กิจกรรมบำบัดจะขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาลได้อย่างไร?


สวัสดีค่ะ สมาชิกชาว Gotoknow ทุกท่าน เมื่อวันที่1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่4 มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการจัดเวทีโต้วาทีในวิชาสัมมนาทางกิจกรรมบำบัดขึ้นซึ่งมี2รอบด้วยกันค่ะ

รอบแรก OT in community based VS OT in hospital based
รอบสอง Blended classroom VS Traditional classroom
ซึ่งทั้ง2รอบนี้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากค่ะ และสามารถที่จะนำไปเป็นแนวทางที่นักกิจกรรมบำบัดจะช่วยขับเคลื่อนสุขภาวะของคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาลได้ ดิฉันจึงอยากมาแบ่งปันสิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมการโต้วาทีในครั้งนี้ค่ะ

จากหัวข้อที่มีการกล่าวถึงการทำงานของนักกิจกรรมบำบัดว่าการทำงานในโรงพยาบาลหรือในชุมชนแบบใดที่ทำให้ผู้รับบริการได้รับประโยชน์มากที่สุด ซึ่งสมาชิกในกลุ่มได้มีการหยิบยกเอาข้อดีของการทำงานในแต่ละรูปแบบมาเสนอกัน ซึ่งข้อสรุปนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับนักกิจกรรมบำบัดแต่ละท่านที่วางแผนการรักษารวมไปถึงบริบทของสถานที่ทำงาน ในส่วนตัวดิฉันคิดว่าการทำทั้ง2รูปแบบไปร่วมกันนั้นจะส่งผลดีต่อตัวผู้รับบริการมากที่สุด เนื่องจากผู้รับบริการในระยะแรกหลังอาการเจ็บป่วยได้เกิดขึ้นนั้น การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีทีมสหวิชาชีพคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่พร้อมให้การรักษาสิ่งเหล่านี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้รับบริการมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้นได้ หลังจากที่ผู้รับบริการมีการฟื้นตัวขึ้นมาพร้อมที่จะกลับไปฟื้นฟูและใช้ชีวิตอยู่ทีบ้านได้แล้วนั้น นักกิจกรรมบำบัดควรไปติดตามผลการรักษาจากการที่ผู้รับบริการได้กลับไปทำกิจกรรมดำเนินชีวิตในสิ่งแวดล้อมจริงและจะได้ช่วยเหลือผู้รับบริการหากมีปัญหาในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตได้อย่างตรงจุดจะช่วยส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ และจากบทความOccupational identity, occupational competence and occupational settings (environment): influences on return to work in men living with HIV/AIDS. ที่เขียนโดย Braveman B พบว่า การที่ผู้รับบริการที่ป่วยเป็นภูมิคุ้มกันบกพร่อง(HIV) ได้รับรู้บทบาทของตนเองและสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานนั้นได้มีส่วนช่วยให้ผู้รับบริการมีความเข้าใจในตนเองและประสบการณ์เหล่านี้จะช่วยให้เขาได้กล้ากลับไปทำบทบาทหลักของพวกเขาอีกครั้ง เช่นเดียวกับผู้รับบริการในทุกประเภทหากพวกเขาได้กลับไปในสิ่งแวดล้อมจริงและเข้าใจในความสามารถของตนเองจะทำให้พวกเขามั่นใจและกล้าที่จะกลับไปทำบทบาทหลักที่ต้องการได้อีกครั้ง

การเรียนรู้แบบผสมผสาน(Blended learning) ได้นำบทเรียนออนไลน์และการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองมาประยุกต์ใช้แทนการเรียนแบบบรรยายเป็นหลัก และเพิ่มชั้นเรียนที่นำประเด็นมาถกเถียงกัน(Discussion class)ระหว่างนักศึกษากันเองโดยมีอาจารย์คอยดูแลและตอบคำถามในสิ่งที่นักศึกษาไม่เข้าใจ ซึ่งมีความแตกต่างกับการเรียนแบบดั้งเดิม(Traditional learning)ที่จะเน้นการเรียนบรรยายเป็นหลัก หากมีการนำมาปรับใช้กับการเรียนการสอนในบางรายวิชาจะช่วยทำให้นักศึกษามีความเข้าใจได้มากขึ้น ในความคิดของดิฉันการเปลี่ยนแปลงทางการเรียนจะช่วยขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยได้ในบางมิติการเรียนออนไลน์ในบางหัวข้อมีประโยชน์ต่อผู้ดูแล เช่น การจัดท่าในผู้รับบริการติดเตียง, การดูแลกิจกรรมดำเนินชีวิตของผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมอง หากบทเรียนนั้นลงคลิปในเว็บไซต์Youtubeทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้ารับชมได้และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับบุคคลในบ้าน สิ่งนี้ก็เปรียบเสมือนเป็นช่องทางเล็กๆที่สามารถทำให้คนในสังคมมีสุขภาวะที่ดีขึ้นได้จากการเผยแพร่ความรู้ของนักกิจกรรมบำบัด ดิฉันคิดว่าไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ไหน หากนักกิจกรรมบำบัดมีความตั้งใจที่จะช่วยฟื้นฟูและเผยแพร่ความรู้ให้กับบุคคลอื่นๆย่อมมีส่วนช่วยขับเคลื่อนสุขภาวะที่ดีของคนไทยได้ไม่มากก็น้อย สุดท้ายดิฉันหวังว่าสมาชิกทุกท่านจะมีสุขภาพทั้งกายและใจดีขึ้นในทุกๆวันนะคะ

หมายเลขบันทึก: 623145เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017 19:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท