ความเสี่ยงทางการเงินส่วนบุคคล


เรามารู้จักคำว่าการเงินส่วนบุคคลกันก่อนนะคะ การเงินส่วนบุคคลเป็นการบริหารเงินให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของแต่ละคน โดยการที่จะทำให้วัตถุประสงค์สำเร็จก็จะต้องมีการวางแผนการเงินที่ดีและวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ

ความสำคัญของการบริหารการเงินส่วนบุคคล

เพื่อให้คนวางแผนการเงินของตนเองและครอบครัวได้อย่างถูกต้อง ตระหนักถึงความสำคัญในการใช้จ่ายอย่างถูกต้อง

แนวคิดพื้นฐานในการบริหารการเงินส่วนบุคคลไว้ 4 ประการได้แก่

  1. บริหารเงินเพื่อป้องกันผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน (Security) เนื่องจากเหตุการณ์เลวร้ายอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้น ในการบริหารการเงินส่วนบุคคล ไม่ควรละเลยที่จะเผื่อเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้ในยามฉุกเฉินหรือเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ขาดรายได้ การบริหารการเงินที่สามารถกระทำได้ ได้แก่ การทำประกันชีวิต การประกันสุขภาพ เป็นต้น
  2. บริหารเงินเพื่อความมั่นคงของชีวิต (Stability) โดยมีหลักง่ายๆคือ ไม่ใช้จ่ายเกินรายได้ที่มีอยู่ และไม่พยายามสร้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ การใช้จ่ายเกินรายได้ที่มี ภาระหนี้สินที่มีอยู่เป็นหนี้สินที่จะสร้างรายได้ในอนาคต เช่น เงินผ่อนชำระค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ท่านซื้อมาเพื่อปล่อยเช่าให้แก่ผู้อื่น หนี้สินเหล่านี้อาจจัดเป็นเงินลงทุนได้ สำหรับการบริหารเงินเพื่อสร้างความมั่นคง สามารถทำได้อย่างง่ายๆ เช่น การทำงบประมาณรับจ่าย ซึ่งจะทำให้รู้และติดตามได้ว่า รายจ่ายส่วนใดที่ใช้มากเกินไป และรายจ่ายส่วนใดที่ต้องติดตามมากเป็นพิเศษ
  3. การบริหารเงินเพื่อสร้างความมั่งคั่ง (Growth) หลังจากที่สามารถบริหารเงินเพื่อป้องกันผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน และสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตได้แล้ว ก็สามารถจะเริ่มคิดถึงการสร้างความมั่งคั่งให้แก่ตนเอง โดยอาจจะเริ่มต้นจากการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในรูปแบบต่างๆ
  4. การป้องกันและบริหารความมั่งคั่ง (Protection and Management) หลังจากที่สร้างความมั่งคั่งได้เพียงพอกับความต้องการแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือรักษาระดับความมั่งคั่งไว้ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี

Image result for ความเสี่ยงทางการเงิน

แหล่งที่มา : http://www.arpaccountingschool.ac.th/%E0%B8%9A%E0%...

ความสำคัญและความหมายของความเสี่ยง

ความเสียงคือโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งนำความเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น

ประเภทของความเสี่ยง เป็นความเสี่ยงที่อาจมีทั้งได้และเสีย อาจเกิดโอกาสสูญเสียทรัพย์สิน เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากเหตุการณ์ไม่คิดเป็นการที่ต้องจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหาย ทำให้เกิดความเสียหายกับบุคคล

4 กลยุทธ์การลดความเสี่ยง

  • การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง อย่างง่ายที่สุด คือการไม่ไปเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิด ความเสียหายแก่เรา
  • การลดความเสี่ยง โดยการเพิ่มความป้องกันความปลอดภัยเข้าไป และในบ้างครั้งอาจทำให้เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ ทำให้ระดับของความต้องการรักษาความปลอดภัยก็จะแตกต่างไปตามแต่ความจำเป็นของแต่ละคน
  • การคงไว้ซึ่งความเสี่ยง กรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้นได้ หรือต้องยอมรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เช่น รถไม่ได้ทำการต่อประกัน พอเกิดอุบัติเหตุมาก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นทั้งหมด
  • การโอนความเสี่ยง โดยการโอนความเสี่ยงให้แก่สถาบันอื่น เช่นบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับภาระแทน


แหล่งที่มา

วีระชาติ ชุตินันท์วโรดม. การบริหารเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) . แหล่งที่มา : http://guru.sanook.com/6458/ (5 กุมภาพันธุ์ 2560)

Novabizz. การเงินส่วนบุคคล Personal Finance . แหล้งที่มา : http://www.novabizz.com/NovaAce/Money/Personal_Fin... (5 กุมภาพันธุ์ 2560)

หมายเลขบันทึก: 622737เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2017 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2017 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท