AAR การประชุมวิชาการ KM ครั้งที่ 19


AAR การประชุมวิชาการ KM ครั้งที่ 19

        เสียดายแทนคนในวงการศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ครับ   เราจัดที่โรงแรมเอเชีย  วันที่ 27 ต.ค.48 ทั้งวัน   ในหัวข้อ "โรงเรียนจัดการความรู้  ปฏิรูปการศึกษา"   โดยเชิญทีม รร.จิระศาสตร์วิทยา  นำโดย ผอ. จิระพันธุ์  พิมพ์พันธุ์   และทีม รร.เพลินพัฒนา  นำโดย ผอ. ธิดา  พิทักษ์สินสุข

          

             ทีม รร.จิระศาสตร์วิทยา                            ทีม รร.เพลินพัฒนา

        เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KM ในโรงเรียนระดับสุดยอด

        ท่านที่พลาดไม่ต้องเสียใจนะครับ   สคส. ได้ถ่ายวิดีโอไว้จำหน่าย   คงพอจะเอาไปดูแก้ขัดได้   แม้จะไม่ดีเท่าการมาร่วมในบรรยากาศจริง

                                   

                                            บรรยากาศการประชุม

ผมได้สรุปจุดเหมือนของ KM ในโรงเรียนทั้งสองไว้ 9 ข้อคือ
1. ไม่เริ่มจากศูนย์   ทั้ง 2 รร. ฉลาดในการหา "ความรู้" มาใช้งานและต่อยอด
     - รร.จิระศาสตร์ใช้ความเป็นกรุงเก่า  อยุธยามรดกโลก   ใช้สวนพฤษศาสตร์ของโรงเรียน
     - รร.เพลินพัฒนา   เริ่มจากความสำเร็จ   ความดีของการเรียนรู้รูปแบบที่มีผู้คิดค้นไว้ก่อน

2. ยุทธศาสตร์กลุ่ม   เป็นกลุ่มทำงานและกลุ่มเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันคือ   เป็นทั้ง Teamwork และ Team Learning
     - รร.จิระศาสตร์ : คณะกรรมการมากมายหลายคณะ,  สภาครู,  สภานักเรียน,  STAR
     - รร.เพลินพัฒนา : โรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่

3. การจดบันทึก   สำหรับเป็นเครื่องมือเรียนรู้และสื่อสาร
     - รร.จิระศาสตร์ : สมุดบันทึกส่งกลับไปกลับมาระหว่างผู้ปกครองกับครู,   สมุดบันทึกประจำวันของครูว่าทำอะไรบ้าง  เกิดความคิดอะไรบ้าง
     - รร.เพลินพัฒนา : กล่องบันทึก

4. ภาวะผู้นำ   ผู้นำการพัฒนา/การเปลี่ยนแปลงในทุกระดับ
     - ผู้บริหาร : นำแบบไม่นำ - empowerment
     - ครู
     สีสันของการประชุมส่วนใหญ่อยู่ที่ผู้นำ

5. Tacit Knowledge  ทั้ง 2 รร. ได้นำเสนอ "ความรู้ปฏิบัติ" น้อยใหญ่   นับพันนับหมื่นชิ้น   เช่น  การไม่บังคับแบบบังคับของ อ. จิระพันธุ์

6. เทคนิค "ปลายเปิด"   ซึ่งหมายถึงการเปิดช่องให้มีอิสระในการสร้างสรรค์   โดยมีเครื่องมือยึดโยงไปในทิศทางเดียวกัน
     - รร.เพลินพัฒนา : theme ร่วม   นอกนั้นให้ช่วยกันคิดเอง
     - รร.จิระศาสตร์ : JIRASART Model  เป็นแกนหลักแล้วให้ครูร่วมกันตีความสร้างสรรค์รูปแบบการเรียนรู้

7. ผู้บริหาร 3 สัญชาติ   ไทย + ฝรั่ง + จีน   ซึ่งหมายถึงใช้ multiple intelligence อาจตีความเพิ่มสัญชาติกรีกเข้าไปด้วยก็ได้   เพราะผู้บริหารทั้ง 2 รร. เป็นเหมือนอีสปนักเล่าเรื่อง   Storytelling เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของ "การนำแบบไม่นำ"

8. มีการเรียนรู้และจัดการความรู้ทุกมิติ  ทุกระดับ   ทั้งผู้บริหาร,  ครู,  นักเรียน,  ผู้ปกครอง,  คนขับรถ,  คนสวน ฯลฯ

9. การสื่อสาร   หลายทิศทาง   ใช้เครื่องมือที่หลากหลาย   สื่อสารหลากหลายสาระ   ที่สำคัญยิ่งคือการสื่อสารในมิติความเชื่อ  ความดี  จิตวิญญาณ

        สองโรงเรียนนักจัดการความรู้นี้มีส่วนที่ต่างกันแบบสุดขั้วอยู่ด้วย   ทำให้เราเห็นความงดงามและน่าตื่นตาตื่นใจในกระบวนการ ลปรร. ครั้งนี้  

                                 

                                               สองทีม ลปรร.

ตัวอย่างความต่าง   ได้แก่
     (1) รร. เก่าอายุ 48 ปี กับ 1.5 ปี
     (2) รร. ต่างจังหวัด  กับ  ในกรุงเทพฯ
     (3) ทำ KM แบบไม่รู้จัก KM  กับ  ออกแบบใช้ KM ตั้งแต่เริ่มต้น
     (4) KM สไตล์แม่  กับ  สไตล์วิจัย

         คนในวงการศึกษาทั้งนักวิจัยการศึกษา,  ผู้บริหารในกระทรวงศึกษา,  ผู้ทำงานในหน่วยงานสนับสนุน เช่น สพบ.,  สอศ.,  สกศ. (วันนี้มาร่วม 1 คน),  สมศ. (วันนี้มาร่วม 5 คน),  ผู้บริหาร รร.,  ครู,  ฯลฯ   ที่พลาดโอกาสนี้ยังมีอีก 2 โอกาส
     - ในงานมหกรรมจัดการความรู้ 1 - 2 ธ.ค.48
     - วีซีดีบันทึกการ ลปรร. ครั้งนี้

          นี่คือสุดยอด KM โรงเรียนที่ใช้ KM ในทุกกิจกรรมของโรงเรียน   เป็น Total School KM   ท่านที่ทราบว่ามีโรงเรียนอื่นทำ Total School KM แบบ 2 โรงเรียนนี้โปรดแจ้ง สคส. นะครับ   เราจะจัดการประชุม ลปรร. แบบนี้อีก   เพราะ KM โรงเรียนเป็นเรื่องคอขาดบาดตายสำหรับประเทศของเราครับ

วิจารณ์  พานิช
 28 ต.ค.48

หมายเลขบันทึก: 6232เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2005 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 01:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว รู้สึกประทับใจในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยทีมงานของ สคส. นำโดยท่านคุณหมอวิจารณ์ พานิช และท่าน ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ซึ่งท่านที่กล่าวมาล้วนเป็น "นักจัดการความรู้มืออาชีพ"  หลังกลับจากประชุมสัมมนาวันนั้นแล้วผมได้มาเขียนบล็อก "ความเหมือนในความต่างระหว่าง ร.ร.จิระศาสตร์วิทยาและ ร.ร.เพลินพัฒนา" สรุปได้ว่า สคส.จัดกิจกรรมที่ดี มีประโยชน์มาก ถ้าเป็นไปได้อยากเข้าร่วมกิจกรรมดีๆเช่นนี้อีกครับ

ก็เป็นโรงเรียนที่ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท