แนวทางการพัฒนาคุณภาพงานด้านรังสีวิทยา


ความรู้ไม่ใช่เพียงการรู้ แต่เป็นการกระทำ จะขอเดินตาม รอยเท้าพ่อไป เหนื่อยยากเพียงไหน ไม่ทำให้พ่อผิดหวัง

ค้นหาโอกาสในการพัฒนาคุณภาพงาน


เราเห็นว่า... งานทั้งหลายนั้นไม่มีอะไรคงที่ และ ต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา


หลายคนคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า...

“การเริ่มต้นที่ดี เหมือนการทำงานสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง”

แต่... ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเริ่มต้นได้ดี

ในทำนองเดียวกัน หลายคนต้องการพัฒนาหน่วยงาน ต้องการที่จะพัฒนาตนเอง


แต่... ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร

ดังนั้นการเลือกหรือกำหนดหัวข้อที่จะพัฒนา จึงเสมือนยาขมของหลายๆคน

การเลือกหัวข้อที่จะมาดำเนินการพัฒนา อาจเลือกมาจากแนวทางต่อไปนี้ คือ


1. นโยบายหรือเป้าหมายของผู้บริหารหรือหน่วยงาน ที่สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) นโยบาย หรือ เป้าหมาย (Goal)

เพราะว่า นโยบาย หรือ เป้าหมาย เป็นแนวทางชี้นำ ช่วยกำหนดทิศทางให้กับหน่วยงาน ชี้นำให้บุคลากรทุกคนย่างก้าวไปอย่างมีจุดหมายเดียวกัน


ดังนั้น หากต้องทำงานทางด้านการพัฒนาคุณภาพ

เราอาจเลือกหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย เช่น การทำตามนโยบาย สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ปลอดภัย ได้มาตรฐาน คุ้มค่า หรือ ลดขั้นตอน เป็นต้น




2. การศึกษาจุดอ่อน จุดแข็งของหน่วยงาน

การพัฒนาคุณภาพไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดของหน่วยงานหรือองค์กร

สิ่งที่เราควรให้ความสนใจ อันดับต้นๆ ก็ คือ การทำความเข้าใจในตัวเราเอง

เข้าใจปัจจุบัน เพื่อสร้างอนาคต

ประเมินตนเองว่า...

“ขณะนี้”

คุณภาพของเรากำลังอยู่ ณ จุดใด?

เราจะต้องพยายามตอบคำถามเหล่านี้อย่างเป็นกลางให้มากที่สุด โดยจะต้องไม่เข้าข้างตัวเอง

ในบางครั้งก็มีความจำเป็นที่จะต้องหาคนอื่นมาทำหน้าที่สะท้อนภาพที่แท้จริงนี้ให้กับเรา

ดังนั้นการศึกษาหน่วยงานหรือตนเอง จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถรู้และเข้าใจหน่วยงานหรือตนเองมากขึ้น

หากเรื่องใดที่เราเกี่ยวข้องเป็นจุดอ่อน ควรได้รับการแก้ไข ปรับปรุงหรือพัฒนาเพื่อกำจัดจุดอ่อนที่มีอยู่เช่น

เครื่องมือชำรุดบ่อย ขาดประสิทธิภาพ ใช้งานไม่สะดวก

การทำงานมีความเสี่ยงภัยสูง ต่อตนเองหรือผู้ใช้บริการ

สภาพที่ทำงานไม่น่าอยู่ มีมลภาวะหรือมลพิษในการทำงาน

ขั้นตอนการทำงานล่าช้า สับซ้อนติดขัด สับสน ไม่มีมาตรฐาน ระเบียบมากมาย

ภาพถ่ายทางรังสีมีปัญหาภาพรบกวนบ่อยๆ เป็นต้น

ก็ให้นำเรื่องที่เป็นจุดอ่อนมาพิจารณาดำเนินการพัฒนา




หากเรื่องใดที่เราเกี่ยวข้องเป็นจุดแข็ง ทำได้ดีอยู่แล้ว

ควรได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากขึ้น เช่น

มีเครื่องมือประสิทธิภาพสูงสำรวจจากงานประจำที่เกี่ยวข้อง บุคลากรมีความรู้ ความชำนาญ ทักษะสูง ก็ให้นำเรื่องที่เป็นจุดแข็งเหล่านั้นมาพิจารณาดำเนินการพัฒนาคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นต่อไป




3. ข้อมูลเชิงประจักษ์ สถิติ หรือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

สถิติหรือข้อมูลของหน่วยงาน เป็นสิ่งหนึ่งที่ใช้ในการบอกถึงเป้าหมาย หรือดัชนีชี้วัดในด้านต่างๆของหน่วยงานได้ เช่น

สถิติฟิล์มที่ไม่ได้คุณภาพ

สถิติผู้ใช้บริการ

ระยะเวลาการรอรับผลงานหรือการบริการของผู้ใช้บริการ

ความพึงพอใจผู้ใช้บริการ

อัตราการใช้ ความคุ้มค่า ราคาต่อหน่วยบริการ

ความซ้ำซ้อน ความสูญเปล่า

ปริมาณรังสีจากการตรวจวินิจฉัยต่างๆ เปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ หรือ ระดับนานาชาติ เหล่านี้

สามารถนำมาใช้พิจารณาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพ




4. ปัญหาหรือเสียงสะท้อนของหน่วยงาน

การทำงานไม่ว่าหน่วยงานขนาดใด ขนาดใหญ่หรือหน่วยงานขนาดเล็ก

ย่อมต้องมีปัญหา อุปสรรค เกิดขึ้นเป็นธรรมดา จะมากหรือน้อยก็แตกต่างกันไป รวมถึงความเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐาน วิเคราะห์ลูกค้า รับฟังความต้องการ คำร้องเรียน คำติชม แนะนำของลูกค้าทั้งลูกค้าโดยตรง โดยอ้อมเหล่านี้

ก็เป็นส่วนหนึ่งที่นำมาพิจารณาจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพ



การคัดเลือกโอกาสในการพัฒนา

เกณฑ์ที่ใช้ในการพัฒนาคัดเลือกหัวข้อในการพัฒนาโดยทั่วไปมี 3 ประการ คือ

1.ความสำคัญของปัญหาหรือโอกาส

2.ระดับของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ ความถี่ ความรุนแรง หรือความด้อยคุณภาพ

3.ความง่ายหรือโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จ


เราเลือกได้

ว่า...

จะทำงานพัฒนา หรือไม่ทำงานพัฒนา


สรุป

การดำเนินการเกี่ยวการพัฒนาคุณภาพงาน
1. มองตนเอง มองงาน เรื่องสิ่งที่ชอบ
2. ศึกษาข้อมูล/สถิติเก่า/ใหม่/ปัญหาหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง
3. สร้างทีมงาน กำหนดเป้าหมาย และ ลงมือทำ
โดยใช้กระบวนการดำเนินการต่างๆ/วิทยาศาสตร์/ตรวจสอบ ประเมินผล


จะขอเดินตาม รอยเท้าพ่อไป
เหนื่อยยากเพียงไหน ไม่ทำให้พ่อผิดหวัง




หมายเลขบันทึก: 622390เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2017 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2017 11:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท