ชีวิตที่พอเพียง : 2840. สังคมข้อมูลหลักฐาน



เรามักจะพูดกันว่า ยุคนี้เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นความจริง

แต่สภาพที่เราต้องการอย่างยิ่ง เพื่อเป็นพื้นฐานสู่ Thailand 4.0 คือความเป็น “สังคมข้อมูลหลักฐาน


ผมเกิดความคิดในการเขียนบันทึกนี้ ระหว่างนั่งร่วมประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษา ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.) ของ ดร. นพ. ยศ ตีระวัฒนานนท์ เช้าวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๐

งานวิจัยในระยะที่ ๒ ของเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ดร. ยศ คือการวิจัยเพื่อหนุน evidence-informed policy development ซึ่งกว้างกว่างาน HTA ในงานวิจัยระยะที่ ๑ ของเมธีวิจัยอาวุโส สกว. นพ. ยศ


งานวิจัย HTA เป็นงานวิจัยสร้างหลักฐานการใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพอย่างเหมาะสม ทำให้ตัดสินใจใช้/ไม่ใช้ เทคโนโลยีใหม่ อย่างมีข้อมูลหลักฐาน เป็นส่วนสำคัญของการกำหนดนโยบายแบบอิงข้อมูลหลักฐาน เป็นคุณูปการของ HITAP ต่อระบบสุขภาพไทยอย่างเห็นได้ชัด


แต่วงการอื่น ยังไม่มีกลไกวิชาการ ในการสร้างข้อมูลหลักฐานเพื่อการกำหนดนโยบาย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ สู่ประเทศไทย ๔.๐



วิจารณ์ พานิช

๑๒ ม.ค. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 622048เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2017 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2017 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Isn't the new ministry 'Digital Economy' supposed to start 'digitization programs' to support Thailand's economy and services?

I agree that 'policy and infrastructure' for data-based public services is urgently much needed, data security training and skills in data technologies should also be among the groundwork (now) to prepare for data-based society.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท