"กิจกรรมบำบัดจะขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาลได้อย่างไร?" ในความคิดของฉัน


สวัสดีค่ะ ฉันเป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่ 4 เนื่องจากในวันสุดท้ายของการเรียนวิชาสัมมนา ได้มีการจัดโต้วาทีขึ้น ทั้งหมด 2 เรื่อง ได้แก่

Blended learning VS Traditional classroom และ

Hospital-based rehabilitation VS Community-based rehabilitation

โดยในที่นี้ได้ให้ความหมายคร่าวๆ ดังนี้

ในหัวข้อแรก คือ Blended learning VS Traditional classroom กล่าวคือ

Blended learning หมายถึง การเรียนแบบผสมผสาน โดยการย้ายการเรียนการสอนในห้องเรียน สู่การเรียนในรูปแบบออนไลน์ ยกเว้นคาบที่เป็นปฏิบัติจะมีการเรียนในห้องเรียน ซึ่งเน้นให้นักศึกษามีการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Active learning)

ในขณะที่ Traditional classroom จะเป็นการเรียนในห้องเรียน ซึ่งจะเป็นการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้า หรือ Face-to-face และมีคาบปฎิบัติเช่นเดียวกัน

สำหรับอีกหัวข้อหนึ่งก็คือ Hospital-based rehabilitation VS Community-based rehabilitation กล่าวคือ

Hospital-based rehabilitation หมายถึง การฟื้นฟูในโรงพยาบาล ซึ่งมีทีมสหวิชาชีพและเครื่องมืออุปกรณ์ที่ครบครัน และบางอย่างไม่สามารถหาได้ในชุมชน

และ Community-based rehabilitation คือการฟื้นฟูในชุมชน หรือการมีสหวิชาชีพเข้าไปให้การฟื้นฟูตามบ้าน โดยเน้นการนำสิ่งของในชุมชนมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟู


จากการโต้วาทีดังกล่าว ทำให้ฉันได้เรียนรู้ทั้งข้อดีและข้อเสียของรูปแบบการเรียน และการฟื้นฟูสุขภาพ ดังนั้นหากนำมาเชื่อมโยงกับกิจกรรมบำบัดและสุขภาวะ ทำให้ฉันมีแนวคิดต่อ กิจกรรมบำบัดกับการขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาล ดังหัวข้อต่อไปนี้


หัวข้อแรก คือ ช่วงชีวิตวัยนักเรียน นักศึกษา

ในทางกิจกรรมบำบัด การเรียน (Education) ถือเป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวัน ที่กิจกรรมบำบัดให้ความสนใจ จากการโต้วาที ทำให้ฉันได้รู้ว่า รูปแบบการเรียนทั้งสองอย่างนั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเอง จึงเหมาะสมกับนักศึกษาที่แตกต่างกันไป อาทิเช่น

การเรียนแบบ Blended learning อาจจะเหมาะสมกับนักศึกษาที่เสียสมาธิได้ง่ายจากสิ่งเร้าที่มารบกวน เช่น เพื่อนชวนคุย เป็นต้น การเรียนแบบนี้จึงเหมาะสม เพราะสามารถเรียนแบบเงียบๆ ได้ รวมถึงนักศึกษาที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านการเรียนเนื้อหาซ้ำๆ จากการดูบทเรียนออนไลน์ย้อนหลัง ซึ่งสามารถหยุดหรือน้อนกลับไปกลับมาได้ตามการเรียนรู้ของตนเอง

ในขณะที่นักศึกษาอีกประเภท อาจจะชอบเรียนแบบ Traditional classroom เนื่องจากนักศึกษาสามารถถามคำถามได้ทันทีที่สงสัย อาจารย์สามารถสังเกตสีหน้าและความสามารถของนักศึกษาได้ ทำให้อาจารย์สามารถอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่นักศึกษายังไม่เข้าใจ และให้ความช่วยเหลืออื่นๆได้เร็ว นอกจากนี้ยังมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์และเพื่อนๆ ได้มากกว่าอีกด้วย

จากการเรียนทั้งสองรูปแบบ จะเห็นว่า การเรียนแบบใดแบบหนึ่งนั้น จะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมุมมอง ความชอบ หรือสไตล์การเรียนของแต่ละบุคคล ดังนั้นการส่งเสริมรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมให้กับแต่ละบุคคล หรือการดัดแปลงการเรียนให้เหมาะสมกับความสามารถ ก็จะทำให้บุคคลนั้นเรียนได้ดี ส่งผลให้มีสุขภาวะที่ดีได้ ตามแนวคิดสำคัญทางกิจกรรมบำบัดที่ว่า Client-center หรือการมีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ยกตัวอย่างเช่น ในเรียนในห้องเรียนของเด็กออทิสติก กิจกรรมบำบัดสามารถช่วยส่งเสริมทักษะต่างๆให้แก่เด็กออทิสติก เช่น การรับรู้ทางสายตา สมาธิ การควบคุมตนเอง เป็นต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเรียน และหากเด็กได้รับการช่วยเหลือที่ตรงจุดจากคุณครูและเพื่อน การเรียนในห้องเรียนนี้ ก็ะช่วยส่งเสริมทักษะการเข้าสังคม และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้มากยิ่งขึ้น


หัวข้อที่ 2 คือ การฟื้นฟู

จากการโต้วาทีจะเห็นได้ว่า การฟื้นฟูทั้งสองแบบมีการใช้ทีมสหวิชาชีพ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ นักกิจกรรมบำบัด กิจกรรมบำบัดจึงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยฟื้นฟูสุขภาพของผู้รับบริการให้มีสุขภาวะที่ดีได้ ในรูปแบบการฟื้นฟูทั้งสองแบบ อาทิเช่น

การฟื้นฟูในโรงพยาบาล หรือ Hospital-based rehabilitation เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากในระยะแรก (Acute phase) เพื่อฟื้นฟูร่างกายก่อน กิจกรรมบำบัดจะมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูความสามารถของผู้รับบริการในด้านต่างๆ เช่น การดูแลตนเอง การทำงาน เป็นต้น

ในทางกลับกัน การฟื้นฟูในชุมชน หรือ Community-based rehabilitation ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้รับบริการสามารถอยู่ในชุมชนได้ หลังจากออกจากโรงพยาบาล โดยเน้นเป็นการดูแลในระยะยาว (Long-term care) เพื่อติดตามความคืบหน้าของผู้รับบริการ รวมถึงให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงทีในชุมชน

จะเห็นว่าการฟื้นฟูทั้งสองแบบ สามารถไปด้วยกันได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้รับบริการ HIV/AIDs กิจกรรมบำบัดสามารถช่วยให้ผู้รับบริการเข้าใจในตนเอง คำนึงถึงบทบาทของตน ทั้งอดีตและปัจจุบัน ร่วมกับการฟื้นฟูและส่งเสริมทักษะความสามารถของผู้รับบริการในด้านต่างๆ เช่น การส่งเสริมให้ผู้รับบริการทำงานเดิม หรือพัฒนาทักษะอื่นในการทำงานใหม่ ตามความสามารถของผู้รับบริการ เป็นต้น เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถกลับไปทำงานได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังช่วยจัดสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน ทั้งทางกายภาพและสังคม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมชุมชนได้อีกด้วย เช่น การให้ความรู้แก่คนในชุมชน เป็นต้น


จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ฉันคิดว่า กิจกรรมบำบัด สามารถช่วยขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาลได้ โดยการส่งเสริมให้ทำกิจกรรม โดยเน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง และช่วยฟื้นฟูความสามารถของผู้รับบริการ ทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน ร่วมกับการฟื้นฟูและเทคนิคอื่นๆ เพื่อช่วยให้เกิดสุขภาวะที่ดีค่ะ

หมายเลขบันทึก: 623143เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท