ความเป็นมาของปากกา


ปากกา (pen) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการเขียน ปากกาจะใช้หมึกในการเขียนลงไปบนพื้นผิวเรียบๆ นอกจากตัวอักษรหรือตัวหนังสือซึ่งมนุษย์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นมาใช้แล้ว “เครื่องมือ” หรือ “อุปกรณ์” ที่ใช้สำหรับการขีดเขียนก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อย ดังเช่นในปัจจุบันนี้ มนุษย์ต้องใช้เวลาในการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการขีดเขียนเป็นเวลานานหลายพันปี ในยุคอดีตมนุษย์อาจจะใช้นิ้วจุ่มดินหรือหินสี ที่บดเป็นผงผสมกับยางไม้ หรือกาวจากหนังสัตว์ ขีดเขียนบนผนังถ้ำหรือเพิงผา ต่อมาอาจใช้ ดิน หิน ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม โดยการนำมาฝนหรือทำให้เป็นแท่งเพื่อความสะดวกในการขีดเขียน หรือยิปซัมผสมน้ำ แล้วทำให้เป็นแท่งเพื่อสะดวกในการใช้งาน ชาวกรีกโบราณประดิษฐ์ปากกาขึ้นจากต้นกกไส้กลวง โดยการปาดให้มีปากหลายแบบหลายขนาด ปากกานี้ไม่ใช้หมึกแต่ใช้เขียนบนผิวไม้ที่เคลือบขี้ผึ้งไว้ ทำให้เกิดรอยเป็นตัวอักษรบนผิวขี้ผึ้ง มนุษย์เริ่มนำขนนกหรือขนห่านมาทำเป็นปากกา เรียกว่า “ปากไก่” สามารถเขียนได้คมชัดและเขียนติดต่อกันได้นาน

ต่อมาประมาณศตวรรษที่ 15 มนุษย์เริ่มประดิษฐ์ปากกา ที่มีปากเป็นโลหะและมีรอยผ่าตรงกลางปาก ทำให้เขียนได้นานโดยไม่ต้องจุ่มหมึกทุกครั้งที่เขียน แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถประดิษฐ์ปากกาที่มีหมึกในตัวเองได้

ปี ค.ศ.1884 Lewis Edson Waterman ได้ผลิตปากกาที่มีหมึกในตัว เรียกว่า ปากกาหมึกซึม (Fountain pen) ที่นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงถือว่า Waterman เป็นบิดาแห่งการประดิษฐ์ปากกาหมึกซึม

ในปี ค.ศ.1900 ปากกาหมึกซึมได้พบคู่แข่งใหม่นั่นก็คือปากกาลูกลื่น ปากกาที่มีลูกกลิ้ง (Ball) กลมๆ เล็กๆ อยู่ที่ปลายปากกาโดยชาวอเมริกาชื่อ จอห์น เอช. ลาวด์ เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น

ปลายปี ค.ศ.1930 นักหนังสือพิมพ์และศิลปินชาวฮังกาเรียน ชื่อ ไบโร ได้เกิดแนวความคิดจากหมึกแห้ง (Quick-drying ink) ที่ช่างพิมพ์ในโรงพิมพ์นั้นใช้พิมพ์หนังสือ จึงคิดหาวิธีนำหมึกชนิดนี้มาบรรจุลงในปากกา โดยที่หมึกจะไม่ไหลและหยดออกมาจนเปื้อนกระดาษ

หมายเลขบันทึก: 622300เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2017 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2017 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท