วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัย และ Authentic Learning การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง


คำสำคัญ (Tags): #authentic learning
หมายเลขบันทึก: 622946เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2017 09:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2017 09:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจ นำไปใช้ประโยชน์ได้คะ

นำไปใช้ประโยชน์ได้ดีเลยคะ

เป็นอีกแนวทางในการสนับสนุนงานวิจัย. อาจนำมาปรับใช้ในองค์กรได้. Authentic ดีมีประโยชน์ค

ได้แรงบันดาลใจในการผลิตผลงานตีพิมพ์ และได้ประเด็นข้อคิดที่ทันสมัยในเรื่องทรัพยากรการผลิตเผยแพร่ผลงานค่ะ

ส่วนเรื่อง Authentic ยังไม่แน่ใจว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ถูกต้องตามแนวคิดนี้หรือไม่

เรื่องการผลิตผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ดีมากเลยค่ะทำให้ทราบว่าก่อนที่นักวิจัยจะศึกษาเรื่องอะไรต้องมีเป้าหมายวารสารที่จะลงตีพิมพ์ก่อนและประเมินว่างานของเราสามารถลงตีพิมพ์ได้ในระดับไหนบ้าง

เรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบ Authentics เป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากๆค่ะ ชอบประเด็นที่ว่ากิจกรรมไม่ได้ถูกกำหนดอย่างตายตัวโดยผู้สอน แต่เกิดจากการเสนอของนักศึกษา เพราะจะเป็นการสะท้อนว่าครูสอนโดยยึดนักศึกษาเป็นศูนย์กลางค่

มีประโยชน์มากเลยคะ

ได้ทราบรายละเอียดแนวทางเพิ่มขึ้นในการเผยแพร่งานวิจัย

ทราบมุมมองใหม่ในการจัดการเรียนการสอนแบบสภาพจริงแตกต่างจากที่เคยได้เรียนรู้ มาก่อนหน้านี้ค่ะ

เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจ ทำให้ทราบแนวทางการดำเนินการเผยแพร่งานวิจัยและแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบสภาพจริง

ดร.ศุภาณ์นาฏ สุวรรณกิจ

ได้ทราบมุมมองใหม่ในการจัดการเรียนการสอนแบบสภาพจริง และแนวทางการดำเนินการเผยแพร่งานวิจัย เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สนุกสนานมาก วิทยากรและทีมผู้จัดมีการดำเนินการที่ดี

มุมมองที่หลากหลายจากนักวิชาการด้านหลักสูตรและการสอน เรื่องการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพิ่มความรู้ ความเข่าใจกับผู้ฟัง สามารถนำ 10 ประเด็นของการเรียนรู้ตามสภาพจริงไปได้อย่างเป็นรูปธรรม จริงๆ และที่ผ่านมา "การเรียนรู้ตามสภาพจริง" ก็พบประเด็นบ้างพอสมควร เช่น การเรียรู้จากชุมชน ใช้เครื่องมือการเรียนรู้แตกต่างกันไป...อะไรใช่ อะไรไม่ใช่ ต้องลงมือทำในปีการศึกษา 2560 กับหลักสูตรใหม่ นำทั้ง 10 ประเด็นเชื่อมโยงการเรียนรู้...ในฐานะครูมืออาชีพ ที่ต้องเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนกับลูกศิษย์ เพราะมันคือ "การเรียนรู้ตามสภาพจริง" จริงๆนะ

ตามแนวคิดของ Steve Revington OCT., B.Ed., B.A. ในการจัดการเรียนการสอนแบบ authentic learning โดยมี 10 คุณสมบัติ ที่สำคัญต้องมีในการจัดการเรียนการสอนแบบ Authentic Learning อาจารย์ควรจะเน้นการสอนที่มุ่งว่าเราจะสอนอย่างไรที่จะกระตุ้น/ส่งเสริมให้ผู้เรียนให้มีการคิดเป็นทำเป็น โดยมีการกำหนดภาระงานหลัก/งานย่อย ชิ้นงานควรจะเหมาะสมกับระดับความรู้ของผู้เรียน อาจารย์ควรดูว่าชิ้นงานมีความซับซ้อนไหมในแต่ละชั้นปี? กิจกรรมการเรียนการสอนจะเป็นลักษณะที่จะต้องกำหนด Timeline ทำให้เสร็จและจัดส่งภายใน  2 สัปดาห์ – 1 เดือน โดยประเมินดูเป็นองค์รวม การสอนแบบนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงมุมมองที่หลากหลาย เน้นการใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย มีการสะท้อนความคิดต่างๆ จากอาจารย์และนักศึกษาทุกระยะของการทำกิจกรรมและนักศึกษาได้นำมาปรับและใช้ได้จริงกับสถานการณ์จริง เน้นสหทีมทางการแพทย์และพยาบาลเข้ามามีส่วนร่วม มีการกำหนดเกณฑ์ประเมินนักศึกษาและบอกล่วงหน้าอาจเกิดแนวปฏิบัติที่ดีใหม่ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ได้นำไปใช้กับการฝึกปฏิบัติจริงในการฝึกวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 ในการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชนวัดจันทร์ เมื่อลงในชุมชมมีการจัดทำ Case study ในผู้สูงอายุ และเข้ามาทำการ Conference อาจารย์จะมีการสะท้อนคิดให้นักศึกษามีการปรับวิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และการให้คำแนะนำแก่ผู้สูงอายุ ด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู โดยเน้น Self-management ควบคู่กับชิ้นงานที่จะต้องจัดทำให้ผู้สูงอายุและมีการ Reflective thinking ตลอดเวลาและอาจารย์ได้ประเมินเป็นรายกลุ่มและรายเดี่ยวโดยดูผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุเป็นหลัก ซึ่งนักศึกษาทำได้ดีมาก ขอชื่นชมคะ ถ้ามีการบูรณาการกับการทำวิจัยจะดีมากคะ โดยจัดทำงบประมาณการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ได้จริงกับผู้สูงอายุคะ

ความรู้เรื่ืองการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการผลิตและตีพิมพ์ผลงานวิจัย ทำให้มีแรงใจที่จะทำงานวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ผลงานมากขึ้น ได้เห็นช่องทางหลายๆ ช่องทางจากวิทยากรและผู้เข้าประชุมที่ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ มีแรงฮึดสู้อีกครั้ง ขอบคุณนะคะที่เติมพลังใจให้กัน

ได้แลกเปลี่ยนประสบการ์และมุมมองที่หลากหลาย

ได้ความรู้และแรงบันดาลใจ มีแรงจูงใจที่จะนำงานที่ทำอยู่แล้ว สามารถที่จะพัฒนาให้เป็นผลงานวิจัยได้ ทำให้งานที่ทำมีคุณค่ามากขึ้น

เป็นเวทีที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างแรงบันดาลใจและแนวทางการบูรณาการทำวิจัยได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท