อู๋เพื่อนรัก (ตอน ๒๐..ยิ่งหิวยิ่งมีสุขภาพดี)


กินวันละมื้อ อายุยืน

ความยืนยาวของอายุขัยถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของความมั่นคงมนุษย์...หนังสือเรื่อง "ยิ่วหิวยิ่งมีสุขภาพดี" เขียนโดยนายแพทย์ญี่ปุ่นและมีการแปลเป็นไทยวางขายแล้ว แต่อ่านแล้วงงไปงงมา เนื่องจากท่านใช้ทฤษฎีทางไบโอโลยีและสรีรศาสตร์ วกวนไปมาหลายตลบ โดยสรุปคือ ท่านขอให้กินอาหารวันละมื้อเดียว.....ซึ่งเรื่องนี้ผมเองก็ได้เขียนไว้ในหลายที่ใน ๒๐ ปีที่ผ่านมา (น่ารวมถึงกทน.ด้วย) นิตยสารไทม์ก็เอาไปลงในท่อน จดหมายจากผู้อ่าน

.

แต่ทฤษฎีของผมง่ายๆ คือ ยิ่งกินน้อยเท่าไรองคาพยพข้างในก็ทำงานหนักน้อยลงเท่านั้น (โดยเฉพาะหัวใจ ตับ ม้าม) เปรียบดังรถยนต์ยิ่งเติมน้ำมันมาก วิ่งมาก อวัยวะรถยนต์ก็สึกหรอมาก ต้องซ่อมบ่อยหรือพังไวกว่ารถที่วิ่งน้อยและเติมน้ำมันแต่น้อย

.

กรณีตัวอย่างที่ผมเขียนเสมอคือให้ดูพระป่า ท่านฉันเพีีีีีีีีีีีีีีียงวันละมื้อ แถมเป็นอาหารเลวๆ ไม่ครบห้าหมู่ น่าจะประมาณ ๕๐๐ กิโลแคล อย่าว่าแต่ ๒๐๐๐ กิโลแคลตามที่หมอแนะเลย แต่ท่านกลับอายุยืนยาวเกินเก้าสิบแทบทั้งนั้น น่าจัดให้เป็นกลุ่มบุคคลที่อายุยืนที่สุดในโลกด้้วยซำ้ไป

หมายเลขบันทึก: 622033เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2017 18:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2017 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การปรุงอาหารกินเองวันละเพียง ๑มื้อยังลดเวลาการทำอาหารและเพิ่มเวลาเพื่อคุณภาพชีวิตอย่างอื่น (เช่นเขียนเรื่องลงกทน. :-)) แต่ข้อเสียคือถ้ากินอาหารนอกบ้านร้านอาหารจะเสียรายได้ไปมาก ก็คงต้องไปหาอาชีพอื่นที่มีคุณภาพทำต่อไปตามอัตภาพ

But heed the Buddha words. If we remember "The budddha starved himself to near death and did not find 'progress' - so the buddha looked at alternatives and saw that the 'middle' way was better. The Buddha ate to sustain - as necessary for the task/life he conducted..."

In short we should not undertake dukkha ways to achieve (as many samanas in ancient times) ... but sufficient (sukha or chanda) ways!

This is for many (every)thing(s) in life. ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท