การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยร่วมกับเทคนิค KWLH Plus Pเพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยร่วมกับเทคนิค KWLH

Plus Pเพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้ศึกษา นางตฤณกร พวงวรินทร์

ปีการศึกษา2557

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยร่วมกับเทคนิค

KWLH Plus P เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 62) เพื่อพัฒนา และหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยร่วมกับเทคนิค KWLH Plus P เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 63)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนสอนภาษาไทยร่วมกับเทคนิค KWLH Plus P เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 64)เพื่อประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยร่วมกับเทคนิค KWLH Plus P เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยร่วมกับเทคนิค KWLH Plus P เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบทดสอบวัดทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยร่วมกับเทคนิค KWLH Plus P กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/ 1 โรงเรียนเทศบาล 3 วัดไชนาวาส อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวนนักเรียน 35 คน ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2557 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม ( Cluster Random Sampling)โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling Unit) ใช้เวลาทดลอง 20 ชั่วโมงวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)สถิติทีแบบไม่อิสระ และแบบอิสระ การคิดวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยสรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ ได้ดังนี้

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยร่วมกับเทคนิค KWLH Plus P เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6(AQAMR Model)ประกอบด้วยกระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นจุดประกายความพร้อม (Availability: A)ร่วมกับเทคนิค KWLH Plus P ได้แก่ กิจกรรมก่อนการอ่าน เรียกว่า ขั้น K (What you know)ขั้นที่ 2 ขั้นการตั้งคำถาม (Question - Q)ร่วมกับเทคนิค KWLH Plus P ได้แก่ กิจกรรมระหว่างการอ่าน ขั้น W (What we want to know)ขั้นที่ 3 ขั้นการจดบันทึก(Annotate - A)ร่วมกับเทคนิค KWLH Plus P ได้แก่ กิจกรรมหลังการอ่าน ขั้น L (What we have learned) กิจกรรมการค้นคว้าเพิ่มเติม ขั้น H (How we can learn more)กิจกรรมสร้างเป็นแผนภาพความคิด (Mapping)ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวนความจำจากการบันทึก(Memorize - M)ร่วมกับเทคนิค KWLH Plus P ได้แก่ กิจกรรมการสรุปเรื่องจากการอ่าน (Summarizing) ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล(Relate - R)ร่วมกับเทคนิค KWLH Plus P ได้แก่ กิจกรรมการเรียนเพื่อสร้างสำนึกสาธารณะให้กับผู้เรียน (Public awareness) โดยสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม รวมถึงสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อชุมชน

2. ผลการออกแบบ และการพัฒนาการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยร่วมกับเทคนิค KWLH Plus P เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6(AQAMR Model)ผลการหาประสิทธิภาพ (E1 / E2 ) ในการทดสอบแบบภาคสนาม (Field Tryout)ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.92 / 84.00 สูงกว่าเกณฑ์ 80 / 80 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยร่วมกับเทคนิค KWLH Plus P เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6(AQAMR Model)มีดังนี้

3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (=25.57) สูงกว่าก่อนเรียน (= 20.43) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2

3.2 ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโดยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยร่วมกับเทคนิค KWLH Plus P เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ พัฒนาขึ้นในช่วงระยะเวลาระหว่างเรียนภาพรวมระยะที่ 4 อยู่ในระดับสูงมาก (= 43.97) และอยู่ในระดับสูงทุกระยะ และมีพัฒนาการสูงขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่ระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 4 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2

4.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนภาพรวมนักเรียนเห็นด้วยในระดับมากที่สุด(= 4.50)

รายการที่นักเรียนมีความพึงพอใจเป็นลำดับแรกคือ การเรียนวิชาภาษาไทยต้องมีสมาธิในการเรียนการสอนมากที่สุดซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่3

หมายเลขบันทึก: 622949เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2017 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2017 11:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท