมที่มีเป้าหมาย (Goal-directed Actions) สามารถทำตามคำสั่งได้ 2-3 ขั้นตอน พูดคุยสื่อสารรู้เรื่อง ไม่รับรู้เวลา สถานที่ แต่สามารถบอกชื่อตนเอง และบุคคลรอบข้างได้ สามารถเขียนหนังสือได้ คืดเลขในใจไม่ได้

ด้านจิตใจ (Psychosocial) : มีสภาวะจิตใจที่ดี สามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้

การรับความรู้สึก (Sensory-perceptual) : สามารถรับความรู้สึกร้อนเย็น ความเจ็บปวด และสัมผัสได้ การมองเห็น การได้ยิน การทรงตัวได้ดี และการรับรู้การเคลื่อนไหวของข้อต่อปกติ


โปรแกรมการรักษาทางกิจกรรมบำบัด

กิจกรรมมาซื้อของกัน

เป็นกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มระดับการรู้คิด การวางแผน โดยให้ผู้รับบริการฝึกคิดเงินและทอนเงินในการซื้อขายสินค้า อาจจะตัดรูปสินค้าในโบชัวร์ออกมา ลองสมมุติสถานการณ์ให้ว่าถ้ามีเงิน 100 บาทจะซื้อสิ่งของอไรได้บ้าง และควรได้เงินทอนเท่าไร ซึ่งเงินที่ใช้ควรเป็นเงินจริง ไม่ควรให้ผู้รับบริการจินตนาการเอง

กิจกรรมนี่คือที่ไหน, นี่คือใคร

เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการรับรู้วันเวลา สถานที่ โดยให้ผู้รับบริการทายชื่อบุคคลที่มีชื่อเสียง บุคคลในครอบครัว หรือทายสถานที่สำคัญ สถานที่ที่ผู้รับบริการคุ้นเคย

กิจกรรมขยับกายขยับใจ

เป็นกิจกรรมที่ช่วยป้องกันข้อติดและคงไว้ซึ่งกำลังของกล้ามเนื้อ เพิ่มระดับการตื่นตัว โดยการทำท่ากายบริหารช้าๆ ประกอบจังหวะ

กิจกรรมเล่าสู่กันฟัง

เป็นกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มทักษะทางสังคม การรับฟังผู้อื่น โดยการให้ดูรูปสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ แล้วเล่าประสบการณ์จากภาพ หรือการเล่าเรื่องวัยเด็กของแต่ละคน อาจให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่คนในกลุ่มพูดด้วย

โดยการจัดกิจกรรมกลุ่ม อาจใช้ parallel group, associative group, basic cooperative group

หมายเลขบันทึก: 624823เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 23:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท